ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: วีรพงษ์ รามางกูร : สนไหม พันธบัตรรัฐบาล สปป.ลาว
Anonymous

Date:
วีรพงษ์ รามางกูร : สนไหม พันธบัตรรัฐบาล สปป.ลาว
Permalink   
 


วีรพงษ์ รามางกูร : สนไหม พันธบัตรรัฐบาล สปป.ลาว

act01060656p1.jpg

 

ได้อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ 27 พ.ค.นี้ว่า ตลาดทุนของไทยจะรับพันธบัตรของรัฐบาล สปป.ลาวเข้ามาขายให้กับสถาบัน ข่าวนี้ต้องถือว่าเป็นข่าวที่น่ายินดี ไม่ใช่เฉพาะประเทศ สปป.ลาวเท่านั้น ต้องถือว่าเป็นข่าวที่น่ายินดีสำหรับตลาดทุนของประเทศไทยเราด้วย จะได้มีประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาระดมทุนในประเทศของเรา

ในระบบทุน นิยมโลกนั้น มักจะมีการสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อกีดกันประเทศกำลังพัฒนาอย่าง สปป.ลาว กัมพูชา พม่า ไม่ให้สามารถเข้ามาระดมทุนในตลาดทุนได้ เพราะประเทศเหล่านี้ไม่ได้มี "อันดับความน่าเชื่อถือ" หรือ "country credit rating" เมื่อต้องลงทุนพัฒนาประเทศก็ต้องกู้ยืมธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งมหาอำนาจใช้ต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง จะกู้ยืมในตลาดการเงินก็ลำบาก ถ้ากู้ได้ก็ดอกเบี้ยแพง เงื่อนไขมาก การพัฒนาต่างๆ จึงเป็นไปอย่างเชื่องช้า

โครงการพัฒนาหลายโครงการใน ประเทศ สปป.ลาวที่จะกู้เงินจากธนาคารโลก หรือธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ก็มีเงื่อนไขยุ่งยาก บางทีพวกเอ็นจีโออเมริกัน เอ็นจีโอไทยก็เข้ามายุ่งเกี่ยว รัฐบาล สปป.ลาวจึงประกาศให้สัมปทานบริษัทเอกชนรับไปดำเนินการโดยรัฐบาลลาวร่วมถือ หุ้นด้วย ผู้รับสัมปทานเป็นผู้หาทุนเอง หลายโครงการก็ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพาณิชย์ของไทยทั้งหมด ตัดปัญหายุ่งยากกับธนาคารระหว่างประเทศไป

แต่อย่างไรก็ตาม การกู้จากธนาคารพาณิชย์สำหรับโครงการต่างๆ ก็ทำโดยบริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทาน แต่รัฐบาลลาวหรือรัฐวิสาหกิจลาว การไฟฟ้าลาวหรือ Electvicite du Laos ก็ยังต้องการเงินตราต่างประเทศ เช่น เงินบาทหรือเงินดอลลาร์เพื่อการลงทุนในฐานะผู้ถือหุ้นอยู่ด้วย รวมทั้งการลงทุนในเรื่องอื่นๆ ทั้งถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา โรงพยาบาล โรงเรียน มหาวิทยาลัยและเรื่องอื่นๆ

การลงทุนเหล่านี้ถ้ารัฐบาล ลาวสามารถระดมทุนได้โดยตรงจากตลาดทุนของประเทศต่างๆ ก็จะเป็นการดีกว่าการกู้จากธนาคารโลกและธนาคารระหว่างประเทศอื่นๆ แต่การจะเข้าสู่ระบบตลาดทุนของโลกได้ก็ต้องมีจุดเริ่มต้นในตลาดทุนแห่งใด แห่งหนึ่งก่อน

นึกถึงประเทศไทยของเรา เริ่มต้นการเข้าสู่ตลาดทุนของโลกได้ราวๆ ปีพุทธศักราช 2526 ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ขณะนั้นท่านสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นรัฐมนตรีคลัง ท่านสมหมายเป็นผู้นำพันธบัตรรัฐบาลไทยเข้าไปขายในตลาดทุนของญี่ปุ่นได้ สำเร็จ

ท่านเดินทางไปเจรจากับรัฐมนตรีคลังของญี่ปุ่นขณะนั้น คือนายตาเกชิตะ ซึ่งภายหลังได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น จำได้ดีเพราะได้ร่วมคณะเดินทางไปด้วย ท่านได้พบนายตาเกชิตะที่สภาไดเอะ ขณะที่รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นกำลังเสนอ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี ให้เวลาพบได้เพียง 5 นาที

ท่านรัฐมนตรีสมหมายเป็นนักเรียนเก่า ญี่ปุ่นที่มหาวิทยาลัยเคโอะ ท่านทั้งสองคุยกันเป็นภาษาญี่ปุ่น ท่านสมหมายเล่าให้ท่านตาเกชิตะฟังว่าประเทศไทยกำลังเดือดร้อน ต้องการมาระดมทุนจากตลาดทุนญี่ปุ่น รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นบอกว่ายินดี ท่านสมหมายบอกว่าเข้าตลาดญี่ปุ่นไม่ได้ เพราะประเทศไทยไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทางญี่ปุ่นถามว่าแล้วจะทำอย่างไร ท่านสมหมายบอกว่าขอให้ท่านสั่งให้บริษัทเงินทุนญี่ปุ่นรับประกันการขาย ทางญี่ปุ่นคิดอยู่พักใหญ่ก่อนจะหันมาตบเข่าท่านสมหมายแล้วตอบว่า "ตกลง" ก่อนจะลุกขึ้นเดินไปเข้าประชุมสภา

หลังจากนั้นพันธบัตรซามูไรของ รัฐบาลไทยก็ได้รับการประกันการขายโดยบริษัทหลักทรัพย์ญี่ปุ่น 4 บริษัท คือ โนมูระ ไดวา ยามาอิจิ และนิคโก ธนาคารพาณิชย์เหล่านี้ญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งหมด ซามูไรบอนด์ 600 ล้านเยน อายุ 3 ปี ก็ขายในตลาดญี่ปุ่นได้ แม้จะเป็นจำนวนน้อยมากก็ตาม เราจึงออกพันธบัตรซามูไรทุกปี ปีละ 600 ล้านเยน เป็นเวลา 4 ปี และต่อมาจึงสามารถออกพันธบัตรแยงกี้ในตลาดลอนดอนได้ ในครั้งแรกออกเพียง 100 ล้านดอลลาร์ในรูปเอฟอาร์เอ็น หรือ "floating rate note" เป็นพันธบัตรดอกเบี้ยลอยตัว

ประเทศไทยก็เข้าสู่ตลาดทุนของโลก สามารถออกพันธบัตรมาลงทุนในกิจการต่างๆ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไทยค้ำประกันและไม่ค้ำประกันก็ทยอยออกมา เรื่อยๆ จนเราเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจึงทยอยลดลง หุ้นกู้ของบริษัทเอกชนใหญ่ๆ รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ก็สามารถเข้าตลาดทุนในญี่ปุ่นในยุโรป และประเทศอื่นๆ ได้จนกระทั่งบัดนี้

การที่พันธบัตรรัฐบาล สปป.ลาว จำนวน 1.5 พันล้านบาท อายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 4.5 เปอร์เซ็นต์ โดยปกติการขายพันธบัตรในตลาดทุนของไทยก็ต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ของประเทศ หรือ "country Credit rating" แต่เนื่องจากรัฐมนตรีคลังของไทยยกเว้นให้ จึงนับว่าทำถูกต้องแล้ว

กรณี นี้เกือบจะเหมือนประวัติการเข้าตลาดทุนของโลกของพันธบัตรรัฐบาลไทยเมื่อจุด เริ่มแรก ภายหลังจากประเทศไทยสามารถไถ่ถอนพันธบัตรซามูไรแล้วก็เกิดมีการจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือของประเทศไทย ทำให้เราสามารถออกพันธบัตรแยงกี้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวในตลาดลอนดอน แล้วก็ไปยังประเทศอื่นๆ ได้
เมื่อบริษัทที่ปรึกษาที่รัฐบาล สปป.ลาวแต่งตั้งประสบความสำเร็จโดยความร่วมมือของกระทรวงการคลัง ไทยก็ควรจะขยายความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ของเรา เช่น กัมพูชา พม่า บังกลาเทศ หรือแม้แต่เวียดนามให้รัฐบาลประเทศนั้นๆ สามารถออกพันธบัตรเงินบาทหรือ Thai bonds มาขายในตลาดทุนไทยได้ด้วย นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านของเราให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนของ โลกได้ในอนาคตแล้ว ก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับตลาดทุนของไทยที่จะได้มีความเป็นสากลให้มากขึ้น

ข้างหน้าซึ่งไม่รู้อีกกี่ปี ตลาดทุนของเราอาจจะขยายไปถึงพันธบัตรแยงกี้หรือพันธบัตรซามูไรให้กับรัฐบาล สปป.ลาว กัมพูชา พม่า บังกลาเทศได้ด้วย ถ้าจำกัดอยู่เฉพาะพันธบัตรรัฐบาลหรือรัฐบาลค้ำประกัน sovereign bonds คงไม่น่าเป็นห่วงเพราะเพื่อนบ้านของเราแม้จะเป็นประเทศพัฒนาน้อยหรือ LDC ก็ยังไม่เคยได้ยินว่ามีใครไม่ชำระหนี้ต่างประเทศมาก่อนเลยข่าวนี้น่าจะเป็น ข่าวดี



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard