ເປີດເສັ້ນທາງ ຢາບ້າ-ໄທຍ-ລາວ-ຈີນ
เมื่อเร็วๆ นี้ นางเปา หงเซ่ย รองอธิบดีกรมกฎหมาย กระทรวงรักษาความมั่นคงภายในแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าพบปะหารือถึงความร่วมมือเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด กับเจ้าหน้าที่ด้านป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือของไทย เพื่อช่วยกันสกัดกั้นไม่ให้ผู้ผลิตยาเสพติดในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำแพร่ กระจายยาเสพติดไปยังประเทศปลายทางได้ ท่ามกลางกระแสข่าวว่าปัจจุบันในประเทศจีน โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน และสิบสองปันนา มีปัญหาชาวจีนติดยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้า และยาไอซ์ จำนวนมากไม่แตกต่างจากไทย
ว่ากันว่าสาเหตุที่ทำให้ยาบ้าทะลักเข้าประเทศจีนมากขึ้นเป็นผลสืบเนื่องมา จากมาตรการในการสกัดกั้นยาเสพติดที่ทะลักเข้าประเทศไทยมีความเข้มข้นมากขึ้น จึงทำให้ยาเสพติดจากดินแดนสามเหลี่ยมทองคำถูกส่งไปขายในประเทศจีนมากขึ้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายสุขุม โอภาสนิพัทธ์ รองเลขาธิการ ป.ป.ส. ซึ่งรับผิดชอบงานด้านต่างประเทศของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตอบคำถามได้ดีที่สุด - ตั้งแต่ไทยเข้มงวดในการสกัดกั้นยาเสพติดว่ากันว่ายาเสพติดจากสามเหลี่ยมทองคำทะลักไปจีนแทนจริงหรือไม่ ทั้งไทยและจีนมีปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดมานานแล้ว ทางการจีนเองก็มีมาตรการในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศของ เขาเช่นเดียวกับเรา รวมทั้งยังมีความร่วมมือของทั้งสองประเทศในการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ จีนและไทยถือเป็นประเทศทางผ่านและปลายทางของยาเสพติด เนื่องจากผู้ผลิตยาเสพติด ซึ่งอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำดินแดนที่อยู่ในเขตอิทธิพลของชนกลุ่มน้อย ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านใช้เป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติดส่งไปให้เอเย่นต์เพื่อ กระจายต่อไปยังผู้เสพ ปัจจุบันผู้ผลิตยาเสพติดมีอยู่หลายกลุ่มที่สำคัญคือกลุ่มหว้าภายใต้การนำ นายเหว่ย เซียะกัง และกลุ่มมูเซอของ พ.ท.ยี่เซ มีการใช้เส้นทางลำเลียงยาเสพติดไปยังผู้เสพหลายเส้นทาง เช่น จากแหล่งผลิตเข้าประเทศไทยที่แม่สาย จากสามเหลี่ยมทองคำนำข้ามโขงไปลาววกกลับเข้าประเทศไทยในจังหวัดแถบภาคอีสาน โดยเฉพาะอุบลราชธานี จากสามเหลี่ยมทองคำข้ามโขงไปลาวต่อไปยังกัมพูชาแล้ววกกลับเข้าไทย จากสามเหลี่ยมทองคำข้ามโขงไปลาวแล้วส่งต่อไปเวียดนามออกสู่ทะเลเพื่อไปยัง ประเทศอื่นต่อ จากสามเหลี่ยมทองคำไปยังย่างกุ้ง เมาะตะมะ ส่งต่อไปอินเดียแล้วออกทะเล จากสามเหลี่ยมทองคำส่งขึ้นไปทางเหนือผ่านสิบสองปันนา ไปยูนนาน ซึ่งยาเสพติดจากสามเหลี่ยมทองคำนั้น มีทั้งเฮโรอีน ยาบ้า และยาไอซ์ หากถามว่าเราสกัดกั้นแล้วยาเสพติดทะลักไปจีนนั้นคงไม่ใช่ เพราะจีนเป็นปลายทางของยาเสพติดมานานแล้ว มีปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดไม่แตกต่างจากเรา และที่ผ่านมาจีนเองก็มีมาตรการกวาดล้างปราบปรามยาเสพติดมาโดยตลอด และมีความร่วมมือที่ดีกับเรามาอย่างยาวนาน ขณะที่เรามีมาตรการสกัดกั้นสารตั้งต้นในการผลิตยาบ้ายาไอซ์ จีนเองเขาก็มีมาตรการเช่นนี่เช่นกัน เพราะที่ผ่านมาจีนก็มีปัญหาเป็นพื้นที่หนึ่งที่สารตั้งต้นทะลักมาสามเหลี่ยม ทองคำ เช่นเดียวกับเราและอินเดีย -สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในจีนตอนนี้เป็นอย่างไร เขามีปัญหาไม่แตกต่างจากเรา เพราะเป็นปลายทางของยาเสพติด จีนมีประชากรเยอะทำให้เป็นเป้าหมายหลักของเครือข่ายค้ายาเสพติด ซึ่งนอกจากจะถูกนำเข้าจากแหล่งผลิตบริเวณสามเหลี่ยมทองคำแล้ว ยังมีมาจากแหล่งยาเสพติดที่เรียกกันว่า "กลุ่มจันทร์เสี้ยวสีทอง" คือยาไอซ์จากอิหร่าน เฮโรอีน และโคเคนจากละตินอเมริกา อีกส่วนคือจากแก๊งคนดำจากกลุ่มประเทศแอฟริกา ที่ใช้หญิงไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ขนยาเสพติดผ่านประเทศไทย ซึ่งมีปลายทางอยู่ที่เมืองกวางโจวของจีน รวมถึงญี่ปุ่นและเกาหลี เฉพาะในจีนมีการจัดทำสถิติผู้ติดยาเสพติดทั้งหมดไว้เมื่อปี 2554 พบว่ามีผู้มาลงทะเบียนผู้ติดยาถึง 1.79 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ถึงร้อยละ 35.9 โดยกลุ่มผู้เสพไม่แตกต่างจากไทย คือเป็นกลุ่มวัยหนุ่มสาวอายุต่ำกว่า 35 ปี จีนให้ความสำคัญในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดโดยตั้งแต่ปี 2548 ถึงปี 2554 รัฐบาลจีนดำเนินการทำสงครามประชาชนต่อต้านยาเสพติด กวาดล้างผู้ผลิต ผู้จำหน่าย รวมถึงการสกัดกั้นสารตั้งต้นไม่ให้ตกไปถึงมือผู้ผลิตด้วย ระหว่างนี้มีการจับกุมผู้ต้องหาในคดียาเสพติดได้ถึง 5.5 แสนราย ยึดยาเสพติดได้กว่า 150 ตัน และในปี 2554 เพียงปีเดียวทางการจีนจับกุมผู้ต้องหาในคดียาเสพติดได้กว่า 1.1 แสนราย ยึดเฮโรอีนได้ 7.08 ตัน ยาไอซ์และยาบ้ารวมกันอีก 14.32 ตัน -เครือข่ายค้ายาเสพติดในจีนเป็นเครือข่ายเดียวกับในไทยหรือไม่ ไม่เกี่ยวกัน แต่ที่มาของยาเสพติดจำนวนมากที่สุดมาจากแหล่งเดียวกันคือสามเหลี่ยมทองคำ ทำให้ยาบ้าแพร่ระบาดมากในมณฑลแนวชายแดนที่ติดกับสามเหลี่ยมทองคำคือเมืองสิบ สองปันนา รวมไปถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของมณฑลยูนนาน เครือข่ายยาเสพติดที่นำยาเสพติดจากสามเหลี่ยมทองคำเข้าไปส่วนใหญ่จะเป็นชาว จีนเอง ส่วนยาไอซ์จะระบาดอยู่ในมณฑลภาคตะวันออกและทางภาคใต้ของจีนมีแหล่งผลิตส่วน ใหญ่อยู่ในจีนเอง อย่างไรก็ตาม มีนักค้าชาวจีนบางส่วนเข้ามาเคลื่อนไหวในไทย โดยจัดส่งยาเสพติดจากไทยไปยังประเทศจีน อย่างเช่นกรณีของ นายเล่าจง ที่เข้ามาพักอยู่ย่านถนนเพชรบุรีตัดใหม่เพื่อทำหน้าที่ส่งยาเสพติดไปให้ เครือข่ายที่จีน คือ นายเล่าฉู และพวกที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ขณะที่มีคนไทยถูกจับในจีนเพราะทำผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติดถูกจับได้ที่ฮ่องกง และมาเก๊า รวมกันกว่า 85 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555) แต่เครือข่ายยาเสพติดในจีนนั้นไม่ใช่เครือข่ายเดียวกับในไทย -ความร่วมมือในการแก้ปัญหายาเสพติดระหว่างจีนกับไทยเป็นอย่างไร เราประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดนะ ที่ผ่านมามีการประสานความร่วมมือในการติดตามตัวนักค้ายาเสพติดจากจีนที่เข้า มาเคลื่อนไหวในไทย เราจับกุมส่งตัวไปให้ ขณะที่นักค้าชาวไทยไปอยู่ที่จีนเราก็จะประสานความร่วมมือไปยังทางการจีน ดำเนินการให้ตามที่เราร้องขอ นอกจากนี้จีนยังเป็นประเทศแรกที่เราส่งข้าราชการของ ป.ป.ส.ไปทำหน้าที่อัครราชทูตที่ปรึกษาด้านการป้องกันยาเสพติด ประจำ ณ กรุงปักกิ่ง ขณะที่จีนมีการจัดตั้งกองกำลังร่วมระหว่างประเทศในปี 2555 เพื่อมุ่งเน้นกวาดล้างอาชญากรรมยาเสพติดข้ามชาติ ซึ่งหน่วยงานนี้ก็จะประสานการทำงานกับเราอย่างใกล้ชิด นอกจากความร่วมมือในการแก้ปัญหายาเสพติดระหว่างไทยกับจีนแล้ว ยังมีการร่วมมือกับประเทศอื่นทั้ง พม่า ลาว มาเลเซีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน ญี่ปุ่น รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย โคลัมเบีย โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง ไทย ลาว พม่า และจีน ยิ่งมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด มีการจัดกำลังร่วมกันลาดตระเวนสกัดกั้นขบวนการค้ายาเสพติดในลุ่มน้ำโขงร่วม กันเป็นระยะ ผลจากความร่วมมือในการแก้ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง ทำให้มีผลงานการจับกุมยาเสพติดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยาเสพติดจากแหล่งผลิตบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ เฉพาะในปี 2555 มีการจับกุมยาเสพติดได้ในปริมาณมาก จับยาบ้าได้กว่า 92.8 ล้านเม็ด ยาไอซ์ 1.5 ตัน เฮโรอีน 126.1 กิโลกรัม ซึ่งต้องเฝ้าระวังต่อไปเนื่องจากพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำมีกำลังผลิตยา เสพติดอย่างไม่มีขีดจำกัด เนื่องจากอยู่ในพื้นที่อิทธิพลของชนกลุ่มน้อย - มาตรการสกัดกั้นสารตั้งต้นที่ไทยทำ ส่งผลอย่างไรกับแหล่งผลิตในสามเหลี่ยมทองคำหรือไม่ ถือว่าประสบความสำเร็จนะ เพราะช่วยสกัดกั้นไม่ให้สารตั้งต้นเข้าไปสู่แหล่งผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน เรามีการเข้มงวดสารตั้งต้นหลายชนิด ที่สำคัญคือ กาเฟอีน และซูโดอีเฟดรีน โดยเฉพาะที่อยู่ในรูปของยาแก้หวัด ขณะนี้ อย.ยกระดับซูโดอีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2 หลังจากมาตรการดังกล่าวบังคับใช้ปรากฏว่าสารตั้งต้นเหล่านี้ผ่านประเทศไทยไป ยังสามเหลี่ยมทองคำน้อยลง ขณะที่จีนเองก็มีมาตรการสกัดกั้นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดเช่นเดียวกับ ไทยเช่นกัน แต่กลุ่มผู้ผลิตก็มีการนำสารตั้งต้นเข้าไปผลิตยาเสพติดโดยผ่านจากประเทศอื่น เข้าไปอีก อย่างที่บอกเขามีกำลังการผลิตที่ไม่มีขีดจำกัด เพราะพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในอิทธิพลของชนกลุ่มน้อยยากต่อการปราบปราม
.....................
(หมายเหตุ : เปิดเส้นทางยา...ไทย-ลาว-จีน จับตา'แก๊งจีน'ค้ายาอาเซียน : สัมภาษณ์พิเศษ สุขุม โอภาสนิ รองเลขาธิการ ป.ป.ส. โดยพัทธ์ทัศชยันต์ วาหะรักษ์)
ຜີພາກເໜືອຈະກາຍເປັນເສດຖີເງິນລ້ານອີກຫຼາຍສິບຄົນ.