ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: “อุดร” เมืองขุมทอง แรงงานลาว
Anonymous

Date:
“อุดร” เมืองขุมทอง แรงงานลาว
Permalink   
 


“อุดร” เมืองขุมทอง แรงงานลาว

555000013491501.JPEG


       ธนพงษ์ สุระคาย หรือ พี่พงษ์ ผู้ประสานงานภาคสนามของมูลนิธิรักษ์ไทย ประจำสำนักงานอุดรธานี ดูแลพื้นที่ภาคอีสานตอนบน เล่าว่า เมื่อ แรงงานลาวข้ามชายแดนตรง อ.สังคม มาได้ส่วนใหญ่จะเดินทางต่อมายัง จ.อุดรธานี ถือเป็นศูนย์กลางแรงงานสัญชาติลาว มาอาศัยถึง 95% ส่วนที่เหลือเป็นของแรงงานกัมพูชาและพม่า แรงงานเหล่านี้จะเข้ามาทำงานในภาคการเกษตร เช่น ยางพารา จะมากันแบบครอบครัว หรือทำงานก่อสร้าง ส่วนภาคบริการไปทำที่ร้านคาราโอเกะ ร้านอาหาร รวมๆ กันแล้วกว่า 1,000 คน
       
       พี่พงษ์ เล่าต่อว่า ตนเองดูแลโครงการส่งเสริมการป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ (PHAMIT2) โดยจะเข้าไปให้ความรู้ หากพบว่ามีความกลุ่มเสี่ยงพบเชื้อเอชไอวี จะประสานเครือข่ายโรงพยาบาลรัฐเพื่อเข้ารับการบริการ
       
       ...ณ แคมป์ที่พักคนก่อสร้างวัดป่าภูก้อน อ.นายูง จ.อุดรฯ เราได้เจอกับ พายและมัน คู่สามีภรรยาชาวลาว ที่ตัดสินใจยอมจากลูกเพื่อมาหาเงินสร้างอนาคตที่ดีให้ครอบครัว
       
       พี่พาย บอกว่า ตนเดินทางมาจากลาวเมื่อเดือนสิบสองปีที่แล้วกับเพื่อนทั้งหมด 5 คน ก่อนที่จะมาที่นี่ก็จะปลูกข้าวโพด ข้าวไร่ (ข้าวที่ปลูกบนภูเขา) มีเงินพอใช้แต่ไม่เงินที่จะสร้างบ้าน ตัดสินใจมาทำงานที่นี่ เขารับประกันว่าจะได้ค่าแรงวันละ 250 บาท

555000013491502.JPEG


       “ข้าวที่ปลูกที่บ้านจะเอาไว้กินแต่บางปีก็ได้เฮ็ด บางปีก็ไม่ได้เฮ็ด และก็มีการปลูกเดือยเอาไปขายที่ฝั่งจีน ซึ่งเขาจะมาตั้งเป็นบริษัทเก็บเอาเอง เรามีหน้าที่ปลูกก็เลยตั้งสินใจมาทำงานที่ไทย อยากเอาเงินไปสร้างเฮือน ให้ลูกไปโรงเรียน พอมาทำงานที่นี่แรกๆ ก็คิดฮอดบ้านอย่างแรง คิดฮอดลูกเวลาคิดถึงก็จะโทรศัพท์หาเอา ตอนนี้คนโตเรียน ม.4 แล้ว” พี่พายและพี่มัน ยังบอกด้วยว่า อยากมาอยู่ถาวรเพราะหาเงินหาทองก็ง่าย ของกินราคาไม่แพง
       
       ขณะที่ คำมั่น อินทวงศ์ ชาวเมืองสังข์ทอง อีกหนึ่งแรงงานลาวที่พาลูกเข้ามาขายแรงงานสวนยางพาราฝั่งไทย เล่าว่า รู้จักกับพ่อใหญ่เจ้าของสวนยางพารา เพราะเป็นหลานของภรรยา แกให้มาช่วยปลูกยางพารา กินอยู่กับพ่อใหญ่ทุกอย่างจึงไม่ค่อยได้ใช้จ่ายอะไร ถ้าทำเสร็จจะกลับบ้านเอาเงินไปสร้างบ้านต่อให้เสร็จ ก่อนหน้านี้ เคยไปทำงานที่ จ.สงขลา เป็นคนงานบริษัทแปรรูปอาหารทะเลรายได้ดีพอทำได้ 2 ปีก็กลับบ้านเพราะครอบครัวที่บ้านไม่มีใครดูแลเนื่องจากมีลูกน้อย 2 คน
       “อยากอยู่ที่ลาวมากกว่า เพราะบ้านเกิดเมืองนอนเราอยู่ที่โน้น แต่ถ้าพ่อใหญ่อยากให้มาช่วยก็มาได้
       
       ส่วนแรงงานลาวในภาคบริการนั้น พี่พงษ์ เล่าว่า แรงงานลาวที่เข้ามาทำงานในตัวเมืองอุดรนั้นส่วนใหญ่ขายบริการโดยใช้พาสปอร์ต ทำให้เข้ามาอยู่ได้ 3 เดือนพอครบกำหนดก็กลับบ้านแล้วก็เข้าเมืองมาใหม่ที่ด่านหนองคาย แต่ถ้าเป็นภาคเกษตรจะเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมายนายหน้าฝั่งลาวส่งต่อมาให้ นายหน้าฝั่งไทย
       
       “เหตุที่แรงงานลาวเข้ามาทำงานในภาค นี้เยอะเพราะเวลาที่ลูกหลานตัวเองกลับไปบ้านจะมีเงิน มีทอง มีบ้านหลังใหญ่โต ส่งผลให้แรงงานลาวเข้ามาทำงานในภาคบริการกันเยอะ ในความจริงแล้วผู้หญิงทุกคนมีศักดิ์ศรีแต่แรงจูงใจของรายได้ทางเศรษฐกิจมัน สูงกว่าก็เลยตัดสินใจมาทำ จากที่ได้พูดคุยเขาบอกว่าจะทำประมาณ 5 ปีแล้วกลับไปบ้านที่ลาวเพื่อประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น เสริมสวย ตัดผ้า แต่ ณ เวลานี้ทางเลือกนี้ดีที่สุด แต่หลายคนก็อยากกลับไปมีครอบครัวซึ่งเคยมีอยู่หนึ่งกรณีที่ได้แต่งงานโดยบอก กับสามีว่าที่ต้องทำอาชีพนี้เพื่อช่วยเหลือครอบครับซึ่งสามีเข้าใจและยอมรับ ได้ แต่ส่วนใหญ่ก็จะบอกกับคนอื่นว่ามาทำงานตามร้านเสื้อผ้า ส่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ตัวเมืองอุดร” พี่พงษ์ กล่าวทิ้งท้าย

 

ข่าว3มิติ-โสเภณีเคลื่อนที




__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

แรงงานลาว MOU

dscf1484.jpg?w=700&h=

dscf1471.jpg?w=700&h=

dscf1499.jpg?w=700&h=



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ຖ້າເຮົາຢູູ່ໃນປະເທດ ຈະບໍ່ຮູ້ຊັດເຈນວ່າປະເທດເຮົາເປັນແນວໃດ ແຕ່ຖ້າຢູ່ຕ່າງປະເທດຈະເບີ່ງເຫັນຊັດເຈນກ່ວາ ເຫມືອນກັບການທີ່ເຮົາຢູ່ໃກ້ກຳແພງ. ຈະບໍ່ເຫັນຫຍັງ ແຕ່ຖ້າເຮົາຖອຍອອກມາຢູ່ໄກ ກຳແພງ ອີກສອງສາມກ້າວເຮົາຈະຄິດໄດ້ວ່າເຮົາຈະຜ່ານກຳແພງໄປໄດ້ແນວໃດ ຫລືວ່າງ່າຍໆກໍຄື ເຮົາຈະຮູ້ຈະເຫັນຈະມອງທາງອອກໄດ້ຊັດເຈນກ່ວາ



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ทลายแก๊งค้าแรงงาน บังคับ 19 สาวลาวร้อยมาลัย จนมือเน่า

ອ່ານຂ່າວນີ້ແລ້ວ ສົງສານພີ່ນ້ອງລູກຫລານລາວ

labour_1.jpg

พ.ต.ท.ประสาธน์ เขมะประสิทธิ์ รอง ผกก.2 และพ.ต.ต.ทวีป ช่างต่อ สว.ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ นำกำลังเข้าตรวจค้นภายในบ้านเลขที่ 112/83 หมู่ 3 และ219/795 หมู่12 ถนนเพชรเกษม ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ภายหลังสืบทราบว่า ภายในบ้านทั้งสองหลังมีการลักลอบใช้แรงงานเด็กต่างด้าว จาก การตรวจค้นพบแรงงานต่างด้าวผู้หญิงสัญชาติลาว อายุระหว่าง 12-18 ปี จำนวน 19 คน ถูกบังคับให้นั่งร้อยพวงมาลัย โดยบริเวณนิ้วมือของทุกคนมีอาการเน่าเปื่อย ตรวจสอบพบว่า ทั้งหมดไม่มีใบอนุญาตทำงาน จึงควบคุมตัวนายเกษม เพ็ญสุข อายุ 48 ปี และนางธวัลรัตน์ สุขประเสริฐงาม อายุ 42 ปี เจ้าของบ้าน ดำเนินคดีในข้อหาค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็ก และรับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต

กระทั่งสืบทราบว่าบ้านทั้งสองหลัง นำเด็กสาวชาวลาวมากักขัง และบังคับให้ร้อยพวงมาลัยตั้งแต่ 05.00-20.00 น.จนนิ้วมือเน่าเปื่อย โดยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างหรือจ่ายเพียงเล็กน้อย



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

แม่หญิงลาว...เธอผู้น่าสงสาร

lao3.jpg


เด็กสาววัยไม่ถึง 15 ปีนั่งเหม่อลอยอยู่ในบ้านหลังใหญ่ เธอใจลอยได้ไม่นาน เจ้านายร่างใหญ่ก็เดินออกมากระชากผมแล้วลากเธอเข้าไปในบ้าน
หลายครั้งที่สงสัยว่าเธอเป็นใคร ทำไมถึงต้องตกมาอยู่ในสภาพเช่นนี้...
หลังจากนั้นไม่นานก็มีข่าวหนังสือพิมพ์ที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้า หน้าที่จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เข้าไปช่วยเหลือ เด็กหญิงชาวลาว 19 คน ที่ถูกทารุณกรรมจากการเข้ามาใช้แรงงานในเมืองไทย
หนึ่งในนั้นคือสาวน้อยวัยเพียง 14 ที่เราเคยเห็น...

แม่หญิงลาววัยละอ่อนกับเพื่อนอีก 18 คน ที่หลุดพ้นออกมาจากนรกแรงงาน เข้ามารับการรักษา บำบัด ฟื้นฟูจิตใจที่สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ จังหวัดนนทบุรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

วันที่เข้าไปคุยกับเธอ เธอยังคงมีแววตาที่หวาดกลัว ร่างกายก็ยังไม่หายบอบช้ำ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์เข้าเยี่ยมเด็กหญิงชาวลาวที่ถูกทารุณกรรมจากการเข้ามาใช้แรงงานในเมืองไทย

จันดี แม่หญิงลาว ใบหน้านวลงาม เล่าว่า
นายหน้าชาวลาวติดต่อให้มาทำงานที่เมืองไทย เพราะเห็นว่าประเทศไทยมีงานให้ทำเยอะ เงินดีกว่าเมืองลาว จึงมาเมืองไทยด้วยหัวใจพองโต แม้จะต้องเสียค่านายหน้าเกือบ 5,000 บาท ก็ตาม

"นายหน้าชาวลาวมาส่งที่เมืองไทยและนายจ้างเป็นคนไทยมารับไปอยู่ด้วย เขาให้ร้อยมาลัย ทำงานตั้งแต่ตีห้าถึงสองทุ่ม ทำทุกวันไม่มีวันหยุด ยิ่งถ้าเป็นวันพระต้องตื่นมาร้อยมาลัยตั้งแต่ตีสี่ บางวันไม่สบายลุกขึ้นมาทำงานไม่ไหว นายจ้างก็จะมาถึงที่นอนเลย มาทุบจนต้องตื่นลุกออกจากที่นอน"

เพราะต้องนั่งร้อยพวงมาลัยทุกวัน มือของเธอจึงเต็มไปด้วยรูที่เกิดจากเข็มร้อยมาลัย

"หนูทำงานไม่ได้ค่าแรงเลย นายจ้างบอกว่าจะส่งไปให้ทางบ้านที่แขวงสะหวันนะเขตเอง นายไม่ให้มีเงินติดตัวเลยแม้แต่บาทเดียว บางวันได้กิน 2 มื้อ บางวันก็ได้กินมื้อเดียว ข้าวที่กินก็เป็นข้าวเปล่าๆ บางวันก็เหมือนจะเสีย แต่หิวก็ต้องกิน" เธอเล่าด้วยความอัดอั้น

ข้างๆ จันดี แม่หญิงลาวอีกคน นางสาววัย 18 เส้นทางชีวิตของนางดูไม่ต่างจากจันดีสักเท่าไร เธอเล่าว่า ครอบครัวของเธอยากจนมาก เมื่อมีโอกาสจะได้ทำงานเธอจึงไม่คิดมาก นางตัดสินใจมาเมืองไทย

"มาทำงานร้อยมาลัยเหมือนกัน มาตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2551 นายหน้าชาวลาวบอกว่าจะหางานที่เงินเดือนดีๆ ให้ โดยเสียค่านายหน้า 4,500 บาท แล้วก็มีคนไทยมารับไปทำงานร้อยพวงมาลัยขาย นายจ้างให้ทำงานตั้งแต่เวลา 05.00-18.00 น. ไม่มีวันหยุด เพื่อนลาวบางคนถูกบังคับให้ออกไปขายพวงมาลัยด้วย มือและนิ้วของหนูถูกน้ำยาที่แช่ดอกไม้กัดจนเป็นแผลเปื่อย แต่นายจ้างไม่ให้ไปหาหมอ"

"ส่วนเรื่องกิน จะได้กินไม่ครบทุกมื้อ ส่วนใหญ่นายจ้างจะไปขอข้าวจากวัดมาให้กิน ค่าแรงจะได้ประมาณเดือนละ 3,000 บาท แต่นายจ้างจะหักเป็นค่ากิน ค่าที่พัก ส่วนที่เหลือนายจ้างบอกว่าจะส่งให้กับพ่อแม่ที่ลาว ทุกคนที่ทำงานส่วนใหญ่เป็นเด็กลาว พวกเราทั้งกลัวและเสียใจอยากกลับบ้านมาก" เธอระบายความทุกข์

%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%25894+-14%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%2584..JPEG

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของแม่หญิงลาวที่ระหกระเหินมาตกนรกแรงงานในไทย แม้ตอนนี้ไทยได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ต่อต้านการค้ามนุษย์กับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างลาว เขมร เวียดนาม และพม่า โดยให้ความสำคัญในการป้องกันการค้ามนุษย์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงและเด็ก รวมทั้ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 แล้ว ซึ่งเมื่อพิจารณาความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและตัวบทกฎหมายก็น่าจะเชื่อมั่นใน มาตรการรับมือและป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ได้ในระดับหนึ่ง
แต่เมื่อเรื่องเหล่านี้แดงขึ้นมาก็สะท้อนให้เห็นว่า...ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น!!!



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard