นักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขง เวียดนามเรียกร้องรัฐบาลลาวยุติการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี ระหว่างรอการศึกษาผลกระทบเพิ่มเติม ข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างคำกล่าวนักเคลื่อนไหวด้วยว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมแม่น้ำโขงเมื่อวันพุธและพฤหัสบดีที่ผ่านมา รัฐบาลกัมพูชาได้ตำหนิรัฐบาลลาวด้วยว่าดำเนินโครงการนี้โดยไม่ปรึกษากับ ประเทศเพื่อนบ้าน เขื่อนไซยะบุรีขวางกั้นลำน้ำโขงที่ไหลผ่านหลายประเทศ เป็นเขื่อนแรกของเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ 11 เขื่อนตลอดลำน้ำโขงที่รัฐบาลลาววางแผนจะสร้าง นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมโจมตีโครงการเขื่อนเหล่านี้ว่าจะกระทบต่อวิถี ชีวิตผู้คนนับร้อยล้านคนที่พึ่งพาแม่น้ำสายนี้ องค์กรแม่น้ำนานาชาติ กลุ่มเอกชนที่ต่อสู้เพื่ออนุรักษ์แม่น้ำ กล่าวในแถลงการณ์ว่า เวียดนามได้ขอร้องต่อลาวอย่าได้พัฒนาโครงการเพิ่มเติม จนกว่าการศึกษาผลกระทบของเขื่อนนี้จะเสร็จสมบูรณ์ นอกจากนี้ผู้แทนของกัมพูชายังยืนกรานด้วยว่า ลาวตีความผิดไปจากข้อตกลงแม่น้ำโขง เจ้าหน้าที่ผู้แทนของรัฐบาลกัมพูชาและเวียดนามยังไม่ให้ทัศนะต่อข้อมูลดังกล่าวของเอ็นจีโอกลุ่มนี้ รัฐมนตรีจากประเทศสมาชิกคณะกรรมการแม่น้ำโขง (เอ็มอาร์ซี) ที่ประกอบด้วยตัวแทนจาก เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว และไทย ประชุมกันครั้งล่าสุดที่ภาคเหนือของลาวเมื่อ 2 วันก่อน คณะกรรมการนี้เกิดจากข้อผูกพันตามสนธิสัญญาที่กำหนดให้มีการปรึกษากัน ระหว่างรัฐบาล ก่อนการก่อสร้างเขื่อนใดๆ ที่ขวางกั้นลำน้ำนานาชาติสายนี้ แต่ทว่าชาติสมาชิกกลับไม่มีสิทธิยับยั้ง เม็ง เจียน-ฮัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้พลังน้ำอย่างยั่งยืนของกองทุนชีวิตป่าโลก (WWF) กลาวว่า เมื่อไม่มีข้อตกลงกัน ประเทศอื่นอาจแสดงความไม่เห็นด้วยได้ แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งลาวได้เช่นกัน "ขณะนี้บทบาทของเอ็มอาร์ซีถูกตั้งถามเคียงคู่ไปกับระดับของการลงทุนที่พวก เขาทุ่มเทให้องค์กรนี้" ชาติสมาชิกเอ็มอาร์ซีเคยเห็นพ้องกันเมื่อเดือนธันวาคม 2554 ว่าจะประเมินผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมกันใหม่ก่อนจะเดินหน้าก่อสร้างเขื่อน แต่กลับมีรายงานว่า เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว บริษัท ช.การช่าง ของไทย กลับมาเริ่มการก่อสร้างอีกครั้ง เดือนพฤศจิกายนลาวยังทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ซึ่งเม็งกล่าวว่า เป็นการส่งสัญญาณการเริ่มต้นการก่อสร้างอย่างเป็นทางการด้วย มิลตัน ออสบอร์น จากสถาบันโลวี หน่วยงานคลังสมองของออสเตรเลีย กล่าวว่า เขื่อนไซยะบุรีเป็นจุดเปลี่ยนที่จะเปิดทางให้ประเทศอื่นๆ สร้างเขื่อนของตนบ้าง รวมถึงกัมพูชา ที่บริษัทพลังงานของจีนเคยเสนอจะสร้างเขื่อนซัมบอร์ขวางกั้นลำน้ำสาขาของแม่ โขงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งออสบอร์นกล่าวว่าคือ "หายนะอันเลวร้าย" เพราะจะขวางกั้นเส้นทางอพยพของปลา.
ຫ້ວຍວຽດນາມຊິເຕະຄໍນ້ອງນຸ່ງລະຫວະນີ້ !ອ້າວມາຊ່າງວ່າແນວນີ້ແທ້ນໍບາດນິ !ຫຼືວ່າໝົດແນວເອົາແລ້ວມາຫາເລື້ອງພີກຕົວ
ໜີຈາກກັນຫວະ ?ຕາຍໆ ຄືຊິມາປ່ອຍໃຫ້ນ້ອງນຸ່ງໂດດດ່ຽວແທ້ນໍບາດນີ້ !ມີລູກພີ້ໃຫຍ່ລີກາມາໜູນຫຼັງແລ້ວຫາເລື້ອງຖິ້ມນ້ອງ
ຖິ້ມນຸ່ງແທ້ນໍ !ຊິປ່ອຍໃຫ້ນ້ອງນຸ່ງໂດດດ່ຽວອີ່ຫຼີຫວະ ?ບໍ່ມີໃຜຢາກເວົ້ານໍານ້ອງອີ່ຫຼີຫວະ?ນ້ອງເຮັດຫຍັງຜິດນໍ ຊ່ວງນີ້ຄືມີແຕ່ໝູ່ລັງ
ກຽດນ້ອງແທ້?ເວນກັມຊິມາຕອບສະໜອງນ້ອງອີ່ຫຼີຫວະ ? ນ້ອງບໍ່ຢ້ານດອກເພາະນ້ອງກາມີຫຼາຍລ້ານແລ້ວເຖີງຄາວຈໍາເປັນນ້ອງເອງ
ກາມີເຮືອນຫຼາຍຫຼັງຢູ່ຕ່າງປະເທດແລ້ວ ,ນາທີສຸດທ້າຍກາຊິຢູ່ໃນທໍານອງທີ່ວ່າຕົວໃຜຕົວມັນ ຫັ້ນຫຼາ !ໃຜຊິເປັນຊິຕາຍນ້ອງບໍ່ສົນໃຈເພາະ
ນ້ອງທໍາໄປກາບໍ່ມີຫຍັງດີຂື້ນເພາະພວກນ້ອງບໍ່ມີຄວາມຮູ້ບໍ່ມີການສຶກສາ,ພວກນ້ອງເປັນພຽງພວກສວຍໂອກາດຊື່ໆບໍ່ແມ່ນນັກບໍຣິຫານ
ເຖີງເວລາໄປພວກນ້ອງກາຊິໄປຕາມທາງຂອງພວກນ້ອງຫັ້ນແຫຼ້ວ !ຂໍໃຫ້ໂຊກດີເດີ້ອ້າຍ ,ຄວາມສໍາພັນພວກເຮົາຄົງຈະບໍ່ຈະເລີນກ້າວໜ້າ
ໄປໄດ້ອີກຕໍ່ໄປແລ້ວ !ບ່າຍບ່າຍບ່າຍ ພົບກັນຊາດໜ້າຖ້າມີຈິງ