วันนี้ (12 ก.พ.) นายทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. เห็นชอบการร่วมทุนโครงการไฟฟ้าพลังน้ำน้ำเงี้ยบ 1 ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ของบริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล (กฟผ.อินเตอร์) ตามมติของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจที่เห็นชอบให้อนุมัติวงเงินการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนตามสัดส่วน การถือหุ้น 30% จำนวน 79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2,438 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังเห็นชอบให้ร่วมทุนและอนุมัติให้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนของ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำน้ำเงี้ยบ 1 ของกฟผ.อินเตอร์ด้วย
นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้สัญญาผู้ถือหุ้นที่ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงาน อัยการสูงสุด รวมทั้งเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการร่วมทุนในโครงการไฟฟ้าพลังน้ำน้ำ เงี้ยบ 1 ต้องใช้เงื่อนไขการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา โดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
อย่างไรก็ตามที่ประชุมยังได้มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท กฟผ. อินเตอร์ จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป และให้ กฟผ. อินเตอร์ รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพิจารณาดำเนินการต่อ ไปถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อมด้วย
ด้านนายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมครม.ด้วยว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) นำเรียนที่ประชุม ครม. เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมในเดือน ธ.ค. 55 ที่ผ่านมา โดยเป็นการสรุปรวบรวมสถิติมาตรการการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญ 2.คดีประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกายและเพศ 3.คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ 4.คดีที่น่าสนใจ และ 5.คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ได้แบ่งการประเมินผลต่อการปฏิบัติงานเป็น2ด้าน คือ ด้านการป้องกันอาชญากรรม โดยพิจารณาจากสถิติการแจ้ง การร้องทุกข์ และด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยพิจารณาจากการจับกุมคดีที่ได้รับแจ้งไว้ในเวลาที่กำหนด รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความปลอดภัยใน ชีวิตและทรัพย์สินของตนเองให้มากยิ่งขึ้น
ขณะที่นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงด้วยว่า ที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบและอนุมัติ การลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจเครือรัฐออสเตรเลีย ว่าด้วยการส่งเสริมเครือข่ายประสานงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ประจำประเทศไทย ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างหนังสือฯ เป็นการกำหนดข้อตกลงระหว่าง ตช. และสำนักงานตำรวจเครือรัฐออสเตรเลีย ในการที่สำนักงานตำรวจเครือรัฐออสเตรเลีย ให้การสนับสนุนเครือข่ายการประสานงานระหว่างหน่วยงานตำรวจของทั้ง 2 ประเทศ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค เพื่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติอย่างต่อเนื่อง และมีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดประชุม คณะกรรมการบริหารประจำปีระหว่างผู้บริหารของทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ทางเครือข่ายประสานงานอาชญากรรมข้ามชาติดำเนินการ โดยให้บรรลุวัตถุประสงค์และความคาดหวังของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย
การดำเนินการตามหนังสือแลกเปลี่ยนฯ อยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบภายในประเทศของคู่ภาคี และการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ฉบับนี้ไม่มีผลผูกพันในทางกฎหมายระหว่างประเทศใด ๆ โดยได้ระบุไว้ในข้อ Disclaimer (ข้อสละสิทธิ) ของร่างแลกเปลี่ยนฯ ว่า “หนังสือแลกเปลี่ยนฯ ฉบับนี้ ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย” ไม่เข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย..
ເອົາລົງໄປແລະກໍສ້າງລົງໄປອັນເຄື່ອນໄຟຟ້າຫັ້ນ ແລ້ວໃຫ້ປະເທດ
ທີ່ມາລົງທຶນສ້າງນັ້ນມາສຳປະທານທີ່ດິນເຖິງ 20-30 ປີ ແບບປະ
ເທດ ອົສເຕຣເລັຍ ມາຂົນເອົາຄຳຈາກບໍ່ຄຳເຊໂປນໄປນັ້ນ. ສ້າງ
ໃຫ້ເຖິງກຳໜົດທີ່ວາງໄວ້ 90 ເຄື່ອນທົ່ວປະເທດນັ້ນ. ຜູ້ທີ່ໄດ້ໃຊ້ໄຟ
ຟ້ານັ້ນກໍບໍ່ແມ່ນຄົນລາວທຸກໆຄົວເຮືອນດອກ ຖ້າຄິດສເລັ່ຍໃສ່ປະ
ຊາກອນຂອງ ສປປລ ບໍ່ເຖິງຮອດ 40 ເປີເຊັນທີ່ມີໄຟຟ້າໃຊ້ ເຖິງ
ຜູ້ທີ່ມີີໃຊ້ ກໍໝົດຫລັງຄາເຮືອນກໍມີດອກໄຟພຽງດອກດຽວ ( ອັນ
ນີ້ເວົ້າສະເພາະໃນເຂດຊົນະບົດ ) ຖ້າຈະໃຊ້ຫລາຍດອກໄຟຫລືປັກ
ສຽບກໍບໍ່ມີປັນຍາຈະຫາເງິນມາເສັຍຄ່າໄຟ ດອກໄປດອກດຽວໜົດ
ຄົວເຮືອນ ປານນັ້ນກໍຍັງມີຫລາຍໆຄົວເຮືອນຕ້ອງລົ້ມເລີກການໃຊ້
ໄຟຟ້າເພາະບໍ່ສາມາດຫາເງິນມາຈ່າຍຄ່າໄຟ.
ຣັຖະບານກໍຣັຖະບານສລາດໜ້ອຍ ກໍບໍ່ຕິດອກເພາະຜູ້ໃດກໍຮຽນ
ຈົນປຣິນຍາເອກມາຈາກມະຫາລັຍຖ້ຳຊຳເໜຶອມາໝົດກໍເລີຍຖືກ
ນາຍທຶນຕ່າງດ້າວເອົາເງີນມາອ່ອຍ ເມື່ອເຫັນເງິນຕາກໍຈົນດູນອອກ
ແລະກໍກອບໂກຍເອົາເງິນເຂົ້າຖົງຕົນເອງໂດຍບໍ່ຄຳນຶງເຖິງຜົນຈະຕາມ
ມາໃນພາຍຫລັງຈະເປັນແນວໃດຕໍ່ປະຊາຊົນຜູ້ທີ່ເປັນເຈົ້າຂອງສັບສົມ
ບັດຂອງປະເທດ. ຜູ້ກິນກໍກິນຈົນຫາກ ປະຊາຊົນຜູ້ຢາກ ຢາກຈົນອົດ
ຕາຍ ຍ້ອນ ສຕຸບປຶດ ຜູ້ບໍຣິຫານປະເທດ.......