เวียดนามล้มเขื่อนกว่า 300 แห่ง พบทำลายป่ากระทบสิ่งแวดล้อม
เวียดนามซึ่งในปัจจุบันยังผลิตไฟฟ้าได้ไม่พอใช้ ได้ตัดสินใจล้มเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำอื้อฉาวอีก 2 แห่ง ทางตอนเหนือของนครโฮจิมินห์ หลังจากผลการศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมชี้ชัดเขื่อนจะทำลายผืนป่าอุดม สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศและ ข้ออ้างที่ระบุว่า เขื่อนจะช่วยป้องกันน้ำท่วมก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ขณะเดียวกัน เพิ่งจะมีการเปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าได้ตกลงกับทางการท้องถิ่นต่างๆ จำนวน 20 ท้องถิ่นทั่วประเทศเมื่อไม่นานมานี้ ในการล้มเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนรวม 338 แห่ง รวมกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,088.9 เมกะวัตต์ ในนั้นเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ 2 แห่ง และกระทรวงฯ ยังสั่งยุติการสำรวจศึกษาเขื่อนขนาดเล็ก จำนวน 169 แห่ง รวมกำลังผลิต 362.5 เมกะวัตต์อีกด้วย กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ซึ่งรับผิดชอบเขื่อนผลิตไฟฟ้าทั่วประเทศได้ยืนยันในสัปดาห์นี้เกี่ยวกับการ ล้มเลิกโครงการเขื่อนใน จ.โด่งนาย (Dong Nai) หลังจากองค์การอนุรักษนิยมทั้งในประเทศ และในต่างประเทศ รวมทั้งองค์การยูเนสโก ต่างคัดค้านมาเป็นเวลาข้ามปี และนายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) สั่งการสัปดาห์ปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ให้กระทรวงอุตสาหกรรมฯ กลับไปทบทวน รัฐบาลเวียดนามตั้งเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 5 ข้อ ในการพิจารณาก่อสร้างเขื่อน คือ มีอ่างเก็บน้ำที่มั่นคงปลอดภัย ทำลายป่าไม้น้อยที่สุด ส่งผลกระทบให้ต้องอพยพโยกย้ายราษฎรจำนวนน้อยที่สุด ไม่กระทบต่อความมั่นคงกับสภาพแวดล้อม และมีผลดีทางด้านเศรษฐกิจ ถ้าหากไม่เข้าเกณฑ์ครบทั้ง 5 ข้อ รัฐบาลจะไม่อนุญาตให้ดำเนินการ นอกจากจะก่อสร้างด้วยเหตุผลเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ และยังจะต้องผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาอีกด้วย “โครงการใดที่เข้าเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อสามารถดำเนินการต่อไปได้เต็มกำลัง โครงการใดที่ขัดต่อเกณฑ์ก็ไม่ต้องทำ” และรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมฯ ไปดำเนินการตามนี้ นายหวูดึ๊กดัม (Vu Duc Dam) เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรีว่าการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋ เมื่อเร็วๆ นี้ สองโครงการที่ถูกล้มเลิกล่าสุด คือ เขื่อนโด่งนาย 6 กับโด่งนาย 6A ซึ่งจะสร้างกั้นแม่น้ำโด่งนาย เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าระบบรวมกันเป็นปริมาณ 929 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี โดยจำหน่ายให้แก่รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าเวียดนาม นอกจากนั้น บริษัทเอกชนเจ้าของสัมปทานจะจ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่รัฐบาลปีละ 300,000 ล้านด่ง (กว่า 14,280,000 ดอลลาร์) แต่ผลการศึกษาโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ดำเนินการโดยสถาบันชั้นนำหลายแห่งได้พบว่า เขื่อนโด่งนาย 6 กับโด่งนาย 6A จะทำลายผืนป่าอันอุดมอย่างถาวร จำนวน 327.23 เฮกตาร์ (2,045 ไร่เศษ) ดูเป็นจำนวนไม่มากนัก แต่ในนั้น 128.37 (802 ไร่เศษ) เป็นจุดใจกลางของเขตป่าอันอุดมของเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่าก๊าตเตียน (Cat Tien) ซึ่งเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ในนั้นหลายชนิดเป็นสัตว์ป่าหายากที่อยู่ในบัญชีแดง และยังเป็นผืนป่าที่อาศัยของแรดพันธุ์ชวานอเดียวตัวสุดท้ายที่พบในเวียดนาม ก่อนถูกพรานป่ายิงตายเมื่อปี 2553 อีกด้วย เขื่อนทั้ง 2 แห่งยังจะทำลายเขตป่าชุ่มน้ำ (Ramsar) เบิ่วเซิว (Bau Sau) ที่ขนานไปกับริมน้ำตลอดระยะ 55 กม. ผลการศึกษาระบุ
ແຕ່ວ່ານັກວິຊາການ ປະເທດລາວເຮົາໝໍນີ້ ບອກວ່າດີ, ແລະປ້ອງກັນນ້ຳຖ້ວມໄດ້
ຮູ້ຈັກແຕ່ຢາກໄດ້, ແຕ່ບໍ່ຄິດວ່າຜົນເສັຍຫາຍຕາມມາຫາຍປານໃດ
ນີ້ເຂົາເອິ້ນວ່າ ນັກວິຊາການ,ຫາກິນນຳໂຄງການ
กระแสการต่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ตามแผนบริหารจัดการน้ำของ กบอ. กำลังมีทีท่าจะลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ถึงขั้นจะล้มแผนการก่อสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำทั้งหมด และพาดพิงถึงการสร้างเขื่อนในประเทศลาวซึ่งประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งด้วยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีเป้าหมายจะพัฒนาตนให้เป็นแบตเตอรี่แห่งอาเซียน ด้วยการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกัน 18,000 เมกะวัตต์ เนื่องจากประเทศลาวมีแนวแม่น้ำที่ลัดเลาะผ่านเทือกเขาและช่องผาที่เหมาะสมกับการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า โดยลูกค้าหลักที่ซื้อกระแสไฟฟ้าได้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและมณฑลทางใต้ของจีน ปัจจุบันลาวมีเขื่อนผลิตไฟฟ้าที่สร้างสำเร็จแล้วได้แก่ เขื่อนน้ำงึม เขื่อนน้ำงึม 2 เขื่อนน้ำเทิน เขื่อนน้ำเทิน-หินบูน เขื่อนน้ำเงี้ยบ บริหารจัดการโดยบริษัทไฟฟ้าน้ำตกแห่งประเทศลาว (EDL-Generation company) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว มีมูลค่าสินทรัพย์ประมาณ 6.6 ล้านล้านกีบ (ประมาณ 2.64 หมื่นล้านบาท) และมีกำไรจากการบริหารงานขายไฟฟ้าในปี 2012 ประมาณ 6 แสนล้านกีบ (ประมาณ 2.4 พันล้านบาท) ซึ่งเป็นรายรับ ช่วยบรรเทาการขาดดุลการค้าของลาวได้ส่วนหนึ่งการขายไฟฟ้าดังกล่าวถือเป็นรายได้ต่อเนื่องและยั่งยืน แตกต่างจากการให้สัมปทานขุดแร่ธาตุต่างๆ และการสัมปทานป่าไม้ที่นับวันจะหมดไป และการลงทุนสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าของลาวยังได้รับทุนสนับสนุนเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยถูกจากสถาบันการเงินต่างๆ เช่น ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ธนาคารพาณิชย์ของไทย โดยบริษัทก่อสร้างส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่จากประเทศไทย นำเข้าสินค้าวัสดุ เครื่องจักรจากประเทศไทยเช่นกันแม้ว่าจะมีการรณรงค์ต่อต้านการสร้างเขื่อนในประเทศลาวบ้างประปราย โดยเฉพาะกรณีเขื่อนที่สร้างปิดกั้นลำแม่น้ำโขง อย่างเขื่อนไซยะบุลี ที่แขวงไซยะบุลีทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งมีความกังวลว่าจะทำให้ลำน้ำทางตอนล่างของเขื่อนขาดความอุดมสมบูรณ์และปิดกั้นตะกอนดินและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ถึงขั้นมีการฟ้องต่อศาลปกครองของไทยให้ธนาคารและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตระงับการให้กู้และการรับซื้อไฟฟ้า รวมถึงการร้องต่อกรรมการดูแลอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง แต่รัฐบาลลาวก็ได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุลีในที่สุด เพื่อนฝูงชาวลาวหลายคนกระเซ้าผู้เขียนมาว่า ไม่สร้างเขื่อนก็ได้ แต่จ่ายเงินอุดหนุนค่าชดเชยที่ไม่ได้สร้างให้ลาวทุกปีฟรีๆ จะมีใครยอมจ่ายไหม ทำไมไม่ไปค้านเขื่อนแม่น้ำโขงที่จีนสร้างบ้าง ก็มีปากมีเสียงได้แต่กับประเทศเล็กๆ เท่านั้น ผู้เขียนฟังแล้วก็ได้แต่หัวเราะตาม
แน่นอนว่าการสูญเสียพื้นที่ป่าและแหล่งที่อยู่สัตว์ป่าเป็นเรื่องไม่น่าอภิรมย์นัก แต่ด้วยพื้นที่ผืนป่าที่ยังเหลืออยู่ 68.25% ของประเทศ ลาวสามารถนำรายได้ที่ได้จากการขายไฟฟ้า ไปอุดหนุนเพื่อการป้องกันผืนป่าที่เหลืออยู่ ไม่ต้องเปิดเหมือง ให้สัมปทานป่าไม้อีกต่อไป ดังปรากฏในรายงานของกองประชุมสมัชชาใหญ่พรรคประชาชนปฏิวัติลาวครั้งล่าสุด ที่สั่งระงับการให้สัมปทานเหมืองแร่และป่าไม้แก่บริษัทต่างชาติ ก่อนจะได้ทำรายงานศึกษาผลกระทบทางธรรมชาติและสุขภาพของประชาชน และวิธีการชดเชยต่างๆ ให้ครบถ้วนเสียก่อนอย่างไรก็ตาม ในการสร้างเขื่อนนั้น รัฐบาลลาวยังมีข้อครหาถึงการให้ข้อมูลต่อประชาชนในพื้นที่น้อยและไม่รอบด้าน การชดเชยพื้นที่ทำกินที่ไม่เหมาะสม และรายได้ที่เกิดจากการขายไฟฟ้าไม่กลับคืนสู่พื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย แต่เข้าสู่หน่วยงานส่วนกลางซึ่งเต็มไปด้วยปัญหาคอร์รัปชั่น รวมถึงข้อสังเกตต่อการหายตัวไปของ NGO ชื่อดังอย่างสมบัด สมพอน ว่าเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวต่อต้านเขื่อนการสร้างเขื่อนจึงไม่ได้มีเพียงมิติของการทำลายป่า สัตว์ป่า หรือการป้องกันน้ำท่วมอย่างเดียวเท่านั้น ประโยชน์และลักษณะของเขื่อนแต่ละเขื่อนนั้นแตกต่างกันไปในท้องถิ่นและประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาให้ครบด้านก่อนจะสนับสนุนหรือคัดค้านโดยไม่เหมารวม
ສິບໍ່ວ່າສ້າງເຂຶອນມັນດີໄດ້ແນວໃດ ໃນເມື່ອ
1. ເປັນໂອກາດໂກງກິນ ເພາະມີການລົງທຶນຈຳນວນຫລາຍ ທີ່ມາຈາກວົງຈອນການສະເລ່ຍຜົນປະໂຫຍດຈາກນາຍທຶນ ໄທ ວຽດ ຈີນ ໃຜໆກໍຮູ້ວ່ານາຍທຶນພວກນີ້ເປັນມືອາຊີໃນການໃຫ້ສິນບົນ, ໄຄແນ່ຖ້າເປັນນັກລົງທຶນຈາກ
ປະເທດຢູໂຣບ ອາເມຣິກາ ຍີ່ປຸ່ນ ເພາະກຸ່ມປະເທດຢູໂຣບເຂົາມີກົດໝາຍ ລະບົບຄວບຄຸມ ຕິດຕາມການລົງທຶນຂອງບຸກຄົນ ແລະ ນິຕິບຸກຄົນຂອງພວກເຂົາ ແລະ ມີຈັນຍາບັນສູງທຽບໃສ່ອ້າຍ ໄທ ຈີນ ຫວຽດ
2. ນັກວິຊາການ ຂີ້ຢ້ານ ບໍ່ກ້າໂຕ້ແຍ້ງ ດ້ານວິຊາ ຕໍ່ຜູ້ມີອຳນາດ ເຫັນວ່າຜູ້ໃຫ່ຍ ມີອຳນາດ ປະກາດວ່າ ລາວຈະເປັນໝໍ້ໄຟ ອາຊຽນ ເລີຍບໍ່ມີໃຜກ້າໃຫ້ຂໍ້ມູນທີ່ຖືກຕ້ອງ ວ່າການສ້າງເຂື່ຶນແມ່ນສ້າງຄວາມເສັຍຫາຍຫລາຍ
ມັນເຂົ້າຕຳລາ ຖຽງຄວາມນາຍພາຍຖົງໜີ້
3. ຄວາມບໍ່ຮູ້ຈິງ ແລະ ບໍ່ໃຫ້ໂອກາດຄົນ ທີ່ມີຄວາມຮູ້ ຄວາມສາມາດ ຊ່ວຍໃຫ້ຄຳເຫັນ ມັນບໍ່ແມ່ນຈະຕ້ອງເປັນຄົນພັກລັດສະເໝີໄປ ນັກວະຊາການເກັ່ງໆ ທີ່ບໍ່ໄດ້ເຮັດວຽກກັບພັກລັດ ກໍເຊີນໃຫ້ເຂົາມາຊ່ວຍອອກຄຳເຫັນ
ເບີ່ງ ເພື່ອຊ່ວຍເຮັດຂໍ້ມູນມັນສົມບູນ ຖືກຕ້ອງ ຫລື ຕ່າງປະເທດ
4. ອະຄະຕິວ່າ ເອັນຈີໂອຜູ້ໃດຕ້ານເຂື່ອນ ລະຕັດສິນເຂົາວ່າ ເປັນກຸ່ມຄົນບໍ່ຫວັງດີ ຂັດຂວາງການພັດທະນາຂອງປະເທດ ສ້າງຄວາມປັ່ນປວ່ນ ມັນກໍແລ້ວລະ ຂໍ້ມູນດີໆ ມີປະໂຫຍດຂອງຝ່າຍ ເອັນຈີໂອກໍເລີຍ ບໍ່ຖືສຳຄັນ
ບໍ່ສົນໃຈ
5. ສ້າງໄດ້ສ້າງເອົາເພາະ ບໍ່ມີໃຜຄ້ານ ກວດກາ ໂຄງການເຂື່ອນ ເພາະພັກກຳອຳນາດພັກດຽວ ມັນເປັນເລຶ້ອງຂອງລັດ ປະຊາຊົນບໍ່ກ່ຽວ ລັດຕັດສິນໃຈໃຫ້ ບໍ່ມີປະຊາພິຈານກໍໄດ້ ສ່ວນປະພາພິຈານທີ່ມີກໍເປັນພຽງຮູບການ
ສະແດງລະຄອນ ກຽວໃຫ້ຊາວບ້ານທ່ອງຈຳເວົ້າຕາມບົດ
6. ທຸກໂຄງການສ້າງເຂຶອນແມ່ນມີ ນາຍໜ້າ ຫລື ຕົວແທນຜົນປະໂຫຍດ ຈາກຄອບຄົວ ຫລື ຄົນສະໜິດ ຂອງຜູ້ມີອຳນາດທັງນັ້ນ ເພື່ອເຈລະຈາ ການໃຫ້ ການຮັບສິນໃບ
ທັງຫົກຂໍ້ ຈຶ່ງເວົ້າໄດ້ຄຳດຽວ ສ້າງເລີຍ ສ້າງໂລດ ເຂື່ອນຢູ່ລາວ ມັນດີຈັ່ງຊັ້ນ ມັນດີ ຈັ່ງຊີ້ ບໍ່ເຫັນຫົວປະຊາຊົນທີ່ຕ້ອງພັດພາກຈາກຜືນແຜ່ນດິນ ບ້ານເກີດເມືອງນອນ ປ່າໄມ້ ສັດປ່າ ສັດນໍ້າທີ່ສູນເສັຍໄປ ຄວາມບໍ່ແນ່ນອນ
ໄພທຳມະຊາດທີ່ຈະຕາມມາ ກໍຄືຊາຈາກຳຂອງລຸກຫລານໃນອະນາຄົດ
ແອດ ຄາລະບາວຕ້ານການສ້າງເຂື່ອນ ວິານລັດຖະບານໄທ ວ່າເປັນຜະເດັດການ ອ່ານໄດ້ຢູ່ລິ້ງນີ້:
http://www.thairath.co.th/content/life/373076