ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ผู้เชี่ยวชาญชี้อนาคตนายกฯ เวียดนามสั่นคลอน
Anonymous

Date:
ผู้เชี่ยวชาญชี้อนาคตนายกฯ เวียดนามสั่นคลอน
Permalink   
 


ผู้เชี่ยวชาญชี้อนาคตนายกฯ เวียดนามสั่นคลอน

555000012823801.JPEG


อนาคตทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีประเทศเวียดนามกำลังแขวนอยู่บนเส้นด้าย ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์รวมตัวกันเพื่อหารือเกี่ยวกับ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากเหตุอื้อฉาวทางการเงิน และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้เชี่ยวชาญระบุ
       
       เหวียน เติ๋น ยวุ๋ง อายุ 62 ปี ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 ตั้งแต่เดือนก.ค.2554 ถูกโจมตีด้วยเหตุอื้อฉาวหลายระลอก และปัญหาเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผู้สังเกตการณ์ระบุว่า ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเหวียน เติ๋น ยวุ๋ง เริ่มสั่นคลอน แม้ว่าการหลุดจากตำแหน่งดูเหมือนว่าจะยังไม่เกิดขึ้นในทันทีก็ตาม
       
       ความไม่พอใจของสาธารณชนที่ขยายตัวขึ้นเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ชะลอตัว ภาวะเงินเฟ้อ การทุจริตคอร์รัปชัน และปัญหาในภาคธนาคาร ส่งผลให้นายกฯ ยวุ๋ง ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีขึ้นใน สัปดาห์นี้
       
       “นี่เป็นการรวมตัวที่จะดูเหมือนจะเป็นการเผชิญหน้าระหว่างนายก รัฐมนตรี และฝ่ายวิจารณ์ อย่างน้อยที่สุดก็มีแนวโน้มว่าพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามจะพยายามลดทอนอำนาจ ที่ไปรวมอยู่มากในมือของนายกรัฐมนตรี และฝ่ายบริหารของนายกฯ และคำถามใหญ่คือ ฝ่ายวิจารณ์จะผลักดันให้นายกฯ ออกจากตำแหน่งหรือไม่” คาร์ล เธเยอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวียดนาม จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย ระบุ

555000012823802.JPEG

 การประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ เริ่มขึ้นตั้งแต่วันจันทร์ (1) และคาดว่าจะกินเวลานาน 2 สัปดาห์ ซึ่งนานกว่าปกติ 2 เท่า เนื่องจากประเด็นที่ต้องหารือนั้นเพิ่มมากขึ้น
       
       “ไม่บ่อยนักที่ประเด็นหารือจะมีเป็นจำนวนมากเช่นนี้ ประเด็นหัวข้อส่วนใหญ่ที่เราจะต้องหารือ และพิจารณามีความสำคัญมาก ตัดสินใจยาก และเป็นประเด็นอ่อนไหว” หนังสือพิมพ์เญินเซิน รายงานอ้างคำกล่าวของ นายเหวียน ฝู จ่อง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ที่เป็นหนึ่งในคู่ต่อสู้สำคัญของนายกฯ ยวุ๋ง
       
       ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า คณะกรรมการกลางที่มีนายกฯ ยวุ๋ง รวมอยู่ด้วยนั้น มีอำนาจในการถอดสมาชิกในคณะกรรมการ หรือในคณะกรมการเมือง (โพลิตบูโร) ที่มีสมาชิก 14 คน ออกจากตำแหน่ง
       
       รัฐบาลเวียดนามกำลังพยายามดิ้นรนต่อสู้ที่จะควบคุมกระแสความไม่พอใจ ของประชาชนที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ เพราะเว็บบล็อก และเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่เป็นช่องทางในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้ รับความนิยมสูง และแม้ว่าทางการพยายามปราบปรามบล็อกเกอร์ด้วยการตัดสินโทษจำคุก แต่เว็บบล็อกการเมืองออนไลน์ยังคงเป็นแหล่งข่าวยอดนิยมอยู่เช่นเดิมในประเทศ ที่ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารอย่างหนักแห่งนี้
       
       “ไม่เคยปรากฎมาก่อนที่นายกรัฐมนตรีถูกโจมตีอย่างหนักในที่สาธารณะ เพราะปัญหาเศรษฐกิจ และการคอร์รัปชัน” เจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์นายหนึ่งกล่าว
       
       เหวียน เติ๋น ยวุ๋ง ที่เคยเป็นอดีตผู้ว่าการธนาคารกลาง ก่อนขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2549 กลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่ทรงอำนาจมากที่สุดที่เคยมีมา ยวุ๋งใช้อิทธิพลของตัวเองผลักดันการเติบโตเศรษฐกิจไปอย่างรวดเร็ว และการพัฒนาประเทศในรูปแบบกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ หรือแชโบล ของเกาหลีใต้ ที่พึ่งพารัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
       
       แต่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว เงินเฟ้อกลับมาอีกครั้ง การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดลง และความหวั่นเกรงเกี่ยวกับปัญหาหนี้เสียในระบบธนาคารที่อ่อนแอของประเทศขยาย ตัวขึ้น
       
       บริษัทเดินเรือ วีนาชิน ที่เกือบล้มละลายเพราะเหตุอื้อฉาวในปี 2553 ยิ่งทำให้ความสนใจพุ่งมายังปัญหาการเงินของบรรดารัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของรัฐ ขณะเดียวกัน การจับกุมนายธนาคารมหาเศรษฐีที่เป็นพันธมิตรกับยวุ๋ง เมื่อเดือน ส.ค. ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศ และกระทบการหมุนเวียนของเงินฝาก
       
       ความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นสัปดาห์ก่อน ทำให้ มูดี้ส์ องค์กรจัดอันดับความน่าเชื่อถือปรับลดอัตราความน่าเชื่อถือของเวียดนามลง โดยระบุว่า เป็นเพราะระบบธนาคารที่อ่อนแอ และมีความเสี่ยงสูงที่ธนาคารของประเทศจะต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อให้เกิดสภาพคล่อง ซึ่งนักสังเกตการณ์ระบุว่า คู่แข่งของยวุ๋ง โดยเฉพาะนายเหวียน ฝู จ่อง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และประธานาธิบดีเจื่อง เติ่น ซาง ต้องการให้ยวุ๋ง รับผิดชอบต่อความล้มเหลวของตัวเอง
       
       ราจิฟ บิสวาส นักเศรษฐศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิก จากบริษัทที่ปรึกษา IHS Global Insight กล่าวว่า เศรษฐกิจของเวียดนามที่เผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจที่ฝังรากลึก มีความเป็นไปได้ที่การต่อสู้ทางอำนาจที่เพิ่มขึ้นระหว่างนายกฯ และประธานาธิบดีเจื่อง เติ่น ซาง อาจทำให้นายกฯ และพันธมิตรทางการเมืองถูกขับออก แต่ผู้สังเกตการณ์ระบุว่า ยวุ๋งเคยผ่านอุปสรรคทางการเมืองมาก่อน และอาจรอดไปได้อีกครั้ง.



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard