รัฐมนตรี สปปลาว “สุบัน สะลิดทะลาด” สิ้นลม
นายสุบันอายุ 76 ปี ถึงแก่กรรมในตอนสายวันเดียวกันด้วยโรคประจำตัว พรรคและรัฐได้ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดพิธีศพ โดยนางอ่อนจัน ทำมะวง รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นประธาน มีรัฐมนตรีและกรรมการศูนย์กลางพรรค ร่วมเป็นกรรมอีกหลายคน รวมทั้งสมาชิกครอบครับสลิดทะลาดด้วย หนังสือพิมพ์ “ประชาชน” ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวรายงาน
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ลาว สุบัน สะลิดทิลาด กับผู้แทนพิเศษด้านการปราบปรามยาเสพติดและอาชญากรรมขององค์การสหประชาชาติ ร่วมการประชุมด้านยาเสพติดในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงในกรุงฮานอย เวียดนาม วันที่ 25 ก.ย.2546 หรือ 10 ปีที่แล้ว นายสุบันถึงแก่กรรมในวันอังคาร 17 ก.ค.ที่ผ่านมารวมอายุ 76 ปี พิธีฌาปนกิจมีกำหนดขึ้นวันศุกร์ 20 ก.ค.นี้ที่วัดเทพนิมิต นครเวียงจันทน์-- ภาพ: AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. พิธีฌาปนกิจมีกำหนดขึ้นในบ่ายวันศุกร์ 20 ก.ค.นี้ ที่วัดเทพนิมิต (วัดทาดฝุ่น หรือ “วัดเจดีย์ฝุ่น”) นครเวียงจันทน์ นายสุบันเป็นกรรมการศูนย์กลางพรรค 2 สมัย คือชุดที่ 7 และ 8 ก่อนจะเกษียนตัวเองออกไปในชุดที่ 9 ปัจจุบัน พร้อมกับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักประธานประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังคงทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติต่อมา ก่อนหน้านั้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมายาวนาน เป็นหัวหน้าทีมเจรจาแก้ไขปัญหาพิพาทเขตแดนทางบกบ้านใหม่ บ้านกลางและบ้านสว่าง ด้าน จ.อุตรดิตถ์-แชวงไซยะบูลี ที่ประทุขึ้นมาในช่วงปี 2526 นำไปสู่การปะทะด้วยอาวุธครั้งรุนแรงระหว่างสองฝ่าย ความบาดหมางยังไม่ได้รับการแก้ไข ไทยกับลาวได้ดำดิ่งเข้าสู่การขัดแย้งกับการปะทะครั้งใหม่เหนือพื้นที่ราว 5 ตารางกิโลเมตรที่ชายแดนบ้านร่มเกล่า จ.พิษณุโลก-แขวงไซยะบูลี นายสุบันเป็นนำทีมเจรจากับฝ่ายไทยหลายครั้งทั้งในเวียงจันทน์และใน กรุงเทพฯ ก่อนสองฝ่ายได้ตกลงยุติการใช้อาวุธและหันมาแก้ปัญหาอย่างสันติด้วยข้อเท็จ จริง ไทยและลาวได้ส่งคณะทำงานหลายชุดลงพื้นที่จริงเพื่อสำรวจเขตแดน ธรรมชาติ ซึ่งรวมทั้งแนวสันปันน้ำในกรณี 3 หมู่บ้าน และ ทางไหลของลำน้ำเหืองที่ใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติในกรณีบ้านร่วมเกล้า ตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยาม ค.ศ.1907 และ 1909
.
ທ່ານ ສຸບັນ ສະລິດທິລາດ ລັດຖະມົນຕີປະຈຳສຳນັກງານນາຍົກລັດຖະມົນຕີ ປະທານຄະນະກຳມະການແຫ່ງຊາດເພື່ອກວດກາ ແລະ ຄວບຄຸມຢາເສບຕິດ
สมรภูมิรบบ้านร่มเกล้า
แม้ว่าการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพประชาชนลาวเพื่อแย่งชิงพื้นที่พิพาทในเขตบ้านร่มเกล้า ในช่วงเดือนธันวาคม 1987 จนถึงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1988 จะได้สิ้นสุดลงไปด้วยการทำข้อตกลงหยุดยิงระหว่างกองทัพของทั้งสอง ประเทศนับเป็นเวลาถึง 20 ปี แล้วก็ตาม แต่จนถึงทุกวันนี้ทางการไทยและลาวนั้นก็ยังคงไม่สามารถที่จะทำการตกลงเพื่อ ปักปันเขตแดนในพื้นที่พิพาทดังกล่าวระหว่างกันได้เลย
ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าเหตุผลและเอกสารต่างๆที่ทางการของทั้ง 2 ฝ่าย ได้หยิบยกขึ้นมาอ้างสิทธิของฝ่ายตนที่มีอยู่เหนือพื้นที่พิพาทดังกล่าวนับ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้มีโอกาสนั่งโต๊ะเจรจากันเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้นั้นก็ ยังคงเป็นเหตุผลและเอกสารต่างๆชุดเดียวกันที่มีความแตกต่างและขัดแย้งกัน อย่างสิ้นเชิงนั่นเอง
กล่าว คือทางการไทยได้อ้างว่าพื้นที่พิพาทที่เรียกว่าบ้านร่มเกล้านั้น ตั้งอยู่ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนระหว่างไทยกับลาวคิดเป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวอำเภอชาติตระการไปทางทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือประมาณ 70 กิโลเมตร
โดยในช่วงปี 1968-1982 นั้น พื้นที่ดังกล่าวนี้ถือเป็นเขตที่มีการเคลื่อนไหวของผู้ ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อยู่อย่างหนาแน่นมาก ซึ่งทางการไทยก็ได้จัดส่งกำลังทหารเข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่และได้มีการ ตั้งฐานปฏิบัติการขึ้นหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บ้านร่มเกล้า ซึ่งในช่วงเวลานั้นก็ไม่มีการทักท้วงหรือปะทะกับกองกำลังฝ่ายลาวเกิดขึ้นแต่ อย่างใดเลย
ครั้นภายหลังจากปี 1982 โดยกองทัพภาคที่ 3 ของ ไทยได้ทำการพัฒนาหมู่บ้านต่างๆในเขตดังกล่าวอันรวมถึงบ้านร่มเกล้าด้วย ทั้งยังได้จัดให้ราษฎรซึ่งเป็นชาวเขาเผ่า ม้ง รวมถึงผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่เข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เพื่อให้อาศัย อยู่ที่บ้านร่มเกล้าในฐานะที่เป็นหมู่บ้านป้องกันตนเองตามแนวชายแดนอีกด้วย
แต่ อย่างไรก็ตาม ทางการฝ่ายลาวก็ได้ตอบโต้โดยอ้างว่าพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวนี้ตั้งอยู่ใน เขตปกครองของตาแสง(ตำบล)นาบ่อน้อย เมือง(อำเภอ)บ่อแตน แขวง(จังหวัด) ไซยะบุลีของลาว และทหารลาวได้เข้าไปยึดครองตั้งแต่เดือนมิถุนายน 1987 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยึดเอาเนิน 1428, 1370, 1148 ฯลฯ ที่ตั้งอยู่ในเขตติดต่อระหว่างภูสอยดาว ภูเมี่ยง และ ภูขัดในฝั่งลาว
แน่นอนว่าการโต้แย้งดังกล่าวนี้ ทางการของทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็ยืนยันว่าเป็นไปตามสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ฉบับปี 1907 และ ข้อสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตแดนต่อท้ายสนธิสัญญาฯฉบับดังกล่าวแต่ปัญหาก็ อยู่ที่ว่าการตีความตามสนธิสัญญาฯของแต่ละฝ่ายนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตีความในข้อ 2 ในข้อ สัญญาว่าด้วยปักปันเขตแดนฯ ที่มีความว่า
“...เขต แดนเมืองหลวงพระบางนั้นตั้งแต่ทิศใต้ในแม่น้ำโขงที่ปากแม่น้ำเหืองแล้วต่อไป ตามกลางลำน้ำเหืองนี้จนถึงที่แรกเกิดน้ำนี้ที่เรียกชื่อว่าภูเขาเมี่ยง ต่อนี้เขตแดนไปตามเขาปันน้ำตกแม่น้ำโขงฝ่ายหนึ่งกับตกแม่น้ำเจ้าพระยาอีก ฝ่ายหนึ่ง จนถึงที่ในลำแม่ น้ำโขงที่เรียกว่าแก่งผาได ตามเส้นพรมแดนที่กรรมการปักปันเขตแดน ได้ตกลงกันไว้แต่ วันที่ 16 มกราคม 1906...”
ทั้ง นี้โดยทางการฝ่ายลาวได้ตีความว่าเส้นเขตแดนตรงพื้นที่พิพาทนั้นเริ่มจากแม่ น้ำเหืองไปยังแม่น้ำเหืองป่าหมันแล้วขึ้นไปตามลำน้ำนี้จนถึงบริเวณที่เรียก ว่าภูสอยดาว ในขณะที่ทางการฝ่ายไทยก็ได้โต้แย้งว่าเส้นเขตแดนที่เป็นจริงนั้นเริ่มจากแม่ น้ำเหืองไปยังแม่น้ำเหืองง่า (ลาวเรียกว่าแม่น้ำเหืองน้อย) แล้วไปตามลำน้ำสายนี้จนถึงภูเขาเมี่ยง
ซึ่ง ก็ทำให้ทางการฝ่ายลาวโต้แย้งว่าแม่น้ำเหืองง่านั้น (ไหลลึกเข้าไปในเขตลาว) เป็นสาขาของแม่น้ำเหืองเท่านั้น หากแต่แม่น้ำสายเดียวกันกับแม่น้ำเหืองตั้งแต่ในอดีตกาลมาแล้วนั้นคือแม่น้ำ เหืองป่าหมัน (ไหลลึกเข้ามาในเขตไทย)
เพราะ ฉะนั้น จึงจะเห็นได้ว่าประเด็นที่เป็นปัญหาขัดแย้งกันระหว่างทางการฝ่ายไทยกับลาวใน การตีความดังกล่าวก็คือการยึดถือตามแม่น้ำเหืองง่ากับแม่น้ำเหืองป่าหมัน (ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในข้อสัญญาฯ) ว่าเป็นสายน้ำเดียวกันกับแม่น้ำเหืองนั่นเอง
ยิ่งไปกว่านั้น ทางการของทั้ง 2 ฝ่ายยังขัดแย้งกันในส่วนที่เกี่ยวกับการอ้างแผนที่ที่จะใช้บังคับกับกรณีดังกล่าวนี้อีกด้วย โดยฝ่ายไทยได้ยึดถือตามแผนที่ 3 ฉบับ ซึ่งก็คือแผนที่ประกอบสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฉบับปี 1907, แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศชุดที่ L7017 ซึ่งสหรัฐฯจัดทำขึ้น และแผนที่ที่อดีตสหภาพโซเวียตจัดทำให้กับลาวในปี 1987
แน่นอนว่าทางการฝ่ายลาวย่อมไม่เห็นด้วยกับทางการฝ่ายไทย หากแต่ได้แสดงจุดยืนที่จะยึดถือตามแผนที่ประกอบสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฉบับปี 1907 เท่านั้น ซึ่งทางการฝ่ายไทยก็มองว่าเป็นแผนที่ที่ล้าสมัยและไม่สามารถที่จะระบุพิกัดในเขตพิพาทได้อย่างชัดเจนเลย
ด้วยเหตุนี้ถึงแม้ว่าทางการไทยกับลาวจะได้นั่งโต๊ะเจรจากันเพื่อตกลงปักปันเขตแดนระหว่าง 2 ประเทศตั้งแต่ปี 1996 เป็นต้นมาแล้วก็ตาม หากแต่ก็ไม่สามารถที่จะตกลงกันในส่วนที่เกี่ยวกับบ้านร่มเกล้าแห่งนี้ได้เลย
อย่างไรก็ตาม การเจรจาระหว่างทางการไทย-ลาว หรือภายใต้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ นับตั้งแต่ปี 1996 เป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้ก็สามารถตกลงปักปันเขตแดนทางบกระหว่างกันได้เป็นส่วนใหญ่แล้ว
กล่าวคือในเขตชายแดนทางบกระหว่างไทย-ลาวที่มีระยะทางยาวประมาณ 702 กิโลเมตรนั้นทั้ง 2 ฝ่ายสามารถตกลงปักปันเขตแดนระหว่างกันได้แล้วถึง 676 กิโลเมตรและได้ตั้งหลักหมายเขตแดนระหว่างกันแล้ว 190 หลัก
แต่ในส่วนเขตแดนที่ยังคงไม่สามารถตกลงกันได้คิดเป็นระยะทางยาวประมาณ 26 กิโลเมตรนั้นต่างก็เป็นพื้นที่ที่เป็นปัญหาอย่างเดียวกันกับที่บ้านร่มเกล้าทั้งสิ้น ซึ่งในที่นี้รวมถึงพื้นที่ในเขต 3 หมู่บ้าน กล่าวคือบ้านใหม่, บ้านกลาง และ บ้านสว่างที่อยู่ในพื้นที่แนวชายแดนระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์กับแขวงไซยะบุลี ซึ่งไทยกับลาวก็เคยพิพาทกันจนถึงขั้นต้องทำสงครามกันในช่วงปี 1984 มาแล้วด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น จะต้องไม่ลืมว่าไทยกับลาวยังมีเขตแดนทางน้ำระหว่างกันที่มีระยะทางยาวประมาณ 1,108 กิโลเมตร ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังคงไม่ได้เริ่มทำการสำรวจเพื่อทำการตกลงปักปันเขตแดนทางน้ำระหว่างกันแต่อย่างใด
ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าทางการของทั้ง 2 ฝ่าย มีความเห็นที่ขัดแย้งกันในทุกเรื่อง โดยไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของร่องน้ำลึก หรือเรื่องเกาะแก่งต่างๆในแม่น้ำโขง และเรื่องของแผนที่ที่จะใช้อ้างอิงหรือใช้ประกอบการสำรวจในตลอดแนวเขตแดนทาง น้ำก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ทางการไทยกับลาวโดยรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ตกลงร่วมกันอย่างเป็นทางการเมื่อปีที่แล้วนี้ว่าจะพยายามทำการปักปันเขตแดนทางบกให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2008 และในปี 2010 สำหรับการปักปันเขตแดนทางน้ำให้ได้
ส่วนจะทำได้จริงหรือไม่นั้นก็จะต้องดูต่อไปเพราะในความเป็นจริงแล้วเป้าหมายที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะปักปันเขตแดนระหว่างกันให้แล้วเสร็จนั้นได้มีการเลื่อนออกไปเรื่อยๆ โดยนับตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมาแล้ว ทั้งนี้โดยมีสาเหตุมาจากการอ้างเหตุผลและพยานเอกสารต่างๆที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง
แต่ ถึงกระนั้น แม้ว่าการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับลาวจะสามารถดำเนินการไปได้อย่างเชื่อง ช้าก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้วที่ทางการของทั้ง 2 ฝ่ายได้เลือกเดินในเส้นทางของการเจรจาแทนการสู้รบกันเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่ไม่เพียงทำให้ทหารของทั้ง 2 ฝ่าย ต้องเสียชีวิตไปหลายร้อยนายและบาดเจ็บหรือพิกลพิการไปอีกนับเป็นพันๆคนเท่า นั้น หากแต่ยังไม่มีฝ่ายใดที่ได้รับผลประโยชน์จากพื้นที่พิพาทดัง กล่าวเลยในตลอดช่วง 2 ทศวรรษมานี้!!!
ຂໍໃຫ້ດວງວິນຍານຂອງທ່ານໄປສູ່ສຸຂະຕິເຖີນ....!!
ບັນດາທ່ານຜູ້ນຳທີ່ຍັງມີຊີວິດຢູ່ກະໃຫ້ຄິດວ່າ ຊັບສິນເງິນທອງມີຫຼາຍກກໍ່ເທົ້ານັ້ນແຫຼະຕາຍແລ້ວກະເອົາໄປນຳບໍ່ໄດ້ ດັ່ງນັ້ນ ຢ່າໂກງຊາດໂກງປຊຊອີກເລີຍ...!ຈະເຮັດຫຍັງເພື່ອປຊຊກະຮີບເຮັດສາຈັກໜ້ອຍໝົດໂອກາດໄດ.
ມະຕິຕົກລົງວ່າດ້ວຍການແຕ່ງຕັ້ງຄະນະຮັບຜິດຊອບງານຊາປະນະກິດສົບສະຫາຍ ສຸບັນ ສຣິດທິຣາດ
ເພື່ອສະແດງເຖິງຄວາມຮູ້ບຸນຄຸນ ແລະ ອາໄລອາວອນຢ່າງສຸດຊຶ້ງຕໍ່ສະຫາຍ ສຸບັນ ສຣິດທິຣາດ ອະດີດກຳມະການສູນກາງພັກສະໄຫມທີ VII ແລະ VIII, ອະດີດລັດຖະມົນຕີຊ່ວຍວ່າການກະຊວງການຕ່າງປະເທດ, ອະດີດຫົວຫນ້າຫ້ອງວ່າການສຳນັກງານປະທານປະເທດ; ປະທານຄະນະກຳມະການແຫ່ງຊາດ ເພື່ອກວດກາ ແລະ ຄວບຄຸມຢາເສບຕິດ, ທີ່ເສຍຊີວິດໃນເວລາ 9 ໂມງ 10 ນາທີວັນທີ 17 ເດືອນ 7 ປີ 2012. ເພື່ອເຮັດໃຫ້ວຽກງານຊາປະນະກິດສົບຂອງສະຫາຍ ສຸບັນ ສຣິດທິຣາດ ໄດ້ຮັບການຈັດຕັ້ງປະຕິບັດຢ່າງສົມກຽດ ແລະ ມີຄວາມເປັນລະບຽບຮຽບຮ້ອຍ.
ຄະນະເລຂາທິການສູນກາງພັກຕົກລົງ:
ມາດຕາ 1:ແຕ່ງຕັ້ງຄະນະຮັບຜິດຊອບງານຊາປະນະກິດສົບສະຫາຍ ສຸບັນ ສຣິດທິຣາດ ປະກອບດ້ວຍບັນດາສະຫາຍດັ່ງນີ້:
1. ສະຫາຍ ນ. ອ່ອນຈັນ ທຳມະວົງ ກຳມະການສູນກາງພັກ, ລັດຖະມົນຕີວ່າການກະຊວງແຮງງານ ແລະ ສະຫວັດດີການສັງຄົມເປັນປະທານ.
2. ສະຫາຍ ດຣ. ສິນລະວົງ ຄຸດໄພທູນ ກຳມະການສູນກາງພັກ,ຫົວຫນ້າຫ້ອງວ່າການລັດຖະບານເປັນຮອງປະທານ.
3. ສະຫາຍ ໄຊສີ ສັນຕິວົງ ກຳມະການສູນກາງພັກ, ຮອງຫົວຫນ້າຄະນະຈັດຕັ້ງສູນກາງພັກເປັນກຳມະການ.
4. ສະຫາຍ ນ. ສູນທອນ ໄຊຍະຈັກ ກຳມະການສູນກາງພັກ, ລັດຖະມົນຕີຊ່ວຍວ່າການກະຊວງການຕ່າງປະເທດ, ຮອງຫົວຫນ້າຄະນະພົວພັນຕ່າງປະເທດສູນກາງພັກເປັນກຳມະການ.
5. ສະຫາຍ ເຈີຢິ້ງ ຫວ່າງ ຮອງຫົວຫນ້າຫ້ອງວ່າການປະທານປະເທດເປັນກຳມະການ.
6. ສະຫາຍ ກຸ ຈັນສີນາ ຮອງປະທານຄະນະກຳມະການແຫ່ງຊາດ ເພື່ອກວດກາ ແລະ ຄວບຄຸມຢາເສບຕິດເປັນກຳມະການ.
7. ສະຫາຍ ພັ/ອ ດວງປີ ດາມະນີວົງ ຮອງຫົວຫນ້າກົມໃຫຍ່ການເມືອງ ປກສ ກະຊວງປ້ອງກັນຄວາມສະຫງົບເປັນກຳມະການ.
8. ສະຫາຍ ພັ/ອ ດຣ. ສີນວນ ມະຫາວົງ ຫົວຫນ້າກົມນະໂຍບາຍກົມໃຫຍ່ການເມືອງກອງທັບ, ກະຊວງປ້ອງກັນປະເທດເປັນກຳມະການ.
9. ສະຫາຍ ຄຳເຜີຍ ແກ້ວກິນນາລີ ຫົວຫນ້າກົມບໍລິຫານ ແລະ ພິທີການຫ້ອງວ່າການລັດຖະບານເປັນກຳມະການ.
10. ສະຫາຍ ອຸ່ນແສງ ວິໄຊ ຫົວຫນ້າຫ້ອງການຄະນະກຳມະການແຫ່ງຊາດເພື່ອກວດກາ ແລະ ຄວບຄຸມຢາເສບຕິດເປັນກຳມະການ.
11. ສະຫາຍ ໄວໂຍລິນ ພຣະສະຫວັດ ຮອງຫົວຫນ້າຫ້ອງການກະຊວງຖະແຫລງຂ່າວ-ວັດທະນະທຳ ແລະ ທ່ອງທ່ຽວເປັນກຳມະການ.
12. ສະຫາຍ ສົມລິດ ສຸກສົມຫວັງ ຫົວຫນ້າພະແນກສາສະຫນາກົມສາສະຫນາ, ສູນກາງແນວລາວສ້າງຊາດເປັນກຳມະການ.
13. ສະຫາຍ ດຣ. ຕານ້ອຍ ສຣິດທິຣາດ ຕາງຫນ້າຄອບຄົວເປັນກຳມະການ.
ມາດຕາ 2: ມອບໃຫ້ຄະນະຮັບຜິດຊອບງານຊາປະນະກິດສົບດັ່ງກ່າວ ປະຊຸມປຶກສາຫາລືກັນຢ່າງລະອຽດ ແລະ ມີການແບ່ງງານ, ແບ່ງຄວາມຮັບຜິດຊອບຢ່າງຈະແຈ້ງ.
ມາດຕາ 3: ຂໍ້ຕົກລົງສະບັບນີ້ມີຜົນສັກສິດນັບແຕ່ມື້ລົງລາຍເຊັນເປັນຕົ້ນໄປ.
ຄວາມຕາຍທຸກຄົນຫລີກລຽ້ງບໍ່ໄດ້,ມີເກີດກໍຕ້ອງມີຕາຍ,ສິ່ງສໍາຄັນກ່ອນຕາຍໄດ້ສ້າງຄວາມດີໄວ້
ເມື່ອຕາຍໄປວິນຍານກໍຈະໄດ້ໄປຂຶ້ນສວັນຄືບຸນນັ້ນເອງ,ຊຶ່ງຊາດແລະປຊຊໄດ້ຈໍາລຶກຄຸນງາມຄວາມ
ດີໄວ້.ໃຜໄດ້ສ້າງຄວາມຊົ່ວສໍ້ບ້ານໂກງເມືອງ,ເມື່ອຕາຍໄປວິນຍານກໍຈະໄປຕົກນາລົກຄືບາບນັ້ນເອງ
ຊຶ່ງຊາດແລະປຊຊໄດ້ສາບແຊ່ງໄວ້.
ພາລະຕໍ່ໄປ ກໍ່ແມ່ນ ໄປຊອກຫາ ລຸງພາ ແລະ ລຸງສອນ ຊຶ່ງຖືກຈອ່ງຈໍາຢູ່ອະເວຈີຊັ້ນທີເກົ້າ.
ບັນດາຜູ້ນຳ ສປປລາວທັງຫລາຍຈົ່ງຟັງ
Anonymous wrote:ພາລະຕໍ່ໄປ ກໍ່ແມ່ນ ໄປຊອກຫາ ລຸງພາ ແລະ ລຸງສອນ ຊຶ່ງຖືກຈອ່ງຈໍາຢູ່ອະເວຈີຊັ້ນທີເກົ້າ.
ພໍ່ເຈົ້າກະຢູ່ຫັນບໍ່ຈັງຮູ້
Anonymous wrote:Anonymous wrote:ພາລະຕໍ່ໄປ ກໍ່ແມ່ນ ໄປຊອກຫາ ລຸງພາ ແລະ ລຸງສອນ ຊຶ່ງຖືກຈອ່ງຈໍາຢູ່ອະເວຈີຊັ້ນທີເກົ້າ. ພໍ່ເຈົ້າກະຢູ່ຫັນບໍ່ຈັງຮູ້
----ບັກນ້ຳເມຶອກເຂົາຍາມມື້ເຊົ້າ ---------------------------------------------------------
ພໍ້ແລ້ວ ລຸ່ງພາ ກັບ ລູງສອນ
ນອນຮຽງກັນຢ່າງອອ້ຍຊອ້ຍ ລຸງພາ ກັບ ລຸງສອນ
Anonymous wrote:Anonymous wrote:Anonymous wrote:ພາລະຕໍ່ໄປ ກໍ່ແມ່ນ ໄປຊອກຫາ ລຸງພາ ແລະ ລຸງສອນ ຊຶ່ງຖືກຈອ່ງຈໍາຢູ່ອະເວຈີຊັ້ນທີເກົ້າ. ພໍ່ເຈົ້າກະຢູ່ຫັນບໍ່ຈັງຮູ້ ----ບັກນ້ຳເມຶອກເຂົາຍາມມື້ເຊົ້າ --------------------------------------------------------- ພໍ້ແລ້ວ ລຸ່ງພາ ກັບ ລູງສອນ ນອນຮຽງກັນຢ່າງອອ້ຍຊອ້ຍ ລຸງພາ ກັບ ລຸງສອນ
ໂອຍອັນນີມັນແມ່ນບັກຜຸຍ ສະນະນິກອນ ກັບບັກວັງປາວ ບັກຮວກກູ່ມີເວລາຕອນນີ້ ມັນເປັນເວລາເລີກວຽກກູ້