ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ສັນຍາມິຕພາບແບບພິເສດ ແລະ ການຮ່ວມມືລະວ່າງ ສປປລາວ ກັບ ສສວຽດນາມ
Anonymous

Date:
ສັນຍາມິຕພາບແບບພິເສດ ແລະ ການຮ່ວມມືລະວ່າງ ສປປລາວ ກັບ ສສວຽດນາມ
Permalink   
 


ສັນຍາມິຕພາບແບບພິເສດ ແລະ ການຮ່ວມມືລະວ່າງ ສປປລາວ ກັບ ສສວຽດນາມ

ຄັ້ງວັນທີ່ 18. ກໍຣະກະດາ 1977

ທີ່ ນະຄອນຫຼວງ ວຽງຈັນ ປະເທດສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ

-ປະເທດສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ ແລະ ປະເທດສາທາລະນະລັດສັງຄົມນິຍົມວຽດນາມ.

-ຮັບຮູ້ຢ່າງລຶກເຊິ່ງວ່າສາຍພົວພັນແບບພິເສດລະວ່າງລາວ ແລະ ວຽດນາມ ຄວາມສາມະຄີແບບສູ້ລົບ ແລະ ໄມຕຣີຈິດ ມິດຕະພາບບໍ່ສັນສະເທືອນໄດ້ລະຫວ່່າງປະຊາຊົນລາວກັບປະຊາຊົນວຽດນາມ.

-ນ້ຳໃຈແຫ່ງຄວາມເປັນສະຫາຍອັນຍິ່ງໃຫຍ່ລະຫວ່າງພັກປະຊາຊົນປະຕິວັດລາວ ກັບ ພັກຄອມມຸຍນິດວຽດນາມທີ່ໄດ ຮັບການຫຼໍ່ຫລອມມາເປັນເວລາຫຼາຍໆ 10 ປີ ໃນການຮ່ວມສຸກຮ່ວມທຸກນຳກັນ ສູ້ຣົບພ້ອມກັນ ເອົາຊະນະສັດຕູຜູ້ຮຸກ ຮານ ໃນການຮ່ວມມື ແລະ ການຊ່ອຍເຫຼືອຊຶ່ງກັນແລະກັນສອງປະເທດຊາດບ້ານເມືອງນັ້ນແມ່ນມູນເຊື້ອອັນປະເສີດ ເລີດລໍ້າ ອັນນຶ່ງແມ່ນກຳລັງແຮງຊະນະເລີດ ອັນນຶ່ງຂອງທັງສອງຊາດ ແລະ ທັງສອງພັກແມ່ນພຶດຕິກັມອັນມີຊີວິດຊີວາ ອັນນຶ່ງແມ່່ນກົດເກນແຫ່ງການຂະຍາຍຕົວ ອັນນຶ່ງຂອງການປະຕິວັດລາວ ແລະ ການປະຕິວັດວຽດນາມ ຖືວ່າເປັນການ ເພີ່ມທະວີຄວາມສາມະຄີອັນສະນິດແໜ້ນ ແລະ ການພົວພັນຮ່ວມມືຢ່າງຍາວນານໃນທຸກດ້ານລະວ່າງລາວກັບວຽດ ນາມນັ້ນເປັນການຕອບສະນອງຄວາມມຸ້ງມາດປາຖະນາອັນແຮງກ້າ ແລະ ຜົນປະໂຍດແຫ່ງການຍືນຍົງຄົງຕົວຂອງ ປະຊາຊົນແຕ່ລະປະເທດໃນພາລະກິດປົກປັກຮັກສາເອກະລາດແຫ່ງຊາດ ປະຊາທິປະໄຕ ສັນຕິພາບ ຄວາມເປັນກາງ ຢ່າງແທ້ຈິງຂອງປະຊາຊົນບັນດາປະເທດໃນອາຊີອາຄະເນ ສອດຄ່ອງກັບຜົນປະໂຍດຂອງປະຊາຊົນທົ່ວໂລກທີ່ກຳລັງ ຕ້ານຈັກກະພັດ ຕ້ານລັດທິລ່າເມືອງຂື້ນແບບເກົ່າ ແລະ ແບບໄຫມ່ ເພື່ອສັນຕິພາບ ເອກຣາດແຫ່ງຊາດ ປະຊາທິປະໄຕ ແລະ ຄວາມກ້າວໜ້າທາງສັງຄົມ.

-ໂດຍຄວາມຈົ່ງຮັກພັກດີຕໍ່ລັດທິມາກ - ເລນິນ ສືບຕໍ່ຄັນທຸງເອກະລາດແຫ່ງຊາດ ແລະ ສັງຄົມນິຍົມ ສົມທົບລະວ່າງລັດທິ ຮັກຊາດອັນແທ້ຈິງກັບລັດທິສາກົນກັມມະຊີບຢ່າງເປັນເນື້ອດຽວ ອອກແຮງປົກປັກຮັກສາ ແລະ ຂະຍາຍສາຍສຳພັນ ແບບພິເສດລະວ່າງລາວ-ວຽດນາມເຮັດໃຫ້ປະເທດທັງສອງທີ່ເຄີຍໄດ້ມີການຜູກພັນກັນໃນພາລະກິດປົດປ່ອຍຊາດມາ ແລ້ວນັ້ນຈະຜູກພັນກັນແໜ້ນເຂົ້າຕື່ມໃນກິດຈະການກໍ່ສ້າງແລະປົກປັກຮັກສາປະເທດຊາດບ້ານເມືອງຕະລອດກາລະນາ.


-ໂດຍເປັນເອກະສັນກັນວ່າແນວທາງເອກລາດ ເປັນເຈົ້າຕົນເອງ ແລະ ການນຳອັນຖືກຕ້ອງຂອງພັກປະຊາຊົນປະຕິວັດ ລາວ ແລະ ພັກຄອມມຸຍນິດວຽດນາມ ມູນເຊື້ອສາມະຄີອັນດູດດື່ມລະວ່າງສອງຊາດໄຊຊະນະອັນຄົບຖ້ວນຂອງປະເທດ ທັງສອງໃນພາລະກິດຕ້ານຈັກກະພັດຜູ້ຮູກຮານ ຈູດໝາຍຂອງປະຊາຊົນປະເທດທັງສອງຕ່າງກໍສູ້ຮົບເພື່ອລັດທິສັງຄົມ ນິຍົມນັ້ນເປັນບັນດາພື້ນຖານເພື່ອການຂະຍາຍສາຍພົວພັນແບບພິເສດລະວ່າງລາວ-ວຽດນາມ.

-ບົນຈິດໃຈຂອງຖະແລງການຮ່ວມລາວ-ວຽດນາມ ວັນທີ່ 11. ກຸມພາ. 1977 ໂດຍອິງໃສ່ຈຸດປະສົງເພີ້ມທະວີຄວາມ ສາມະຄີຮ່ວມມືກັນຍາວນານ ແລະ ຊ່ວຍເຫຼືອຊຶ່ງກັນແລະກັນ ແລະ ໃນພາລະກິດກໍ່ສ້າງ ແລະ ປົກປັນຮັກສາປະເທດ ຊາດບ້ານເມືອງ ເພື່ອຄວາມເປັນເອກະລາດ ແລະ ວັດທະນາຖາວອນຂອງແຕ່ລະປະເທດ ປະກອບສ່ວນເຂົ້າໃນການປົກ ປັກຮັກສາ ແລະ ປັບປຸງສັນຕິພາບຢູ່ໃນອາຊີອາຄະເນ ແລະ ໃນໂລກ.

ໄດ້ຕົກລົງເຊັນສົນທິສັນຍາສະບັບນີ້ ແລະ ໄດ້ຕົກລົງກັນກ່ຽວກັບຂໍ້ຄວາມດັ່ງນີ້:

ມາດຕຣາ 1. ສອງຝ່າຍໄດ້ໃຫ້ຄຳໝັ້ນສັນຍາກັນວ່າ ຈະອອກເເຮງປົກປັກຮັກສາ ແລະ ຂະຍາຍສາຍພົວພັນແບບພິເສດລະ
ວ່າງລາວ-ວຽດນາມບໍ່ລົດລະໃນການເພີ້ມທະວີຄວາມສາມະຄີ ແລະ ຄວາມເຊື່ອຖືເຊິ່ງກັນແລະກັນໃນທຸກ
ຂົງເຂດບົນຈິດໃຈແຫ່ງລັດທິສາກົນກັມມະຊີບ ແລະ ຕາມຫຼັກການສະເມີພາບຢ່າງສົມບູນ ເຄົາລົບເອກະລາດ
ອະທິປະໄຕ ແລະ ຜືນແຜ່ນດີນອັນຄົບຖ້ວນຂອງກັນແລະກັນ ເຄົາລົບຜົນປະໂຍດອັນຊອບທັມຂອງກັນແລະກັນ
ບໍ່ແຊກແຊງເຂົ້າວຽກງານພາຍໃນຂອງແຕ່ລະຝ່າຍ ອອກແຮງອົບຮົມສຶກສາທົ່ວພັກທົ່ວປວງຊົນຂອງຕົນໃຫ້ ຮັກ
ແພງຖະນອມປົກປັກຮັກສາ ແລະ ເສີມສ້າງສາຍພົວພັນແບບພິເສດລະວ່າງລາວ-ວຽດນາມໃຫ້ຜ່ອງໃສ ແລະ
ໝັ້ນຄົງຕະລອດໄປ.

ມາດຕຣາ 2. ບົນຫຼັກການທີ່ວ່່າການປົກປັກຮັປສາຄວາມເປັນເອກະລາດແຫ່ງຊາດ ແລະ ຮັກສາຄວາມຄວາມສະງົບສຸກຂອງ
ປະເທດ ນັ້ນແມ່ນພາລະກິດຂອງປະຊາຊົນແຕ່ລະປະເທດ ສອງຝ່າຍໃຫ້ຄຳໝັ້ນສັນຍາວ່າຈະໃຫ້ຄວາມສະນັບ
ສະນູນ ແລະ ຊ່ວຍເຫຼືອເຊິ່ງກັນແລະກັນຢ່າງສຸດໃຈຮ່ວມມືກັນຢ່າງແໜ້ນແຝ້ນເພື່ອອິງໃສ່ເພີ້ມທະວີຄວາມ
ອົງອາດ ສາມາດໃນການປ້ອງກັນໃນການປົກປັກຮັກສາຄວາມເປັນເອກະລາດອະທິປະໄຕ ແລະ ຜື້ນແຜ່ນ
ດີນ ອັນຄົບ ຖ້ວນ ຮັກສາກິດຈະການອອກແຮງງານໃນສັນຕິພາບຂອງປະຊາຊົນຕ້ານທຸກເລກົນ ແລະ
ການກະທຳ ອັນເປັນການທຳຮ້າຍຂອງຈັກກະພັດ ແລະ ກຳລັງປະຕິການນອກປະເທດ.

ມາດຕຣາ 3. ກ. ເພື່ອເປັນການອຳນວຍຄວາມສະດວກໃຫ້ແກ່ການຊວ່ຍເຫຼືອກັນຜ່ານຜ່າຄວາມຍຸ້ງຍາກ ເສີມຂະຫຍາຍເຫງົ້າ
ພະລັງທາງດ້ານວັດຖຸຂອງແຕ່ລະປະເທດໃຫ້ມີປະສິດຕິພາບຢ່າງສຸດຂີດ ເພື່ອອິງໃສ່ກໍ່ສ້າງປະເທດຊາດບ້ານ
ເມືອງໃຫ້ຮັ່ງມີເຂັ້ມແຂງ ກໍ່ສ້າງຊີວິດການເປັນຢູ່ອັນອີ່ມນ້ຳສຳລານ ສັມບູນພູນສຸກນັ້ນ ສອງຝ່າຍຈະເພີມທະວີ
ການພົວພັນຮ່ວມມືກັນແບບສັງຄົມນິຍົມຕ່າງຝ່າຍຕ່າງໃດ້ຮັບຜົນປະໂຍດ ກ່ຽວກັບດ້ານກະສີກັມ ປ່າໄມ້ ອຸດສາ
ຫະກັມ ການຄົມມະນາຄົມຂົນສົ່ງ ການຂຸດຄົ້ນສັບພະຍາກອນທັມມະຊາດ ແລະ ບັນດາຂົງເຂດເສຖະກິດອື່ນໆ
ຊ່ວຍເຫຼືອກັນທາງດ້ານເສຖະຫິດ ແລະ ວິທະຍາການຢ່າງສຸດອົກສຸດໃຈ ຊ່ວຍເຫຼືອກັນທາງດ້ານເສຖະກິດ
ວັດທະນະທັມ ແລະ ວິທະຍາສາດ ວິທະຍາການ ເປີດການຮັບຮອງພົວພັນດ້ານການຄ້ານຳກັນດ້ວຍຄວາມ
ເອົາໃຈໃສ່ເປັນພິເສດ.

ຂ. ສອງຝ່າຍເຫັນດີເປີດກ້ວາງການແລກປ່ຽນວິທະຍາສາດ ວິທະຍາການ ການຮ່ວມມືດ້ານວັດທະນະທັມ
ສິລະປະ ການສຶກສາ ສາທາລະນະສຸກ ຂ່າວສານມວນຊົນ ໜັງສືພິມ ວິທະຍຸກະຈາຍສຽງ ພາບຍົນ ກິລາ
ກາຍກັມ ແລະ ບັນດ້າຍວັດທະນະທັມອື່ນໆ.

ຄ. ສອງຝ່າຍຈະເພີ້ມທະວີບັນຫາການພົບປະກັນລະວ່າງຂະແໜງການຕ່າງໆທີ່ມີສ່ວນກ່ຽວພັນຂອງ
ປະເທດທັງສອງເພື່ອພ້ອມກັນປຶກສາຫາລືການປະຕິບັດບັນດາແຜ່ນການຮ່ວມມືກັນໃຫ້ປະກົດຜົນເປັນຈິງແລກ
ປ່ຽນບົດຮຽນຕ່າງໆກ່ຽວກັບການກໍ່ສ້າງເສຖະກິດ ແລະ ການຂະຍາຍວັດທະນະທັມ.

ມາດຕຣາ 4. ສອງຝ່າຍຢືນຢັນເຖິງການຕັດສິນໃຈກໍ່ສ້າງຊາຍແດນລາວ-ວຽດນາມເປັນຊາຍແດນມິດຕະພາບຖານອ້າຍ
ນ້ອງອັນຍາວນານລະວ່າງປະເທດທັງສອງບົນພື້ນຖານແຫ່ງສົນທິສັນຍາກຳນົດເສັ້ນຊາຍແດນປະເທດລະວ່າງ
ສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ ກັບ ສາທາລະນະລັດສັງຄົມນິຍົມວຽດນາມ
ເມື່ອວັນທີ່ 18. ກໍຣກະດາ. 1977.

ມາດຕຣາ 5. ກ. ສອງຝ່າຍເຂົ້າລົບ ແລະ ສະນັບສະນູນຢ່າງສົມບູນຕໍ່ແນວທາງສາກົນເປັນເອກະລາດເປັນເຈົ້າຕົນເອງ
ຂອງກັນ ແລະ ກັນ.
ຂ. ສອງຝ່າຍຈະອອກແຮງເພີ້ມທະວີຄວາມສາມະຄີແບບຕໍ່ສູ້ ແລະ ການພົວພັນຮ່ວມມືກັນກັບປະເທດສັງ
ຄົມນິຍົມອ້າຍນ້ອງຕັ້ງໜ້າ ປະກອບສ່ວນຂອງຕົນພ້ອມກັບປະເທດສັງຄົມນິຍົມກັບຂະບວນການຄອມມຸຍນິດ
ສາກົນ ເພິ້ມທະວີຄວາມສາມະຄີສະນັບສະນູນ ແລະ ການຊ່ອຍເຫຼືອຊື່ງກັນແລະກັນບົນພື້ນຖານລັດທິມາກ-
ເລນິນ ແລະ ລັດທິສາກົນກັມມະຊີບ.

ຄ. ເພີ້ມທະວີຄວາມສາມະຄີແບບສູ້ລົບ ການຮ່ວມມືອັນຍາວນານ ແລະ ການຊ່ວຍເຫຼືອພະລາດອນພາບ
ເຊິ່ງກັນ ແລະ ກັນ ກັບກັມພູຊາບົນພື້ນຖານຄວາມສະເມີພາບອັນຄົບຖ້ວນ ເຄົາລົບຄວາມເປັນເອກະລາດອະທິ
ປະໄຕຜືນແຜ່ນດີນອັນຄົວຖ້ວນຂອງກັນ ສະນັບສະນູນພາລະກິດຕໍ່ສູ້ຂອງປະຊາຊົນບັນດາປະເທດອາຊີອາຄະ
ເນເພ່ື່ອເອກະລາດແຫ່ງຊາດ ປະຊາທິປະໄຕ ສັນຕິພາບ ແລະ ຄວາມເປັນກາງຢ່າງແທ້ຈິງ ກໍ່ສ້າງ ແລະ ຂະ
ຍາຍການພົວພັນມິດຕະພາບ ແລະ ການຮ່ວມມືກັນກັບປະເທດໃນພາກພື້ນຖານເຄົາລົບຄວາມເປັນເອກະລາດ
ອະທິປະໄຕຜືນແຜ່ນດີນອັນຄົບຖ້ວນຂອງກັນ ບໍ່ແຊກແຊງເຂົ້າກິດຈະການພາຍໃນຂອງກັນ ສະເມີພາບ ແລະ
ຕ່າງຝ່າຍມີຜົນປະໂຍດພ້ອມກັນຄົງຕົວຢູ່ໂດຍສັນຕິ ສະນັບສະນູນການຕໍ່ສູ້ຂອງປະຊາຊົວບັນດາປະເທດອາຊີ
ອາຟະລິກາ ອາເມລິກາລາຕິນ ຕ້ານລັດທິຈັກກະພັດທຶນນິຍົມ ຕ້ານລັດທິລ່າເມືອງຂື້ນ ຕ້ານລັດທິຈຳແນກເຊື້ອ
ຊາດທັງເກົ່າ ແລະ ໃໝ່ ເພື່ອຄວາມເປັນເອກະລາດແຫ່ງຊາດ ປະຊາທິປະໄຕ ແລະ ຄວາມກ້າວໜ້າຂອງສັງ
ຄົມ ສະນັບສະນູນຂອງຊົນຊັ້ນກັມມະກອນ ແລະ ປະຊາຊົນຜູ້ອອກແຮງງານໃນບັນດາປະເທດທືນນິຍົມເພື່ອ
ຍາດເອົາສິດທິໃນການດຳລົງຊີວິດ ປະຊາທິປະໄຕ ກ້າວໜ້າທາງສັງຄົມ ໃຫ້ມີຄວາມໝາຍໝັ້ນວ່າທຸກສິ່ງທຸກ
ຢ່າງຈົນສຸດກຳລັງຂອງຕົນເພື່ອອິງໃສ່ປະກອບສ່ວນເຂົ້າໃນພາລະກິດຕໍ່ສູ້ຮ່ວມຂອງປະຊາຊົນໃນໂລກເພື່ອ
ສັນຕິພາບ ເອກລາດແຫ່ງຊາດ ປະຊາທິປະໄຕ ແລະ ສັງຄົມນິຍົມ.

ມາດຕຣາ 6. ກ. ສອງຝ່າຍຈະດຳເນີນການແລກປ່ຽນຄວາມຄິດຄວາມເຫັນກັນຢ່າງສະເມີພາບກ່ຽວກັບບັນຫາຕ່າງໆທີ່
ກ່ຽວພັນເຖິງການພົວພັນລະວ່າງປະເທດທັງສອງ ແລະ ບັນຫາຂອງສາກົນຕ່າງໆທີ່ທັງສອງຝ່າຍຈະມີຄວາມ
ສົນໃຈດ້ວຍການພົບປະກັນລະວ່່າງຜູ້ນຳພັກ ແລະ ລັດ ດ້ວຍການໄປຢ້ຽມຢາມຂອງບັນດາຄະນະຜູ້ແທນເປັນ
ທາງການ ແລະ ບັນດາຜູ້ຕາວໜ້າພິເສດ ຫຼື ໂດຍຜ່ານເສັ້ນທາງການທູດ ສອງຝ່າຍ ຈະສົ່ງເສີມການເປີດ
ກ້ວາງການພົວພັນລະວ່າງບັນດາອົງການຈັດຕັ້ງມະຫາຊົນຂອງສອງປະເທດ.

ຂ. ທຸກບັນຫາທີ່ກ່ຽວພັນເຖິງສາຍພົວພັນລະວ່າງປະເທດທັງສອງຄ່ອຍໆຕົກລົງໂດຍການແລກປ່ຽນບົນຈິດ
ໃຈຂອງຄວາມເຂົ້າໃຈເຊິ່ງກັນ ແລະ ກັນ ແລະ ນັບຖືໃນຄວາມເປັນທັມ ແລະ ພຶດຕິກັມດ້ວຍເຫດດ້ວຍຜົນ.

ມາດຕຣາ 7. ກ. ສົນທິສັນຍາສະບັບນີ້ຈະໃຫ້ການສັນຍາຮັບ ແລະ ມີຜົນສັກສິດນັບແຕ່ມື້ ເຊັນກັນເປັນຕົ້ນໄປ ການແລກ
ປ່ຽນສານສັນຍາບັນ ຈະໄດ້ດຳເນີນຢູ່ທີ່ຮ່າໂນ້ຍ ນະຄອນຫຼວງແຫ່ງສາທາລະລັດສັງຄົມນິຍົມວຽດນາມ
ໃນໄວໆເທົ້າທີ່ຈະໄວໄດ້.

ຂ. ສົນທິສັນຍາສະບັບນີ້ມີຄຸນຄ່າໃນລະຍະ 25 ປີ ແລະ ຈະໄດ້ຕໍ່ອາຍຸໄປໃນຕົວເອງເທື່ອລະ 10 ປີ
ຖ້າຫາກວ່າຝ່າຍນື່ງຂອງພາຄີຄູ່ສັນຍາແຈ້ງຄວາມປະສົງຢາກລົບລ້າງສົນທິສັນຍາສະບັບນີ້ໃຫ້ຝ່າຍນື່ງ
ຊາບລ່ວງໜ້າ ດ້ວຍລາຍລັກອັນສອນຢ່າງນ້ອຍນື່ງປີກ່ອນສົນທິສັນຍາຈະສິ້ນກຳນົດ.

ຄ. ສົນທິສັນຍາສັບັບນີ້ທຳທີ່ວຽງຈັນ ນະຄອນຫຼວງແຫ່ງສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ
ວັນທີ່ 18. ກໍຣະກະດາ. 1977 ເປັນພາສາລາວ ແລະ ພາສາວຽດນາມ ທັງສອງບັບລາວ ວຽດນາມ
ລ້ວນແຕ່ມີຄຸນຄ່າເທົ່າທຽມກັນ.

ລົງນາມໂດຍ: ຕາງໜ້າ ສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ ສະຫາຍ ໄກສອນ ພົມວິຫານ ນາຍົກລັດຖະມົນຕີ ແລະ ຕາງໜ້າ ສາທາລະນະລັດສັງຄົມນິຍົມວຽດນາມ ສະຫາຍ ຟາມວັນດົ້ງ ນາຍົກລັດຖະມົນຕີ



-- Edited by buckhumnoy on Saturday 2nd of July 2011 05:24:25 PM

__________________
Anonymous

Date:
RE: ສັນຍາມິຕພາບແບບພິເສດ ແລະ ການຮ່ວມມືລະວ່າງ ສປປລາວ ກັບ ສສວຽດນາມ
Permalink   
 


 ພີ່ນ້ອງລາວຮ່ວມຊາຕ.

ຂອບໃຈຫລາຍໆ ທີ່ອຸດສາ ຊອກຫາ ເນຶ້ອໃນ ຂອງສັນຍານີ້ ມາປັນພີ່ນ້ອງເຮົາ ໃດ້
ອ່ານໃຫ້ທົ່ວເຖິງກັນ ເຖິງແມ່ນວ່າ ຣັຖບານເພີ່ນ ບໍ່ມີວັຖຸປະສົງ ຢາກໃຫ້ ສົນທິ ສັນຍາ
ສະບັບນີ້ ອອກສູ່ສາຍຕາ ມະຫາຊົນ ກໍຕາມ, ແຕ່ເລຶ່ອງໃຫ່ຍແບບນີ້, ຈະເອົາໃບບົວ
ມາເປິດຄາບເຫນົ່າຊ້າງຕາຍ ອາດຈະເປັນເລຶ່ອງຕະລົກ ເຮຮາ....!

ໝາຍຄວາມວ່າ ຍັງມີເວລາ ອີກພຽງແຕ່ 16 ມືເທົ່ານັ້ນຈະຮອດ ວັນທີ່ 18. ກໍຣະກະດາ.
2011 ຈົບກຳນົດ ວ່າ ໂດຍ ການຕໍ່ອາຍຸອີກ 10ປີ ຄັ້ງໃໝ່ ດັ່ງຂໍ້ຄວາມຄື: (ຖ້າຫາກວ່າ
ຝ່າຍນື່ງຂອງພາຄີຄູ່ສັນຍາແຈ້ງຄວາມປະສົງຢາກລົບລ້າງສົນທິ ສັນຍາ ສະບັບນີ້ໃຫ້
ຝ່າຍນື່ງ ຊາບລ່ວງໜ້າ ດ້ວຍລາຍລັກ ອັນສອນ ຢ່າງນ້ອຍນື່ງປີ ກ່ອນສົນທິສັນຍາ
ຈະສິ້ນກຳນົດ) ໝາຍວ່າຈະ ຕໍ່ອາຍຸໄປອິກ 10ປີ ໄປໃນຕົວຮອດປີ 2022.

ຄວາມເຂົ້າໃຈ ຂອງ ຜຂ ສະແດງວ່າ ໃບຊື້ຂາຍ ສະບັບນີ້ ຫາກຜູ່ໃດ ບໍ່ປາກໂປ້ງ
ຫລຶ ຢາກປ່ຽນແປງ. ການຜ່ອນ ດອກເບັ້ຽ ແບບກົກຂາຍປາຍກີນ ເພີ່ນໃດ້ແນ່ ແລະ
ໂຕໃດ້ນໍາ ຕາມກົນໄກ ຂອງຣະບົບ ລູກຫນີ້ ແລະເຈົ້າຫນີ້ ກໍຈະມີ ຄວາມພໍໃຈ ດັ່ງທີ່
ເປັນຢູ່ ໃນປັດຈຸບັນ. ຫາກພັກ ການເມຶອງ ພັກປະຊາຊົນລາວ ທີ່ເປັນພັກ ຊື້ຂາຍ ຕະ
ລາດກີນແບ່ງ ກັບພັກ ປະຊາຊົນວຽດນາມ ບໍ່ໃດ້ສົນໃຈ ວ່າຈະປ່ຽນແປງ ຫນັງສື
ຊື້ຂາຍ ສະບັບນີ້ ກໍຈະສາມາດ ຕໍ່ອາຍຸອອກໄປ ອີກໃດ້ 10ປີ ໂດຍອັດຕາໂລມັດ.

ເອີ.....! ເຊັນຫນັງສື ແບບຈ້າ, ໂງ່, ຄວາຍໆ ແບບນີ້ກໍຍັງມີນໍ໋? ສະແດງວ່າ ຜູ່ກ່ຽວ
ຢາກເປັນ ຂ້ອຍຕ່າງຊາດ, ເປັນຫົວເມຶອງຂື້ນ ກັບຕ່າງຊາດ ໄປຈົນຕະຫລອດການ
ລະນານ ເວົ້າແລ້ວວ່າ ຕໍ່ສູ້ເພຶ່ອ ເອກກະຣາດ ປົດເເອກ ອອກການກົດຂີ່ ຂອງພວກ
ສັງດີນາ, ນາຍທຶນ ແລະພວກປະຕິການ ຂາຍຊາດ ແລ້ວເອົາໄປໃຫ້ອີກຝ່າຍນຶ່ງ.
ເບິ່ງຕາມເນຶ້ອຜ້າແລ້ວ, ຟ້າວຢາດເອົາ ປະເທດຕົນເອງ ແລະກໍເອົາໄປຈໍານໍາຕໍ່
ໃຫ້ກັບ ປະເທດນຶ່ງອີກ. ການກະທໍາແບບນີ້ ເປັນການກະທໍາ ແບບປ່ຽນ ຂົ້ວຢຶດ
ຖືເອົາໃບຕາດີ ເທົ່ານັ້ນເອງ.

ຮັກແພງ,



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

 เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามขึ้นปราศรัยในที่ประชุมสภาแห่งชาติลาว

20116231957191.jpg


 

การ เดินทางเยือนของเลขาธิการพรรคประชาชนเวียดนามครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่ลาวมีต่อเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านยุทธศาสตร์การเมือง การทหาร และการพัฒนา เพราะลาวจะกลายเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อภายในเขต ซึ่งจีนก็มีแผนที่จะเชื่อมอำนาจเข้ามาในลาวเช่นกัน

นัก วิจัยการเมืองของไทยเกี่ยวกับเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้ให้ทัศนะว่าการขึ้นกล่าวปราศรัยของผู้นำเวียดนาม ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งผลสะท้อนด้านการเมืองและการปกครองในลาวอย่าง ชัดเจน อาจจะเชื่อมโยงไปถึงการขยายอำนาจของเวียดนามในลาวและเป็นการเผยต่อชาวโลกให้ รู้ว่าลาวและเวียดนามมีอิทธิพลต่อกัน



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ໝາຍຄວາມວ່າ ຍັງມີເວລາ ອີກພຽງແຕ່ 16 ມືເທົ່ານັ້ນຈະຮອດ ວັນທີ່ 18. ກໍຣະກະດາ.
2011 ຈົບກຳນົດ ວ່າ ໂດຍ ການຕໍ່ອາຍຸອີກ 10ປີ ຄັ້ງໃໝ່ ດັ່ງຂໍ້ຄວາມຄື: (ຖ້າຫາກວ່າ
ຝ່າຍນື່ງຂອງພາຄີຄູ່ສັນຍາແຈ້ງຄວາມປະສົງຢາກລົບລ້າງສົນທິ ສັນຍາ ສະບັບນີ້ໃຫ້
ຝ່າຍນື່ງ ຊາບລ່ວງໜ້າ ດ້ວຍລາຍລັກ ອັນສອນ ຢ່າງນ້ອຍນື່ງປີ ກ່ອນສົນທິສັນຍາ
ຈະສິ້ນກຳນົດ) ໝາຍວ່າຈະ ຕໍ່ອາຍຸໄປອິກ 10ປີ ໄປໃນຕົວຮອດປີ 2022.”

----------------------

ສສ ຫູ່ນມຮູບຫລໍ່ ຈາກເມືອງ ວຈ ຊ່ວຍຊອກຫາ ສສ ຊາດນີຍົມທັງຫົມດໃນສະພາເຕັ້ຍ
ຍົກເອົາບັນຫານິ້ຂື້ນມາ ເປັນພາຣະກິດຂອງຊາດ ຈິກ ສົນທິສັນຍາຂາຍຊາດ ຂອງ ຜູ້ນຳ ຫັວຂອດນີນົມ
ນິ້ດ້ວຍ
ຂອບໄຈ

__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

โบราณกาลชาตีรัฐยังไม่เกีด วัฒนธรรมเปันสี่งสากล ที่ คนยอมรับ ถือปฎีบัตต่อกันอย่างปกตี เมื่อ เกีดชาตีรัฐขื้นมา อาณาเขตมี ขื้น การ สร้างอารมณ์ร่วมความเป็นชาตีขื้น วัฒนธรรม ถูกดิง ไปด้วย แต่สายใยงใยมันมิอยู่
จี่งไม่ควนอย่างยีงที่ ฝ่ายใดจะอ้างว่า เป็นเจ้าของ สัก แต่มี ความคีดชาตีนียมคับแคบมากำหนดเท้านั้น

โดย ป.ล.ครุมุล ใน ฏาน สัปดาวีจาร วันที่ 21-27กรค2537


__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

เวลานี้ที่ ปทท ภาษาลาวเปันภาษาที่พูดมากที่สุดแต่ถุกภาษาเจ้าอาณานีคมท้องถี่นcolonize
Dr W.A.Smalleyเขียนไว้ในปื้ม
Linguistic Diversity and National Unity.Language Ecology in Thailand..
Chicago and London 1994แจ้งขาวนะ


__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

“ลัทธิพรรคนิยม” นั้นเป็นอะไรก็ตามที่สามารถจะไปได้ไกลมากๆ คือ“ลัทธีพรรคนิยม” เป็นเรื่องของความรัก ความรักพรรคเป็นบวก เป็นพลังสร้างสรรค์ แต่ถ้าล้ำเส้นมันก็กลายเป็นความหลง พอหลงปุ๊บคลั่ง หลงปุ๊บตาบอด หลงก็คลั่ง แล้วมันอาจไปถึงขนาดทำอะไรก็ได้ กลายเป็นพลังลบ เป็นพลังทำลาย อันนี้คือทวิลักษณ์ของลัทธิพรรคนิยมเช่นเดียวกัน มีด้านที่เป็นบวกซึ่งดีมากๆ ถ้าเรารักพรรคเราเสียสละ เราทำอะไรให้พรรคเราเจริญ ทำได้เยอะมาก
พลังของ 'พรรคนิยม' เป็นสิ่งที่อธิบายได้ไม่ง่ายนัก 'พรรค' ทำให้เราขนลุก ทำให้เรารู้สึกว่าจะทำอะไรก็ได้ที่เป็นการเสียสละ ที่คนจำนวนเป็นล้านๆ ที่ต้องตายลงโดยสิ่งที่อธิบายได้ยากยิ่ง”

นี้แม่นคำตอบตัวตรีงของคนคลั่ง(บ้า)พรรค


__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ພາຣະກີດຊາຕຂອງສົມເດັດພຣະເຈົ້າອະນຸ inthirak [29/10/09 5:17 AM]


ປຊຊ ລາວສອງຝັ່ງຂອງຂໍມອບແລະເທີດທູນກຽດປະວັດສາຕແຫ່ງຄວາມເປັນບັນພະບຸຣຸດຂອງພຣະອົງເຈົ້າອະນຸ ໄວ້ໃນຊ່ວງເລີກຂອງຫັວໄຈຢ່າງບໍ່ມີວັນລືມ ຄີດວ່າເປັນການເມາະສົມທີສຸດ ເພາະ ພຣະອົງ ເປັນກະສັຕທີ່ເກັ່ງກ້າ ຈີດໄຈແຫ້ນນຫນຽວ ແສນຮັກຊາຕ ເຊື້ອເກີດຕົນ ແສນຄີດເຖີງໂຊກຊາຕາກັມ ຂອງຄົນໃນຊາຕຕົນ ທີ່ ຖືກ ສັກດີນາໂຈນສຍາມ ໄຮ້ມະນຸສທັມ ກວດລ້າງໄປເປັນທາຕ ທີ່ ປທ ເຂົາ ທີ່ ບໍ່ວ່າຍາມໄດ ກະ ອ້າປາກ ຫລອກໂລກວ່າ ບ້ານພີ່ເມືອງນ້ອງ ແຕ່ແນ່ນອນ ສີ່ງນີ້ໃນຮູບອະທັມໂຫດຮ້າຍປ່າເຖື່ອນ ທີ່ ສຸດເທົ້າທີ່ ປະວັດສາຕ ລາວສມັຍໄຫ່ມ ໄດ້ພົບພໍ້ຮູ້ຮຽນ.
ແນ່ນອນພຣະອົງ ລຸກຂື້ນເຮັດສົງຄາມປົດປ່ອຍຊາຕ ມູ້ງຫວັງທ້ອນໂຮມຊົນຊາຕເຊື້ອລາວ ຮ້ອງຂໍຄວາມເປັນທັມ ຢ່າງບໍ່ທໍ້ຖອຍ ແລະ ຢ້ານກັວ ຕໍ່ ເຈົ້າໂຈນອານານີຄົມທ້ອງຖີ່ນສຍາມ ທີ່ ແຂງແຮງກ່ວາ ຂໍ ຊຊຊ ລາວ ທີ່ ພວກ ບ້າອຳນາດສຍາມ ຍາດແຍງໄປກ່ອນນັ້ນ ກັບ ປທ ແມ່ຕົນ ແຕ່ໃນທີ່ສຸດ ທຸກຢ່າງ ຖືກ ປະຕີເສດ ອັນ ເປັນເຫດຜົນຕົ້ນຕໍຂອງສົງຄາມ ທີ່ ຊຊຊ ລາວ ສອງຝັ່ງ ບໍ່ອາດລືມໄປໄດ້ຮອດເທົ້າທຸກວັນນີ້
ພຣະອົງເສັຍພຣະໄທຢ່າງສຸດຍີ່ງ ເຖີງຕັດສີນໄຈ ຕໍ່ສູ້ ເຮັດສົງຄາມນີ້ຂື້ນຢ່າງວີຣາດອາດຫານ ຊານໄຊ ເພື່ອ ໃຫ້ການທ້ອນໂຮມລາວເກີດຂື້ນໄດ້ ເອົາຄວາມເປັນ ເອກກະຣາຊອັນນື່ງອັນດຽວມາສູ່ລາວລ້ານຊ້າງ ທີ່ ພຣະອົງຮັກແລະ ຫວງແຫນ ເຫນືອກ່ວາສີ່ງໃດໆທັງສີ່ງທັງປວງ.
ການລຸກຂື້ນເຮັດສົງຄາມປ່ອຍຊາຕ ແມ່ນການຕໍ່ສູ້ ທີ່ ຫ້ນາແສນຍົກຍ້ອງທີ່ສຸດ ໃນຈຳນວນສົງຄາມ ທີ່ ກະສັຕລາວ ທີ່ ຜ່ານມາ ໄດ້ ມີ ບົດຍາດໃຫ້ເຫັນເປັນທີ່ຮຽນຮູ້ກັນມາແລ້ວ.
ພຣະອົງຊາບກ່ອນແລ້ວ ວ່າ ເມື່ອ ເກີດຄວາມບໍ່ສຳເຣັດຂື້ນ ມັນຈະລົງມາໃນຮູບໃດ ພຣະອົງທ່ານ ຊາບໃນຊ່ວງເລີກຫມາກຫັວໄຈຂອງພຣະອົງແນ່ນອນແລ້ວ .
ແຕ່ພຣະອົງກໍ່ ບໍ່ໄດ້ທໍ້ຖອຍໄຈ ຖື ວ່າ ເປັນພາຣະກີດຊາຕ ທີ່ຕ້ອງຈະທຳຈະເຮັດ ເພື່ອຄວາມເປັນຊາຕລາວ ເພື່ອການທ້ອນໂຮມລາວ ເພື່ອ ເອກກະຣາຊຂອງລ້ານຊ້າງພຣະອົງ ຕ້ອງການປັດເຂັ່ຍ ຈັກກະພັດສັກດີນາສຍາມ ອອກຈາກ ຄວາມຫີວໂຫຍ ໃນຄວາມໂລບມາກໂລພາກັບການຍຶດດີນແດນ ຂອງ ປທ ເພື່ອນບ້ານຢ່າງບໍ່ມີວັນຊີ້ນສຸດ ຂອງ ຣາຊວົງໂຈນຈັກກຣີ ທີ່ ຍຶດຄອງດີນແດນລ້ານຊ້າງຂອງພຣະອົງແຕ່ປີ 1777.
ພຣະອົງອອກປາກ ວ່າ ພຣະອົງຕ້ອງເຮັດສົງຄາມ ປົດປ່ອຍຊາຕນີ້ ເຖີງສຸດລົມຫາຍໄຈຂອງພຣະອົງ ທັງໆທີ່ ພຣະອົງ ຊາບໃນແກ່ນໄຈແລ້ວວ່າ ມັນຈະລົງມາໃນຮູບໃດກັນແທ້ ເມື່ອສີ່ງນີ້ມັນເກີດບໍ່ມີຄວາມສຳເຣັດຂື້ນມາ
ແຕ່ແລ້ວ ສີ່ງທີ່ ເກີດຂື້ນຕາມມາ ກະຄື ຊຊຊ ລາວ70 ລ້ານຄົນຊາບນັ້ນລະ
ພຣະອົງ ໄດ້ເສັຍສົງຄາມນີ້ ໃຫ້ໂຈນກະສັດຂ້າງບ້ານຢ່າງເຈັບແສບທີ່ສຸດ ເຖີງຄອບຄັວຂອງພຣະອົງຕ້ອງຖືກ ນຳມາປະຈານຊາວບ້ານ ທີ່ກູງເທບແລ້ວກະທໍຣະມານພະອົງຂອງພວກເຮົາ7ມຶ້7ຄືນຢ່າງໄຮ້ມະນູສທັມ ອັນບໍ່ສາມາດມາບັນລະຍາຍໄດ້ເລີຍໃນ ທີ່ນີ້ ຕາມນີສັຍສັນດານໂຫດຫ້ຽມສາມານ ບໍ່ມີຄວາມອີດູກູນາ ອະພັຍຍະໂທດ ແຕ່ຢ່າງໃດ ຕາມນີສິຍສັນດານຊັ່ວໆຂອງໂຈນນັ້ນເອງ.
ແຕ່ຊ່າງເຖີດ ນັ້ນມັນເປັນຄວາມເຈັບປວດ ຂອງ ຊຊຊ ລາວ ທັງຫມົດ ບໍ່ແມ່ນ ຈະເປັນ ຄວາມປາໄຊທີ່ແສນເຈັບປວດແຕ່ຂອງພຣະອົງດຽວ ກໍ່ພໍຈະເຂົ້າໄຈໄດ້ ທີ.
ພວກເຣົາຄວນຈາຣຶກໄວ້ໃນຊ່ວງເລີກຂອງຫັວໄຈຕລອດໄປ ຍໍ່ຄວນຫລົງລືມໄປໄດ້ເດັດຂາດ
ພຣະອົງ ກ່ອນຊີ້ນພະຊົນ ໄດ້ສາບແຊ່ງຕໍ່ ຫ້ນາຄອບຄັວຂອງພຣະອົງ ຢ່າງຊາຕນີຍົມຫ້ນາຍົກຍ້ອງວ່າ :
"ກະສັດ ໂຈນສຍາມອົງໃດ ເອົາຕີນ ໄປຢຽບ ດີນແດນລາວ ຍາມໃດ ຂໍໃຫ້ເປັນໄປ ຢ່າໄດ້ເກີດໄດ້ເງີຍ ໃຫ້ ພົບແຕ່ຄວາມ ຊີ້ນຫວັງ ລົມລະລາຍ ອັບອາຍຂາຍຫ້ນາ ທຸກໂສກ ແຕກແຍກ ແລະ ວູ້ນວາຍ ໃນຄອບຄັວ ບ້ານເມືອງ ຕລອດໄປ.........."
ປະວັດສາຕເປັນຂອງແທ້ .........ກະສັດສຍາມ ບໍ່ມີໃຜກ້າ ເອົາຕີນມາຢຽບດີນລາວແຕ່ນັ້ນມາ ຈະເປັນ ທີ່ ຊຽງໄຫ່ມກະຄື ດີນແດນ ພາກ ຕວອຊຫນ
ມີແຕ່ ຣາຊການທີ່ 7 ແຫ່ງຣາຊວົງຈັກກຣີ ພ້ອມພຣະມະເຫສີ ພຣະນາງເຈົ້າຣຳໄພມະນີ ທີ່ ຊົງໄປຢ້ຽມມົນທົນຝ່າຍເຫນືອ(ຊຽງໄຫ່ມ) ຫລັງຈາກຣາຊາພີເສກສອງປີ ຄືໃນ ປີ 1927 ແລະ 8ປີ ຕໍ່ມາ ຄືໃນ ປີ 1935 ຄະນະຣາຊດອນຂອງຈອມພົລ ປໍ ແລະ ປຣີດີພະຍົມຍົງກະໄລ່ເຂົາທັງສອງອອກນອກ ປທ ໄປ ຕາຍ ທີ່ ລອນດອນ ໃນ ປີ 1948 ຊື້ງມີອາຍຸ ບໍ່ເຖີງ50 ໄປ ດ້ວຍຊ້ຳ ແລະຣາຊການທີ່ 9 ອົງດຽວໃນປີ 1994 ກ້າ ເອົາຕີນ ມາປົງທີ່ ວຈ ເຮົາ ຫລືດີນແດນ ອະດີດຣາຊອານາຈັກລາວ ອານາຈັກຂອງພວກໂຈນ ຜດກ ຄມນ ທັງທີ່ ບໍ່ເຄີຍອອກນອກ ປທ ຕັ້ງສາມທົສວັດ ມາຮັບຮູ້ການຂ້າລ້າງເພົ່າພັນລາວ
ຕົນເອງເຖີງສາມແສນຄົນ ຂອງ ບັກຄຳໄຕ ບັກໄກສອນ ຄຳອ້ວນບູຜາແລະພັກພວກໂຈນຫມາປ່າ ຈາກ ຊຳເຫືນອ, ຕອນນັ້ນ ເສຣີຊົນລາວທັ່ວໂລກ ອອກ ປາກ ໂປ້ງໆວ່າແບບຫຍໍ້ເຍີຍແລະບໍ່ເຂົ້າໄຈວ່າ ຫັວຫ້ນາສອງສັກດີນາໂຈນຫ້ນາແຫ້ລ(ຄົນ1ຂ້າລາວຕົນເອງເປັນແສນໆ ແລະອີກຄົນອູ້ມໄດ້ແມ່ນກະທັງອ້າຍມັນເອງ) ພົບແລະຈັບມືກັນເພື່ອບອກໃຫ້ ໂລກທັງໂລກ ທີ່ ບໍ່ຮູ້ເລ້ ກົນຂອງຣະບອບສັກດີນາໂຈນຄອມມຸຍນີສ ແລະ ສັກດີນາໂຈນຕັວແທ້ຂອງສຍາມ ວ່າຕ້ອງການຫຍັງກັນແທ້ ໃນ ເມື່ອ ຣະບອບທຳອີດ ຂ້າໄດ້ ລົບລ້າງໄດ້ ແມ່ນກະທັງຣາຊວົງຕົນເອງ ແລະ ຣະບອບທີ່ສອງຕາມັນບອດແທ້(ຄວາມຈີງຕາມັນກະບອດຂ້າງນື່ງແທ້ໆ) ບໍ່ເຫັນຄວາມໂຫດຮ້າຍທາຣູນ ໃນການຂ້າລ້າງເພົ່າພັນລາວຕົນເອງ 3ແສນຄົນ ການຈັບກູມລາວຝ່າຍຂວາໄປຕາຍທັງເປັນ ຫ້າຫົກມື່ນຄົນ ທີ່ ສູນສັມມະນາ ສົບຫ່າວເຊໂປນແລະ ອັຕປືການໄລ່ລາວນອກ ອອກ ປທ ເຖີງ4 ແສນຄົນ ແລະ ການຍຶດບ້ານເຮືອນລາວເສຣີ ໂດຍບໍ່ເອົາກົດຫມາຍໄດໆ ມາປັນພື້ນຖານຕໍ່ຮອງ ແຕ່ເຮັດ ຕາມສັນດານອັນຕະພານຂອງໂຈນ500. (ກ່ຽວກັບຄວາມເມີນເສີຍບໍໃຫ້ຄວາມເປັນທັມຊ່ວຍເຫລຶອເບີ່ງແຍງແກ່ຣາຊວົງລ້ານຊ້າງຮົ່ມຂາວຂອງພວກເຮົາ ທີ່ປົບໂຈນລາວແດງໃນ ກາງທົສວັຕ ທີ່ 70ໃຫ້ ພາກັນອ່ານ ພາສາ ສຍາມໃນທີ່ນີ້ໃດ້)
ຄອບຄັວຂອງໂຈນຕາດ່ຽວໄດ້ຮັບບາບກັມບໍ່ມີຄວາມສຸກ ໃນຊີວີຕຕລອດມາຕາມຄຳສາບແສ່ງຂອງສົມເດັດພຣະເຈົ້າອະນຸເຮົາ
ນີ້ຢ່າງໃດ ເຊີນເປີດເບີ່ງຂ່າວໃນໃນຂ້າງລູ່ມນີ້ ເປັນ ທີ່ ຮູ້ເຫັນ ແນ່ນອນ100ເປີເຊັນ ວ່າສີ່ງທີ່ພຣະອົງທີ່ ຮັກ ຂອງພວກເຮົາ ໄດ້ສາບແຊ່ງນັ້ນ ມັນເກີດເປັນຈີງຂື້ນແລ້ວນະ


__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

อันตรายของลัทธิชาตินิยมไทย
(กรณีเหตุการณ์รุนแรงที่ปัตตานี)
ดร. ธงชัย วินิจจะกุล
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา

บทความ 3 ตอนชิ้นนี้เคยตีพิมพ์แล้วใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2547
โดย อ.ธงชัย วินิจจกุล ส่งมาเผยแพร่บนเว็ปไซค์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บทความนี้ยาวประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4)

รัฐบาลกล่าวถูกต้อง ว่าโศกนาฏกรรมที่ปัตตานี มีหลายสาเหตุ ผลประโยชน์ตามชายแดน ยาเสพติด ขบวนการแยกดินแดน เป็นต้น
แต่สิ่งที่รัฐบาลพยายามทำให้คลุมเครือตลอดเวลา ทั้งๆ ที่เป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่สุด คือ ความตึงเครียด ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในดินแดนแถบนั้นมาตลอด ร้อยปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางศาสนาและชาติพันธุ์ และการกดขี่ข่มเหงของรัฐไทย ในกรุงเทพฯ มาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 เป็นอย่างน้อย
กล่าวอย่างรวบยอด ก็คือ ปัญหาที่แท้จริงมาจากลัทธิชาตินิยมไทยที่มีลักษณะกดขี่ข่มเหง แถมยังรักษาอำนาจของตนไว้ด้วยการใช้ความรุนแรง และมาตรการสำคัญของชาตินิยมชนิดนี้ คือ การปกปิดอำพรางประวัติศาสตร์อัปลักษณ์ของชาติไทยอีกบทหนึ่ง
สาธารณชนไทยไม่มีทางเข้าใจวิกฤติ ณ ชายแดนใต้สุดของประเทศไทย และปัญหาจะไม่มีทางได้รับการแก้ไขอย่างถึงรากยั่งยืน หากไม่เริ่มจากการเข้าใจประวัติศาสตร์อัปลักษณ์บทนี้ และหากไม่ขจัดชาตินิยมที่กดขี่ข่มเหง
ลัทธิชาตินิยม
ลัทธิชาตินิยม กล่าวอย่างกว้างที่สุด คือ การถือมั่นพึงพอใจในอัตลักษณ์หรือตัวตนรวมหมู่ (collective identity) ชนิดหนึ่ง หากถือมั่นพอใจมากก็อาจกลายเป็นการยึดมั่นถือมั่นในตัวกูของกูชนิดหนึ่ง เรียกว่าหลง (ชาติพวก) ตัวเอง หากหลงหนักกว่านั้นก็อาจกลายเป็นความคลั่งชาติ
ความหลงพวกตัวเองที่เรารู้จักกันทั่วไป ได้แก่ สถาบันนิยม ซึ่งหากอาการหนักก็อาจนำไปสู่การยกพวกตีกัน หรือตามล้างแค้นเพื่อพวกพ้องร่วมสถาบัน
เรามักไม่ค่อยคิดว่าลัทธิชาตินิยม คือ ความหลงประเภทเดียวกันกับสถาบันนิยม เพราะในสังคมไทยมักถือว่าชาตินิยมเป็นสิ่งดี แม้แต่นักวิชาการโดยทั่วไปยังมักอธิบายว่า "ชาตินิยมมิใช่ความคลั่งชาติ", "รักชาติไม่เป็นไร อย่าคลั่งชาติแล้วกัน"
เอาเข้าจริงความต่างระหว่างความยึดมั่นทั้งหลายนี้เป็นปริมาณนิดเดียวเท่านั้น
รักชาติ หลงชาติ คลั่งชาติจึงอาจเปลี่ยนไปมาฉับพลันแทบไม่ทันรู้ตัว แถมบ่อยครั้งเราอาจไม่รู้ตัวเลยว่า แค่รัก หรือหลง หรือคลั่งเข้าแล้ว
ลัทธิชาตินิยมไทย คือ ความยึดมั่นถือมั่นหรือหลงความเป็นไทยว่าดีกว่าสูงส่งกว่า ประเสริฐกว่าอัตลักษณ์รวมหมู่อย่างอื่น ลัทธิชาตินิยมไทยหรือชาติใดก็ตาม จึงเป็นเรื่องของความเชื่อความศรัทธาที่สังคมหนึ่งบ่มเพาะปลูกฝังแก่สมาชิกรุ่นแล้วรุ่นเล่า เพื่อสร้างพลังทางสังคมของชุมชนนั้น
ในแง่นี้ลัทธิชาตินิยมเป็นอุดมการณ์ชนิดหนึ่งคล้ายศาสนา ชาตินิยมจึงมีพลังด้านบวกสูงมากแบบเดียวกับศาสนา แต่ความหลงหรือคลั่งชาติจึงมีอันตรายมหันต์แบบเดียวกับศาสนา
นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเรียกลัทธิชาตินิยมว่าเป็น political religion หรือ socralized politics ปัญหามีอยู่ว่าเราอาจไม่รู้ตัวเลยว่า แค่รัก หรือหลง หรือคลั่ง เข้าแล้ว
ความเป็นไทย
ปัญหาสำคัญกว่า ยากกว่า และก่อให้เกิดความหลงที่อันตรายกว่า ก็คือ ความเป็นไทย (หรือชาติใดๆ ก็ตาม) เป็นจินตภาพที่นิยามไม่ได้ กลับคลุมเครือลื่นไหลไปมาตลอดเวลา ชาตินิยมไทย (และชาติอื่นส่วนข้างมากในโลก) คือ เอาดินแดนเป็นมูลฐานที่สมาชิกยึดมั่นร่วมกัน จากนั้นชาตินิยมไทยยังสร้างองค์ประกอบชนิดอื่นๆ มาช่วยนิยามความเป็นไทยอีก ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษา ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ศาสนา (พุทธ) และชาติพันธุ์ (ไทย) เป็นต้น
องค์ประกอบทุกประการที่กล่าวมาดูเหมือนว่าง่ายๆ ชัดเจนดี แต่แท้ที่จริงกลับคลุมเครือลื่นไหลมาตั้งแต่วินาทีแรกที่เกิดลัทธิชาตินิยมไทยขึ้นมา ดินแดนของประเทศไทยปัจจุบัน หลายแห่งไม่ใช่ของสยามมาก่อน แต่ยึดเอาของคนอื่นเขามา หรือเป็นดินแดนที่หลายฝ่ายอ้างซ้อนทับกัน


__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ภาษาไทยกลางเพิ่งจะกลายเป็นมาตรฐานและกลายเป็นของ "กลาง" สำหรับทั้งชาติมาไม่เกิน 100 ปี ผู้คนจำนวนมากในดินแดนของไทยไม่ใช้ภาษาไทยกลาง
ศาสนาพุทธไม่ใช่เกณฑ์วัดความเป็นไทยที่ดีนัก เพราะชาวไทยไม่จำเป็นต้องเป็นพุทธ
ชาติพันธุ์เป็นองค์ประกอบที่ลื่นไหลที่สุด เพราะไม่มีชาติพันธุ์ใดในโลกที่บริสุทธิ์นับแต่มนุษย์อพยพไปมา คน "ไทย" เป็นตัวอย่างหนึ่งของพันธุ์ผสมหรือพันธุ์ทาง ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลายสายมากมาย
ความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์เป็นความเชื่อ ซึ่งถึงที่สุดแล้วย่อมบังคับกันไม่ได้ ทว่าความแตกต่างคลุมเครือปรากฏตัวไม่ได้ด้วยข้อบังคับทางกฎหมาย
แม้ปัจจัยนิยามเหล่านี้จะคลุมเครือลื่นไหล แต่กลับทรงอิทธิพลมาก เพราะความเชื่อว่าชาติเป็นภววิสัย ดำรงอยู่แน่นอนไม่พึงต้องสงสัย ดังนั้น ยังไงๆ ก็ต้องมีปัจจัยมานิยามการดำรงอยู่ของชาติจนได้ กลายเป็นว่ายิ่งคลุมเครือยิ่งดี เพราะช่วยให้ผู้คนต่างความคิดต่างยุคสมัย สามารถสร้างนิยามใหม่ให้แก่ความเป็นชาติได้ ก่อให้เกิดพลวัต (Dynamirm) ของลัทธิชาตินิยมไทย
จินตภาพที่คลุมเครือและลื่นไหลไม่ใช่ความบกพร่อง แต่กลับเป็นภาวะปกติ ที่ทำให้ชาตินิยมไทย (และอื่นๆ) มีพลังต่อสมาชิกของชุมชนชาติที่แตกต่างหลากหลาย รวมถึงเกิดความหลงและคลั่งได้โดยไม่จำเป็นต้องคิดตรงกันแต่อย่างใด
ในเมื่อปัจจัยทุกอย่างที่ช่วยสร้างจินตภาพความเป็นไทยล้วนแต่คลุมเครือ กระบวนการทางสังคมที่ช่วยตอกย้ำว่า อะไรคือชาติ อะไรคือไทย จึงไม่ใช่การให้ความหมายตรงไปตรงมาว่า ความเป็นไทยคืออะไร แต่กลับเป็นการนิยามด้านกลับว่าอะไรบ้าง อย่างไรบ้าง ไม่ใช่ความเป็นไทย
ลัทธิชาตินิยมดำรงอยู่ได้ด้วยนิยามด้านกลับ กล่าวคือ ในกระบวนการขัดแย้งกับความเป็นอื่นหรือศัตรูนี่เอง จะเกิดวาทกรรมที่ทำหน้าที่เสมือนขีดเส้นแบ่งระหว่างชาติเรา-ชาติอื่น จินตภาพของความเป็นชาติจึงปรากฏชัดขึ้นมา ในระยะยาวเส้นแบ่งนี้เคลื่อนไปมาเสมอ จึงเกิดพลวัตและสร้างความหลากหลายแก่ลัทธิชาตินิยม
ดังนั้น ยิ่งมีการขัดแย้งตอบโต้กับความเป็นอื่น ลัทธิชาตินิยมจะยิ่งเข้มแข็ง
อันตรายของลัทธิชาตินิยมไทย - ความเป็นอื่น
ความเป็นอื่นของลัทธิชาตินิยมไทยมีหลายประเภทและเปลี่ยนแปลงได้ ลัทธิชาตินิยมไทยถือว่ามี "ศัตรู" คู่ปรับเก่าอยู่ทางตะวันตก มี "น้อง" จอมยุ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีชาติที่ชอบก่อกวนไว้ใจไม่ได้อยู่ทางตะวันออก
ไทยมักคิดว่าตนเป็นประเทศเล็ก จึงต้องคบหาอย่างระแวงระวังกับมหาอำนาจ ซึ่งเราทั้งรักทั้งกลัว ทั้งชื่นชมและรังเกียจ ท่าทีของไทยต่อจีน อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา จากยุคโบราณถึงปัจจุบันเป็นเช่นนี้ ความเป็นอื่นนำไปสู่นโยบายและท่าทีต่างๆ กันไปต่อชาติอื่นเหล่านั้น
ภายในดินแดนของชาติไทย ก็มีคนอื่นหรือพวกชนกลุ่มน้อยนานาชาติที่มักถือว่าไม่เป็นไทยเต็มตัว เช่น ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ และภาษา ("ชาวเขา", ชาวมลายู ฯลฯ) ชนกลุ่มน้อยทางศาสนา (มุสลิม ฯลฯ) และชนกลุ่มน้อยทางความคิด (พวกหัวรุนแรง พวกไม่รักชาติ ศาสน์กษัตริย์ เป็นต้น)
ลัทธิชาตินิยมไทยรับมรดกจากรัฐสยามแต่โบราณที่ถือตนเป็นใหญ่เหนือคนอื่นในภูมิภาค (ยกเว้นพม่า) กล่าวคือ ภายใต้รัฐราชาธิราช สยามเป็นเจ้าพ่อรายใหญ่ที่บังคับรัฐเล็กๆ เข้ามาสวามิภักดิ์ ในยุคที่สยามสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ จึงปราบปรามและผนวกรัฐเล็กๆ รอบข้างมาเป็นส่วนหนึ่งของสยาม จากนั้นมารัฐไทยยึดถือว่าเอกภาพคือความมั่นคงของชาติ
ดังนั้น ท่าทีของรัฐไทยต่อความเป็นอื่นภายในประเทศ จึงเน้นการกดขี่ข่มเหง และพยายามกลืนให้เป็น "ไทย" (ดังที่ทำกับคนลาวทางอีสาน คนเมืองทางเหนือ และคนจีนในเมืองต่างๆ ที่ไม่สำเร็จก็จะถูกจำกัดอยู่ในปริมณฑลของความเป็นอื่นอย่างหมดพิษสง รักษาความเป็นอื่นต่อไปได้ตราบเท่าที่ไม่ท้าทายความเป็นไทยของลัทธิชาตินิยม)
ลัทธิชาตินิยมของไทยมีลักษณะกดขี่ข่มเหงเป็นด้านหลักตลอดร้อยปีที่ผ่านมา เพราะมรดกของการถือตัวเป็นเจ้าใหญ่เหนือคนอื่นนี่เอง การเคารพต่อความแตกต่างเป็นด้านรองและมักมีอยู่ เพื่อรอเวลาให้ความเป็นอื่นจางลงหรือถูกขจัดหมดไป
จริงอยู่ ลัทธิชาตินิยมไทยเกิดขึ้นในภาวะลัทธิล่าอาณานิคมขยายตัว ชาตินิยมไทย จึงเน้นที่การตอบโต้การคุกคามข่มขี่ผู้มารุกราน แต่ในเมื่ออำนาจรัฐของสยามไม่เคยถูกล้มล้างโดยจักรวรรดินิยม ลัทธิครองความเป็นเจ้าถือตนเองเป็นใหญ่เหนือผู้อื่นรอบๆ บ้าน และผู้อื่นภายในบ้านของตนเอง จึงไม่เคยถูกท้าทายหรือลดทอนลงไป
สำนึกประวัติศาสตร์ของลัทธิชาตินิยมไทย เน้นแต่การต่อสู้เพื่อรอดพ้นจากลัทธิล่าเมืองขึ้นของชาวตะวันตก แต่กลับปิดบังมองข้ามการกดขี่ข่มเหงต่อคนกลุ่มน้อยต่างชาติ ศาสนา ต่างอารยธรรมภายในดินแดนของสยาม
ประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมไทย ที่เชิดชูปรีชาสามารถของผู้นำที่พาชาติไทยรอดพ้นลัทธิอาณานิคม จึงเป็นประวัติศาสตร์ด้านเดียว ปิดบังราชาชาตินิยมที่สร้างชาติจากลัทธิครองความเป็นเจ้าเหนือรัฐอ่อนแอกว่า อาทิ เช่น ปัตตานี
ปัตตานีนอกประวัติศาสตร์ไทย
ประเด็นสำคัญพื้นฐานที่เราควรเข้าใจต่อประวัติศาสตร์ปัตตานี มีดังนี้
1. ปัตตานีเป็นรัฐโบราณ มีอารยธรรมเก่าแก่กว่าสยามประมาณ 600-700 ปี
2. ปัตตานีเป็นเมืองท่าชายฝั่งขนาดกลาง เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าทางทะเลจากจีนสู่อาหรับตั้งแต่โบราณ แต่ไม่เคยเป็นเมืองท่าหรือรัฐที่มีอำนาจสูงครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขวางไปกว่าคาบสมุทรมลายูตอนกลาง ด้านตะวันออก (ชายแดนใต้สุดของไทยปัจจุบันกับรัฐเหนือสุดของมาเลเซียปัจจุบัน) ประวัติศาสตร์ของปัตตานี จึงผูกพันขึ้นลงกับความเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมในคาบสมุทรมลายูมากกว่าผูกพันกับรัฐสยาม ปัตตานีกลายเป็นมุสลิมในช่วงเดียวกับที่รัฐในคาบสมุทรรับอิทธิพลของอิสลาม
3. แม้ปัตตานีจะถูกกำราบตกเป็นประเทศราชของสยามบางครั้งนับจากปลายศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา แต่ประเทศราชต่างจากอาณานิคมสมัยใหม่ตรงที่ ประเทศราชคือรัฐที่ยังคงมีอิสระ แต่ยอมรับอำนาจเหนือกว่าของรัฐอธิราช ประเทศราชมิใช่กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอธิราชอย่างที่เราเข้าใจกันผิดๆ โดยมาก ปัตตานีเพิ่งถูกปราบแล้วแบ่งแยกเป็นเสี่ยงๆ โดยกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ 2 (ต้นศตวรรษที่ 19) นี้เอง และเพิ่งถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสยามในปี 1902 นี่เอง
กล่าวอย่างสั้น ปัตตานีเป็นรัฐอิสระแต่อำนาจปานกลางมาตลอดพันกว่าปี เพิ่งจะกลายเป็นจังหวัดชายแดนใต้สุดของไทยเมื่อ 100 ปีหลังเท่านั้นเอง ถือว่าเป็นเวลาสั้นมากๆ สำหรับการผนวกหรือผสมกลมกลืน และไม่น่าแปลกใจเลยที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ของตนเองไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
ลัทธิชาตินิยมปัตตานีและความต้องการเป็นอิสระจากสยามจึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจ
ยิ่งกว่านั้น นับแต่สยามผนวกปัตตานีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสมัยใหม่ ชาตินิยมไทยใช้อำนาจส่วนกลางและกองกำลังที่เหนือกว่ามาก ในการรักษาปัตตานีไว้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนไทย และใช้การบังคับข่มเหงจัดการกับวัฒนธรรมที่แตกต่างทั้งในเรื่องศาสนาและการศึกษา
ลัทธิชาตินิยมปัตตานีจึงต่างกับลัทธิชาตินิยมไทยตรงที่เป็นการต่อต้านการครอบงำ ทำนองเดียวกับลัทธิชาตินิยมของประเทศอาณานิคม ทำนองเดียวกับลัทธิชาตินิยมไทยเฉพาะด้านที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมตะวันตก
การต่อสู้ของผู้นำปัตตานี (หลายคนเป็นเชื้อสายราชาปัตตานีเก่า) จึงเทียบได้กับกษัตริย์และผู้นำสยามที่พาประเทศรอดพ้นเงื้อมมือตะวันตก เพียงแต่ผู้นำปัตตานีแพ้ไม่เคยหลุดพ้นจากเงื้อมมือสยาม
การเรียกผู้ที่ต่อสู้ต่อต้านการกดขี่ข่มเหงของสยาม ว่า "โจร" หรืออาชญากร จึงเป็นการดูหมิ่นอย่างรุนแรง แม้กระทั่งคำว่า "แบ่งแยกดินแดน" ก็สะท้อนทัศนะของสยามในร้อยปีหลังนี่เองที่ถือว่าดินแดนปัตตานี (เก่า) เป็นของสยาม ในขณะที่นักชาตินิยมปัตตานีไม่เคยคิดว่าตนแบ่งแยกดินแดนใคร แต่เป็นการต่อสู้เพื่ออิสรภาพต่างหาก
นี่เป็นปัญหาโลกแตกที่ตกทอดมาจากระยะก่อตั้งรัฐชาติสมัยใหม่ของหลายประเทศในโลกปัจจุบัน แต่คนไทยมักไม่เข้าใจในแง่นี้ กลับทึกทักเอาง่ายๆ ว่าเป็นเรื่องของผู้ร้ายที่นิยมความรุนแรง
ปัตตานีนอกประวัติศาสตร์ไทย - ประวัติศาสตร์ไทยไม่มีปัตตานี
เครื่องมือสำคัญในการรักษาความสัมพันธ์แบบกดขี่ข่มเหงคือ ความรู้ประวัติศาสตร์ไทย
ประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมของไทย นำเสนอแต่บุญบารมีปรีชาสามารถของกษัตริย์สยามตามทัศนะของเจ้ากรุงเทพฯ ชัยชนะและความสำเร็จตามทัศนะประวัติศาสตร์แบบนี้ รวมถึงความพ่ายแพ้และหายนะของรัฐอ่อนแอกว่ารอบชายแดนสยาม
การปราบปรามรัฐปัตตานี (เก่า) เมื่อต้นศตวรรษที่ 19 เรียกว่าเป็นการเข้าไปช่วยรักษาความสงบอันเกิดจากความขัดแย้งภายในปัตตานี (เก่า) แต่การฉวยโอกาสเข้าไปแทรกแซงแล้วแบ่งแยกปัตตานี (เก่า) เป็นเสี่ยงๆ คือการทำลายอำนาจของรัฐปัตตานีอิสระอย่างถาวร
มีแต่เจ้ากรุงเทพฯ เท่านั้นที่เห็นว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการ "รักษาความสงบ"


__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

การผนวกครึ่งหนึ่งของปัตตานี (เก่า) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสยาม และยกอีกครึ่งของปัตตานี (เก่า) ให้แก่อังกฤษไป ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยว่าเป็นความสำเร็จที่ช่วยรักษาเอกราชของสยามไว้ได้ แต่ประวัติศาสตร์ไทยกลับไม่เคยช่วยให้คนไทยฉุกคิดว่าหมายถึงการสิ้นสุดของรัฐปัตตานี เก่า
ประวัติศาสตร์ปัตตานีไม่ลงรอยกับประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย ความสัมพันธ์ในเหตุการณ์เดียวกันสื่อความหมายตรงข้ามสวนทางกันเสมอ
ดังนั้น แม้ในระยะที่การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเฟื่องฟู (นับจากต้นพุทธทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา) เรากลับแทบไม่พบการรื้อฟื้นประวัติศาสตร์ปัตตานี นักประวัติศาสตร์เองเน้นย้ำว่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต้องเน้นความสัมพันธ์กับส่วนกลาง มิใช่ท้องถิ่นโดดๆ ทั้งๆ ที่การศึกษาเช่นนั้นอาจบิดเบือนประวัติศาสตร์ที่เป็นตัวของตัวเอง (autonomous history) ของบริเวณที่ไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กับกรุงเทพฯ และบริเวณที่มีประวัติศาสตร์สวนทางกับประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย
ปัตตานีมีอดีตยาวนานกว่าสยามเสียอีก แต่กลับหาที่ทางไม่เจอในความรู้ประวัติศาสตร์ของคนไทย เพราะประวัติศาสตร์ปัตตานีจะเปิดเผยด้านอัปลักษณ์ของราชาชาตินิยมไทย
ลองคิดดูว่าถ้าชาติไทยไม่มีอดีต คนไทยไม่มีอดีต ไม่มีประวัติศาสตร์ แต่กลับรู้จักอดีตของคนที่มาเป็นเจ้าเข้าครอง เรียนแต่ประวัติศาสตร์ของคนที่มาเป็นเจ้าเข้าครอง จะรู้สึกอย่างไร? สมมติว่า สยามตกเป็นอาณานิคม คนไทยจึงเรียนแต่ประวัติศาสตร์ว่าอังกฤษหรือฝรั่งเศสมีบุญคุณต่อชาติไทยมหันต์ ปัจจุบันของชาติไทยผูกพันผันแปรไปตามประวัติศาสตร์ของลอนดอนและปารีส จะรู้สึกอย่างไร?
ไม่เพียงแต่ปิดบังมองข้ามประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากประวัติศาสตร์แห่งชาติเท่านั้น ประวัติศาสตร์ยังอำพรางด้านลบหรืออัปลักษณ์ในอดีตด้วยการแปรการรุกรานข่มเหงผู้อื่นให้กลายเป็นความจำเป็นเพื่อรักษาเอกราช หรือกลายเป็นชัยชนะและความสำเร็จ
จิตสำนึกประวัติศาสตร์เช่นนี้ จึงเป็นเชื้อแก่การจัดการความแตกต่างด้วยการกดขี่ข่มเหงชนกลุ่มน้อย เพราะคนไทยภายใต้ลัทธิชาตินิยมไทย ย่อมถือว่าเป็นความจำเป็นเพื่อรักษาเอกราชความมั่นคงของรัฐชาติไทย การใช้ความรุนแรงปราบปรามความขัดแย้ง จึงถือเป็นชัยชนะที่ควรเฉลิมฉลอง
วัฒนธรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของไทยเป็นวัฒนธรรมล้างสมอง (ในหลายแง่ไม่ต่างนักกับการล้างสมองในนิยายของจอร์จ ออร์เวล เรื่อง 1984) กล่าวคือ เลือกคัดตัดตอนบิดเบือนอำพรางอดีต สร้างความรู้ประวัติศาสตร์เพื่อรับใช้ลัทธิชาตินิยมไทย แม้นักประวัติศาสตร์มากมายจะยังทำงานทุกวี่วัน ส่วนมากเป็นการเสริมแต่งรายละเอียดอันวิจิตรพิสดาร ทว่าไม่แตะต้องโครงเรื่อง คุณค่าหรืออุดมการณ์หลักของลัทธิชาตินิยมไทย
ยิ่งรู้ประวัติศาสตร์ชนิดนี้มาก ยิ่งเรียนมากแต่ไร้วิจารณญาณ ก็จะยิ่งถอนตัวไม่ขึ้น
วัฒนธรรมประวัติศาสตร์ของไทยไม่ส่งเสริมวิจารณญาณ แทนที่จะยิ่งเรียนยิ่งฉลาด กลับยิ่งเรียนยิ่งถูกจองจำด้วยพันธนาการของลัทธิชาตินิยมไทย แทนที่จะยิ่งเรียนยิ่งมีวิญญาณอิสระ
คนไทยไม่เคยถูกบ่มเพาะให้เผชิญหน้ากับประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยทัศนะหรือคุณค่าที่เหลื่อมซ้อน จนถึงตรงข้ามกัน คนไทยเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยการเสพจนติด ไม่ใช่ด้วยวิจารณญาณ
จะแก้ปัญหาต้องข้ามให้พ้นลัทธิชาตินิยมไทย
เราไม่จำเป็นจะต้องเห็นด้วยกับลัทธิชาตินิยมปัตตานี และไม่ควรเห็นด้วยหรือเห็นใจปฏิบัติการรุนแรงใดๆ ที่กระทำต่อชาวพุทธ ชาวบ้านอื่นๆ อันเกิดจากทัศนะที่เห็นชาวพุทธเป็นคนอื่น เป็นศัตรูของมุสลิมปัตตานีจนต้องข่มเหงรังแก ทัศนะเช่นนั้นคับแคบไร้สติไร้วิจารณญาณพอๆ กับลัทธิชาตินิยมไทย และไม่ใช่ทางแก้ปัญหาอย่างแน่นอน
แต่การแก้ปัญหาในระดับมหภาค จำเป็นต้องเริ่มที่ฝ่ายมีอำนาจเหนือกว่า ฝ่ายครอบงำกดขี่ข่มเหง ได้แก่รัฐไทย และชาตินิยมไทยทั้งหลาย นักชาตินิยมไทยไม่เคยเข้าใจเลยว่าทำไมจึงเกิดความขัดแย้งเรื้อรังในชายแดนใต้สุด คนไทยทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ใจกว้างพอจะยอมรับประวัติศาสตร์อัปลักษณ์อีกบทของสยาม ไม่กล้ายอมรับว่าสยามกดขี่ข่มเหงคนอื่นตลอดร้อยปีที่ผ่านมา
คนไทยส่วนข้างมากไม่เคยคิดว่า ชาวมุสลิมในปัตตานี (เก่า) ต่อสู้ไปทำไม
ประเทศไทยเปลี่ยนไปมากในระยะ 100 กว่าปี กระแสการต่อสู้เพื่ออิสระของปัตตานี (ลัทธิแบ่งแยกดินแดน) ถดถอยพลังลงมากใน 20 ปีที่ผ่านมา ชาวมุสลิมปัตตานีก็เหมือนกับชาวไทยอื่นๆ ทุกแห่งซึ่งต้องการชีวิตสันติสงบสุข แต่เขาไม่ต้องการถูกข่มเหงรังแก และต้องการความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นคนและเคารพในศาสนาของเขา เคารพในอารยธรรมเก่าแก่ของ "บ้าน" ของเขา
แต่ลัทธิชาตินิยมไทยไม่มีวันเข้าใจ เพราะเป็นชาตินิยมที่ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมและเป็นชาตินิยมของรัฐเจ้าพ่อโบราณที่วางตัวเป็นใหญ่ จึงมองปัญหาด้วยสายตาของผู้เป็นเจ้าเข้าครองตลอดเวลา
สถานการณ์ชายแดนใต้สุด จึงอยู่ในภาวะที่ปัตตานีคงไม่แยกเป็นอิสระ แต่กลับยังคงแปลกแยก ถูกจับตาควบคุม ถูกรังเกียจโดยสื่อมวลชนและรัฐด้วยถ้อยคำที่ชี้ชัดว่าไม่เคยเข้าใจชนกลุ่มน้อย ดังนั้นทั้งตัวตนและบ้านของเขาจึงไม่เคยได้รับความเคารพจากคนส่วนใหญ่ของประเทศไทย
ลัทธิชาตินิยมไทยเมื่อมีรัฐเผด็จการหนุนอยู่ ก็อาศัยกลไกรัฐในการกดขี่ข่มเหงความเป็นอื่น ครั้นเป็นประชาธิปไตย จึงเป็นประชาธิปไตยที่ไม่เคารพไม่ให้พื้นที่แก่เสียงข้างน้อย แต่กลับอิงแอบกับเสียงข้างมากเพื่อกดขี่บังคับเสียงข้างน้อยและความเป็นอื่น ฉวยโอกาสและใช้หลักประชาธิปไตยในทางที่ผิด (abuse) เพื่อก่อความอยุติธรรมของเสียงข้างมาก ฉวยใช้ข้ออ่อนของประชาธิปไตยเป็นใบอนุญาตให้เสียงข้างมากข่มเหงเสียงข้างน้อยและชนกลุ่มน้อย ไม่ต่างกับรัฐเผด็จการในอดีต
ลัทธิชาตินิยมไทยภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตยจึงน่ากลัวและอันตราย แต่กลับมีลักษณะหลอกลวงยิ่งกว่าเดิม
เราคงได้ยินบ่อยๆ ว่าอดีตที่เจ็บปวดเป็นปัญหาผ่านไปแล้ว ควรปล่อยให้เป็นอดีตไป อย่าไปอ้างเอามาก่อปัญหาในปัจจุบันอีก นี่เป็นสามัญสำนึกที่ฟังดูเข้าท่า แต่นักชาตินิยมไทยไม่เคยปล่อยให้การเสียกรุง 2 ครั้งออกไปให้พ้นสำนึกปัจจุบัน
เมื่อปี 2483 นักชาตินิยมไทยสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืน (แบ่งแยกดินแดน?) จากอินโดจีนของฝรั่งเศส หรือส่งกองทัพเข้ายึดครองเชียงตุง ทั้งๆ ที่การได้-เสียดินแดนเหล่านั้นเป็นอดีตไปแล้วทั้งนั้น ประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมไทยปลูกฝังความเข้าใจผิด เลือกจดจำและอำพรางอดีต
ลัทธิชาตินิยมไทยเป็นอุดมการณ์ขี้ขลาดและใจแคบ ไม่กล้าเผชิญหน้าอดีตที่ชาติไทยก่อกรรมทำเข็ญไว้ เอาแต่หลงระเริงกับความสำเร็จรวมทั้งความสำเร็จที่เป็นหายนะของผู้อื่น เราควรปล่อยให้อดีตเป็นอดีตต่อเมื่อเรากล้าเผชิญหน้าอดีต สร้างความกระจ่างแก่คนปัจจุบันและรุ่นหลังให้เห็นทุกๆ ด้านของอดีต รวมทั้งอดีตอัปลักษณ์ของชาติไทยเอง
หากไม่ทำเช่นนี้ อดีตด้านเดียว อดีตที่เจ็บปวดคาราคาซังจะเป็นส่วนหนึ่งของการหลอกลวงตัวเอง คนไทยและความเป็นไทยจะจมปลักอยู่ในอวิชชากึ่งหลับกึ่งตื่นคล้ายเสพยากล่อมประสาท หากพอใจจะรู้เฉพาะประวัติศาสตร์แบบหลอกลวงตัวเอง ลัทธิชาตินิยมไทยจะคงโหดร้ายไม่ยกระดับพัฒนาพอที่จะโอบอุ้มความแตกต่างหรือสร้างสมานฉันท์ภายในชาติสมัยใหม่ คนไทยที่เติบโตมากับยากล่อมประสาทที่เรียกว่าประวัติศาสตร์ไทยจะคงตื้นเขินเบาปัญญา ใจแคบ ขี้ขลาด หลงตัวเอง และโหดร้าย
ประเทศไทยจะยังคงเป็นรัฐประชาชาติที่ขาดวุฒิภาวะ เพราะอาศัยคนส่วนใหญ่กดขี่ข่มเหงปิดปากคนส่วนน้อย แทนที่จะรู้จักความปรองดองสมานฉันท์
ลัทธิชาตินิยมไทยก่อให้เกิดความสูญเสียมาเท่าไรแล้ว? ความตึงเครียดขัดแย้งในแถบชายแดนใต้สุดของประเทศไทย อาจไม่มีทางแก้ไขอย่างถึงที่สุด หากสังคมไทยไม่ก้าวข้ามพ้นชาตินิยมไทยที่เป็นอยู่ ภายใต้ลัทธิชาตินิยมไทยแบบนี้ คนไทยทุกคนมีโอกาสพอๆ กับที่จะเผลอนิดเดียวกลายเป็นอาชญากรหน้ามืดขึ้นมาใช้ความรุนแรงกับความเป็นอื่น
ธงชัย วินิจจะกุล : ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา อดีตเป็นผู้นำนักศึกษาและถูกจับกุมในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2516 จบปริญญาโทและเอกทางประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโมนาช แห่งออสเตรเลีย โดยทำวิทยานิพนธ์ที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงวิชาการระดับนานาชาติ ในหัวข้อ Siam Mapped : A History of the Geo-Body of a Nation ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ


__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ປະວັດສາດຕັວຈີງທິ່ຊຊຊລາວກ່ວາ100ລ້ານຄົນຕ້ອງຍົກສູງໃຫ້ຄວາມສຳຄັນໃຊ້ເປັນຂໍ້ມູນເປິດຫ້ນາກາກ ເຈົ້າພໍ່mafiaກຸງເທບທີ່ຂຽນ ປວສ ຫລອກພວກເຮົາມາແລ້ວກ່ວາ3ຮ້ອຍປິ
ເຂົ້າໄປທີ່ google ແລ້ວພິມ :
ปัญหาประเทศไทย (ธงชัย วินิจจะกุล)(1)
ຫລື
youtube.com/watch?v=s0zllFbFAsE
---
หัวอกลาว กรณีปราสาทพระวิหาร
มตีชน 01 กรกฎาคม 54
โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ( จปล เจ็กปนลาว )

ประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย ฟูมฟายว่าไทย"เสียดินแดน"แต่ไม่เคยบอกว่า "ได้ดินแดน" คนอื่นมาก่อนแล้ว ปราสาทพระวิหาร ยุครัชกาลที่ 5 ชาวสยามทั่วไปไม่รู้จัก

ไม่รู้ว่าเป็นอะไร? อยู่ที่ไหน?

คน ชั้นนำยุคนั้นจะรู้จักสักกี่คน? เพราะความวิตกกังวลยุครัชกาลที่ 5 ไม่ใช่เรื่องปราสาทพระวิหาร แต่เป็นเรื่องใหญ่กว่านั้น คืออธิปไตยที่แน่ชัด (หรือที่มหาอำนาจรับรอง) บนดินแดนอีสาน ขณะนั้นอันตราย เปราะบางอย่างยิ่ง

เพราะไม่รู้ว่าฝรั่งเศสที่ยึดครอง เวียดนาม, เขมร, ลาว จะบุกเข้ามาถึงอีสานของสยามหรือไม่? เนื่องจาก อีสานเหนือเป็นเขตวัฒนธรรมลาว ส่วน อีสานใต้เป็นเขตวัฒนธรรมเขมร

พูดกันตรงๆ อย่างปากชาวบ้านว่าครั้งนั้น อีสานเหนือเป็นลาว อีสานใต้เป็นเขมร

พ.ศ.2447-2450

รัฐบาลสยามยุครัชกาลที่ 5 ทำสนธิสัญญาเรื่องเขตแดนกับฝรั่งเศส ซึ่งมีพันธะให้ต้องยอมรับแผนที่แนบท้าย 1 : 200,000 ที่มีปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตกัมพูชาของฝรั่งเศส

รัฐบาลสยามยกเป็น "ความสำเร็จ" ยิ่งใหญ่ เพราะเท่ากับสยามมีอธิปไตยบนดินแดนอีสานอย่างแน่ชัดที่มีมหาอำนาจรับรอง เป็นอันหมดกังวลไป

ประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยสมัยต่อมา เขียนว่าไทยต้องยอม "เสียดินแดน" บางส่วนให้ฝรั่งเศส เพื่อรักษาดินแดนบางส่วนไว้

แต่ คนลาวไม่คิดอย่างนั้น จะขอคัดเนื้อหาตอนนี้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ลาว โดย สิลา วีระวงส์ (สำนัก
พีมพ์เมื่อพ.ศ.2539หน้า301)มีความว่า
"ในหนังสือสัญญานั้นแม้สยามกับฝรั่งเศสแบ่งปันกันเอาแผ่นดินลาวและคนลาวที่อยู่ในแผ่นดินนัน หรือเอาดินแดนลาวและคนลาวแลกเปลี่ยนกับดินแดนเขมรและคนเขมร ซึ่งฝรั่งเศสกับสยามทำได้ตามใจในฐานะผู้เป็นนาย
ลาวเราที่อยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงก็ได้แต่ลืมตาดูอยู่เฉยๆ ไม่มีสิทธิที่จะพูดจาอะไรได้ เพราะเป็นข้าเขาด้วยประการดังนี
และตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นมา(ค.ศ1903)แผ่นดินลาวที่กว้างใหญ่ไพศาลรวมเนื้อที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงมี343,000 ตารางกิโลเมตรและมีพลเมืองลาวนับเป็น

หลายๆ10ล้านคนก็ได้ถูกแบ่งแยกกัน
โดยฝ่ายหนึ่งได้กลับกลายเป็นคนทยแต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนลาวทังที่คนเหล่านี้เป็นเชื้อชาติเผ่าพันธุ์อันเดียวกันมีจารีตประเพณีพูดภาษาเดียวกันมีอักษรศาสตร์ใช้ประจำชาติมาแต่โบราณเป็นอันเดียวกันแต่ก็ต้องได้มาแยกกันเป็นคนละชาติ"
ครูบาอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องประวัติศาสตร์โบราณคดีน่าจะลดละเลิกเสียเวลาให้ท้ายประเพณีรับน้องใหม่
แล้วหันมาร่วมกันศึกษาค้นคว้าวิจัยเรื่องจริงๆในอดีตอย่างกรณนีนี้เพื่อผลักดัให้มีความราบรื่นร่มเย็นในประชาคมอาเซียน




__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

เลิกรักชาติกันได้แล้ว

ใจ อึ๊งภากรณ์

ท่ามกลางการคลั่งชาติและคำโกหกจากอำมาตย์และโจรพันธมารฯ เรื่องเขมร หรือเรื่อง “การขายชาติ” ผมอยากจะเสนอว่าคนเสื้อแดงควรเลิกรักชาติ เลิกยืนเคารพธงชาติ และหันมารักเพื่อนๆ ร่วมชาติ และเพื่อนๆต่างชาติแทน เราควรจะประกาศรักสังคม รักเสรีภาพและประชาธิปไตย และเลิกรักอำมาตย์สักที ทำไม?

“ชาติ” เป็นหน่วยการบริหารสังคมที่เกิดขึ้นในยุคทุนนิยม ในไทยเกิดในยุครัชกาลที่ 5 ก่อนทุนนิยมและก่อนที่จะมีชาติที่ไหนในโลก คนเขาไม่คิดในกรอบชาติเลย คิดในกรอบชุมชนหรือเมืองบ้านเกิดมากกว่า และบ่อยครั้งเมืองบ้านเกิดจะมีลักษณะสากลในอดีต ไม่เชื่อก็ไปที่อยุธยา และไปดูพิพิธภัณฑ์ที่หมู่บ้านญี่ปุ่น หรืออ่านหนังสือประวัติศาสตร์อยุธยาของ อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ก็ได้ เพราะในอยุธยามีหลายเชื้อชาติอาศัยกันอยู่ มันเป็นเมืองท่าสำหรับค้าขาย มีการใช้หลายๆ ภาษาด้วย คนอยุธยาไม่ได้คิดว่าตนเองเป็นคนไทยแต่อย่างใด การสร้างประวัติศาสตร์ไทยย้อนหลังปลอมๆ เป็นความพยายามของนักวิชาการอำมาตย์ เพื่อหลอกเราว่า “ชาติไทย” กษัตริย์ และชนชั้นปกครอง เป็นสิ่งเก่าแก่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ พวกนี้จะอ้างว่าวัฒนธรรมไทยคือวัฒนธรรมที่ประชาชนต้องอ่อนน้อมต่ออำมาตย์ และแถมยังโกหกอีกว่า “ไทย” แปลว่า “เสรีภาพ” แต่แท้จริงแล้ว “ไทย” ของพวกอำมาตย์นี้แปลว่าเราเป็นทาสเป็นไพร่มากกว่า

“ชาติ” เป็นสิ่งประดิษฐ์ของชนชั้นปกครอง มันมีความสำคัญต่อเขาในทางความคิด หรือในทางที่จะเป็นลัทธิการเมืองของอำมาตย์และอภิสิทธิ์ชน ดังนั้นเขาจะกล่อมเกลาเราให้เคารพธงชาติสามสี และให้เราท่องจำว่าสีแดงคือชาติ สีขาวคือศาสนา และสีน้ำเงินคือกษัตริย์ โดยที่ชาติของเขามีแค่นี้ ไม่มีประชาชนทั้งปวงที่เป็นผู้สร้างสังคมที่แท้จริง คนอย่างสนธิ ลิ้มทองกุล พูดที่สนามหลวงเมื่อไม่นานมานี้ว่าเรา “ต้องรักชาติ เพราะชาติคือกษัตริย์และศาสนา” เราต้องทวงถามว่า “ประชาชนอยู่ไหน?” เพราะสนธิกับแก๊งของเขามองว่าประชาชนเป็นผักเป็นปลา เป็นไพร่หรือทาส และเราต้องถามว่าเขาอีกว่าเวลาพูดถึงศาสนา หมายถึง“ศาสนาอะไร?” เพราะหลายคนไม่ได้เป็นพุทธ มีอิสลาม คริสต์ ฮินดู ผีสางนางไม้ และยังมีคนที่ไม่นับถือศาสนาอีกด้วย ทำไมต้องยัดเราเข้ากรอบแคบๆ ของพวกอำมาตย์ ที่สำคัญคือศาสนาของสนธิ ลิ้ม เป็นศาสนาแบบไหน? เพราะขาดศีลธรรมพื้นฐานในการเคารพประชาชน และประชาธิปไตย ได้แต่ปลุกระดมความเกลียดชัง นี่หรือศีลธรรม?

แนวคิดชาตินิยมของชนชั้นปกครองไทยที่ถูกสั่งสอนในโรงเรียน ในสื่อ และในสังคมโดยรวม เป็นแนวคิดที่สอนให้เราจำยอมต่อผู้ปกครองเผด็จการ แล้วแถมโกหกเราว่า “เราเป็นชาติเดียวกับเขา” อีกด้วย มีแต่พูดเรื่อง “ความสามัคคี” แต่มันเป็นการบังคับความสามัคคีภายใต้เงื่อนไขสังคมป่าเถื่อนที่เต็มไปด้วย ความเหลื่อมล้ำของอำมาตย์

ถ้าอำมาตย์รักชาติ ทำไมเขาไม่เคารพประชาชน ไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ และไม่เคารพประชาธิปไตย? ถ้าอำมาตย์รักคนไทยทำไมมากราดยิงประชาชนท่ามกลางถนน? ทำไมอำมาตย์ไม่ยอมเสียสละทรัพย์สมบัติมหาศาล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างรัฐสวัสดิการให้คนไทยทุกคน? ทำไมพูดแค่เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแช่แข็งความเหลื่อมล้ำ? และเวลาพวกนั้นปลุกระดมให้คนรักชาติและไปรบในสงคราม ทำไมเขาไม่ไปรบเอง? ทำไมส่งลูกหลานคนจนไปตายแทนพวกเขา?

ในความเป็นจริงบ้านเรามีสองชาติ ชาติหนึ่งคือชาติของอำมาตย์ ที่มีเพลงชาติ ธงไตรรงค์ และลัทธิ “ชาติ ศาสนา กษัตริย์” อีกชาติหนึ่งคือประชาชน เราไม่มีธง และไม่มีเพลงชาติ แต่เรามีอุดมการณ์ประชาธิปไตย

หยุดเถิด เลิกเถิด การยืนเคารพเพลงและธงชาติของพวกอำมาตย์

เพื่อนเสื้อแดงอาจไม่สบายใจกับสิ่งที่ผมเสนอ ผมไม่แปลกใจ เพราะฝ่ายอำมาตย์กล่อมเกลาเรา ตั้งแต่เกิดจนตาย ให้รักชาติ ดังนั้นการก้าวพ้นความคิดแบบนี้คงใช้เวลา

ถ้าจะต้องมีเพลงชาติ และผมมองว่าไม่ควรมี ... เนื้อร้องมันน่าจะเป็นแบบนี้ครับ .....

“ประเทศสยามรวมเลือดเนื้อหลายเชื้อชาติ เป็นประชาธิปไตยแท้ ชาวบ้านปกครองตนเอง อยู่ด้วยกันท่ามกลางความสงบ เคารพรักทุกเพศทุกภาษาทุกศาสนาหรือความเชื่อ เรานี้รักสงบ และเราจะไม่หาเรื่องรบเพื่อประโยชน์ของคนอื่นเหมือนยุคมืดอดีต ทุกคนทำงานร่วมกันสร้างสังคมปรองดองและรัฐสวัสดิการ ในสยามนี้ไม่มีสูงไม่มีต่ำ ไม่มีหมอบคลาน และเพื่อนบ้านทุกฝ่ายเป็นมิตรของเรา ศัตรูแท้ของประชาชนคือพวกคัดค้านประชาธิปไตย และพวกอำมาตย์ดั้งเดิม เราปลดแอกตนเองแล้ว และร่วมกันร้อง ประชาชนจงเจริญ!” (ต้องขออภัยด้วยที่ผมแต่งกลอนหรือเนื้อเพลงไม่ไพเราะ แต่ท่านคงจับประเด็นสำคัญๆ ได้เมื่อเปรียบเทียบกับเพลงชาติปัจจุบันของอำมาตย์

คุณจักรภพ เพ็ญแข มีจุดยืนในหลายเรื่องที่น่าชื่นชม แต่ในเรื่อง “ชาติ” ผมขอมองต่างมุมบ้าง ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งเวลาคุณจักรภพคัดค้านการ “คลั่งชาติ” แต่เขายังมองว่ามันมีวิธีรักชาติที่ดีอยู่บ้าง

แนวชาตินิยมที่เป็นประโยชน์กับประชาชนมีบ้างไหม? มีบ้างในกรณีที่สังคมถูกครอบงำหรือนำมาเป็นเมืองขึ้นโดยจักรวรรดินิยม เช่นในยุคล่าอาณานิคม ขบวนการชาตินิยมเป็นขบวนการที่ปลดแอกประชาชนระดับหนึ่ง แต่มันไม่เคยพอ เราจะเห็นได้จากการที่ ประเทศที่ได้รับเอกราชหลังยุคอาณานิคม เช่น พม่า ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ หรืออินโดนีเซีย ก็ยังมีปัญหา เพราะมีเผด็จการครองเมือง และถ้าเป็นประชาธิปไตยอย่างอินโดนีเซีย หรือฟิลิปปินส์ ก็ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ ในประเทศเหล่านี้ความคิดชาตินิยมกลายเป็นเครื่องมือบังคับความสามัคคีของชน ชั้นปกครองใหม่ สรุปแล้วแนวชาตินิยมไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยและปลดแอกพลเมืองอย่างเต็มที่

พวกอำมาตย์คงน้ำลายฟูมปากอีกรอบกับบทความนี้ (หลายรอบแล้ว) คงมีการเห่าหอนว่าผม “ขายชาติ” และ “ไม่ใช่คนไทย” ผมมีคำตอบง่ายๆคือ ผมขายชาติไม่ได้ เพราะไม่เคยเป็นเจ้าของ ประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่เคยมีโอกาสเป็นเจ้าของอีกด้วย เพราะอำมาตย์ปล้นมาจากประชาชนนานแล้ว แล้วอ้างว่ามันเป็นแผ่นดินของเขา และในเรื่องที่ไม่ใช่คนไทย ผมก็ยอมรับ เพราะผมไม่อยากร่วมชาติไทยเลวทรามของอำมาตย์ ผมเป็นคนสยาม พ่อเป็นเชื้อสายจีน แม่เป็นอังกฤษ และผมต่างจากอำมาตย์และพันธมารฯ เพราะผมรักและเคารพประชาชนสยามและรักประชาธิปไตย


__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ອ້າງຕາມສົນທີສັນຍາ ຝຣັ່ງ ສຍາມ ໃນວັນທີ່ 3.10.1893 ນັ້ນ ລາວເຮົາເສັຍດີນແດນຝັ່ງຂວາ ໃຫ້ ສຍາມເທົ້ານັ້ນ ແລະ ເນື່ອງຈາກວ່າ ລາວ ແລະ ວຽດນາມ(ຕອນ ນັ້ນ ຍັງເອີ້ນວ່າ ອານາມ
ຕົງແກງ ແລະ ໂກແຊງຈີນ)ຕົກເປັນອານານີຄົມຝຣັ່ງ ເຈົ້າພໍ່ຫ້ນາຢຽບຄົນນີ້ ໄດ້ ມອບ12ຈຸໄທ(ຄຳເອີ້ນຂອງພວກບ້າເຊື້¬ອໄທ) ຫລື ເມືອງຖຽງ(ຊື່ຊາວລາວເອີ້ນມາແຕ່ດຶ¬ກດຳບັນ) ຫລີ ດຽນບຽນຟູ(ຊື່ໄຫ່ມຕາມພາສາ ວຽດນາມ) ໄດ້ຍົກໃຫ້ ວຽດນາມຄອບຄອງ ໃນ ປີ 1899 Darlarc ແລະKontum(ທັງສອງເຄີຍຢູ່ໃນອຳນາດການປົກຄອງລາວ ທີ່ ເມືອງອັຕປຶນັ້ນເອງ ) ໃນປີ 1904ແລະ1905ຕາມດຳລັບ ແລະ ຍົກRattanakiri(ຣັຕຕະນະຄີຣີ) Strung Teng(ຊຽງແຕງ) ແລະ Kratae (ກະແຈ) ໃຫ້ ເປັນຂອງຂເມນ ໃນປີ 1905(ອ້າງຕາມວີທຍານີພົນ ປຣີນຍາເອກ ຂອງ ທ່ານ Chhak Sarin : Les frontières du cambodge. université de Paris 1965 ແລະ ວີທຍານີພົນນີ້ ໄດ້ຖືກພີມອອກຂາຍ ໃນ ປີຕໍ່ມາຄືປີ1966 ໂດຍສຳນັກພີມ Dalloz Paris ໂດຍໄສ່ຊື້ປື້ມຢ່າງເດີມ

ວີຈານ ປື້ມ LA NOUVELLE FRONTIERE LAO-VIETNEMIENNE .LES ACCORDS DE 1977-1990 PAR BERNARD GAY : PARIS. ed.L'Harmatan ,c1995
345 pages.
ຫ້ນາ 307 ຫາ 323
On trouvera infra
. une carte générale du Laos dessinée à partir des cartes du SGI.
. une carte du réseau routier entre le Laos et le Vietnam dessinée à partir des cartes du SGEL.
. une carte d’assemblage des coupures du Service Géographique de l’Indochine , afin d’aider à situer les feuilles auxquelles il est fait référence dans les textes ainsi que les croquis qui lui font suite.
. treize croquis des principaux réajustements territoriaux dont il a été fait mention dans les textes. Ces treize croquis , non officiels, ont été préparés par Bernard Gay, à partir des cartes publiées par le Service Géographique de l’Indochine et par le Service Géographique d’Etat de la République démocratique lao , ainsi que des traités de délimitation de 1977 et 1986. Ils ont été réalisés par Mr Paul Thomas , ancien Ingénieur divisionnaire des travaux géographiques et cartographiques de l’Etat.
. deux croquis dressés par la partie vietnamienne.Le premier de ces croquis donne le tracé de la frontière figurant sur les cartes du SGI , le tracé de la frontière gérée par les deux pays avant les traités et accords , le tracé de la nouvelle frontière vietnamo-lao ayant recu l’approbation de la Commission mixte de délimitation. Le second de ces croquis délimite les dix neuf secteurs de démarcation et d’abomement dont il est fait état dans l’accord du 24 janvier 1986.
I6ü 1
Sop Cop ປັກແດນ ໃນ ປີ 1986 ໂດຍຍົກ Sop Cop ໃຫ້ ລາວ ອັນເອີ້ນວ່າ ບ້ານ ຊຽງຄຸນ ຊື້ງມີທັງຫມົດ 61 ກີໂລແມດມົນທົນ
Muong Het
Van Yen
Hoi Xuan
Sam Teu
Nong Het
Tchépone / Quang Tri
Ben Giang

ອ້າງຕາມປື້ມນິ້ ປຊຊ ລາວໂລກ ຊາບວ່າ ວ່າ ໄກສອນ ອະດິດ ນຍ ລາວແດງ ໄດ້ ຍອມ ເຣັດສົນທີສັນຍາ ລາວແກວຂື້ນ ໃນ ປິ 1977 ເພື່ອ ປ່ອຍ ໂອກາດ ໃຫ້ ທະຫານແກວ ແລະ ປຊຊ ເຂົາ ເຂົ້າມາຍີ່ງໄຫ່ຍໃນບ້ານເຮົາ ແບບນັກປົກຄອງທີ່ ຂາຍຊາດທີ່ສຸດ
ໃນປື້ມຫັວດຽວຍັງບອກອິກວ່າໃນຊ່ວງປິ77ຫາ1986ມິການເຊັນສັນຍາແບ່ງເຂດນ້ຳແດນກັນລະວ່າງລາວກັບແກວ 3 ຄັ້ງ

ອັນມີຜົນສະທ້ອນ ໃຫ້ ລາວເຮົາເສັຍດິນແດນໃຫ້ ວຽດນາມເຖິງ 175 ກິໂລແມດມົນທົນ
ອັນມີຜົນສະທ້ອນ ໃຫ້ ລາວເຮົາເສັຍດິນແດນໃຫ້ ວຽດນາມເຖິງ 175 ກິໂລແມດມົນທົນ
ອັນມີຜົນສະທ້ອນ ໃຫ້ ລາວເຮົາເສັຍດິນແດນໃຫ້ ວຽດນາມເຖິງ 175 ກິໂລແມດມົນທົນ
ອັນມີຜົນສະທ້ອນ ໃຫ້ ລາວເຮົາເສັຍດິນແດນໃຫ້ ວຽດນາມເຖິງ 175 ກິໂລແມດມົນທົນ
ອັນມີຜົນສະທ້ອນ ໃຫ້ ລາວເຮົາເສັຍດິນແດນໃຫ້ ວຽດນາມເຖິງ 175 ກິໂລແມດມົນທົນ
ອັນມີຜົນສະທ້ອນ ໃຫ້ ລາວເຮົາເສັຍດິນແດນໃຫ້ ວຽດນາມເຖິງ 175 ກິໂລແມດມົນທົນ

ຊື້ງ ແຜ່ນດີນຕ່ອນທີ່ ເສັຍໄປນິ້ ແມ່ນຍາມສົງຄາມຊື້ນສຸດແລ້ວ ແລະ ໃນຍາມສະງົບແທ້ໆ ມັນສົມຄວນຫລຶ
ສະນັ້ນ
ພວກ ເຮົາຄວນຈະຕ້ອງຕິ ຜູ້ນຳເຊື້ອຊາດແກວຄົນນິ້ຢ່າງສຸດອົກສຸດໄຈ ທີ່ຍອມ ມອບຜືນແຜ່ນດີນ ລາວທິ່ ບັນພະບູຣູດ ຂອງພວກ ເຣົາໄດ້ຣັກສາມາເປັນພັນໆ ປິ ແຕ່ ສມັຍຂຸນບຸຣົມ ໃຫ້ ໂຄດແກວມັນ

ເພື່ອຄວາມແຈ່ມແຈ້ງທຸກຄົນມິສິດ ໄປ ສອບຖາມເລື້ອງນິ້ໄດ້ ວ່າເປັນຄວາມຈິງບໍ ທິ່ ກະຊວງຕ່າງປະເທດລາວແດງ ທີ່ ວຈ


__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard