“ขายควายส่งเงินให้ควายเรียน” ประโยคฮิตติดอันดับ นศ. มซ. เวียงจันทน์
หนุ่มหล่อสาวสวยชาว มซ. กลุ่มนี้ร่วมกันถ่ายภาพเป็นที่ระลึกในวันรับปริญญาบัตรสำเร็จการศึกษาปี 2549 ภาพจากเว็บบล็อกส่วนตัวของเจ้าของ ปีนี้เป็นปีที่ 17 ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติ วิทยาเขตนครเวียงจันทน์ ซึ่งผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมปีละหลายพันคน นักเขียน-นักวิจารณ์สังคมคนหนึ่งได้นำเสนอปัญหาที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้ เกี่ยวกับความเหลวแหลกในการเรียนการสอนของนักศึกษากับอาจารย์ มซ.จำนวนหนึ่ง นักศึกษาจำนวนมากไม่ตั้งใจศึกษาร่ำเรียน ใช้จ่ายเงินทองที่พ่อแม่ส่งไปให้อย่างฟุ่มเฟือย นักศึกษาหญิงอีกจำนวนหนึ่งออกนอกลู่นอกทาง บางคนยอมพลีกายเพื่อให้สำเร็จการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่หาอ่านได้ยากในสื่อของทางการลาว.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ – คำกล่าวเปรียบเปรยที่พูดกันหนาหูในไทยได้กลายเป็นประโยคฮิตในสื่อของทางการ ลาว ที่มองความเปลี่ยนแปลงของนักคึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติ วิทยาเขตนครเวียงจันทน์ ที่ไม่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและใช้จ่ายเงินทองที่บิดามารดาปากกัดตีนถีบส่งหา มาให้อย่างฟุ่มเฟือย หลายคนถลำลึกไปไกลยิ่งกว่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาหญิง บางคนยังใช้เงินทองมากมายหรือกระทั่งยอมพลีกายให้เป็นรางวัลสำหรับ อาจารย์ผู้สอนเพื่อให้เรียนจบ คอลัมนิสต์คนหนึ่งซึ่งเป็นนักวิจารณ์ปัญหาสังคม เขียนถึงเรื่องนี้ในหนังสือพิมพ์รายวันของทางการนครเวียงจันทน์ อันเป็นเรื่องราวที่หาอ่านได้ยากในสื่อของรัฐ นี่คือ “คำพูดติดหูในหมู่นักศึกษา มซ. ที่เอ่ยถึงนักศึกษาจากต่างแขวง (จังหวัด) หรือนครหลวงเวียงจันทน์ ที่ไม่ตั้งใจร่ำเรียนสมกับการสนับสนุนส่งเสริมจากพ่อแม่ยังเกิดเกล้า” และยังเป็นสาเหตุหนึ่งของปรากฏการณ์ย่อท้อที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติ วิทยาเขตดงโดก “แนวลาว” นักวิจารณ์ฝีปากกล้าแห่งหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่ เขียนถึงในสัปดาห์นี้ คอลัมนิสต์ปากกาคมของสื่อทางการนครเวียงจันทน์กล่าวว่า ได้เคยพบเห็นปรากฏการณ์ย่อท้อเหล่านี้ด้วยตัวเอง รวมทั้งได้เห็นนักศึกษาหญิงที่ มซ. ถอดชุดนักศึกษา สวมกางเกงขาสั้น ไปนั่งดื่มสุราเมามายกับเพื่อนๆ นักศึกษาชายตามร้านกินดื่มที่อยู่รายล้อมอยู่ใกล้ๆ หอพัก นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายจำนวนหนึ่งรู้ตัวว่าไม่สามารถจะเรียนจบได้ เนื่องจากไม่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ได้ใช้วิธีเลี้ยงดูอาจารย์ผู้สอน หลายคนไปทำงานรับใช้ถึงบ้านของอาจารย์ และได้ใช้ทุกวิธีการต่างๆ สนองความต้องการของอาจารย์เพื่อให้เรียนจบ “แนวลาว” กล่าว หลายคนต้องใช้จ่ายเงินเป็นค่าปรึกษาอาจารย์เพื่อให้ช่วยเขียนบท นิพนธ์เสนอขอจบการศึกษา นอกจากนั้นบางวิชาที่ยากมาก และลำบากในการสอบแข่งขัน “กว่าจะ (ผ่าน) ได้ต้องใช้ทุกวิธีการ” มิเช่นนั้นก็ไม่มีเงื่อนไขที่จะสามารถเรียนจบได้ “แนวลาว” เขียนในอีกประโยคหนึ่ง โดยไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ “วิธี” การที่กล่าวถึง อย่างไรก็ตาม เรื่องราวแบบเดียวกันนี้ได้ยินได้ฟังอยู่บ่อยๆ ในประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งไทยซึ่งนักศึกษาชายใช้เงินทองว่าจ้างครูอาจารย์ ผู้สอนเพื่อขอคะแนน หรือนักศึกษาหญิงยอมพลีกายให้อาจารย์ผู้สอนด้วยจุดประสงค์เดียวกัน และในทางกลับกันได้เคยมีข่าวคราวผ่านสื่อต่างๆ เช่นกันว่า อาจารย์เป็นฝ่าย “ขอเคลม” เสียเอง
น้อง น้อยเยาวชนชั้น ม.7 จากโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ลาว-เวียดนาม ในภาพแฟ้มหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจสังคมเมื่อปี 2554 นักเรียนเหล่านี้จะต้องแข่งขันกับเพื่อนอีกหลายหมื่นคนในการเข้าศึกษาต่อ ระดับอุดมศึกษา หลายคนสามารถผ่านด่านสำคัญไปได้ แต่ก็ไม่สามารถเรียนให้จบได้ เพราะว่าไม่ตั้งใจศึกษาร่ำเรียน กลับเลือกใช้ชีวิตอย่างเหลวแหลก คอลัมนิสต์ปากกาคมคนหนึ่งสะท้อนชีวิตเหลวแหลกของนักศึกษาในสื่อของทางการ ซึ่งเป็นเรื่องหาอ่านได้ยาก.
คอลัมนิสต์ของสื่อลาวกล่าวว่า ในปัจจุบันการศึกษาในลาวก็แทบจะไม่ต่างกัน เพราะมีการใช้เงินทองมากมายเพื่อให้เรียนจบ เนื่องจากการไม่ตั้งใจร่ำเรียน.. พอตกตอนหัวค่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งวันศุกร์ นักศึกษาจำนวนมากจะทยอยกันเข้านั่งร้านกินดื่มที่รายล้อมในย่านหอพัก “ไม่สวมชุดนักศึกษา แต่นุ่งกางเกงขาสั้น (ผู้หญิง) เป็นส่วนใหญ่ ดื่มน้ำเมา.. การนุ่งถือยั่วยวนกวนใจ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของปรากฏการณ์ย่อท้อ” คอลัมนิสต์คนเดียวกันกล่าว กว่าจะสอบผ่านได้เป็นบัณฑิตคนหนึ่งต้องผ่านความยากลำบากอย่างมากมาย และ “หลายคนไปไม่ถึงจุดหมาย.. เพราะสู้กับการใช้จ่ายเงิน สู่กับสภาพแวดล้อมที่จะลากดึงลงเหว-ลงขุมนรก” “เป็นห่วงที่สุดคือเพศหญิง! สงสารที่สุดก็คือคนที่ขายควาย” นักเขียนฝีปากกล้าเขียนในประโยคสุดท้าย “แนวลาว” เป็นนามปากกาของนักคิดนักเขียนและนักวิจารณ์คนหนึ่งของหนังสือพิมพ์ เวียงจันทน์ใหม่ ซึ่งหลายปีมานี้ได้สะท้อนปัญหาต่างๆ ในสังคมมาเป็นระยะๆ ตั้งแต่ปัญหาด้านการแต่งกาย ภาษาพูด การจราจร อาชญากรรม รวมทั้งปัญหาทางวัฒนธรรมต่างๆ และบางครั้งยังสะท้อนความล้มเหลวของเจ้าหน้าที่รัฐด้วย นักวิจารณ์ที่มีลีลานำเสนอแบบตรงไปตรงมาเช่นนี้หาได้ยากในประเทศ คอมมิวนิสต์ลาว แต่งานเขียนของ “แนวลาว” มีผู้ติดตามอ่านจำนวนมาก.
http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9560000018623
ຂ້ອຍກໍ່ມັກອ່ານຄໍຣັມຂອງແນວລາວເພາະລາວວິຈານສັງຄົມໄດ້ດີ.
http://www.vientianemai.net/teen/khao/2/8641
Anonymous wrote:ຂ້ອຍກໍ່ມັກອ່ານຄໍຣັມຂອງແນວລາວເພາະລາວວິຈານສັງຄົມໄດ້ດີ.
ຫລານສາວຂອ້ຍຈົບອຸດົມມາແຕ່ຊົນນະບົດ ດຽວນີ້ມັນຈົບຕີແລ້ວເຂົ້າເຮັດການພອ້ມ ເກັບເງິນຮຽນປິນຍາໂທໄປພອ້ມ ຄອບຄົວນອ້ງຊາຍຂອ້ຍມີລູກ 5ຄົນ ທຸກຄົນຈົບຊັ້ນສູງຫມົດ. ມີລູກຊາຍດຽວ ເລີຍໄຫ້ຮຽນ ກະສິກຳລຽ້ງສັດ ຈົບແລວ້ກັບເມືອບ້ານເຮັດນາແທນພໍ່ແມ່ ສວ່ນຕົວເອງມີອ້າຍນອ້ງນຳກັນ 4ຄົນ ສະໄຫມນັ້ນ ຈົບບັກເຊ ຈົບໂທໄດ້ພຽງຄົນດຽວ ບາດລູກຕົວເອງ ເປັນຄົນໃນເມືອງ ອີເລເກນັງ ຈົບຕີກະຍັງຍາກ ຢ່າລືມ ຄົນລາວຮຽນດີ ຮຽນເກັ່ງ ມາຈາກຊົນນະບົດທັງນັ້ນ ເຂົາມີໃຈຮຽນ ອົດທົນຜ່ານຜ່າ ເວລາເຮັດລ້າເຮັດການ ເຂົາຕັ້ງໃຈສ້າງຜົນງານ ຊື່ສັດສຸດຈະລິດ ຍອ້ນບໍ່ມີເສັ້ນມີສາຍ ບໍ່ຊ່າງລູບແຄ່ງເລັຍຂາ ແຕ່ເຂົາເປັນວິຊາການທີ່ເັກ່ງອີຫລີ ຖ້າເປັນທະຫານຕຳຫລວດເຂົາກໍເປັນລູກເປັນຫລານຂອງປະເທດຊາດອີຫລີ ດຽວນີ່ ລູກໃຜເດ ເຕັມແຕ່ຮ້ານເຫລົ້າຮ້ານເບັຍ ຊິງລົດສະປອດ ເອາຫົນທາງເປັນສະຫນາມແຂ່ງ ຍົກພວກຕີກັນ ສ້າງສາລະພັດບັນຫາ ຮຽນຈົບ ບໍ່ຢາກຮຽນຕໍ່ ທັງໆ ທີ່ມີທຸກຢ່າງ ຫລືຮຽນໄຊ້ແຕ່ລູກເຈັ້ຍ..ທັງສິດທັງອາຈານ ຢ່າລືມ ປະເທດຊາດປົດປອ່ຍມາໄດ້ ຍອ້ນກຳລັງແຮງຂອງລູກຫລານຊົນນະບົດທັງນັ້ນ ປະເທດລາວກ້າວຂຶ້ນກໍຈະເຊັ່ນດຽວກັນ ສວ່ນຫນັງສືພິມໄທ ນຳໄປວິຈານ ຄຳຂຽນຂອງແນວລາວ ກໍຍອ້ນຄຳວ່າຄວາຍນັ້ນເອງ ຊຶ່ງສຳຫລັບເຂົາແລວ້ມັກດູຖູກວ່າໂງ່ທີ່ສຸດ ແຕ່ນີ້ແມ່ນສະຕິເຕືອນໃຈ..ບໍ່ແມ່ນແຕ່ສຳຫລັບເດັກນອ້ຍເດີ ຜູ້ໄຫຍ່ນັ້ນແລະຕົວການແທ້ໆ ຖາມຫາແຕ່ສາວ ມຊ ແມ່ນບໍລະທ່ານ ອີກດ້ານນຶ່ງ ຄວນຍ້າຍ ມຊ ໄປໄວ້ ພູພະນັງໄດ້ແລວ້ ສ້າງສະຖາບັນ ທີ່ມີທັງຫໍພັກ ແລະຫອ້ງຮຽນ ຫອ້ງຄົ້ນຄວ້າ ຫອ້ງສະຫມຸດ ລວມສູນທຸກຂະແຫນງທຸກວິຊາ ບໍ່ຄວນເດັດຂາດໄຫ້ຮ້ານເຫລົ້າຮ້ານເບັຍຢູ່ແຖວນັ້ນ ແຕ່ຄວນໄຫ້ມີຮ້ານສັບພະສິນຄ້າ ຫລືຕະຫລາດລາຄາຖືກ