น้ำโขงแห้ง พบระดับน้ำขึ้น-ลงตามจีนคอนโทรล
เชียงราย - ระดับน้ำในหน้าแล้งปีนี้ แห้งกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน พบสามเหลี่ยมทองคำ แถบปากแม่น้ำรวก-เกาะดอนทราย มีเนินทรายกว้างโผล่ แต่เรือสินค้าจีนยังวิ่งได้เมื่อระดับน้ำเพิ่มขึ้นตามการคอนโทรล ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.เชียงราย ว่าระดับน้ำในแม่น้ำโขงชายแดนไทย-สปป.ลาว ด้าน อ.เชียงแสน-อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย ปีนี้มีสภาพเหือดแห้งกว่าฤดูแล้งช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยสำนักงานศูนย์อุทกวิทยาที่ 12 อ.เชียงแสน ตรวจวัดระดับน้ำตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.55 พบว่า อยู่ในระดับประมาณ 1.58 เมตร ทำให้การเดินเรือสินค้าเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ก็ยังคงมีเรือสินค้าแล่นไปมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรือสินค้า สปป.ลาว ซึ่งมีระวางบรรทุกขนาด 50-100 ตัน หรือเรือขนาดเล็กทั่วไป ส่วนเรือสินค้าจีนจะแล่นผ่านไปมานานๆ ครั้ง โดยจะแล่นลงมาตามระดับน้ำที่เพิ่มขึ้น และเมื่อน้ำแห้ง เรือก็จะเทียบท่าริมฝั่ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ เรือสินค้าในน้ำโขงส่วนใหญ่ประสบปัญหาเรื่องสันดอนทรายบริเวณตรงเกาะดอนซาว เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว และบริเวณเนินทรายกว้างที่สามเหลี่ยมทองคำ ตรงปากแม่น้ำรวก ชายแดนไทย-พม่า-สปป.ลาว แถบบ้านสบรวก ต.เวียง ทำให้เรือขนาดใหญ่ไม่สามารถแล่นได้จนกว่าระดับน้ำจะเพิ่มมากขึ้นในบางช่วง นายทรงกลด ดวงหาคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาเชียงราย เปิดเผยว่าตามปกติเรือสินค้าที่แล่นไปมาในแม่น้ำโขงตั้งแต่จีนตอนใต้ถึง อ.เชียงแสน จะเป็นเรือจีนขนาด 200-300 ตัน โดยแล่นมาจากมณฑลหยุนหนัน-ท่าเรือเชียงแสน ระยะทางประมาณ 264 กิโลเมตร แต่ปัจจุบันระวางบรรทุกขนาดนี้ไม่สามารถจะแล่นได้ เพราะจะทำให้เรือเกยตื้นเสียก่อน แต่ก็เกิดกับเรือขนาดใหญ่เท่านั้น ส่วนเรือเล็กหรือเรือสินค้าของ สปป.ลาว ไม่มีปัญหาเรื่องนี้มากนัก จึงทำให้การขนส่งมีอยู่เป็นประจำทุกวัน แต่ระวางบรรทุกและระยะทางอาจจะลดลง หรือหากจำเป็นจริงๆ เรือสินค้าจีนก็จะพยายามลดระวางบรรทุกของพวกเขาลง ด้าน นายมานพ ไทยหล่อ หัวหน้าศูนย์อุทกวิทยา ที่ 12 เชียงแสน จ.เชียงราย กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบช่วงเดียวกันของปี 2554 พบว่าระดับน้ำลึกประมาณ 2.10 เมตร แสดงว่าระดับน้ำในปีนี้ได้ลดลงกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 50 เซนติเมตร ทำให้ต้องติดตามสถานการณ์กันต่อไป รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับท่าเรือ อ.เชียงแสน มีสถิติการเดินเรือสินค้าช่วงฤดูแล้งปี ก.พ.2555 ประมาณ 700 เที่ยว ซึ่งก็ถือว่ามากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีการแล่นประมาณ 300-500 เที่ยว ทำให้ระดับน้ำและปริมาณความต้องการขนส่งสินค้าสวนทางกันโดยขณะที่น้ำแห้งลง แต่เรือสินค้ากลับมีมากขึ้นดังกล่าว
ແກ້ງ່າຍໜ້ອຍດຽວ ສ້າງເຂື່ອນໃສ່ແມ່ນໍ້າຂອງເປັນຊ່ວງໆກໍ່ສາມາດແກ້ໄຂບັນຫານີ້ໄດ້ແລ້ວ ໂດຍສະເພາະຕ້ອງສ້າງເຂື້ອນໄຊຍະບູລີກ່ອນເພື່ອແກ້ບັນຫາ
ນັກວິຊາການ ສປປລາວ ມາແປກ ມັນບໍ່ຮູ້ວ່າ ການສ້າງເຂື່ອນໃຫ່ຍບໍ່ໄດ້ຜົລ ມີແຕ່ປະຊາຊົນຄົົນຈົນໆ ໄດ້ຮັບ
ຜົນກະທົບ ນັກວິຊາການ ຊັ້ນເທບ ເຂົາສຶກສາມາແລ້ວ
Anonymous wrote:ນັກວິຊາການ ສປປລາວ ມາແປກ ມັນບໍ່ຮູ້ວ່າ ການສ້າງເຂື່ອນໃຫ່ຍບໍ່ໄດ້ຜົລ ມີແຕ່ປະຊາຊົນຄົົນຈົນໆ ໄດ້ຮັບຜົນກະທົບ ນັກວິຊາການ ຊັ້ນເທບ ເຂົາສຶກສາມາແລ້ວ
ຢູ່ໃສ່ ບົດຄວາມທາງວິຊາການ (paper) ຕີພີມສໍານັກໃດ ເຫຼັ້ມທີ່ເທົ່າໃດ ໜ້າໃດ ໃຜເປັນຜູ້ວິໃຈ ລອງເອົາອອກມາສະແດງເບິ່ງດູ. ໃນການເຮັດສິ່ງໃດໜຶ່ງຂື້ນມາບໍ່ແມ່ນເຂົາຊິຮາວໄດ້ຮາວເຮັດເຂົາກໍ່ສຶກສາຜົນກະທົບຄືກັນ ແຕ່ຜົນອອກມາມັນມີຜົນດີຫຼາຍກວ່າຜົນເສຍກໍ່ຄວນປະຕິບັດ. ບໍ່ແມ່ນສະມະຊິກເສລີປະຊາທິປະໄຕສໍາເບາະນິເຄີຍເຂົາໄປຟັງເທື່ອໜຶ່ງເລື້ອງດ່ານີ້ສຸດຍອດ VOA ຍັງຖືກດ່າຕາມກັນຂໍ້ຫາສະໜັບສະໜູນລາວແດງວ່າຊັນ. ຄົນມີຄວາມຮູ້ແກ້ໄຂບັນຫາດ້ວຍການດ່າສຸດຍອດເລີຍ
ບອກໃຫ້ຄະນະພັກລັດພວກເຈົ້າ Studying more about ຜົນກະທົບ
ຈາກ Dams ຢ່າຫວັງແຕ່ພາກັນ ກອບໂກຍກິນນຳແຕ່ ໂຄງການຫລາຍ
http://www.internationalrivers.org/en/node/287
Anonymous wrote:ບອກໃຫ້ຄະນະພັກລັດພວກເຈົ້າ Studying more about ຜົນກະທົບຈາກ Dams ຢ່າຫວັງແຕ່ພາກັນ ກອບໂກຍກິນນຳແຕ່ ໂຄງການຫລາຍhttp://www.internationalrivers.org/en/node/287
ກະຍັງດີ ເພິ່ນໂກງເພິ່ນຍັງສ້າງຍັງສາ ແຕ່ຕອນພວກເຈົ້າມີແຕ່ໂກງບໍ່ເຮັດຫຍັງເຂົາເລີຍເຕາະໜີອອກນອກປະເທດ