เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ 2 ลำเข้าทะเลจีนใต้ "รักษาสันติภาพ"
ผู้จัดการออนไลน์ -- ขณะนี้กองเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสหรัฐฯ จำนวน 21 ลำ พร้อมเรือรบอื่นๆ อีกหลายลำกำลังปฏิบัติการอยู่ในย่านแปซิฟิกตะวันตก ในภารกิจปกป้องพิทักษ์สินติภาพที่ผูกพันกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ กับพันธมิตรในย่านนี้ อันเป็นประโยคที่สหรัฐฯ มักจะหมายถึงเส้นทางเดินเรือสำคัญของโลก ตลอดจนพิทักษ์รักษาสันติภาพในภูมิภาค กองทัพเรือประกาศเรื่องนี้อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ยในวันศุกร์ 28 ก.ย.ที่ผ่านมาตามเวลาในสหรัฐฯ โดยไม่ได้ระบุว่ากองเรือบรรทุกเครื่องบินทั้งสองลำแล่นเข้าสู่ทะเลแห่งความ ขัดแย้งตั้งแต่วันใด กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี (Carrier Strike Group) กองแรกนำโดยเรือบรรทุกเครื่องบินจอร์จ วอชิงตัน (George Washington CSG) CVN 73 เรือลาดตระเวนคาวเพ็นส์ (USS Cowpens) CG-63 ชั้นติคอนเดโรกา (Ticonderoga) ติดอาวุธนำวิถี กับเรือพิฆาตแม็คแคมป์เบล (USS McCampbell) DDG 85 ซึ่งเป็นเรือพิฆาตชั้นอาร์ลีห์เบิร์ค (Arleigh Burke-class) 1 ในจำนวนกว่า 60 ลำ ของสหรัฐฯ กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีกองที่ 2 นำโดยเรือบรรทุกเครื่องบินจอห์น ซี สเต็นนิส (USS John C Stennis) CVN-74 กับเรือลาดตระเวนโมไบล์เบย์ (USS Mobile Bay) CG 53 "ทั้งหมดกำลังปฏิบัติการในแปซิฟิกตะวันตก และเป็นกองกำลังพร้อมรบที่ปกป้องและป้องกันผลประโยชน์ทางทะเลของสหรัฐฯ กับพันธมิตรและหุ้นส่วนต่างๆ" กองทัพเรือสหรัฐฯ ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่ากองทัพเรือที่ 7 ที่เป็นส่วนหนึ่งของเรือแปซิฟิกสหรัฐฯ มีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ชั้นต่างๆ ประจำการนับสิบลำ และเป็นนโยบายของสหรัฐฯ ที่จะไม่เปิดเผยเกี่ยวกับเส้นทางหรือการเคลื่อนไหวของ “มฤตยูใต้ผืนน้ำ” เหล่านั้น กองทัพเรือที่ 7 ยังมีเรือพิฆาตชั้นอาร์ลีห์เบิร์คติดจรวดร่อนโทมาฮอว์คอีกกว่า 10 ลำ ทั้งที่ปฏิบัติการโดยอิสระและในสังกัดกองเรือบรรทุกเครื่องบิน รวมทั้งปฏิบัติการเป็นกองเรือพิเศษเพื่อภารกิจจำเพาะอีกด้วย การปรากฏตัวของกองเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ ในทะเลจีนใต้ยังมีขึ้นในสัปดาห์เดียวกับที่ความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่นยังคงตึง เครียดเกี่ยวกับเกาะพิพาทที่อยู่ใกล้กับเกาะกวม ที่ตั้งฐานทัพส่วนหน้าของกองทัพเรือที่ 7 และยังมีขึ้นในสัปดาห์เดียวกับที่จีนได้จัดทำพิธีนำเข้าประจำการอย่างเป็น ทางการเรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง ซึ่งเป็นลำแรกของประเทศอีกด้วย นอกจากนั้นก็ยังเป็นจังหวะเดียวกันกับที่ฟิลิปปินส์ได้ประกาศจัดตั้งกองกำลังพิทักษ์เกาะพิพาทกับจีนในหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ เรือบรรทุกเครื่องบินทั้งสองลำล้วนคุ้นเคยกับทะเลจีนใต้เป็นอย่างดี และต่างเคยไปแวะเยี่ยมเยือนนครด่าหนังของเวียดนาม สำหรับเรือจอห์น ซี สเต็นนิส CSG ภารกิจล่าสุดประจำการอยู่กองทัพเรือที่ 5 ในมหาสมุทรแอตแลนติก แต่ถูกสับเปลี่ยนให้กลับสู่มหาสมุทรแปซิฟิกอีกครั้งหนึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว เป็นการกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในแปซิฟิก ก่อนกำหนดเดิมถึง 4 เดือน "กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีทั้งสองกองเป็นส่วนหนึ่งของการปรากฏ ตัวอย่างเข้มแข็งในแปซิฟิกของกองเรือสหรัฐฯ เพื่อช่วยในการธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกอง ทัพเรือที่ 7" คำแถลงฉบับเดียวกันระบุ สหรัฐฯ ประกาศทุ่มกองกำลังถึง 60% ของทั้งหมดเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตามนโยบายใหม่ที่จะเริ่มในปี 2556 นี้ ซึ่งเชื่อกันว่าในที่สุดแล้วอาจจะมีกองเรือบรรทุกเครื่องบินเข้าประจำการใน ย่านนี้ถึง 4 กอง ครอบคลุมถึงช่องแคบมะละกาและมหาสมุทรอินเดียตะวันออก รวมเป็นเรือรบนับร้อยลำ เช่นเดียวกันกับเครื่องบินรบยุคที่ 5 คือ F-22 กับ F-35 ด้วย ไม่เพียงแต่เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือลาดตระเวน เรือพิฆาต เรือฟริเกตและเรือคอร์แว็ตเท่านั้น กลับสู่เอเชียครั้งนี้ ยังรวมทั้งเรือโจมตีชายฝั่ง (Littoral Combat Ship) ติดอาวุธนำวิถี อันเป็นเรือรบแบบใหม่ล่าสุดที่ประจำการในปัจจุบัน นายโรเบิร์ต เกตส์ (Robert Gates) อดีตรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศเมื่อปีที่แล้วว่า สหรัฐฯ ยังจะกลับคืนสู่เอเชียพร้อมเรือพิฆาตรุ่นใหม่ที่ก้าวล้ำหน้ามากที่สุดในโลก ปัจจุบัน นั่นคือเรือพิฆาตซูมวอลท์ (Zumwalt-class Destroyer) ซึ่งจะทยอยนำเข้าประจำการแทนเรือพิฆาตชั้นอาร์ลีห์เบิร์ค.
.
ຍ້ອນຖືກກົດດັນທາງດ້ານການທະຫານ ຈີນຈຶ່ງຕ້ອງໃຊ້ອາວຸດຊີວະພາບ
ຂ້າຊາວໂລກ. ແມ່ນບໍ່ທ່ານ ບັກຫຳນ້ອຍ ?