ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: เบื้องหลังเขมร กรณีทะเลจีนใต้ ฟิลิปปินส์/เวียดนาม
Anonymous

Date:
เบื้องหลังเขมร กรณีทะเลจีนใต้ ฟิลิปปินส์/เวียดนาม
Permalink   
 


เบื้องหลังเขมร กรณีทะเลจีนใต้ ฟิลิปปินส์/เวียดนาม

ความขัดแย้งระหว่างกัมพูชา กับเพื่อนอาเซียน อีกสองชาติ คือ ฟิลิปปินส์กับเวียดนาม

  กรณีที่รัฐมนตรีอาเซียนประชุมกันที่กัมพูชา แล้วทะเลาะกันจนไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมนั้น ไม่ใช่เรื่องที่สามารถปกปิดกันได้อีกต่อไป

 เพราะทั้งสองฝ่ายออกมาระบุชื่อเสียงเรียงนาม และชี้นิ้วกล่าวหากันและกันอย่างไม่ต้องปิดบังอำพรางกันอีกต่อไป

 ประเพณี การทูตตั้งเดิมของอาเซียนที่ต่างถ้อยทีถ้อยประคองความรู้สึกกัน มีปัญหาในที่ประชุมอย่างไร ก็ไม่บอกกล่าวคนข้างนอกให้เสียความรู้สึกนั้น วันนี้ปรับเปลี่ยนไปเป็นการระบุชื่อระบุความแปลกแยกกันอย่างไม่เกรงอกเกรงใจ กันอีกต่อไป

 วันก่อน เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำกรุงเทพฯ นางยูอาย (You Ay) เขียนจดหมายถึง The Nation บอกชัดเจนว่าที่อาเซียนไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้เป็นครั้งแรกในรอบ 45  ปี นั้น เป็นเพราะฟิลิปปินส์ และเวียดนาม "มุ่งมั่นที่จะจับเอาร่างแถลงการณ์ร่วมนั้นเป็นตัวประกันของจุดยืนเฉพาะของตนเท่านั้น"

 "The Philippines and Vietnam appeared to be bent on making the communique a hostage of their respective national positions...."

 ภาษาอย่างนี้แต่ก่อนเราไม่เคยได้ยินจากนักการทูตโดยเฉพาะจากแวดวงอาเซียนด้วยกันเอง

 แต่วันนี้ ดูเหมือนว่าความมุทะลุแห่งภาษาได้มาทดแทนลีลาปรองดอง ที่เคยเป็นมาตรฐานแห่งการดำเนินวิถีทางการทูตเรียบร้อยแล้ว

 เพราะ ทั้งเวียดนามและฟิลิปปินส์ก็มิได้เกรงใจกัมพูชา ในฐานะเจ้าภาพเมื่อต้องวิพากษ์ว่าเหตุที่เกิดความขัดแย้งกันหนักหน่วงในคราว นี้ ก็เป็นเพราะผู้นำเขมรตกอยู่ใต้อิทธิพลของจีนมากเกินไป

 พูด ง่ายๆ คือ สองชาติอาเซียนที่มีเรื่องระหองระแหงกับจีนกรณีอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะใน ทะเลจีนใต้นั้น กล่าวหาว่ากัมพูชา กลัวจีน มากจนไม่มองผลประโยชน์ร่วมของอาเซียนกันเอง

 ทูตเขมรประจำไทยประกาศว่าจุดยืนของกัมพูชา ก็คือ "หลักการที่ว่าอาเซียนไม่ควรจะถือหางเข้าข้างใดข้างหนึ่ง" ในกรณีพิพาทเช่นนี้

 แน่นอนว่า เวียดนาม กับฟิลิปปินส์ มองว่า การเอ่ยถึงกรณีความขัดแย้งเหนือ Scarborough Shoal ระหว่างจีน กับฟิลิปปินส์และกรณีการอ้างสิทธิทับซ้อนว่าด้วยเขตเศรษฐกิจจำเพาะ และไหล่ทวีประหว่างจีนกับเวียดนามนั้นเป็นประเด็นที่อาเซียนควรจะต้องแสดง จุดยืนร่วมกัน มิใช่เรื่องการ "ถือหาง" ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างที่กัมพูชากล่าวอ้าง

 ใน The Nation วันเดียวกันนั้นก็มีบทความของปลัดกระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ Erlinda F. Basilio ที่ออกมางัดข้อกับข้อกล่าวอ้างของกัมพูชาในเรื่องนี้หลายประเด็น เรียกได้ว่าเป็นการแลกกันหมัดต่อหมัดกับกัมพูชากันทีเดียวแหละ

 ฝ่ายเขมรได้บอกก่อนหน้านี้จุดยืนของกัมพูชาที่ยืนอยู่คนละข้างกับฟิลิปปินส์นั้นได้รับการสนับสนุน "อย่างเงียบๆ" จากสมาชิกอาเซียนอื่น เช่น ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน

 แต่ปลัดกระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ แย้งว่าไม่จริงแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามหลายประเทศสมาชิกได้แสดงการสนับสนุนจุดยืนของฟิลิปปินส์ "อย่างแข็งขันยิ่ง"

 และระบุเลยว่าประเทศที่เชียร์ฟิลิปปินส์ในเรื่องนี้รวมถึงสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม

 "แม้กระทั่งท่านเลขาธิการอาเซียน (ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ) ก็ยังได้แสดงความเห็นสนับสนุนเรื่องนี้เช่นกัน..." คือ คำกล่าวอ้างของปลัดต่างประเทศฟิลิปปินส์

 ความ จริงเป็นอย่างไรคงต้องมีการตรวจสอบกันต่อไป แต่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ก็คงจะตกที่นั่งลำบาก กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะคงไม่ต้องการจะโดนมองว่า "ถือหาง"  ข้างใดข้างหนึ่งโดยเปิดเผยจนทำให้ความแตกร้าวของอาเซียนยิ่งจะบานปลายกลายเป็นเรื่องที่แก้ไขลำบากยากยิ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

 ในคำชี้แจงของฟิลิปปินส์ นั้น สาเหตุแห่งปัญหาครั้งนี้อยู่ที่ "จุด ยืนของประธานอาเซียนที่ปฏิเสธอย่างแข็งขันในอันที่จะให้แถลงการณ์ร่วมสะท้อน ถึงความเคลื่อนไหวล่าสุดในทะเลจีนใต้ ทั้งๆ ที่ความเห็นส่วนใหญ่ของประเทศสมาชิกว่าความเคลื่อนไหวเหล่านี้มีผลกระทบต่อ ภาพรวมด้านความมั่นคงของภูมิภาคนี้..."

 คำชี้แจงของฟิลิปปินส์ไม่ระบุประเทศจีนแต่ใช้คำว่า "a neighboring country" หรือ "ประเทศเพื่อนบ้านประเทศหนึ่ง" ตลอด...ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรงที่จะตีความได้ว่าหมายถึงใครแม้แต่น้อย

 ถาม ว่าความแตกแยกของอาเซียนครั้งนี้ จะมีทางเยียวยารักษาให้หายได้หรือไม่  คำตอบคือประเด็นนี้เป็นเรื่องยากยิ่ง แต่หากไม่แก้ไข ไม่หาทางกลับมาสู่ความสมานฉันท์ อาเซียน ก็จะหมดสภาพของความเป็นหนึ่งเดียว

 และ หากอาเซียนไม่เป็นหนึ่งเดียว หรือสามารถโดนมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นจีน หรือสหรัฐ เข้ามากำกับหรือยุแหย่ให้ทะเลาะเบาะแว้งกันได้อย่างเปิดเผยเช่นที่เห็นใน กรณีนี้ อาเซียนก็จะหมดสภาพ กลายเป็น "เสือกระดาษ" อย่างที่เคยมีการมองมาตลอด

 และ การเตรียมตัวเพื่อให้เกิด "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" หรือ Asean Economic Community (AEC) ดั่งที่เรากำลังสัมผัสด้วยความตื่นตาตื่นใจว่าจะเกิดขึ้นในอีกสามปีข้างหน้า ก็จะกลายเป็นฝันสลายก่อนกำหนดอย่างแน่นอน



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard