ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ຍຸດສ້າງເຂື່ອນ ໄຊຍະບູຮີ
Anonymous

Date:
ຍຸດສ້າງເຂື່ອນ ໄຊຍະບູຮີ
Permalink   
 


หยุดเขื่อนไซยะบุรี ก่อนแม่น้ำโขงจะหายนะ ชาวบ้านยื่นหนังสือค้าน ร่วมลงนามกว่าหมื่น

ShowPicture.asp?status=News&NewsId=250

กรุงเทพฯ : วัน ที่ ๑๘-๑๙ เม.ย. ๕๔ ที่ผ่านมา เครือข่ายภาคประชาชน ๘ จังหวัด ลุ่มน้ำโขง ประมาณ ๘๐ คน เดินทางยื่นหนังสือคัดค้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรี ในลำน้ำโขง ประเทศลาว ต่อตัวแทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียน  สถานฑูตลาว รัฐบาลไทย และวุฒิสมาชิก และเดินหน้าถามหาธรรมาภิบาลกลุ่มทุน ช.การช่าง               

ช.การช่างเริ่มเดินหน้าตัดถนนและปรับพื้นที่สร้างเขื่อน

รายงาน ข่าวจากบางกอกโพสต์ เมื่อ ๑๗ เม.ย. ที่ผ่านมา แจ้งว่า รถแบ็คโฮ ๑๐ คัน รถบรรทุกกว่า ๒๐ คัน ของบริษัท ช.การช่างได้ลงมือตัดถนนจากท่าเรือท่าเดื่อไปยังเขตงานก่อสร้างเขื่อนด้วย ความยาว ๒๐ กม.  ชาวบ้านในพื้นที่ระบุการตัดถนนปรับพื้นที่เริ่มเมื่อห้าเดือนที่แล้ว ซึ่งคือช่วงหลังจาก ๑ เดือน หลังจากรัฐบาลลาวส่งรายงานการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและข้อมูลอื่นเพื่อ ทบทวนพิจารณาต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC)

เขื่อน ไซยะบุรีเป็นหนึ่งใน ๑๒ เขื่อนในลำน้ำโขงตอนล่างที่เสนอต่อเอ็มอาร์ซีพิจารณาให้ความเห็นตามข้อตกลง ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ๔ ประเทศตอนล่าง ในปี ๒๕๓๘ โดยเขื่อนไซยะบุรีซึ่งได้รับสัมประทานโครงการโดยบริษัท ช.การช่างของไทย สนับสนุนทุนโดยธนาคารไทยพานิชย์ กรุงไทย กรุงเทพ และกสิกรไทย โดยมีกลุ่มทุน ปตท. และบริษัททางด่วนกรุงเทพ ถือหุ้นบริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัดในจำนวน ๒๕% , ๗.๕% ตามลำดับ มีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับซื้อไฟฟ้า ๙๕%  จากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่กำลังการผลิต ๑,๒๖๐ เมกะวัตต์ ที่ตั้งเขื่อนบริเวณแก่งหลวง แขวงไซยะบุรี สปป.ลาว เหนือเชียงคาน จ.เลย ไปตามลำน้ำโขงประมาณ ๒๐๐ กม.

คณะ กรรมาธิการแม่น้ำโขงของเวียตนามออกโรงคัดค้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรีตลอด ซึ่งสอดคล้องกับรายงานข่าวของสำนักข่าวในเวียตนามหลายสำนัก รวมทั้งข้อกังวลของนักวิชาการเวียตนามว่า หากก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี น้ำในแม่น้ำโขงหนึ่งในสามจะถูกควบคุมโดยมนุษย์ ชาวบ้านที่พึ่งพาแม่น้ำโขงจะได้รับผลกระทบ กัมพูชาและเวียตนามจะได้รับผลกระทบมาที่สุด โดยปากแม่น้ำโขงที่เวียตนามมีประชาชนหลายล้านคนอาศัยทรัพยากรความอุดม สมบูรณ์เหล่านี้ น้ำทะเลหนุนเข้าสู่พื้นที่เกษตร ตะกอนดินและแร่ธาตุซึ่งเคยพัดพามาจากต้นน้ำโขงปีละ ๒๖ ล้านตัน จะลดลงเหลือ ๗ ล้านตันต่อปี ข้าวจะเสียหายกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ ตันต่อปี ดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอาจต้องจ่ายแพงมากที่สุด

ส่วน คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงของกัมพูชาไม่แสดงท่าทีชัดเจนเหมือนภาคประชาชน กัมพูชาที่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ทั้งนี้รายงานการศึกษาผลกระทบทางยุทธศาสตร์ต่อการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงตอน ล่าง ๑๒ เขื่อน ที่จัดจ้างโดยเอ็มอาร์ซีเอง ซึ่งออกเผยแพร่เมื่อปลายปีที่ผ่านมามีข้อเสนอให้เลื่อนการสร้างเขื่อนในแม่ น้ำโขงตอนล่างออกไปอีก ๑๐ ปี และให้ศึกษาผลกระทบต่างๆ ให้รอบคอบและรอบด้านเสียก่อน

อย่าง ไรก็ตาม ในขั้นตอนของเอ็มอาร์ซี ตามข้อตกลง ๔ ประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างจำเป็นต้องจัดทำกระบวนการภายใต้ระเบียบปฏิบัติ เรื่องการแจ้งให้ทราบ การปรึกษาหารือล่วงหน้า และการตกลง (PNPCA) หลัง จากประเทศหนึ่งใดได้ยื่นเสนอขอจัดทำโครงการสร้างเขื่อนในลำน้ำโขง พร้อมรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการเขื่อนไซยะบุรี เริ่มต้นกระบวนการ PNPCA เมื่อวันที่ ๒๐ ก.ย.๕๓ ระยะเวลา 6เดือน สิ้นสุดอย่างเป็นทางการในวันที่ ๒๒ เม.ย.๕๔ และเอ็มอาร์ซีได้ประชุมพิจารณารายงานข้อมูลต่างๆ ในวันที่ ๒๔ มี.ค. ๕๔ ณ กัมพูชา คณะกรรมการร่วม (เจซี) มีมติให้ประชุมเพื่อตัดสินใจกรณีโครงการไซยะบุรี ในวันที่ ๑๙ เม.ย. ทำให้ภาคประชาชนในลุ่มน้ำโขงวิพากษ์ว่า เป็นการรีบเร่งในการขับเคลื่อนให้อนุมัติโครงการมากกว่าการใช้เหตุผลทาง วิชาการที่รอบด้านและเปิดการมีส่วนร่วมให้เป็นสาธารณะที่รับได้ของทุกภาค ส่วน อีกทั้งเวที PNPCA ที่ผ่านมา ที่อ.เชียงของ จ.เชียงราย อ.เชียงคาน จ.เลย และจ.นครพนม เป็นเวทีไม่มีความสมบูรณ์ เนื่องจากไม่มีการเปิดเผยข้อมูลโครงการอย่างเพียงพอ และไม่ให้ข้อมูลล่วงหน้าเพื่อจะให้ประชาชนทำความเข้าใจและเสนอความคิดเห็น ต่อโครงการได้  

ตัวแทนชาวบ้านริมฝั่งโขงยื่นหนังสือขอให้นายกระงับโครงการ

               

สืบเนื่องจาก วันที่ ๔ ๘ เม.ย. ๒๕๕๔ เครือข่ายประชาชนลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วยองค์กรเอกชนและภาคประชาชนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ จ.เชียงราย หนองคาย เลย บึงกาฬ มุกดาหาร นครพนม อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลรับฟังความคิดเห็นในชุมชนริมฝั่งโขง ๕ ครั้ง โดยมีเสียงสนับสนุนร่วมกันเรียกร้องให้ชะลอโครงการเขื่อนไซยะบุรีถึงรัฐบาล ไทย ผ่านไปรษณียบัตรถึงนายกรัฐมนตรีและการร่วมลงนามรายชื่อเรียกร้องคัดค้านการ สร้างเขื่อนไซยะบุรี ในวันที่ ๑๘ เม.ย. ๕๔  

              วัน ที่ ๑๘ เม.ย.ที่ผ่านมานี้ เครือข่ายภาคประชาชน ๘ จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้ระงับโครงการเขื่อนไซยะบุรี โดยมีนายสาทิต วงศ์หนองเตย  รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตัวแทนรับหนังสือร้องเรียน พร้อมรายชื่อชาวบ้านร่วมคัดค้านกว่าหมื่นรายชื่อ

โครงการ เขื่อนไซยะบุรียังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลให้ได้รับทราบ ขณะที่โครงการกลับมีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้ต่างรู้สึกกังวลใจ โดยเฉพาะในประเด็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เฉพาะผลกระทบของการสร้างเขื่อน ๔ แห่งที่กั้นแม่น้ำโขงในประเทศจีน แม้จะอยู่ห่างไกลกว่าโครงการเขื่อนไซยะบุรี แต่ได้สร้างผลกระทบต่อคนลุ่มน้ำโขงตอนล่างอย่างชัดเจนอย่างมากแล้ว   และหากมีการสร้างเขื่อนไซยะบุรีสำเร็จ ประชาชนลุ่มน้ำโขงเชื่อว่าจะเกิดผลกระทบกับพี่น้องชาวลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย รวมถึงคนริมฝั่งแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง อีกจำนวนมาก 

ผลกระทบสำคัญซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นหากมีการสร้างเขื่อนไซยะบุรีคือ การปิดกั้นเส้นทางอพยพของปลาโดยเฉพาะปลาบึก   การ ทำลายระบบนิเวศทั้งระบบของแม่น้ำโขง   การสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมริมฝั่งโขง  ซึ่งจะกลายเป็นภาพใหญ่ในผลกระทบทางเศรษกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ อันเป็นการทำลายวิถีชีวิตของคนริมฝั่งโขงโดยตรง หนังสือร้องเรียนระบุข้อเสนออีกว่า

ให้ยกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเท่า นั้น แต่ยังได้ช่วยร่วมปกป้องทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และวัฒนธรรมของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขง ให้สามารถดำรงต่อไปได้อย่างยั่งยืน และให้เลื่อนการตัดสินใจการให้ความเห็นชอบต่อการสร้างเขื่อนไซยะบุรี ของคณะกรรมการรร่วมเอ็มอาร์ซี ในการประชุมวันที่ ๑๙ เม.ย. ๕๔ นี้ออกไป เพื่อให้มีการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้านและชัดเจน พร้อมกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง

นอก จากนี้ เครือข่ายฯ ได้ยื่นหนังสือถึง ดร.ศรีประภา เพชรมีสี ผู้แทนไทยประจำคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียน เพื่อขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิของประชาชนจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี และยื่นหนังสือถึงประธานกรรมาธิการคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา โดยมี สว.สุรจิต ชิรเวทย์ เป็นผู้รับหนังสือ เพื่อขอให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายบริหาร กรณีโครงการเขื่อนไซยะบุรี นอกจากนี้ เครือข่ายฯ กว่า ๘๐ คน ยัง ได้เดินทางไปยังสถานฑูตลาว ประจำกรุงเทพฯ เพื่อแจ้งความกังวลใจ และขอให้ทบทวนโครงการฯ ต่อรัฐบาลลาว ขอให้เลื่อนการตัดสินใจการให้ความเห็นชอบต่อการสร้างเขื่อนไซยะบุรี และให้มีการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้านและชัดเจน พร้อมกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง                

ถามหาธรรมาภิบาลกลุ่มทุน ช.การช่าง  เครือข่ายฯ ยืนยันจะรณรงค์ต่อไป

         

วัน ที่ ๑๙ เม.ย. ๕๔ ที่ผ่านมา  เครือข่ายประชาชนลุ่มแม่น้ำโขง ๘ จังหวัด เดินหน้ายื่นหนังสือถึงผู้บริหาร บริษัท ช.การช่าง โดย ดร.อนุกูล ตันติมาสน์ กรรมการและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการทั่วไป เป็นตัวแทนรับมอบ นำเรื่องส่งต่อให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจต่อไป ปฏิเสธไม่รู้เรื่องการปรับพื้นที่เตรียมก่อสร้างในพื้นที่สร้างเขื่อน ดังรายงานไปแล้วก่อนหน้า   

ด้าน นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา กล่าวว่า การ ยื่นหนังสือต่อบริษัท ช.การช่าง ครั้งนี้ เพื่อถามหาธรรมภิบาลในการลงทุนของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของไทย และถามข้อสงสัยเหตุใดจึงรีบเร่งให้มีการอนุมัติหรือซื้อขายไฟฟ้า ทั้งๆ ที่ผลการศึกษาผลกระทบยังไม่ให้ข้อมูลและการมีส่วนร่วมต่อสาธารณชนอย่างเพียง พอและทั่วถึง อีกทั้งรายงานผลกระทบทางยุทธศาสตร์ของเขื่อนทั้ง ๑๒ เขื่อนในลุ่มน้ำโขงตอนล่างที่จัดจ้างทำโดยเอ็มอาร์ซี ระบุการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงสายหลักนำผลกระทบมาสู่คนลุ่มน้ำ โขงอย่างมหาศาลและเสนอให้เลื่อนการสร้างเขื่อนออกไปอีก ๑๐ ปี เพื่อให้เกิดการศึกษาผลกระทบอย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น...

ทั้ง นี้ เครือข่ายฯ ยังคงเดินหน้ารณรงค์และรวบรวมรายชื่อผู้คัดค้านให้ครบห้าหมื่นรายชื่อต่อ แม้ผลการประชุมของคณะกรรมการร่วมของเอ็มอาร์ซีในวันที่ ๑๙ เม.ย. นี้ จะออกมาอย่างไรก็ตาม เพราะเรื่องการศึกษาและปกป้องแม่น้ำโขงทั้งสายเป็นเรื่องระยะยาวที่มีอีก หลายเขื่อนจ่อคิวอยู่ แหล่งข่าวระบุ



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ນີ້ແມ່ນຂໍມູນ ທີ່ເຈາະອອກມາໄດ້ ໃນການຮ່ວມລົງທຸນ


ที่ 520/14/117 1 มีนาคม 2554 เรื่อง การร่วมลงทุนในบริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ("ปตท.") ขอแจ้งให้ทราบว่า ปตท. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ปตท. ได้ให้บริษัท พีทีที อินเตอร์แนชั่นแนล จำกัด ("PTTI" บริษัทย่อยที่ ปตท. ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100) โดยผ่านบริษัท นที ซินเนอร์ยี่ จำกัด (Natee Synergy Company Limited : "NSC") ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ PTTI เข้าร่วมลงทุนในบริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด (Xayaburi Power Company Limited : "XPCL") กับ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัท พี.ที. คอนสตรักชั่น แอนด์ อิริเกชั่น จำกัด เพื่อพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีในประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ("สปป.ลาว") ในสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 25, 57.5, 12.5 และ 5 ตามลำดับ) XPCL มีทุนจดทะเบียน 800,000,000 บาท โดย NSC ถือหุ้นจำนวน 20,000,001 หุ้นคิดเป็นมูลค่า 200,000,010 บาท ทั้งนี้คาดว่าเงินลงทุนทั้งโครงการก่อนการดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นจำนวนเงิน 115,000,000,000 บาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี เป็นโครงการที่ XPCL ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลแห่ง สปป.ลาว ในการออกแบบ พัฒนา ก่อสร้าง และดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี เป็นระยะเวลา 29 ปี นับจากวันเปิดดำเนินการขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ และจะส่งมอบโครงการไฟฟ้าพลังน้ำดังกล่าวให้กับรัฐบาลแห่ง สปป.ลาว เมื่อระยะเวลาสัมปทานสิ้นสุดลง โดยโครงการดังกล่าวมีขนาดกำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลวงพระบางประมาณ 80 กิโลเมตร มีสัญญาขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 1,220 เมกะวัตต์ และรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาวจำนวน 60 เมกะวัตต์ ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 8 ปี และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในเดือนมกราคม 2562 ทั้งนี้ การร่วมลงทุนในครั้งนี้เป็นการลงทุนที่ สอดคล้องกับกลยุทธ์ของ ปตท. ในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจไฟฟ้ารวมทั้งเป็นการรักษาและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ประเทศในระยะยาว การรายงานสารสนเทศในครั้งนี้ไม่ใช่รายการที่เกี่ยวโยงกันและขนาดของรายการไม่ เข้าข่ายที่จะต้องรายงานสารสนเทศตามหลักเกณฑ์การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัท จดทะเบียน แต่เป็นการรายงานการเข้าร่วมทุนกับบริษัทอื่นโดยสัดส่วนของการเข้าร่วมทุนตั้งแต่ร้อยละ 10 ของทุนชำระแล้วของบริษัทที่เข้าร่วมทุน จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
 




ขอแสดงความนับถือ (นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

ฝ่ายผู้ลงทุนสัมพันธ์ โทรศัพท์ xxxx-xxxx โทรสาร xxxx-xxxx


__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

 

ຄໍາເຫັນຂ້າງເທິງນີ້ຕົວອັກສອນແຕກເປັນວ່າງໆ ອ່ານຍາກຫລາຍ.



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard