ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ทำไมลาวยังไม่ได้สร้าง รถไฟความเร็วสูง?
Anonymous

Date:
ทำไมลาวยังไม่ได้สร้าง รถไฟความเร็วสูง?
Permalink   
 


ทำไมลาวยังไม่ได้สร้าง รถไฟความเร็วสูง?

วันที่ 19-20 กันยายนที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรได้มีการลงมติในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ของร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง หรืออีกชื่อคือ พ.ร.บ.สร้างอนาคตไทย 2020 ซึ่ง ส.ส. ก็ได้อภิปรายกันอย่างเข้มข้น แต่มีข้อเท็จจริงสองประการที่ทั้ง ส.ส. สำนักข่าวและบุคคลทั่วไป ยังเข้าใจไม่ค่อยถูกต้อง คือการร่วมทุนกับเอกชน โดยเฉพาะเอกชนจากประเทศจีน และสภาพการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงกับ ส.ป.ป.ลาว ซึ่งเกี่ยวเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน

เดิมทีนั้น โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในลาวโดยบริษัทเอกชนของจีน มีแผนเริ่มก่อสร้างในปี 2010 และจะแล้วเสร็จในปี 2014 โดยการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลลาว กับบริษัทเอกชนของจีน แต่เมื่อได้ดำเนินการสำรวจเส้นทางเพื่อสร้างรถไฟ พบว่า 2 ใน 3 ของเส้นทางจากแขวงซำเหนือถึงนครหลวงเวียงจัน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับทางเวียดนามที่เมืองวินห์ ต่อไปถึงชุมทางรถไฟที่เมืองหนานหนิงนั้น เป็นภูมิประเทศป่าเขาสูงชัน ต้องขุดอุโมงค์และทำสะพานกันต่อเนื่อง ส่งผลให้งบประมาณที่ประเมินกันว่า เดิมจะใช้งบก่อสร้างไม่ถึง 5,000 ล้านดอลลาร์ ทวีขึ้นเป็น 7,000 ล้านดอลลาร์ และรัฐบาลจีนก็ประสบปัญหา

การหาบริษัทเอกชนมาดำเนิน โครงการตาม MOU ที่ทำไว้กับรัฐบาลลาว จนต้องตั้งข้อเสนอเพื่อความคุ้มทุนและรับประกันรายได้ของเอกชนในการก่อสร้าง ต่อรัฐบาลลาวล่าสุดในเดือนเมษายน 2013 ดังต่อไปนี้

ข้อแรก รัฐบาลลาวต้องค้ำประกันเงินกู้ทั้งหมดที่บริษัทเอกชนของจีนมาร่วมลงทุน 100%

ข้อสอง รัฐบาลลาวต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข 4 ประการ คือ

1. ต้องตั้งบริษัทขึ้นมาบริหารจัดการรายได้จากโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยมีสถานะเป็นลูกหนี้รัฐบาลจีน

2. ต้องจ่ายดอกเบี้ยหนี้สินในอัตรา 2% เป็นเวลา 30 ปี โดยมีระยะปลอดการชำระหนี้ (แต่ยังคิดดอกเบี้ย) 10 ปีแรก

3. รัฐบาลลาวต้องค้ำประกันเงินกู้ทั้งหมดด้วยทรัพย์สินของโครงการ รวมรายรับในอนาคตต่อรัฐบาลจีน ซึ่งหมายถึงที่ดินตลอดแนวทางรถไฟ

4. รัฐบาลลาวต้องค้ำประกันเพิ่มเติมด้วยรายได้จากเหมืองทองคำ 2 แห่งในแขวงเซโปน

เงื่อนไข ดังกล่าวนั้นชวนให้คิดถึงสัญญาสร้างทางรถไฟที่บริษัทยูไนเต็ด ฟรุตส์ ของสหรัฐอเมริกาทำกับประเทศในเขตอเมริกากลาง ที่สร้างทางรถไฟให้แลกกับที่ดินตามแนวรถไฟ เพื่อนำไปปลูกกล้วย จนบริษัทสามารถแทรกแซงการเมืองภายในของประเทศต่างๆ ตามอำเภอใจ เป็น "สาธารณรัฐกล้วย : Banana Republic" ซึ่งหากลาวยอมแลกแบบเดียวกัน คงไม่พ้นที่สองข้างทางรถไฟความเร็วสูง จะถูกตัดทำลายป่าเป็นพื้นที่ปลูกยางพารา และถูกแทรกแซงจนกลายเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนยาง : Rubber′s People Democratic Republic" บ้างในไม่ช้า

รัฐบาลลาวจึงเปลี่ยนแนวคิดจากการพึ่งพาการลงทุนจากจีนฝ่ายเดียว มาเป็นการเปิดเจรจาร่วมกับไทยให้ช่วยต่อรองกับรัฐบาลจีน โดยมี

การ เจรจากันในการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วม ไทย-ลาว ที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และแสวงหาการลงทุนเพิ่มเติมจากประเทศอื่น เช่น สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น

โดยล่าสุด ได้มีแผนการสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อสะหวันนะเขด-ลาวบาว เพื่อเชื่อมไปสู่ท่าเรือด่าหนัง (ดานัง) ของเวียดนาม โดยมีกลุ่มทุน ไจแอนท์ คอนโซลิเดต สัญชาติมาเลเซียและสถาบันการเงินริช แบงโก เบอร์ฮัดที่จดทะเบียนในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน เข้ามาลงนามข้อตกลงการสำรวจและก่อสร้างแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แต่ความคืบหน้าทั้งหมดก็ยังต้องชะลออยู่ เพราะสิ่งสำคัญคือ แผนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของลาวไม่ว่าจะสายไหน ก็ต้องต่อเชื่อมกับเส้นทางรถไฟของไทย ลำพังเพียงแค่การขนส่งหรือโดยสารในลาว ซึ่งมีประชากรเพียง 6.5 ล้านคน ย่อมไม่อาจขยายตัวจนถึงจุดคุ้มทุนได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจหรือด้านเศรษฐกิจมหภาค

ดังนั้น "การร่วมทุนกับเอกชน" จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะต้องมี "ค่าตอบแทน" ที่ต้องจัดหาให้อย่างคุ้มค่า ซึ่ง "ค่าตอบแทน" นั้น อาจจะมากกว่าผลที่ได้รับซึ่งผู้ไม่เคยทำธุรกิจมาก่อนอาจไม่รู้และไม่เคยเข้า ใจ



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ແມ່ນຄວາມເຂົາເວົ້າແລ້ວ " Rubber′s People Democratic Republic "



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ນີ້ແມ່ນແມ່ນແຜນໂກງກິນຂະໜາດໃຫ່ຍທີ່ສຸດ ທີ່ເຄີຍມີມາ ຂອງບາງກູ່ມທີ່ມີຶອຳນາດໃນພັກລັດ, ໝໍ ສົມສະຫວາດ ເລັ່ງສະຫວັດ ຈົນອກປາກວ່າຢາກມາຊີ້ນຳໂຄງການນີ້ດ້ວຍຕົວເອງ ຂໍລົດບົດບາດໃນວຽກງານອື່ນ ວ່າຊັ້ນ

ປັດຈຸບັນຍັງບໍ່ມີໂຄງການລົດໄຟຄວາມໄວ ຈີນ ຍັງມີອິດທິພົນ ຕໍ່ວົງການພັກລັດລາວ ສາມາດແຊກແຊງ ກົດດັນດ້ານເສດຖະກິດ ການເມືອງ ໂດຍຜ່ານລະບົບເຄືອຍາດ ເຊື້ອສາຍຈີນ

, ຍົກເວັ້ນປະຊາຊົນລາວເດີ້ ເພາະປະາຊົນບໍ່ໄດ້ເຫັນໄດ້ໃຫ້ຊາວຕ່າວເຂົ້າຫາເກັບຜົນປະໂຫຍດ ຊັບພະຍາກອນລາວ ແບບເສລີ.

ສັງເກດງ່າຍໆ ໂຄງການລະດັບ 7000 ລ້ານໂດລ້າ ແຕ່ການຖົກຖຽງ ຮັບຟັງຈາກສັງຄົມເກືອບວ່າບໍ່ມີຫຍັງເລີຍ ດີແຕ່ ສສ ຫລານທ່ານ ທີ່ມີຫົວກ້າວໜ້າ ເລັງເຫັນຜົນປະໂຫຍດຂອງປະເທດຊາດທີ່ສູນເສັຍໄປ ຈຶ່້ງສາມາດ

ແກ່ຍາວໂຄງການມາຮອດທຸກມື້ນີ້.

ພວກໃດສະໜັບສະໜູນໂຄງການນີ້ ແມ່ນພວກຂາຍຊາດ ທໍລະຍົດຕໍ່ແຜ່ນດິນເກີດ ຊັບພະຍາກອນທຳມະຊາດ ຄວາມເປັນເອກະລາດຂອງຊາດ, ຄົນລາວຈົ່ງພ້ອມກັນອອກມາຄັດຄ້ານ ແລະ ກ່າວປະນາມພວກທີ່ສະໜັບ

ສະໜູນໂຄງການນີ້ ໃຫ້ຫລາຍໆ ເພາະຄວາມຫາຍະນະທີ່ພັກລັດ ໄດ້ກໍ່ຂື້ນ ເຊັ່ນ ປ່າປູກຢາງພາລາ, ຂຸດຄົ້ນບໍ່ແຮ່, ເຂື່ອນ ແມ່ນຫລວງຫລາຍ ເກີນທີ່ຈະຢຽວຢາແລ້ວ.



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard