สปปลาว หวั่นพม่าชิงท่องเที่ยว
ธุรกิจในลาวที่ต้อง พึ่งพานักท่องเที่ยว กำลังกังวลการเติบโตของธุรกิจอาจหยุดชะงัก หลังพม่าเปิดประเทศและนักท่องเที่ยวเลือกเดินทางไปมากกว่า
เมื่อปีที่แล้ว มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในลาวมากกว่า 3.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 22% จากปี 2554 คิดเป็นเม็ดเงิน 13.5 ล้านดอลลาร์ ที่ไหลเข้าระบบเศรษฐกิจมูลค่า 19,000 ล้านดอลลาร์ของลาว
หากเปรียบเทียบกันแล้ว ในปี 2555 มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 1 ล้านคนเพียงเล็กน้อยเท่าที่เดินทางไปยังพม่า ประเทศที่มีขนาดใหญ่กว่าลาวอย่างมาก ด้วยจำนวนประชากรลาว 50-60 ล้านคน ขณะที่ลาวมีเพียง 6.5 ล้านคนเท่านั้น แต่ในปีนี้ พม่าตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้เกือบ 2 ล้านคน และหวังว่าจะเพิ่มเป็น 3 ล้านคนภายในปี 2558 และมากกว่า 7 ล้านคนภายในปี 2563
รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว "นายอุเดด สุวันนาวง" เปิดเผยว่า ลาวได้รับผลกระทบเล็กน้อยเมื่อประชาชนเริ่มเดินทางไปพม่ามากกว่าลาว
แผนการสำคัญที่รัฐบาลลาววาง ไว้ คือ การดึงดูดนักท่องเที่ยวตะวันตกให้มาเยือนมากขึ้น เพราะตามสถิตินั้น นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ มีระยะเวลาในการพำนัก และใช้จ่ายเงินมากกว่านักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้าน
เมื่อปีที่แล้ว นักท่องเที่ยวราว 2.8 ล้านคนที่เดินทางมาลาวนั้น มาจากเอเชีย และพำนักในประเทศโดยเฉลี่ยราว 1-3 คืน โดยในจำนวนนี้มีอยู่ 1 ล้านคน เป็นนักท่องเที่ยวไทย ที่อยู่ในลาวเพียง 1 คืนเท่านั้น และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายวันที่คนละ 20 ดอลลาร์ หรือ 600 บาท สร้างรายได้รวมให้ลาว 21 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ดี นับแต่พม่าเริ่มต้นปฏิรูปประเทศในปี 2554 นักท่องเที่ยวตะวันตกที่เข้ามาลาวไม่ได้มากอย่างที่หวัง ซึ่งนายอุเดด ล่าวว่า ผลกระทบจากพม่าเปิดประเทศทำให้นักท่องเที่ยวจากยุโรปและอเมริกาเข้ามาเที่ยวลาวน้อยลง แต่รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวพม่า "นายเทย์ อ่อง" กล่วว่า ทั้งสองประเทศสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไปด้วยกันได้มากกว่าจะแข่งขันกัน ทั้งพม่าและลาวต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว และพม่าไม่ปรารถนาจะแข่งกับลาว ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านในภูมิภาค
ทั้งสองประเทศมีชายแดนร่วมกัน 235 กิโลเมตร มีสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจ บริเวณใกล้ท่าขี้เหล็กในรัฐฉานของพม่า มีกำหนดเปิดในปี 2558 นายเทย์ อ่อง กล่าวว่า หากสะพานมิตรภาพสร้างเสร็จจะอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางข้ามไป มาระหว่างสองประเทศ และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไกลแล้วแวะพักในประเทศไทยก่อน ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจเลือกว่าจะไปลาวหรือพม่าต่อ
แม้ว่าเศรษฐกิจลาวจะเติบโตโดยได้แรงหนุนจากการทำเหมืองแร่และส่งออกกระแสไฟฟ้าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่โครงสร้างพื้นฐานของลาวยังย่ำแย่อยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทเช่นเดียวกับในพม่า ถนนในลาวมีสภาพย่ำแย่กว่าในพม่า ทำให้การเดินทางในสภาพภูมิประเทศหุบเขาต้องใช้เวลายาวนาน อย่างเมืองหลวงเก่าหลวงพระบาง ริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่ยูเนสโกยกย่องให้เป็นมรดกโลก ต้องใช้เวลานั่งรถจากกรุงเวียงจันทน์ขึ้นไปทางเหนือ 10 ชั่วโมง
นอกจากนี้ลาวยังมีไฟฟ้าใช้ถึง 75% ของประเทศ ขณะที่พม่ามีไม่ถึง 30% และโรงแรมในลาวราคาถูกกว่า เปรียบเทียบกับพม่าที่ราคาแพง และเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามกระทรวงการท่องเที่ยวพม่าโต้แย้งว่า พม่ามีหาดทรายและชาวฝั่งยาวเหยียด อย่างที่หาไม่ได้ในประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลอย่างลาว ทั้งยังมีหิมะตกในภูเขาทางภาคเหนือด้วย รัฐมนตรีการท่องเที่ยวพม่าย้ำว่า ความผสมผสานนี้มีเพียงหนึ่งเดียวในภูมิภาค
ນັກທອ່ງທຽ່ວ ເຂົ້າໄປແລ້ວ ເຂົາຢ້ານຫາຍໂຕ
ກໍເລີຍບໍ່ມີໃຜ ຢາກເຂົ້າໄປທຽ່ວ ສປປລາວ ອີກຕໍ່ໄປ
Anonymous wrote:ນັກທອ່ງທຽ່ວ ເຂົ້າໄປແລ້ວ ເຂົາຢ້ານຫາຍໂຕກໍເລີຍບໍ່ມີໃຜ ຢາກເຂົ້າໄປທຽ່ວ ສປປລາວ ອີກຕໍ່ໄປ
ບໍ່ຮູ້ວ່າເຂົາຈະໄປທຽວເບິ່ງຫັຽງທັມມະຊາດກໍ່ຖືກທຳລາຍໝົດດ້ວຍການຕັດໄມ້,ເຮັດເຂື່ອນ
ຂຸດບໍ່ ແລະ ສາລະພັດ.ຖ້າຕ່າງປະເທດຢາກເບິ່ງດິນປັສຈາກພຶດສານາໆພັນແລ້ວເຂົາເບິ່ງ
ຢູ່ບ້ານເຂົາສະດວກດີກວ່າ,ງາມ ແລະ ປອດໄພກວ່າ.ບໍ່ຕ້ອງເສັຍຄ່າປີ້ຍົນມາເຖິງລາວດອກ.