ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ຄຳເຫັນອີກແງ່ນຶ່ງກ່ຽວກັບເຂື່ອນໄຊຍະບູລີ
Anonymous

Date:
ຄຳເຫັນອີກແງ່ນຶ່ງກ່ຽວກັບເຂື່ອນໄຊຍະບູລີ
Permalink   
 


เยือนเขื่อนไซยะบุรี ฟังข้อมูลผู้ก่อสร้าง

รายงานพิเศษ


กติแล้วผู้ให้ข้อมูลเรื่อง "เขื่อน" มักเป็นนักอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชนต่างๆ ในฐานะกลุ่มตัวแทนที่ออกไปค้นหาข้อมูลและสำรวจผลกระทบจากสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่นั้นๆ

มาวันนี้ผู้ก่อสร้างเขื่อนมีข้อมูลในอีกมุมหนึ่งที่อยากให้สังคมรับรู้เช่นกัน เพื่อจะชี้แจงแถลงไขถึงเหตุผลและรายละเอียดของการก่อสร้างที่มีนอกเหนือจากอีกฝ่ายเพื่อเสริมข้อมูลให้รอบด้านยิ่งขึ้น

ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ช.การช่าง บริษัทรับเหมาก่อสร้างชื่อดังของไทย นำโดย ปลิว ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ พาทีมงานในเครือมติชน-ข่าวสด ไปเยี่ยมชมพื้นที่ก่อสร้างและฟังคำบรรยายถึงรายละเอียดของโครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี

โดยเฉพาะเรื่อง "ปลา" และ "ตะกอนแม่น้ำ" อันเป็นประเด็นไฮไลต์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ฝ่ายอนุรักษ์วิตกกังวลและทักท้วงมากที่สุด

หลังเผยแพร่ข้อมูลว่า ปลาที่อพยพขึ้นลงตามลำน้ำในแม่น้ำโขงตอนล่างนี้เป็นแหล่งโปรตีนหลักสำหรับคน 60 ล้านคน และยังเป็นพื้นฐานในอุตสาหกรรมประมงที่ประเมินว่ามีมูลค่าสูงถึง 7,600 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.2 แสนล้านบาทต่อปี

ในขณะที่ลาวเลือกเส้นทางที่จะเติบโตไปพร้อมกับชาติอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน ด้วยข้อได้เปรียบทางทรัพยากรธรรมชาติที่จะผันตัวเองสู่การเป็น "แบตเตอรี่แห่งเอเชีย"

การก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีจึงเป็นความท้าทายในจุดปะทะของความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

คนมักเรียก ไชยะบุรี หรือไซยะบุลี ออกมาเป็นคำลูกครึ่งว่า ไซยะบุรี ภาษาอังกฤษใช้ Xayaburi ตั้งอยู่ในแขวงไซยะบุรี ห่างจากหลวงพระบาง เมืองมรดกโลก 80 กิโลเมตร


าไปคณะนั่งเรือยนต์จากหลวงพระบางล่องไปตามแม่น้ำโขงฝ่าลมหนาวเย็นและหมอกทึบในยามเช้า จนเมื่อแสงแดดส่องมาจึงได้ เห็นเกาะโขดหินเกาะแก่งตลอดเส้นทาง พิสูจน์ความเชี่ยวชาญของคนขับเรือ 

หลังเวลาผ่านไป 3 ชั่วโมง เรือเทียบฝั่งให้ต่อรถเข้าไปยังพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งต้องขึ้นเขาไปด้วยเส้นทางคดเคี้ยวและขรุขระที่สร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

การสร้างถนนในเขตเทือกเขานี้เป็นส่วนหนึ่งในแผนเตรียมงานระยะ 5 ปีของโครงการที่เริ่มตั้งแต่ปี 2550

ระหว่างทางมองเห็นบ้านเรือนของชาวบ้านกลบไปด้วยฝุ่นที่ตลบจากถนน ส่วนที่อยู่ไกลลิบๆ ในหุบเขาเป็นแคมป์คนงานที่ได้ข้อมูลว่ามีทั้งหมด 9 จุด รองรับคนทั้งหมด 10,988 คน



นอกจากเป็นที่พักตามจุดก่อสร้าง ยังมีตลาด ศูนย์ซ่อมเครื่องจักร หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน แหล่งคัดแยกกำจัดขยะ ซึ่งจำเป็นสำหรับชุมชนในช่วงเวลาก่อสร้าง 8 ปี (จากปี 2555-2563)

แคมป์สำนักงานที่ต้อนรับคณะจากมติชนก็รวมอยู่ในนี้ด้วย


ามเหตุผลของช.การช่าง โครงการนี้จะเป็นผลดีต่อวิถีชีวิตคนลาวที่จะพัฒนาสู่ความสะดวกสบายมากขึ้น มีสวัสดิการที่รัฐจะทำให้ รวมถึงด้านการศึกษาให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ เกิดการสร้างงานทั้งสองฝั่งโขง ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ลาวบรรลุเป้าหมายที่จะพ้นจากความยากจนในปี 2563

ในขณะที่คนไทยจะได้รับประโยชน์ด้านพลังงานที่การไฟฟ้าแห่งประเทศไทยหรือกฟผ.ซื้อจากลาวในราคาไม่แพง (2 บาทเศษต่อหน่วย) ตามสัญญา 29 ปี

คําอธิบายเพิ่มเติมจาก สมควร วัฒกีกุล ที่ปรึกษาด้านธุรกิจพลังงาน ของช.การช่าง ระบุว่า โครงการนี้ไม่ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงมา ยังแม่น้ำโขงลดลง เพราะเขื่อนไซยะบุรีไม่ใช่เขื่อนประเภทกักเก็บน้ำ (Storage) แต่ระบายน้ำ เป็นเขื่อนทดน้ำแบบเดียวกับฝาย (Run-of-River) บริหารจัดการได้ง่าย ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยไม่ได้ปล่อยคาร์บอน จึงไม่มีมลพิษ 

เนื่องจากลาวตั้งอยู่ในจุดที่เรียกว่า แม่น้ำโขงตอนล่าง จึงไม่มีระดับความสูงของน้ำสูงขนาด 1,000-4,500 เมตร เหมือนกับแม่น้ำโขงตอนบนแบบจีนหรือพม่า การก่อสร้างเขื่อนต้องใช้วิธีนี้เพื่อให้น้ำไหลผ่านอยู่ตลอด ดังนั้นจึงไม่ใช่ภาพของการไปตั้งเขื่อนขวางกั้นน้ำแล้วกักเก็บน้ำไว้จนเดือดร้อนผู้คนที่อยู่ถัดลงไป

การใช้ประโยชน์จากโครงการนี้มีตัวอย่างเปรียบเทียบกับโครงการเขื่อนในแม่น้ำดานูบของออสเตรีย คือจะทำให้มีช่องทางเดินเรือขนาด 500 ตันผ่านได้ตลอดปี ป้องกันตลิ่งพัง และป้องกันน้ำท่วม

อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าบานประตู กังหันเดินเครื่อง ระบบสวิตช์ หม้อแปลง ฯลฯ ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์จากห้องควบคุม ใช้ประสิทธิภาพการควบคุมการผลิตไฟฟ้าเป็นดิจิตอล



ส่วนข้อวิตกเรื่องพันธุ์ปลานั้น นอกจากว่าจ้างบริษัทจากยุโรปมาออกแบบเส้นทางปลาว่ายผ่านแบบทวนน้ำสอดคล้องกับธรรมชาติและ ทันสมัยที่สุด ซึ่งย้ำ ว่าไม่ใช่แบบบันไดปลาโจน (ที่ไม่เวิร์กในกรณีเขื่อนปากมูล) ยังมีทีมเก็บข้อมูลชนิดของปลา จำนวนปลา การเดินทางของปลา เพื่อจะใช้สำหรับแผนป้องกันผล กระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างสถานีเพาะพันธุ์ปลา

เท่าที่เก็บข้อมูลจะครบปีในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ พบว่าเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่มีปลาว่ายผ่านสูงสุด

ส่วนตะกอนแม่น้ำ แหล่งอาหารสำคัญของสัตว์ท้ายน้ำ ทีมก่อสร้างให้ข้อมูลว่าเขื่อนทดน้ำแบบ Run-of-River เมื่อไม่ได้กักน้ำไว้ ตะกอนจึงผ่านออกไปด้วย ยิ่งเมื่อโดนชาติเพื่อนบ้านท้วงติงมาด้วยความวิตก ทีมก่อสร้างจึงปรับแบบให้มีช่องทางระบายตะกอนและทรายใต้โรงไฟฟ้า

คำอธิบายนี้ทำให้ชาติเพื่อนบ้านสบายใจขึ้น บวกกับแผนการก่อสร้างตามมาตรฐานสากล และทำตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขง หรือ MRC - Mekong River Commission ทำให้โครงการที่ชะลอไว้ปลายปี 2554 เริ่มเดินเครื่องได้ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย.2555

รายละเอียดในโครงการของช.การช่างที่บรรยายในวันเยือนพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนครั้งนี้ ให้ภาพของโครงการก่อสร้างทางวิศวกรรมขนาดใหญ่ที่ซับซ้อน นอกเหนือจากมูลค่าการก่อสร้างที่ทราบกันว่าสูงลิบกว่าแสนล้านบาท

เป็นการปรับตัวของวงการวิศวกรรมที่ต้องตอบสนองเงื่อนไขทางสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างรอบคอบ ซึ่งรัฐบาลลาวเองต้องตอบคำถามคนในประเทศได้ และยังต้องตอบคำถามคนนอกประเทศอื่นๆ ทั้งชาติเพื่อนบ้าน ชาติร่วมภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงชาติยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาที่จับตาโครงการนี้และมี ปฏิกิริยามาโดยตลอด

ประเด็นสำคัญที่ทีมผู้สร้างเปรียบเทียบโครงการนี้ในแม่น้ำโขงกับโครงการเขื่อนและฝายในแม่น้ำดานูบก็คือ แม่น้ำทั้งสองไหลผ่านหลายประเทศ แผนพัฒนาและจัดการน้ำจึง เป็นความร่วมมือของประเทศต่างๆ ที่ผ่านการ ต่อรองพูดคุยกันมาอย่างเข้มข้นเพื่อให้รอบคอบ

ปลิว ตรีวิศวเวทย์ บิ๊กบอสของช.การช่าง กล่าวว่า หลักการของช.การช่างไม่ใช่มุ่งแต่จะทำกำไรสูงสุด แต่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย อย่างเช่นโครงการไซยะบุรีนี้ กำไร ไม่สูง แต่ผลประโยชน์โดยรวมเป็นที่น่าพอใจทั้งกับชาวลาวและชาวไทย มีการดูแลสิ่งแวดล้อม สังคมประชาชน ทำโดยทีมงานมืออาชีพ

"เมื่อรวมกันแล้วทุกอย่างลงตัว" ซีอีโอกล่าวสรุป


http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU9EZzNPREExTWc9PQ==&sectionid=

 



top_left_corner.gif top_right_corner.gif
 
 
bottom_left_corner.gif bottom_right_corner.gif
top_left_corner.gif top_right_corner.gif
 
  
top_left_corner.gif top_right_corner.gif
 
   

__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard