ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: กสม.จี้นายกฯ ทบทวนสร้างเขื่อนไซยะบุรี ลาว ระงับสัญญา กฟผ.ซื้อไฟฟ้า
Anonymous

Date:
กสม.จี้นายกฯ ทบทวนสร้างเขื่อนไซยะบุรี ลาว ระงับสัญญา กฟผ.ซื้อไฟฟ้า
Permalink   
 


กสม.จี้นายกฯ ทบทวนสร้างเขื่อนไซยะบุรี ลาว ระงับสัญญา กฟผ.ซื้อไฟฟ้า

กรรมการสิทธิฯ ทำหนังสือถึงนายกฯ จี้ทบทวนก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี ลาว และระงับสัญญาซื้อไฟฟ้าของ กฟผ.จนกว่าจะตรวจสอบแล้วเสร็จ แฉกระทบสิ่งแวดล้อมชัด
       
       วันนี้ (4 พ.ค.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้มีคำสั่ง ทบทวนการดำเนินงานก่อสร้างโครงการเขื่อนไซยะบุรี ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ที่เอกชนของประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ โดย ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมแม่น้ำโขง (MRC) เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2554 และให้มีการระงับการกระทำใดๆ ตามสัญญารับซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไว้จนกว่าการตรวจสอบ กรณีนี้จะแล้วเสร็จ เพื่อให้เกิดความรอบคอบและถูกต้องตามขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานโครงการดัง กล่าว และเพื่อจะได้ไม่เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและประเทศชาติ
       
       ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิฯ ระบุว่า เมื่อเดือน พ.ค. 54 ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า โครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งดำเนินการก่อสร้างโดยภาคเอกชนของประเทศไทย เพื่อขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนรับทราบ ไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน อีกทั้งไม่มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพทั้งใน ประเทศไทย และทั้งการดำเนินการข้ามพรมแดน ทั้งๆ ที่โครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในหลายจังหวัดของไทยที่อาศัยอยู่ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ทางคณะกรรมการสิทธิฯ จึงได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรดำเนินการตรวจ สอบข้อเท็จจริงตามอำนาจหน้าที่
       
       ทั้งนี้ ในระหว่างการตรวจสอบของอนุกรรมการฯ ก็ได้รับการร้องเรียนเพิ่มเติมจากประชาชน ว่า มีความพยายามที่จะดำเนินงานก่อสร้างโครงการต่อไป ทั้งที่ยังไม่มีการดำเนินการตามกระบวนการตามเงื่อนไขของคณะกรรมการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission - MRC) เกี่ยวกับการดำเนินโครงการก่อสร้างในแม่น้ำโขง อันเป็นข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาคแม่น้ำโขง ที่เป็นสาระสำคัญของกระบวนการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลของโครงการต่อสาธารณะอย่างแพร่หลาย ทั้งที่เป็นเงื่อนไขสำคัญที่คณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มีมติกำหนดให้ กฟผ.ต้องดำเนินการก่อนลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งความพยายามเดินหน้าโครงการโดยไม่สนใจเงื่อนไขต่างๆ ดังกล่าว สาเหตุสำคัญน่าจะจาก จากการที่ กฟผ.ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ Xayaburi Power Company Limited ไปแล้ว เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 54
       
       โดยคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรตรวจสอบพบว่า ทั้งสองประเด็นอาจมีปัญหา 1. การละเมิดข้อตกลงตามสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเนื่องจาก กฟผ.ได้ให้หลักประกันในสัญญาว่า โครงการเขื่อนไซยะบุรีจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ ของประชาชนไทยและลาว และยังได้ระบุอีกว่า ได้จัดให้มีการศึกษาผลกระทบอย่างเพียงพอแล้ว ซึ่งประเด็นนี้คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนฯ พบจากการตรวจสอบว่า รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานศึกษาผลกระทบทางสังคม (SIA) ที่จัดทำโดยบริษัท TEAM Consulting Engineering and Management Co.Ltd. เมื่อเดือน ส.ค. 53 ไม่มีการศึกษาข้อมูลว่าด้วยผลกระทบข้ามพรมแดน โดยผู้ศึกษาได้ขยายพื้นที่การศึกษาผลกระทบออกไปจากพื้นที่เขื่อนเพียงแค่ 10 กม.เท่านั้น
       
       โดยไม่ได้มีการประเมินผลกระทบด้านการอพยพของปลา การประมง การเกษตรริมน้ำโขง การใช้น้ำอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะในส่วนของประเทศไทยที่ห่างจากจุดสร้างเขื่อนเหนือขึ้นไป คือ อ.เชียงของ จ.เชียงราย และด้านท้ายเขื่อน คือ อ.เชียงคาน จ.เลย และยังรวมถึงชุมชนต่างๆ ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงในหลายๆ ด้านดังกล่าว ถึง 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี หรืออาจจะส่งผลกระทบไปตลอดลำน้ำจนถึงปากแม่น้ำโขงในประเทศเวียดนาม โดยข้อเท็จจริงนี้ปรากฏอยู่ในรายงานการทบทวนโครงการก่อนการปรึกษาหารือของ เลขาธิการคณะกรรมการลุ่มน้ำโขง วันที่ 24 มี.ค.54 ที่มีการระบุว่า มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของประเทศไทย ซึ่งควรจะต้องมีการประเมินผลกระทบเพิ่มเติม และต่อมาเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 54 คณะกรรมการแม่น้ำโขงได้มีมติให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบจากการก่อสร้าง เขื่อนไซยะบุรีในฝั่งประเทศไทยก่อนที่จะมีการก่อสร้างโครงการ
       
       นอกจากนี้ ตามสัญญารับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวนั้น กฟผ.ได้ให้หลักประกันในสัญญาว่า เขื่อนไซยะบุรีจะไม่ตกอยู่ภายใต้การดำเนินการหรือขั้นตอนใดๆ ของคณะกรรมการหรือหน่วยงานตามกฎหมายที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นผลทางกฎหมาย ความสมบูรณ์ หรือการมีผลใช้บังคับของสัญญา ดังปรากฏตามสัญญา ข้อที่ 15.2.1 (e) นั้นทางคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนฯ เห็นว่า ข้อสัญญาดังกล่าวอาจขัดแย้งกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของคณะ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่กำลังตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวอาจมีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล อันอาจจะส่งผลต่อความเป็นผลทางกฎหมาย ความสมบูรณ์ หรือการมีผลใช้บังคับของสัญญาในท้ายที่สุดได้
       
       2. ปัญหาผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะในฝั่งประเทศไทย คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนฯ เห็นว่า ทั้งๆ ที่โครงการเขื่อนไซยะบุรีจะส่งผลกระทบในหลายด้านดังกล่าว แต่ กฟผ.และรัฐบาลไทย กลับไม่มีการเปิดเผยสัญญารับซื้อไฟฟ้า และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสัญญารับซื้อไฟฟ้าดังกล่าว ต่อสาธารณชนก่อนที่จะมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าดังกล่าวแต่อย่างใด การกระทำของ กฟผ.และรัฐบาลไทยดังกล่าวนี้ จึงอาจไม่เป็นไปตามหลักการในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะหลักการคุ้ม ครองสิทธิชุมชน ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 50 และอาจขัดต่อข้อกำหนดของมติคณะรัฐมนตรีและมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่ง ชาติ รวมทั้งยังอาจขัดต่อหลักการในข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ภูมิภาคแม่น้ำโขง ที่ประเทศไทยลงนามในข้อตกลงดังกล่าวเมื่อพ.ศ. 2538 และหลักธรรมาภิบาลที่ดีอีกด้วย



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard