ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: สิทธิมนุษยชนอาเซียนถูกมอง "ยังไม่ดีขึ้น"
Anonymous

Date:
สิทธิมนุษยชนอาเซียนถูกมอง "ยังไม่ดีขึ้น"
Permalink   
 


สิทธิมนุษยชนอาเซียนถูกมอง "ยังไม่ดีขึ้น"

13639338201363933858.jpg13639338201363935035.jpg13639338201363935049.jpg

 

22 มี.ค.56 เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ แสดงความเป็นห่วงต่อปัญหาสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่กำลังมีมากขึ้นในหลายประเทศอาเซียน และชี้ว่าอาเซียนยังขาดการพัฒนาที่จริงจัง 
 
ในขณะที่ สหรัฐฯ พยายามเข้ามาถ่วงดุลในภูมิภาคเอเชีย  เช่นเดียวกัน สหรัฐฯ ก็กำลังจับตาสถานการณ์สิทธิมนุษยนชนในหลายประเทศอาเซียนอย่างใกล้ชิด เช่นที่ กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนาม โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ดูแลกิจการในเอเชียตะวันออก เปิดเผยกับอนุคณะกรรมการกิจการต่างประเทศของวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ โดยระบุว่า ประเด็นสิทธิมนุษยชนคือหนึ่งในหลายปัญหาที่ยังไม่ได้ัรับการแก้ไขเท่าที่ควร  ซึ่งพวกเราต้องหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดคุยกัน
 
เมื่อ เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผู้นำอาเซียนลงนามข้อตกลงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Declaration) ที่ประเทศกัมพูชาไป โดยคาดว่านี่จะป็นเครื่องมือที่สามารถปกป้องสิทธิของประชาชนในกลุ่มประเทศอา เซียนที่มีกว่า 600 ล้านคน ได้ แต่ยังมีข้อถกเถียงอยู่มากถึงข้อตกลงดังกล่าว เนื่องจากมีกลุ่มคนวิจารณ์ และระบุว่า ข้อตกลงนี้ยังมีช่องว่างทางกฎหมายอยู่มาก ประกอบกับประเด็นด้านความหลากหลายของ อาเซียน โดยแต่ละประเทศมีภูมิหลังที่แตกต่างกันโดยเฉพาะระบอบการปกครองเช่น ที่ เวียดนาม และลาว ยังคงเป็นระบอบปกครองแบบอำนาจนิยม ส่วนประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างมาก ก็อย่างเช่น ฟิลิปปินส์ ซึ่งนี่อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสิทธิมนุษยนชนในภูมิภาคนี้ได้
นายโจเซฟ ยูน เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ดูแลกิจการเอเชียตะวันออกกล่าว ถึงข้อตกลงที่อาเซียนได้ลงนามโดยระบุว่า สาระของปฏิญญาว่าด้วยเนื่องสิทธิมนุษยชนนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ ที่พวกเราปรารถนา และต้องการเห็น เท่ากับการที่อาเซียนลงมือปฎิบัติมันอย่างจริงจัง ปัญหาคืออาเซียนไม่เคยยอมรับสิ่งเหล่านี้ ไม่ว่านั้นคือสิ่งที่อาเซียนต้องการเป้าหมายร่วมกันหรือไม่ แต่เส้นทางของอาเซียนกับการพัฒนาสิทธิมนุษยชนยังอีกยาวไกล
 
นายดอง บาร์ ผู้ช่วยรองเลขาธิการด้านสิทธิมนุษชนและประชาธิปไตย ได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในเวียดนาม พร้อมกับกล่าวว่า พวกเรารู้สึกผิดหวังกับหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่่ผ่านมา  โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  ช่วงที่ผ่านมา เกิดปัญหาคดีฟ้องร้องกับประชาชนที่แสดงความคิดในโลกอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก แต่ขณะเดียวกันยังได้กล่าวชื่นชม การพัฒนาสิทธิเสรีในด้านศาสนาในเวียดนามว่า ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน
13639338201363935035l.jpg
 
 
นอกจากนี้่ นายบาร์ ยังได้พูดถึงปัญหาสิทธิมนุษยนชนในกัมพูชา และการหายตัวไปของนายสมบัติ  สมพล นักเคลื่อนไหวด้านเอ็นจีโอ ชาวลาว และเจ้าของรางวัลแม็กไซไซ เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยเขาระบุว่า ปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนากาีรภาคประชาสังคมเป็นอย่างมาก เนื่องจากนายสมบัติถือว่าเป็นนักเคลื่อนไหวคนสำคัญที่มีบทบาทอย่างมาก
13639338201363935042l.jpg
 
 
โดยทั้งนายยุน และนายบาร์ ยังพูดตรงกันถึงบทบาททหารในอาเซียนอีกด้วย โดยเฉพาะ ในเมียนมาร์ หรือ พม่าที่ตกอยู่ใต้การปกครองของคณะทหารมายาวนานถึง 60 ปี แต่ปัจจุบันบทบาททหารเข้ามาแทรกแซงการเมืองมีน้อยลงสิ่งเหล่านี้ถือเป็นจุดที่ดีมากๆ
 
อย่าง ไรก็ตามทั้งสองยังแสดงความเป็นกังวลต่อรัฐสภาเมียนมาร์อยู่บ้างเนื่องจาก สมาชิกร้อยละ25 ยังมาจากการแต่งตั้งโดยคณะทหารซึ่งเป็นการไม่เหมาะสมในการ พัฒนาประเทศระยะยาว 
 
นาย บาร์กล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับทหารยังคงเป็นตัวอย่างที่ดีใน ภูมิภาคที่จะทำความเข้าใจ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายหรือมีสูตรสำเร็จทีี่จะ โน้มน้าวให้กลุ่มทหารผู้ซึ่งครองอำนาจและมีเงินมากมายมาเป็นเวลานาน"ลงจาก อำนาจได้"
13639338201363935049l.jpg
 
 
ทั้งนี้ นายบาร์กล่าวทิ้งท้ายถึง การประชุมสิทธิมนุษยชนซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีพลโทฟรานซิส เวียซินกี ของสหรัฐฯเข้าร่วม ที่กล่าว ถึงผู้ชายคนหนึ่งที่มีสัญลักษณ์ดาวติดอยู่บนบ่า 3 ดวง  ระบุว่า แม้ทหารจะมีอำนาจมากเพียงใด แต่อำนาจที่ทรงพลังมากกว่าคือ "อำนาจที่มาจากประชาชน"

 

 



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

สิทธิ์... ที่มีร้านขายอาวุทเกื่อนเหมือนเมกา ข้ากันตามใจในทุกแห่งหน ไม่เอา ขออยู่ลาวดีก่วา



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard