มหาวิทยาลัย เวียดสั่งหยุด 15 แห่ง เหตุไม่เอ็นฯ ภาษาอังกฤษ
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- นักศึกษาเวียดนามที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโทหลักสาขาต่างๆ จำนวนหลายพันคนเหมือนถูกปลดกลางอากาศในสัปดาห์นี้ หลังจากกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรม ได้พบว่ามหาวิทยาลัยที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่จำนวน 15 แห่งทั่วประเทศ ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบที่ให้ทุกคนต้องผ่านการสอบแอดมิสชั่นภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศภาษาใดภาษาหนึ่งที่ทางการกำหนด หมายความว่าสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 15 แห่งจะต้องยกเลิกการเรียนหลักสูตรปริญญาโทที่กระทรวงพบว่า ไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบดังกล่าวโดยทันที ถึงแม้ว่าการเรียนการสอนจะดำเนินมา 6 เดือนแล้ว และเรื่องนี้กำลังเป็นปัญหาในรายละเอียด สื่อออนไลน์ภาษาเวียดนามรายงาน กระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรม (Ministry of Education and Training) ได้ออกระเบียบเลขที่ 10/ 2554 ให้นักศึกษาที่จะเข้าเรียนในระดับ ป.โท ทุกคน ต้องผ่านการสอบภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น หรือภาษาจีน อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงจะเข้าศึกษาต่อได้ สถาบันต่างๆ ที่เปิดสอนจะต้องจัดให้มีการสอบตามระเบียบคำสั่งของกระทรวง สำนักข่าวซเวินจี๊รายงาน มหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงฮานอย มหาวิทยาลัยเศรษฐกิจกรุงฮานอย มหาวิทยาลัยการค้าต่างประเทศกรุงฮานอย และ มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์นครโฮจิมินห์ ต่างก็เข้าข่ายละเมิดกฎระเบียบกับคำสั่งของกระทรวงเช่นกัน เจ้าหน้า MOET คนหนึ่งกล่าว เจ้าหน้าที่สังกัดประทรวงก่อสร้างผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทและไม่ได้ผ่านการสอบภาษาต่างประเทศอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า ตัวเธอเองเรียนสำเร็จปริญญาตรีจากวิทยาลัยครูสอนภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงฮานอย และ ไม่ได้มีปัญหาใดๆ หากจะต้องเข้าทดสอบภาษาอังกฤษหลังจากเข้าเรียน ระดับ ป.โท มาตั้งแต่เดือน ต.ค.2554 นักศึกษาอีกหลายคนก็อยู่ในข่ายเดียวกันนี้ คือ ผ่านการเรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษในระดับ ป.ตรี หรือเรียนไฮสกูลและปริญญาตรีจากต่างประเทศ หลายคนเป็นอาจารย์สอนภาษาระดับมหาวิทยาลัยไปศึกษาต่อ หลายคนกำลังศึกษา ป.โทสาขาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ ข้อสงสัยก็คือจำเป็นจะต้องกลับไปสอบแอดมิสชั่น เพื่อทดสอบความรู้ความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษอีกหรือไม่ ซเวินจี๊กล่าว เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยที่เป็นปัญหาโต้แย้งว่า MOET ประกาศใช้กฎระเบียบดังกล่าวในเดือน ส.ค.2554 ในขณะที่การสอบแอดมิสชั่นระดับปริญญาโทผ่านไปแล้ว "พวกเราจ่ายค่าเล่าเรียนไปแล้วครบเทอม บางคนจ่ายล่วงหน้าทั้งปี แล้วจะทำอย่างไรต่อไป" นักศึกษาที่ชื่อ "แอง" (Anh) กล่าวกับซเวินจี๊ออนไลน์ นางหว่างถิลานเฟือง (Hoàng Thị Lan Phương) รองอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรงวง MOET กล่าวว่า คำสั่งของกระทรวงถือเป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม และ มีมหาวิทยาลัยเพียง 15 แห่งเท่านั้น จากทั้งหมด 130 แห่งทั่วประเทศที่กำลังมีปัญหานี้ สถาบันอื่นๆ ที่ไม่มีปัญหาเรื่องนี้ ยังคงปฏิบัติการเรียนการสอนหลักสูตร ป.โทของตนได้ต่อไป เนื่องจากทุกแห่งปฏิบัติตามกฎระเบียบการสอบแอดมิสชั่นอย่างถูกต้อง นายเฟืองกล่าวว่ามิใช่ครั้งแรกที่กระทรวงได้ออกคำสั่งเกี่ยวกับ เรื่องนี้ ปลายปีที่แล้วได้เตือนไปถึงคณะเศรษฐศาสตร์กับคณะเศรษฐกิจของมหาวิทาลัยทุก แห่ง ให้รีบจัดทดสอบทักษะภาษาอังกฤษนักศึกษาก่อนจะเริ่มการเรียนการสอน แต่หลายแห่งก็มิได้ปฏิบัติตามโดยอ้างว่า กฎระเบียบของกระทรวงขาดความชัดเจน ตามรายงานของซเวินจี๊ มีอย่างน้อย 10 คณะวิชาใน 10 มหาวิทยาลัยที่อ้างว่า ไม่เคยได้รับทมราบเกี่ยวกับกฎระเบียบและคำสั่งของ MOET เกี่ยวกับเรื่องนี้ และเปิดสอนหลักสูตร ป.โท ตามปรกติเช่นที่เคยปฏิบัติมา "เราได้ประกาศหลักสูตรและเชิญผู้สนใจเข้าสอบเพื่อเข้าศึกษาในช่วงต้น ปีการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมการสอบ แต่ไม่มีเคยใครบอกกับเราว่า เรากระทำผิดกฎระเบียบอะไรอย่างไรหรือไม่" อธิการบดีมหาวิทนยาลัยที่อยู่ในข่ายแห่งหนึ่งกล่าวกับสำนักข่าวออนไลน์ภาษา เวียดนาม ทางการเวียดนามกำลังฟื้นฟูและปฏิรูปการศึกษาชั้นสูงของประเทศหลังจาก ในหลายปีมา มีเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตของเวียดนาม "มาตรฐานต่ำ" ปลายเดือนที่แล้ว MOET ได้มีคำสั่งอีกฉบับหนึ่งถึงมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ กำหนดให้ผู้ที่จะเข้าศึกษาระดับปริญญาเอกทุกสาขาจะต้องสอบ TOEFL หรือ IELTS ให้ได้คะแนนตามมาตรฐานสหรัฐฯ และยุโรปจึงจะมีสิทธิเข้าศึกษา และจะต้องสอบภาษาอังกฤษได้คะแนนสูงขึ้นไปอีก จึงจะมีสิทธิ์ "ขอจบ" ได้ในปีข้างหน้า
ຂະນະພັກລັດ ສປປລາວ ບອກຫວ່າຮຽນຈົບ phd ມາຈາກວຽດນານ
ສຳພໍ ຈຶ່ງຊື່ສານກັນຄົນຕ່າງປະເທດບໍ່ເຂົ້າໃຈ