เอเอฟพี - ลาวต้องเผชิญกับแรงกดดันจากประเทศเพื่อนบ้าน ในวันนี้ (19 เม.ย.) ที่ต้องการให้ชะลอการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขง หลังไม่สามารถตกลงกันได้ในโครงการที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลเรื่องของผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่จาก ไทย กัมพูชา ลาว และ เวียดนาม ได้ประชุมกันที่นครเวียงจันทน์ เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าไซยะบุรี มูลค่า 3,800 ล้านดอลลาร์ ในภาคเหนือของลาว ที่มีกำลังการผลิต 1,260 เมกะวัตต์ คำแถลงที่มีหลังการประชุม ระบุว่า กัมพูชา ไทย และ เวียดนาม ยังคงวิตกเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ ก่อสร้างเขื่อนที่ยังคงศึกษาไม่เพียงพอ ในขณะที่ลาว ระบุว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหารือในประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติมอีก ทางด้านเวียดนามได้แสดงความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการประเมินที่ ยังไม่มากพอนี้ และเรียกร้องให้เลื่อนโครงการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงไปอย่างน้อย 10 ปี โครงการก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้ เป็นเขื่อนแห่งแรกจากข้อเสนอทั้งหมด 11 แห่ง บนแม่น้ำโขงตอนล่าง ที่ปัจจุบันกำหนดให้หารือในระดับรัฐมนตรี โดยประเทศสมาชิกทั้ง 4 ประเทศของคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงได้มีข้อตกลงที่จะร่วมมือพัฒนาเส้นทางน้ำ อย่างยั่งยืน รวมทั้งหารือในโครงการเขื่อนไซยะบุรีแห่งนี้ด้วย แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการก่อสร้างเขื่อนขึ้นอยู่กับลาว ที่ดูเหมือนว่า มุ่งมั่นที่จะดำเนินการก่อสร้างต่อไป หรือแม้แต่ก่อนหน้าการประชุมครั้งนี้ สื่อทางการของลาว รายงานว่าการก่อสร้างเขื่อน คาดว่า จะเริ่มขึ้นในเร็วๆ นี้ และว่า รัฐบาลลาวมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการตัดสินใจว่าจะอนุมัติการก่อสร้างเขื่อน หรือไม่ “นักพัฒนาโครงการได้เริ่มต้นสร้างถนนไปยังพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนแล้ว ขณะที่รัฐบาลกำลังพิจารณาข้อตกลงสัมปทาน” หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทม์ รายงานวันนี้ (19 เม.ย.) และว่า นักพัฒนาคาดหวังให้การสร้างเขื่อนไฟฟ้าไซยะบุรีบนแม่น้ำโขงเริ่มต้นในอนาคต อันใกล้ และใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 8 ปี กองทุนสัตว์ป่าโลก หรือ WWF เตือนว่า ปลาบึกที่เป็นหนึ่งในปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์หากแผนการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าบนแม่น้ำโขงยังคงเดิน หน้าต่อไป
ພວກນີ້ມັນເຫັນແກ່ໄດ້ ມັນບໍ່ຄຳນຶງເຖີງຊິວິດການເປັນຢູ່ຂອງປະຊາຊົນ
ຕາມທີ່ເຂົ້າໃຈ ຜູ່ຕ່າງໜ້າຣັດຖະບານໄທໃນອົງການແມ່ນໍ້າຂອງ MRC ສະໜັບສະໜູນໃນການສ້າງເຂື່ອນໄຊຍະບຸຣີທັງໆທີ່ປະຊາໄທຫລາຍລ້ານຄົນຄັດຄ້ານໃນໂຄງການນີ້, ສສ່ວນຜູ່ຕ່າງໜ້າຂອງປະເທດວຽດນາມແລະປະເທດກໍາພູຊາສະເໜີໃຫ້ມີການສຶກສາຄົ້ນຄ້ວາເຖິງຜົນກະທົບ
ອີກຢ່າງນ້ອຍກໍ່ 10ປີ.
http://laovoices.com/2011/04/20/laos-defends-xayaboury-power-plant/
ຂ້ອຍຄິດວ່າການສ້າງເງື່ອນມີຜົນດີ ແລະ ຜົນເສຍ ແຕ່ເພື່ອການພັດທະນາຂ້ອຍເຫັນດີໃຫ້ສ້າງ ແຕ່ຄວນມີລະບົບບຳບັດທີ່ດີ ແລະ ຄຳນຶງເຖິງສະພາບເວດລ້ອມໃຫ້ຫຼາຍ ແນ່ນອນ ການສ້າງຕ້ອງມີຜູ້ທີ່ເຫັນດ້ວຍແລະບໍ່ເຫັນດ້ວຍ ແຕ່ຖ້າການດຳເນີນທຸກຢ່າງໂປ່ງໃສ ແລະ ເພື່ອການພັດທະນາປະເທດຊາດແທ້ຈິງຂ້າພະເຈົ້າເຫັນວ່າເປັນໄປໄດ້