ปลูกฝิ่นในลาวใช้ลูกสาวส่งส่วย
ชาวเน็ตลาวบอกว่าบุคคลในภาพนี้เป็นถึงหัวหน้าสำนัก งานของเมือง (อำเภอ) และคนอื่นๆ ในภาพล้วนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ในการปราบปรามการปลูกฝิ่นและการจัดเก็บภาษี แต่กลับไม่ปฏิบัติหน้าที่ ไปร่วมมือกับขบวนการค้ายาเสพติดและพร่าลูกสาวชาวบ้าน ประชาคมออนไลน์ชาวลาวแสวงหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้.
ภาพชุดหนึ่งพร้อมกับความเห็นของประชาคมออนไลน์ชาวลาวกำลังได้รับความสนใจ และวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางผ่านเว็บไซต์ภาษาลาวหลายแห่งสัปดาห์นี้ คำถามก็คือ จริงหรือไม่จริง - เจ้าหน้าที่ลาวขอนอนกับลูกสาวของชาวเขาที่ลักลอบปลูกฝิ่น แทนการเสียภาษี ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเรื่องนี้ รวมทั้งที่มาที่ไปของภาพถ่ายนับ 10 ภาพ ที่ผู้นำขึ้นโพสต์ในอินเทอร์เน็ตระบุว่า เป็นไร่ฝิ่นของชาวลาวสูง หรือชาวลาวภูเขาเผ่าอาข่า ในเขตเมือง (อำเภอ) ลอง แขวง (จังหวัด) หลวงน้ำทา ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนพม่า กับอีกจำนวนหนึ่งเป็นภาพชายหนุ่มกอดคอหญิงสาวชาวลาวสูง บางภาพถ่ายเวลากลางคืน การปลูกฝิ่นในลาวเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และตลอดหลายปีมานี้ รัฐบาลได้ดำเนินการทุกวิถีทางร่วมกับหน่วยงานของสหประชาชาติหาทางลดทอนลง เพื่อลดปัญหาการผลิต และการค้ายาเสพติดซึ่งในที่สุดแล้วจะทะลักเข้าลาวสร้างปัญหาสังคมติดตามมา กับอีกปริมาณหาศาลทะลักออกสู่โลกภายนอก รัฐบาลลาวประกาศให้ประเทศเป็น “เขตปลอดฝิ่น” หลายปีมาแล้ว แต่ในความเป็นจริงยังคงมีการลักลอบปลูก และทางการในท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลยังคงอะลุ้มอล่วยให้ชาวลาวสูงปลูกฝิ่นได้ เพื่อใช้เป็นยา และจะต้องเสียภาษีให้แก่รัฐ แต่ในความเป็นจริง ชาวลางสูงจำนวนไม่น้อยไม่ได้ปลูกฝิ่นเพื่อการนี้ ชาวเน็ตบางคนให้ข้อมูลว่า การปลูกฝิ่นที่เมืองลองในภาพชุดที่เผยแพร่นี้ ไม่ได้เพื่อทำยา หากปลูกเพื่อขาย ซึ่งในฤดูเก็บเกี่ยวจะมีพ่อค้าพม่่าและพ่อค้าจีนข้ามพรมแดนเข้าไปซื้อถึง บ้าน “ผู้คนที่นั่นขายฝิ่นไม่ต่างจากขายผักขายปลา” อย่างไรก็ตาม การปลูกฝิ่นจะต้องจ่ายภาษีให้แก่ทางการของเมือง และแขวง และเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องลงพื้นที่ไปเก็บภาษี ถ้าหากครัวเรือนไหนไม่มีเงินจ่าย ก็จะใช้ลูกสาว “ส่งส่วย” แทน เจ้าหน้าที่เหล่านั้นจะหลับนอนกับลูกสาวของชาวบ้านจนกว่าเขาจะพอใจ ชาวเน็ตที่แสดงตนว่ารู้เรื่องดี เขียนเอาไว้ในเว็บบล็อกสมาคมลาว ชาวออนไลน์ผู้หนึ่งบอกว่า กลุ่มชายที่ยืนกอดคอหญิงสาวถ่ายรูปในภาพชุดนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในนั้นคนหนึ่งถึงเป็นคณะพรรคของเมืองลอง มีตำแหน่งเป็นถึงหัวหน้าสำนักงาน แต่กลับไปร่วมขบวนการยาเสพติด และพร่าลูกสาวชาวบ้าน “ปัจจุบัน คนเหล่านี้มีบ้านหลังงามราวกับพระราชวัง คงจะพอดูออกว่าได้มาอย่างไร” ชาวเน็ตคนเดียวกันเขียน “การคอร์รัปชันยังมีอยู่ทุกหัวระแหง” ผู้อ่านคนหนึ่งเขียนแสดงความเห็น “พรรค-รัฐ ทำอะไรอยู่ กรุณาปลดปล่อยพวกเขาออกจากโลกอันป่าเถื่อนแบบนี้โดยเร็วด้วย เห็นแล้วสงสารมาก” อีกคนหนึ่งเขียน ภาพชุดนี้วนเวียนอยู่ในเว็บหลายแห่งในช่วง 3 วันที่ผ่านมา และได้แพร่สะพัดออกไปยังเว็บไซต์ชองชาวลาวในต่างแดน ทั้งในสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส แต่คำถามก็ยังค้างคาอยู่ และยังไม่มีคำตอบจากทางการลาว..
แผนที่ทำขึ้นใหม่แสดงที่ตั้งเมือง (อำเภอ) ลอง แขวง (จังหวัด) หลวงน้ำทาของลาวโดยสังเขป ที่นี่เป็นทางผ่านไปยังด่านชายแดนบ้านเชียงกอก ซึ่งลาวและพม่าจะสร้างสะพานข้ามลำน้ำโขง และกลายเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทันสมัยในอนาคต แต่ชายแดนด้านนั้นยังมีการปลูกฝิ่น "อยู่ห่างไกลซอกหลีกทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทจุริตร่ำรวยผิดหูผิดตา" ชาวเน็ตกล่าว.
ແກ້ມ ສາມະຄົມ, ນົມສາມັກຄີ, ຫີເປັນຂອງ ພັກລັດ
ພວກໂຈນ 500ຮ້ອຍຄອງເມືອງເອີຍ.........
ບັກຫ້າ,ບັກຈູມໝ້າຫີ, ບັກທອງສິງ,ໝ້າແຕ໊ດ
ປູກໄດ້ແບບສະບາຍ ແຕ່ວ່າຕ້ອງໄດ້ຈ່າຍພາສີໃຫ້ພາກສ່ວນ ພັກລັດທີ່ກ່ຽວຂ້ອງ
ແບບລັບໆ, ຕາມການສອບຖາມຊາວບ້ານທີ່ປູກ ແມ່ນຄອບຄົວໜື່ງຕ້ອງຈ່າຍ
ໃຫ້ກັບພາກສ່ວນທີ່ວ່ານັ້ນ 500,000 ກີບ ຂື້ນໄປຕໍ່ 1 ລະດູການປູກ
ຖ້າບໍ່ມີເງີນ ຄອບຄົວໃດມີລູກສາວ,ເອົາມາໃຫ້ ເຈົ້າໝ້າທີ່ ນອນນຳ,ກໍໄດ້
ເປັນຕາອີຕົນ ສົມນ້ຳໜ້າ ລະບອບການປົກຄອງຂອງລັດເດ ງາມໜ້າລະບໍເປັນແນວນີ້
1. ເປັນຕາອີ່ດູຕົນປະຊາຊົນ ຜູ້ດ້ອຍໂອກາດ ແລະ ກະໜ້າເຫັນໃຈເຂົາເຈົ້າບໍ່ມີເງີນພາສີຊ່ວຍ(ຊ່ວຍຄົນມີອຳນາດໃຫ້ລວຍກວ່າເກົ່າ) ຈຳເປັນຕ້ອງເອົາລູກສາວໄປຂັດດອກເພື່ອແລກກັບອີກຫຼາຍປາກທ້ອງ ຫຼາຍຊີວິດທີ່ຍັງຫາຍໃຈຢູ່.
2.ເປັນຕາສົມນ້ຳໜາ້ອຳນາດການປົກຄອງລັດ ຖອ້ງຖິ່ນເດ ປານນັ້ນ ລັດຖະບານ ປະກາດ ຊິລົບລ້າງຄວາມທຸກຍາກ ເປັນຈັ່ງຊີ້ອີກ ພັນປີກະຍັງຊິບໍ່ຈະເລີນດອກ.ມີແຕ່ພາກັນສໍ້ລາດບັງຫຼວງ ອາໃສອຳນາດໜ້າທີ່ຂູດຮີດປະຊາຊົນ ຜູ້ບໍ່ມີທາງສູ້ ຂູດຈົນເຫັນເລືອດ (ນ້ຳຕາຂອງຜູ້ເປັນ ພໍ,ແມ່ ພີ່ນ້ອງ)
ພວກນີ້ມັກແທ້ໆຂູດຮີດຂົ່ມເຫັງປະຊາຊົນ.ເກີດເປັນຂ້າລາດສະການ ເສຍຊາດໝາໝົດ ຖ້າມີພັກນັກງານ ແບບນີ້ ເອົາໝາມາເປັນແທນຊະ
ຊ່ວຍກັນ Share ຮູບພາບເຫຼົ່ານີ້ໃຫ້ຫຼາຍໆແນ່ເດີ ຂ້ອຍກະເປັນອີກຜູ້ໜຶ່ງແລະທີ່ບໍ່ມັກເຈົ້າໜ້າເອົາປຽບປະຊາຊົນຄືແບນີ້
ເຖີງເວລາແລ້ວທີ່ຄົນລາວເຮົາຄວນປົກປ້ອງ ແລະຊ່ວຍເຫຼືອຄົນລາວດ້ວຍກັນເອງໃຫ້ຫຼຸດພົ້ນອອກຈາກບັນຫາໄພສັງຄົມແບບນີ້