กัมพูชาปฏิเสธอาเซียนแตกคอปัญหาน่านน้ำพิพาทจีน
เอเอฟพี - นายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชา ปฏิเสธอย่างฉุนเฉียวถึงรายงานว่ามีความขัดแย้งภายในอาเซียนเกี่ยวกับการ จัดการความขัดแย้งพื้นที่ทับซ้อนในทะเลกับจีน นายกฯ ฮุนเซนปฏิเสธรายงานที่ระบุว่า จีนกดดันกัมพูชาที่เป็นประธานอาเซียน ให้ถอนประเด็นหารือพิพาทน่านน้ำออกจากวาระการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ กรุงพนมเปญ “บางคนอาจคิดว่าระหว่างการประชุมอาเซียนมีความเห็นขัดแย้งระหว่างอา เซียนกับจีน นั่นเป็นความคิดที่ผิด” นายกฯ ฮุนเซนกล่าว พร้อมเพิ่มเติมว่า ทุกชาติต่างมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติ “นี่เป็นกระบวนการที่ไม่สามารถละเลยได้” นายกฯ ฮุนเซนอ้างถึงข้อตกลงในปีก่อนระหว่างอาเซียน กับจีน เกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินการหลักปฏิบัติในทะเลจีนใต้ ที่จีน และหลายประเทศในอาเซียนต่างอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะในทะเลแห่งนี้ ที่เชื่อกันว่าอุดมไปด้วยน้ำมันและยังเป็นเส้นทางเดินเรือทางการค้าที่สำคัญ ของโลก “เราเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องพยายามอย่างเต็มที่ให้มั่นใจว่า ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (DoC) ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มรูปแบบ ตามแนวทางการนำปฏิญญาฯ มาปฏิบัติ” ผู้นำอาเซียนระบุในแถลงร่วม หลังสิ้นสุดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเป็นเวลา 2 วัน ฟิลิปปินส์ และเวียดนามได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับท่าทีของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็ง กร้าวในทะเลจีนใต้ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขณะที่สหรัฐฯ ระบุว่ากังวลเกี่ยวกับเหตุปะทะเล็กน้อยที่ยกระดับเป็นความขัดแย้งใหญ่โต กัมพูชาพยายามที่จะนำจีนเข้าร่วมในกระบวนการร่าง แต่ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ระบุว่า สมาชิกอาเซียนควรร่างหลักปฏิบัติร่วมกันภายในกลุ่มก่อนยื่นต่อจีน “เราต้องการให้มีข้อสรุปจากอาเซียนเกิดขึ้นเสียก่อน ถึงจะสามารถหารือกับจีนต่อไป” นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย กล่าว ด้านนายอัลแบร์ต เดล โรซาริโอ รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า มีความไม่เห็นพ้องต้องกันวานนี้ เกี่ยวกับการเชิญจีนเข้าร่วมร่างหลักปฏิบัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน เหตุเล็กน้อยที่เกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ถูกยกระดับสู่ปัญหาขนาดใหญ่ ประธานาธิบดีหู จิ่นเทาของจีน เดินทางเยือนกัมพูชาก่อนที่การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนจะเริ่มขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนมองว่าเป็นการสร้างความกดดันต่อรัฐบาลกัมพูชาที่จะ ใช้บทบาทของกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนชะลอการเจรจาหารือเกี่ยวกับประเด็น ปัญหาทะเลจีนใต้ แม้ว่าเจ้าหน้าที่กัมพูชาปฏิเสธว่ากัมพูชาถูกกดดันจากจีน แต่นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้ถอนประเด็นหารือเกี่ยวกับข้อพิพาทน่านน้ำ และการร่างหลักปฏิบัติออกจากวาระการประชุมอาเซียน
อาเซียนจะออกแถลงร่วมผลักดันยกเลิกคว่ำบาตรพม่า-หารือพิพาทน่านน้ำ
เอเอฟพี - บรรดาผู้นำชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในวันนี้ (4 เม.ย.) คาดว่าจะออกแถลงร่วมเรียกร้องอย่างเป็นทางการให้ตะวันตกผ่อนคลายคว่ำบาตรต่อ พม่า ในช่วงท้ายการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนหลังวาระส่วนใหญ่เกี่ยวกับความตึง เครียดกับจีน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ระบุว่า ผู้นำ 10 ชาติสมาชิกอาเซียนยังแสดงความวิตกเกี่ยวกับแผนการปล่อยจรวดของเกาหลีเหนือ รวมทั้งความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งซ่อมครั้งประวัติศาสตร์ของพม่า ที่ทำให้นางอองซาน ซูจี เข้าไปนั่งในรัฐสภาได้เป็นครั้งแรก ในระหว่างการประชุมประจำปีที่กรุงพนมเปญ ซึ่งบรรดาผู้นำอาเซียนเมื่อวานนี้ (3 เม.ย.) ต่างชื่นชมการปฏิรูปของพม่าที่อนุญาตให้นางอองซาน ซูจีมีส่วนร่วมในการเมือง ประธานาธิบดีเต็งเส่งของพม่าแจ้งต่อผู้นำชาติต่างๆ หลังหารือวานนี้ว่า การเลือกตั้งซ่อมเป็นไปอย่างเสรี และยุติธรรม และเขายอมรับผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งประธานาธิบดีเต็งเส่งยังได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวในภายหลังว่า การเลือกตั้งประสบความสำเร็จอย่างดี ดร.