การประชุมของเวทีระหว่าง ประเทศ ผลของการประชุมบางครั้งมีผลลัพธ์เป็นความตกลงที่เรียกกันว่า Treaty หรือ สนธิสัญญา บางครั้งก็เป็น อนุสัญญา หรือ Convention หลายครั้งเป็นเรื่องของ ความตกลง หรือ Agreement บางทีได้เป็น ข้อตกลง ที่เรียกว่า Arrangement ท่านกับผมก็คงจะเคยได้ยินผลของการประชุมที่เรียกว่า Protocol ที่ภาษาไทยแปลว่า พิธีสาร Declaration ปฏิญญา Charter กฎบัตร Statute ธรรมนูญ Memorandum of Understanding (MOU) บันทึกความเข้าใจ Agreed Minutes รายงานที่เห็นชอบร่วมกัน และ Joint Communique แถลงการณ์ร่วมสมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งเมื่อ 8 สิงหาคม 2510 จนถึงวันนี้ก็ 45 ปีแล้วครับ กลไกสูงสุดในการกำหนดนโยบายและแนวทางความร่วมมือของอาเซียนก็คือ การประชุมประมุข หรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศ อาเซียน ที่เราๆท่านๆเรียกกันจนติดปากว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน ASEAN Summit นอกจากนั้น ก็ยังมีการประชุม AMM หรือการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน AEM การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน AFMM การประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน ฯลฯในประวัติศาสตร์ 45 ปีของการก่อตั้งอาเซียน การประชุมที่กัมพูชาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น เป็นครั้งแรกที่เมื่อจบการประชุมแล้ว ไม่มี จอยนท์ คอมยูนิเค หรือ Joint Communique ผมหมายถึงนี่เป็นครั้งแรกของการประชุมอาเซียนที่เมื่อจบการประชุมแล้ว ทุกประเทศที่เข้าประชุมไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมกันได้นอกจากกลุ่ม อาเซียน 10 ประเทศแล้ว ประเทศที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ยังมีสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และกลุ่มสหภาพยุโรป เรื่องสำคัญที่ทำให้เกิดความบาดหมางคลางแคลงใจก็คือ ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง อเมริกา กะ จีน ที่มีการ “แสดงออก” อย่างชัดเจนที่สุดในการประชุมอาเซียนครั้งที่ผ่านมา ซึ่งแต่ก่อนร่อนชะไร ปัญหาในทะเลจีนใต้นี่ก็อุบัติขึ้นอยู่แล้ว ปัญหามีมานานแล้ว พวกที่ทะเลาะเบาะแว้งกันก็มีจีน เวียดนาม ไต้หวัน มาเลเซีย บรูไน และฟิลิปปินส์ก่อน จะถึงทะเลจีนใต้ ผมขอปูพื้นรับใช้ถึงทะเลจีน หรือ China Sea ก่อนนะครับ ทะเลจีนเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก กินบริเวณตั้งแต่หมู่เกาะญี่ปุ่นไปจนถึงตอนใต้สุดของคาบสมุทรมลายู แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยเอาเกาะไต้หวันเป็นแนวแบ่งเขต บริเวณที่อยู่เหนือเกาะไต้หวันขึ้นไป เรียกว่า ทะเลจีนตะวันออก ส่วนบริเวณที่อยู่ใต้เกาะไต้หวันลงมา เรียกว่า ทะเลจีนใต้ มีเนื้อที่ทั้งหมด 3,568,243 ตารางกิโลเมตรจีนประกาศมาหลายครั้งว่า 80% ของทะเลจีนใต้เป็นของจีน และก็อ้างว่าอดีตเคยมีเรือจีน คนจีน ไปอยู่ที่เกาะโน้น เกาะนี้ ในขณะที่หลายประเทศที่แต่ก่อนตอนอดีตมีปัญหากับจีน พยายามสร้างคำเรียกชื่อทะเลจีนใต้เป็นอย่างอื่น เพื่อไม่ให้ทะเลนี้มีส่วนเกี่ยวดองหนองยุ่งกับจีน ยกตัวอย่างเวียดนาม ที่เลี่ยงไปเรียกทะเลจีนใต้ว่า “ทะเลตะวันออก”ทะเลจีนใต้มีความ สำคัญต่อโลกมากครับ เพราะ 30% ของการขนส่งทางทะเลของโลกจะต้องแล่นเรือทางผ่านทะเล จีนใต้ นอกจากนั้น ยังมีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากมายมหาศาล เป็นแหล่งอาหารทะเลที่ชุกชุมเดิม ปัญหากระทบกระทั่งกันในเรื่องทะเลจีนใต้ ระหว่างจีนกับประเทศเล็กชาติน้อยอย่างฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไต้หวัน ฯลฯ ก็มีอยู่บ้าง แต่ยังไม่มากทว่ามามีปัญหามากขึ้น ก็เมื่อตั้งแต่สหรัฐอเมริกาเริ่มสังเกตว่าจีนเผยแพร่อิทธิพลของตนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรุนแรงก็ อย่างที่ผมเรียนรับใช้ไปตั้งแต่เมื่อวานนั่นแหละครับว่า ในยุคสงครามเย็น สหรัฐอเมริกามาอุจจาระปัสสาวะ สร้างปัญหาไว้ในภูมิภาคนี้และก็ทิ้งไปอย่างไม่สนใจไยดี แต่ตอนนี้กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกากลับมาประกาศว่า สหรัฐฯจะกลับมายืนยันมิตรเก่ากับเพื่อนเก่า และจะแสวงหาเพื่อนมิตรใหม่ตอน แรก ผมก็เดาว่าอเมริกาจะเอ่ยว่าเพื่อนเก่าของตนเองก็คือ ฟิลิปปินส์และไทย ทว่าปรากฏว่า ไม่มีคำ Thailand ซึ่งเรื่องนี้น่าสนใจมาก อะไรทำให้ไม่มีคำว่า Thailand ผมขออนุญาตกลับมารับใช้ท่านใหม่ในวันพรุ่งนี้ครับ.