นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่ทำธุรกิจใน สปป.ลาว ต่างเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานหนัก ราว 31,000 คนต่อปี
อ่อนสี บุดศรีวงสัก เจ้าหน้าที่อาวุโสของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว กล่าวว่า ลาวประสบภาวะแรงงานขาดแคลนสูงสุด 31,000 คนต่อปี อ่อนสีกล่าวว่า ได้มีการแจ้งปัญหาแรงงานไปยังภาครัฐ เพื่อให้หาทางออกที่เหมาะสมแล้ว ในงานฟอรั่มธุรกิจลาว ครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเวียงจันทน์ ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ จำนวนตัวเลขแรงงานที่ สปป.ลาวขาดแคลน ยังไม่รวมกับความต้องการของบริษัทน้ำตาล 2 แห่ง ในเขตสะหวันนะเขต และแรงงานกรีดน้ำยางในสวนยางทั่วประเทศ ซึ่งน่าจะมีจำนวนอีกหลายพันคน
เอกสารในงานฟอรั่มธุรกิจลาวครั้งล่าสุดระบุว่า ปัจจุบันจำนวนแรงงานจากสมาคมผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์, กลุ่มก่อสร้าง, ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ, ภาคการท่องเที่ยว, กลุ่มการผลิตโลหะแท่ง, ภาคการผลิตอุตสาหกรรม, กลุ่มบริษัทเคพี, บริษัทนิคอน และบริษัทเอสสิลอซ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมสะหวันนะเขต มีการจ้างแรงงาน 187,750 คน และยังขาดแคลนแรงงานอีกจำนวน 31,000 คนทั้งนี้ปัจจุบันสมาคมผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์มีแรงงานจำนวน 6,000 คน ต้องการแรงงานเพิ่มอีกจำนวน 5,000 คน กลุ่มก่อสร้างมีแรงงานจำนวน 100,000 คน ต้องการแรงงานเพิ่มอีกจำนวน 5,500 คน ส่วนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอมีจำนวน 31,000 คน และต้องการแรงงานเพิ่มอีกจำนวน 9,930 คนต่อปี ขณะที่สามารถหาแรงงานได้เพียง 650 คนเท่านั้นภาคการท่องเที่ยวมีแรงงานจำนวน 28,100 คน ต้องการแรงงานเพิ่มอีก 2,400 คนต่อปี การผลิตโลหะแท่งมีแรงงานจำนวน 1,150 คน ต้องการแรงงานเพิ่มอีกจำนวน 600 คนต่อปี ภาคการผลิตอุตสาหกรรมมีแรงงานจำนวน 20,000 คน ต้องการแรงงานเพิ่มอีกจำนวน 300 คน ส่วนกลุ่มบริษัทเคพีมีแรงงานจำนวน 1,500 คน ต้องการแรงงานเพิ่มอีก 2,900 คน ด้านบริษัทนิคอนต้องการแรงงานเพิ่ม 1,500 คน และบริษัทเอสสิลอซต้องการแรงงานเพิ่มอีก 3,000 คนอ่อนสีกล่าวว่า ในภาวะที่ สปป.ลาวเผชิญกับภาวะแรงงานขาดแคลน ยังมีแรงงานราว 100,000 คนที่ข้ามชายแดนไปหางานทำยังประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากไม่มีการควบคุมของอัตราแรงงานที่ออกนอกประเทศ นอกจากนี้ การอพยพเพื่อหางานของประชากรลาวในประเทศเพื่อนบ้าน ยังทำให้ตอนกลางและตอนใต้ของ สปป.ลาวไม่มีแรงงานหนุ่มสาวที่ทำนาข้าว เหลือเพียงผู้สูงอายุที่ทำงานภาคการเกษตร ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทำให้เกิดปัญหาการแย่งชิงแรงงานระหว่างบริษัทต่าง ๆ ในเวียงจันทน์ ซึ่งปัญหานี้รุนแรงขึ้นในบริษัทที่ไม่มีกฎระเบียบชัดเจน และไม่สามารถจัดการกับบุคลากรได้ โดยพบว่ามีพนักงานบางส่วนมักหยุดงาน 2-3 วัน หลังได้รับเงินเดือนอ่อนสีกล่าวว่า "เราตระหนักดีว่าในปี 2558 สปป.ลาวจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ถ้าเรายอมให้ปัญหาแรงงานในปัจจุบันยืดเยื้อไปอีกเรื่อย ๆ เราจะสามารถผลิตสินค้าคุณภาพ เพื่อตอบสนองตลาดเออีซีได้อย่างไร" การขาดแคลนแรงงานและอัตราเข้าออกของพนักงานที่สูงมาก เป็นปัญหาหนักของผู้ที่เข้ามาลงทุนและเพิ่งตั้งกิจการในลาว แม้ว่ากระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ตั้งสำนักงานจัดหางานแล้ว 15 แห่ง ปัญหาแรงงานขาดแคลนก็ยังคงรุนแรงทั้งนี้ นักลงทุนและกลุ่มธุรกิจยังคงประสบปัญหาการได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานรัฐของ สปป.ลาว ให้สามารถจ้างแรงงานท้องถิ่นได้อย่างอิสระปัจจุบันพบว่าในแขวงสะ หวันนะเขตมีเอเยนซี่จ้างงานต่างชาติใช้รถบัสเข้ามารับแรงงานในลาวและข้ามชาย แดนไปส่งยังที่ทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนในหลวงพระบาง เอเยนซี่จ้างงานต่างชาติร่วมมือกับเอเยนซี่จัดหางานในลาวคัดคนงานให้ข้ามชาย แดนไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีชาวหลวงพระบางมากกว่า 700 คนได้รับการสัมภาษณ์เพื่อไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน อ่อนสีกล่าวว่า "ฉันคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะเอาแรงงานหนุ่มสาวของเรากลับมา เพื่อสร้างและพัฒนาประเทศของเรา"
ໄປໃສມາໃສ ໄດ້ຍິນແຕ່ຄົນຈົ່ມ ຢາກຈ່າຍໜີ້ ຈ່າຍສິນ ເຮັດທຸລະກິດ ກັບຕ່າງປະເທດ ໂດຍໃຊ້ເງິນບາດ ແລະ ເງິນໂດລາ
ແຕ່ທະນາຄານ ບໍ່ອອກໃຫ້
ສາເຫດ
ເງິນບາດ ເງິນໂດລາ ທີ່ໃຊ້ໝູນໃນທະນາຄານກາງບໍ່ພຽງພໍ
ຄໍາຖາມກໍ່ເລີຍເກີດຂຶ້ນ: ແມ່ນໃຜ ໃນປະເທດລາວ ເປັນຜູ້ກັກຕຸນ ບັນດາເງິນເຫຼົ່ານັ້ນ?