สุรินทร์กล่าวกับผู้สื่อข่าวจากเอเอฟพีวานนี้ว่า เขาคาดหวังให้ผู้นำอาเซียนประกาศแถลงอย่างเป็นทางการในวันนี้ เรียกร้องให้มีการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรพม่าทันที ประธานาธิบดีเบนิโญ อาคิโน ของฟิลิปปินส์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า อาเซียนต้องแสดงให้ประชาชนที่กำลังดำเนินการปฏิรูปอยู่ในพม่าเข้าใจว่าเส้น ทางที่พวกเขาเลือกนั้นเป็นทางที่ถูกต้อง และควรได้รับรางวัลตอบแทน ขณะที่นายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ระบุว่า มาตรการคว่ำบาตรควรยกเลิกในเวลานี้ ด้านประเด็นความตึงเครียดกับจีนเกี่ยวกับหมู่เกาะพิพาทในทะเลจีนใต้ ที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญ เป็นประเด็นปัญหาที่ยากที่สุดสำหรับผู้นำชาติอาเซียน นายอัลแบร์ต เดล โรซาริโอ รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า มีความไม่เห็นพ้องต้องกันวานนี้เกี่ยวกับการเชิญจีนเข้าร่วมร่างข้อระเบียบ ปฏิบัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันเหตุเล็กน้อยที่เกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ ยกระดับสู่ปัญหาขนาดใหญ่ กัมพูชาที่เป็นประธานอาเซียนในปีนี้ต้องการที่จะนำจีนเข้าร่วมใน กระบวนการร่างดังกล่าว แต่ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ระบุว่าชาติสมาชิกอาเซียนควรร่างระเบียบปฏิบัติกันภายในกลุ่มก่อนที่จะนำไป ยื่นต่อจีน “เราต้องการให้มีข้อสรุปจากอาเซียนเกิดขึ้นเสียก่อน ถึงจะสามารถหารือกับจีนต่อไป” นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยกล่าว ประธานาธิบดีหู จิ่นเทาของจีน เดินทางเยือนกัมพูชาก่อนที่การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนจะเริ่มขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนมองว่าเป็นการสร้างความกดดันต่อรัฐบาลกัมพูชาที่จะ ใช้บทบาทของกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนชะลอการเจรจาหารือเกี่ยวกับประเด็น ปัญหาทะเลจีนใต้ แม้ว่าเจ้าหน้าที่กัมพูชาปฏิเสธว่ากัมพูชาถูกกดดันจากจีน แต่นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้ถอนประเด็นหารือเกี่ยวกับข้อพิพาทน่านน้ำ และการร่างข้อระเบียบปฏิบัติออกจากวาระการประชุมอาเซียน
'อาเซียน'หยุดชะงักประเด็นแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้
บรรดาผู้นำของสมาคมอาเซียน ให้คำมั่นสัญญาในตอนท้ายของการประชุมซัมมิตเป็นเวลา 2 วันเมื่อวันพุธ(4)ว่า จะเพิ่มความพยายามในการแก้ไขปัญหาพิพาทระหว่างหลายชาติสมาชิกกับจีน สืบเนื่องจากต่างอ้างอธิปไตยเหนือน่านน้ำและหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ทับซ้อนกัน ขณะที่นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ของกัมพูชา ซึ่งเป็นประธานอาเซียนวาระปัจจุบัน ออกอาการฉุนเฉียวเกี่ยวกับรายงานข่าวที่ว่า มีความขัดแย้งกันภายในหมู่ชาติสมาชิกในเรื่องการจัดการกับความขัดแย้งนี้ คำแถลงที่ออกมาในตอนท้ายของการประชุมซัมมิตที่กรุงพนมเปญคราวนี้ระบุ ว่า บรรดาผู้นำของ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน “ย้ำยืนยันถึงความสำคัญ” ของ “ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้” (DoC) ที่อาเซียนประกาศออกมาตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน โดยที่มีเนื้อหามุ่งให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้คำมั่นว่าจะส่งเสริมสันติภาพและความเข้าใจกันในอาณาบริเวณที่พิพาทกัน อยู่ “เราขอย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความพยายามขึ้นอีก เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการปฏิบัติตาม DoC อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มรูปแบบ ตามแนวทางของการนำเอาปฏิญญาฉบับนี้มาใช้ปฏิบัติ” คำแถลงบอก นักวิเคราะห์หลายรายมองว่า นี่เป็นถ้อยคำภาษาอย่างเดียวกับที่ปรากฏอยู่ในคำแถลงฉบับซึ่งออกมาภายหลัง การประชุมสุดยอดอาเซียนในอินโดนีเซียเมื่อปีที่แล้วนั่นเอง และดังนั้นจึงเป็นการสะท้อนให้เห็นว่ากำลังเกิดภาวะชะงักงันขึ้นภายในอา เซียน ในประเด็นที่เป็นการขัดแย้งกับมหาอำนาจทรงอิทธิพลในภูมิภาคอย่างประเทศจีน นี้ “นี่เป็นคำแถลงที่อ่อนปวกเปียก แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้เมื่อพิจารณาจากแง่มุมที่ว่า อาเซียนยังไม่สามารถที่จะหาจุดยืนร่วมในเรื่องเกี่ยวกับทะเลจีนใต้” ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ อดีตนักการทูตชาวไทย ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำอยู่ที่สถาบันเพื่อเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ศึกษา ในประเทศสิงคโปร์ ให้ความเห็นกับเอเอฟพี