ລະບົບນໍ້າປະປາ ຍັງກູ້ເງີນຕ່າງປະເທດມາພັດຖະນາ 310 ລ້ານບາດ
คลังทุ่ม 310 ล้านบาท ช่วยลาวพัฒนาประปาใน 5 เมืองยากจน
1.เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว2.เมืองคอบ แขวงไชยะบุรี3.เมืองแบ่ง แขวงอุดมไชย4.เมืองไชบุรี แขวงสะหวันนะเขตและ 5.เมืองโขง แขวงจำปาสัก
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย (9 ก.ย.56) - - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติ การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป. ลาว สำหรับโครงการพัฒนาระบบประปา โดยขอให้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการพัฒนาระบบประปาใน 5 เมือง ในวงเงินรวม 310 ล้านบาทสืบเนื่องมาจาก สปป. ลาว แจ้งขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก สพพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการพัฒนาระบบประปา (Water Supply Construction Project for Poor Cities) ใน สปป. ลาว โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากความเป็นประเทศยากจน โดย สปป. ลาว ได้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากหน่วยงานเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ เช่น Asian Development Bank (ADB) และ Japan for International Cooperation Agency (JICA) เป็นต้น
และได้ขอรับความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากรัฐบาลไทยผ่าน สพพ. ในการพัฒนาระบบประปา รวมทั้งสิ้น 12 เมือง ซึ่ง สพพ. และ สปป. ลาว ได้ร่วมกันกำหนดพื้นที่ศึกษา 12
เมืองโดยพิจารณาจากเมืองที่ติดอันดับความยากจนและไม่มีน้ำประปามาตรฐานให้บริการ และเป็นเมืองยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกิจภายใต้แผนงานการ
พัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคกลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS : Greater Mekong Subregion) และต่อมา สปป. ลาว ได้ขอเปลี่ยนแปลงพื้นที่ศึกษา
โดยเพิ่มเมืองยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก 1 เมือง รวมเป็น 13 เมือง สพพ. ได้พิจารณาแนวทางการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป. ลาว เห็นว่า ในระยะแรกควรให้ความช่วยเหลือในส่วนของเมืองที่มีความยากจนและเมือง
ที่มีความสำคัญตามระเบียงเศรษฐกิจภายใต้แผนงาน GMS จำนวน 5 เมือง ประกอบด้วย 1 (เมืองตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้) 2)
เมืองคอบ แขวงไชยะบุรี (เมืองยากจน) 3) เมืองแบ่ง แขวงอุดมไชย (เมืองยากจน) 4) เมืองไชบุรี แขวงสะหวันนะเขต (เมืองตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก)
5) เมืองโขง แขวงจำปาสัก (เมืองยากจน) ทั้งนี้ สปป. ลาว ได้มีหนังสือยืนยันรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก สพพ. เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบประปาใน 5 เมืองที่กล่าวแล้ว นอกจากนี้ สพพ.
ได้จัดให้มีการฝึกอบรมในเรื่องการบริหารจัดการและบำรุงรักษาโรงผลิตน้ำประปาให้แก่เจ้าหน้าที่ สปป. ลาว ในครั้งนี้ด้วย สำหรับรูปแบบและวิธีการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน สพพ. เห็นควรกำหนดให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป. ลาว เป็นวงเงินให้ความช่วยเหลือ
จำนวน 310 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินกู้ 305 ล้านบาทและเงินให้เปล่า 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 ต่อปี อายุสัญญา 20 ปี (รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 5 ปี)
ค่าบริหารจัดการของ สพพ. ร้อยละ 0.15 ของวงเงินให้ความช่วยเหลือ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้โครงการดังกล่าวมีผู้รับเหมาก่อสร้างและวิศวกรที่ปรึกษานิติบุคลสัญชาติไทย
มีการใช้สินค้าและบริการจากประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และ กฎหมายใช้บังคับ กฎหมายไทย ในส่วนของแหล่งที่มาของเงินทุน จำนวน 310 ล้านบาท ซึ่ง กค. พิจารณาแล้วเห็นด้วยกับข้อเสนอของ สพพ. โดยให้กำหนดแหล่งเงินทุน คือ 1) ขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณ
จำนวน 100 ล้านบาท 2) เงินสะสมของ สพพ. จำนวน 110 ล้านบาท 3) สพพ. กู้เงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศ 100 ล้านบาท แล้วนำไปให้ สปป. ลาว กู้ต่อ
ງາມໜ້າຫລາຍ ສປປລາວ ຂົນໄມ້ອອກນອກປະເທດ ຈົນກຽ້ງປ່າ
ບໍ່ມີເງີນພັດຖະນານ້ຳປະປາ
ຍາກຮູ້ວ່າເປັນຫຍັງພະນັກງານການນຳຂັ້ນສູງຄືມາລວຍແທ້ລວຍວ່າ, ມີເຮືອນ2-3ຫລັງໃຫຍ່,ມີລົດຫລູຂີ4-5ຄັນ ທັງໆທີ່ເງິນເດືອນ,ເງິນອຸດໜູນກະບໍ່ພໍເທົ່າໃດ ຫລືວ່າເພີ່ນມີເງິນນະໂຍບາຍພິເສດບໍ່? ໃຜຮູ້ຊ່ວຍບອກແດ່
ຢາກຮູ້ອີກວ່າ ເປັນຫຍັງລັດຖະບານຄືບໍ່ກ້າປະກາດລະບຽບວ່າດ້ວຍການແຈ້ງຊັບສິນໜີ້ສິນຂອງພະນັກງານ ກ່ອນ ແລະ ຫລັງໃດ້ຮັບຕຳແໜ່ງ ຖ້າເພີ່ນເຮັດໃດ້ຄືຊິເປັນການດີນໍ
Revenue collection over the past 11 months has fallen considerably short, with only 78.38 per cent of the 19.5-trillion-kip
(about Bt77.2 billion) target collected. The ministry attributes the failure to unfavourable global economic conditions coupled
with an overly optimistic target, set at 27.15 per cent higher than last year. The ministry admitted that the revenue collected over the past 11 months was far below the target achieved last
year, when the amount collected reached 92 per cent of the plan. Over the past 11 months, the government spent 3.7 trillion kip to balance the budget deficit by using
overseas loans and issuing short-term bonds to mobilise funding. Despite the country's economic growth of more than 8 per cent annually, Laos still faces challenges. It is
seeking more funding to drive economic growth and poverty reduction efforts, with the goal of graduating from least developed country status in 2020.
http://www.nationmultimedia.com/aec/Laos-facing-large-revenue-shortfall-30214619.html