ภาพแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 26 ต.ค. 2555 นักศึกษาชาวเวียดนามยืนดูแบบจำลองเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ได้รับการ
พัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัทฮิตาชิและบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริค ที่จัดแสดงอยู่ภายในงานนิทรรศการพลังงงานนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ
ในกรุงฮานอย เวียดนามมีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศขึ้นในปีนี้ หวังช่วยบรรเทาการขาดแคลนพลังงานของประเทศ
และล่าสุดประธานาธิบดีโอมาบาได้อนุมัติข้อตกลงด้านพลังงานนิวเคลียร์กับ เวียดนาม ที่จะช่วยให้สหรัฐฯ สามารถขายเทคโนโลยีด้านนิวเคลียร์ให้กับเวียดนามได้
ประธานาธิบดี บารัค โอบามา อนุมัติข้อตกลงด้านนิวเคลียร์กับเวียดนามแล้ว นับเป็นความเคลื่อนไหวที่นำไปสู่การขายเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ให้แก่เวียดนาม หลังจากประธานาธิบดีโอบามา อนุมัติ สภาคองเกรสจะดำเนินการทบทวนร่างเป็นเวลา 90 วัน และหากไม่มีเสียงคัดค้านจากสมาชิกรัฐสภา กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ทันที ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ระบุว่า เวียดนามได้ให้คำมั่นว่าจะไม่ผลิตสารกัมมันตรังสีสำหรับอาวุธนิวเคลียร์ และลงนามในมาตรฐานการป้องกันการเผยแพร่นิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีโอบามา ได้กล่าวในบันทึกข้อความต่อกระทรวงพลังงานว่า ได้พิจารณาแล้วว่าข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยส่งเสริม และไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการป้องกัน และความปลอดภัย เวียดนามเห็นชอบที่จะไม่เสริมสมรรถนะ หรือแปรสภาพยูเรเนียม อันเป็นขั้นตอนสำคัญในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ในข้อตกลงที่ลงนามกันนอกรอบการประชุมเอเชียตะวันออกที่บรูไน เมื่อเดือน ต.ค.
และเวียดนาม ยังได้ให้คำมั่นที่จะหาส่วนประกอบสำหรับวัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์แบบเปิด ในตลาดโลก ตลาดพลังงานนิวเคลียร์ของเวียดนาม ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก รองจากจีน คาดว่าจะเติบโตถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2573 เวียดนามเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนพลังงาน และพยายามที่จะใช้พลังงานนิวเคลียร์ช่วยบรรเทาปัญหา โดยรัฐบาลมีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศให้สามารถ
ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2563 และหวังให้พลังงานนิวเคลียร์รองรับการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 10% ของความต้องการพลังงานทั้งหมดของประเทศ ในปี 2573 ปัจจุบัน เวียดนามมีข้อตกลงความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์กับรัสเซีย และแม้ว่ารัฐบาลมุ่งมั่นที่จะใช้พลังงานนิวเคลียร์ แต่ก็ยังมีผู้ไม่เห็นด้วยเนื่อง
จากความวิตกเกี่ยวกับสถานที่ก่อสร้างโรง ไฟฟ้าที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว หรือสึนามิ.
ວຽດນາມຄວນແກ່ລາວໄປນຳໃນດ້ານເຕັກໂນໂລຊີ.
Anonymous wrote:โอบามา อนุมัติข้อตกลงนิวเคลียร์กับเวียดนาม เปิดทางส่งออกเทคโนโลยีภาพแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 26 ต.ค. 2555 นักศึกษาชาวเวียดนามยืนดูแบบจำลองเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ได้รับการ พัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัทฮิตาชิและบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริค ที่จัดแสดงอยู่ภายในงานนิทรรศการพลังงงานนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ ในกรุงฮานอย เวียดนามมีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศขึ้นในปีนี้ หวังช่วยบรรเทาการขาดแคลนพลังงานของประเทศ และล่าสุดประธานาธิบดีโอมาบาได้อนุมัติข้อตกลงด้านพลังงานนิวเคลียร์กับ เวียดนาม ที่จะช่วยให้สหรัฐฯ สามารถขายเทคโนโลยีด้านนิวเคลียร์ให้กับเวียดนามได้ประธานาธิบดี บารัค โอบามา อนุมัติข้อตกลงด้านนิวเคลียร์กับเวียดนามแล้ว นับเป็นความเคลื่อนไหวที่นำไปสู่การขายเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ให้แก่เวียดนาม หลังจากประธานาธิบดีโอบามา อนุมัติ สภาคองเกรสจะดำเนินการทบทวนร่างเป็นเวลา 90 วัน และหากไม่มีเสียงคัดค้านจากสมาชิกรัฐสภา กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ทันที ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ระบุว่า เวียดนามได้ให้คำมั่นว่าจะไม่ผลิตสารกัมมันตรังสีสำหรับอาวุธนิวเคลียร์ และลงนามในมาตรฐานการป้องกันการเผยแพร่นิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีโอบามา ได้กล่าวในบันทึกข้อความต่อกระทรวงพลังงานว่า ได้พิจารณาแล้วว่าข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยส่งเสริม และไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการป้องกัน และความปลอดภัย เวียดนามเห็นชอบที่จะไม่เสริมสมรรถนะ หรือแปรสภาพยูเรเนียม อันเป็นขั้นตอนสำคัญในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ในข้อตกลงที่ลงนามกันนอกรอบการประชุมเอเชียตะวันออกที่บรูไน เมื่อเดือน ต.ค. และเวียดนาม ยังได้ให้คำมั่นที่จะหาส่วนประกอบสำหรับวัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์แบบเปิด ในตลาดโลก ตลาดพลังงานนิวเคลียร์ของเวียดนาม ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก รองจากจีน คาดว่าจะเติบโตถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2573 เวียดนามเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนพลังงาน และพยายามที่จะใช้พลังงานนิวเคลียร์ช่วยบรรเทาปัญหา โดยรัฐบาลมีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศให้สามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2563 และหวังให้พลังงานนิวเคลียร์รองรับการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 10% ของความต้องการพลังงานทั้งหมดของประเทศ ในปี 2573 ปัจจุบัน เวียดนามมีข้อตกลงความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์กับรัสเซีย และแม้ว่ารัฐบาลมุ่งมั่นที่จะใช้พลังงานนิวเคลียร์ แต่ก็ยังมีผู้ไม่เห็นด้วยเนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับสถานที่ก่อสร้างโรง ไฟฟ้าที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว หรือสึนามิ.
ໂຮງງານຕັ້ງຢູ່ໃສ? ຢູ່ໃກ້ລາວບໍ່?