24 ต.ค. 55 การแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินของภาคเอกชนกำลังร้อนแรงถึงขีดสุดอีกครั้ง เมื่อ เอ็กซ์คอร์ (XCOR) บริษัทผลิตจรวดของเอกชน ได้เผยแพร่ภาพของลินซ์ (Lynx) เครื่องบินเร็วเหนือเสียงที่จะสามารถนำผู้โดยสารระดับอภิมหาเศรษฐี เดินทางสู่อวกาศภายในต้นปี 2014 ซึ่งการเดินทางแต่ละรอบที่ใช้เวลา 45 นาที จะมีค่าใช้จ่ายต่อหัวที่ประมาณ 95,000 ดอลล่าร์ หรือราว 2 ล้าน 8 แสน 5 หมื่นบา
ไบรอัน แคมเพน โฆษกของเอ็กซ์คอร์ เปิดเผยว่า ลินซ์ เป็นเครื่องบินต้นแบบของเครื่องบินเร็วเหนือเสียง ที่จะสามารถพาผู้โดยสารเดินทางระหว่างนิวยอร์ก-โตเกียว ได้ภายในเวลาเพียง 90 นาที โดยเครื่องบินเหล่านี้ จะขึ้น-ลงบนรันเวย์ แบบเดียวกับเครื่องบินทั่วไป แต่ที่พิเศษกว่า ก็คือ มันสามารถบินออกไปนอกบรรยากาศของโลกได้ อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้โดยสาร ที่ได้บินเหนือโลกในระยะ 62 ไมล์
นายแอนดรูว์ เนลสัน ประธานคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของเอ็กซ์คอร์ เปิดเผยว่า เที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างนิวยอร์ก-โตเกียว ที่้ใช้เวลา 90 นาที น่าจะให้บริการได้ในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งแผนการพัฒนา ลินซ์ มูลค่า 10 ล้านดอลล่าร์ หรือราว 300 ล้านบาทนี้ ได้มีการประกาศสู่สาธารณชนมาแล้วตั้งแต่ปี 2551 ขณะที่มหาเศรษฐี ริชาร์ด แบรนด์สัน เจ้าของเวอร์จิ้น กาแล็คติก และนายอีล่อน มัสค์ เจ้าของสเปซ เอ็กซ์ ก็สร้างเครื่องบินเร็วเหนือเสียงในแบบเดียวกัน และเมื่อเดือนพฤษภาคม สเปซเอ็กซ์ เพิ่งจะเปิดตัวเที่ยวบินเอกชนเที่ยวแรก ที่เดินทางไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ไอเอสเอส
นายแบรนสัน เคยกล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า เขาและลูกๆ จะเป็นผู้โดยสารกลุ่มแรกของเที่ยวบินพาณิชย์ของ เวอร์จิ้น กาแล็คติก เมื่อโครงการท่องอวกาศเปิดตัวในช่วงสิ้นปี 2556 และมีรายงานว่า มีนักท่องเที่ยวที่ชอบการผจญภัย ไปลงชื่อจองเที่ยวบินท่องอวกาศที่ใช้เวลา 2 ชั่วโมง และมีค่าใช้จ่ายคนละ 2 แสนดอลล่าร์แล้ว 529 คน
สำหรับ ลินซ์ จะเริ่มทดสอบเที่ยวบินในปี 2556 ซึ่งโครงการทดสอบนี้ จะใช้เวลา 12-18 เดือน
"จานบิน"ของแท้ ของกองทัพอากาศสหรัฐ
อากาศยานที่ว่านี้จัดอยู่ในกลุ่ม ยานขึ้นลงในแนวดิ่ง (เวอร์ติเคิล เทคออฟ แอนด์ แลนดิ้ง-วีทีโอแอล) ตั้งเป้ากันว่าจะทำให้มันสามารถลอยตัวอยู่นิ่งในระดับเหนือพื้นดินได้ แต่ในเวลาเดียวกันก็สามารถบินได้ด้วยความเร็วระดับเหนือเสียงหรือ "ซุปเปอร์โซนิค" ว่ากันว่าตามการออกแบบนั้น ยานนี้ทำความเร็วได้ถึงมัค 4 (ราว 4,635 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) และสามารถบินได้ในระดับความสูงราว 30 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน