สัปดาห์รัฐธรรมนูญอาเซียน ตอน ลาว
สปป.ลาว ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 158 ขององค์การการค้าโลก สอดคล้องกับนโยบายเปิดประเทศของรัฐบาล สปป.ลาว ที่พยายามดึงดูดเงินลงทุนเข้าประเทศ
การตัดสินใจเข้าร่วมองค์การการ ค้าโลกในครั้งนี้ คาดว่าจะนำเงินลงทุนเข้าประเทศกว่า 2 แสน 4 หมื่นล้านบาท ภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่ง สปป.ลาวจำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาประเทศ
แต่ถึงอย่างไร ปัญหาของ สปป.ลาวกับประเทศเพื่อนบ้านลุ่มแม่น้ำโขง อาจจะสร้างอุปสรรคให้กับการพัฒนาได้
ความ พยายามที่จะสร้างเขื่อนไซยะบุรีของ สปป.ลาว ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม เนื่องจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่
อย่างเขื่อนไซยะบุรี ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสัตว์ป่า ธรรมชาติ และประชาชนกว่า 60 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง
ขณะที่การหายตัวไปของ นายสมบัติ สมพร นักสิทธิมนุษยชน และ 3 นักศึกษาชาวอเมริกันเชื้อสายมอญ ก็ได้สะท้อนอีกหนึ่งปัญหาสังคมภายใต้การปกครองของรัฐบาลในระบอบคอมมิวนิสต์
รวมไปถึงความสามารถในการบังคับใช้กฎหมาย ที่ยังเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาประเทศลาว
ปัจจุบัน สปป.ลาว ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์ มีจูมะลี ไซยะสอน เป็นผู้นำหลังได้รับเลือกจากรัฐสภา และดำรงตำแหน่ง 5 ปีต่อสมัย
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีจะสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีอีกด้วย โดยดำรงตำแหน่ง 5 ปีเช่นกัน ส่วนรัฐสภาของ สปป.ลาว มีสมาชิกทั้งหมด 132 คน ซึ่งมาจากสมาชิกพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
ที่สืบทอดอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 และการที่มีสมาชิกสายพรรคคอมมิวนิสต์กว่าร้อยละ 90 ครองที่นั่งไว้ จึงทำให้รัฐสภาของ สปป.ลาว
จึงเปรียบเสมือนแค่ตรายางเท่านั้น อำนาจแท้จริง ตกไปอยู่ที่กลุ่มผู้นำเพียงไม่กี่คน คล้ายๆ กับประเทศจีน
แต่สุดท้าย สปป.ลาว ก็จำเป็นต้องพิสูจน์ความโปร่งใสด้านสิทธิมนุษยชนและความจริงใจในการร่วมมือ กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนและสร้างความเชื่อมั่นต่อองค์การการค้าโลกและ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ພວກສູຢາກປົກຄອງ ແບບເກົາຫລີເໜືອ ກໍເຊີນເລີຍ
ປະຈຸບັນນີ້ກຸ້ມ ASEAN ເຂົ້າບໍ່ຢາກໃຫ້ເຂົ້າກຸ້ມນຳແລ້ວ
ເພາະໄປທວ່ງດຶງຄວາມຈະເຮີນຂອງເຂົາ ໃນດ້ານສິດທິ