พม่า ประท้วงเหมืองจีนทำลายสภาพแวดล้อม
ชาวพม่าหลายร้อยคน รวมทั้งนักศึกษา และพระสงฆ์ รวมตัวชุมนุมประท้วงเหมืองทองแดงของจีนแห่งหนึ่ง ที่ชาวบ้านกล่าวหาว่า บังคับให้ประชาชนออกจากที่ดินของตัวเอง และสร้างมลพิษ นักเคลื่อนไหวระบุ นับตั้งแต่รัฐบาลพลเรือนขึ้นบริหารประเทศแทนรัฐบาลเผด็จการทหาร การประท้วงเริ่มมีให้เห็นบ่อยขึ้น โดยชาวบ้านในเมืองมอญยอ เขตสะกาย ได้ตั้งค่ายชั่วคราวใกล้กับเหมืองดังกล่าว นับเป็นการประท้วงใหญ่ครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นกับเหมืองแห่งนี้ หลังจากการชุมนุมประท้วงเมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาครั้งหนึ่งที่มีผู้ชุมนุม ประท้วงหลายคนถูกจับกุมตัว นายออง มาย ซาน สมาชิกอาวุโสสมาพันธ์สหภาพนักศึกษาแห่งพม่า ระบุว่า ชาวบ้านประมาณ 1,000 คน รวมทั้งพระสงฆ์ รวมตัวประท้วงใกล้กับเหมืองของจีนเมื่อจันทร์ และในวันอังคาร มีผู้ชุมนุมประท้วงอีกประมาณ 400 คน ผู้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้บริษัทที่ดำเนินกิจการทำเหมืองหยุดงานจนกว่าจะเปิดเผยการศึกษาผลกกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ระหว่างการชุมนุมประท้วงเมื่อเดือน ก.ย. นักเคลื่อนไหวระบุว่า ที่ดินประมาณ 20,000 ไร่ ของเกษตรกรถูกยึดไปโดยไม่มีการปรึกษา และในบางกรณีไม่มีการจ่ายเงินชดเชย เหมืองทองแดงที่เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทเมียนมาร์ อีโคโนมิค โฮลดิ้ง ที่กองทัพพม่าเป็นเจ้าของ และบริษัทวานเป่า ของจีน เป็นประเด็นโต้เถียงอยู่นานหลายเดือน หลังสื่อท้องถิ่นกล่าวหาว่า โครงการดังกล่าวมีการทุจริตคอร์รัปชัน และกระทรวงเหมืองแร่พม่าได้ยื่นฟ้องหนังสือพิมพ์เดอะ ว๊อยส์ เกี่ยวกับรายงานดังกล่าว รัฐบาลของประธานาธิบดีเต็งเส่งได้อนุมัติกฎหมายเมื่อต้นปีที่อนุญาต ให้มีการจัดชุมนุมประท้วงอย่างสันติ และผู้ชุมนุมประท้วงต้องขออนุญาตล่วงหน้า 5 วัน เมื่อปีที่ผ่านมา ผู้นำพม่ามีคำสั่งระงับโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดยักษ์ที่จีนให้การสนับสนุนตอบสนองกระแสเรียกร้องของประชาชน.
ຫວັງວ່າປະຊາຊົນມຽນມ້າຈະປະສົບຜົນສໍາເຣັດໃນການປະທ້ວງຄັ້ງນີ້.
ອີກດົນປານໃດປະຊາຊົນໃນປະເທດລາວມີສິດປະທ້ວງແບບນີ້?
Anonymous wrote:ຫວັງວ່າປະຊາຊົນມຽນມ້າຈະປະສົບຜົນສໍາເຣັດໃນການປະທ້ວງຄັ້ງນີ້.ອີກດົນປານໃດປະຊາຊົນໃນປະເທດລາວມີສິດປະທ້ວງແບບນີ້?
ຄິດວ່າຍັງອີກດົນອີກຫຼາຍຊົ່ວຄົນທີ່ລາວຈະມີສິດດັ່ງກ່າວ ຫຼື ບໍ່ອາດເຫັນເລີຍກໍ່ເປັນໄດ້.
ທັງນີ້ກໍ່ຍ້ອນວ່າຄົນລາວເຮົາຄ້ານຄິດດວ້ຍຕົນເອງ,ແຕ່ປະຕິບັດຕາມຄວາມຄິດຂອງຄົນອື່ນ.