ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ‘ยูเครน’ระดมกองหนุนรับทัพ‘รัสเซีย’
Anonymous

Date:
‘ยูเครน’ระดมกองหนุนรับทัพ‘รัสเซีย’
Permalink   
 


‘ยูเครน’ระดมกองหนุนรับทัพ‘รัสเซีย’

557000002493001.JPEG

ยูเครนออกคำสั่งวันอาทิตย์ (2 มี.ค.) ระดมกำลังทหารกองหนุนทั่วประเทศเตรียมพร้อม หลังประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ประกาศส่งกองทัพเข้าสู่แหลมไครเมีย เพื่อปกป้องชาวรัสเซียในยูเครน โดยไม่ฟังเสียงทัดทานกระทั่งคำวิจารณ์ตรงไปตรงมาจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ขณะที่ฝ่ายตะวันตกระดมสมองหาทางหยุดยั้งสถานการณ์ที่ถือว่า เป็นการเผชิญหน้าครั้งใหญ่ที่สุดกับหมีขาวนับตั้งแต่ยุคสงครามเย็นสิ้นสุดลง
       
        ความขัดแย้งที่อาจกลายเป็นวิกฤตความสัมพันธ์อย่างเลวร้ายที่สุดในยุคหลัง สงครามเย็น ปะทุลุกลามขึ้นมาเมื่อกองกำลังอาวุธสนับสนุนรัสเซียได้เข้าควบคุมอาคาร รัฐบาลและสนามบินหลายแห่งในเขตปกครองตนเองไครเมีย ของยูเครน ต่อมาในวันเสาร์ (1 ) วุฒิสภาแดนหมีขาวยังอนุมัติให้ส่งกองทหารรัสเซียเข้าสู่ยูเครน
       
        ประธานาธิบดีปูติน แถลงเมื่อวันเสาร์ว่า ตนมีความรับผิดชอบต้องดูแลความปลอดภัยของชาวรัสเซียตลอดจนผลประโยชน์ของรัส เซียในไครเมีย รวมทั้งดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน ทั้งนี้แหลมไครเมียตกอยู่ในความปกครองของรัสเซียมายาวนาน อีกทั้งเป็นที่ตั้งของกองทัพเรือภาคทะเลดำของแดนหมีขาวมาถึงราว 250 ปี ครั้นเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย ไครเมียตกเป็นของยูเครน โดยมีการทำข้อตกลงให้เช่าเพื่อให้รัสเซียตั้งฐานทัพเรือที่เมืองเซวาสโตโปล ต่อไปได้ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครนก็เป็นพื้นที่ซึ่งผู้มีพูดภาษารัสเซีย พำนักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและมีความสัมพันธ์กับมอสโกมายาวนาน และไม่พอใจรัฐบาลรักษาการณ์ในเคียฟที่สนับสนุนสหภาพยุโรป (อียู)
       
        ทว่า อาร์เซนีย์ ยัตเซนยุค นายกรัฐมนตรีรักษาการของยูเครน กล่าวว่าการกระทำของรัสเซียอาจเป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม และจุดสิ้นสุดของสัมพันธภาพระหว่างกัน ทั้งนี้รัฐบาลใหม่ยูเครนได้สั่งกองทัพของตนเตรียมพร้อมเต็มที่ตั้งแต่วัน เสาร์ เป็นการตอบโต้ความเคลื่อนไหวของมอสโกที่ถือเป็นการบุกรุกประเทศเพื่อนบ้าน ครั้งแรก นับแต่เกิดการเผชิญหน้ากันช่วงสั้นๆ กับจอร์เจียเมื่อปี 2008
       
        อันดรีย์ ปารูบีย์ ประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติของยูเครนปราศรัยทางทีวีว่า ได้สั่งให้กระทรวงกลาโหมเรียกระดมกำลังกองหนุนทั้งหมด เพื่อรับประกันความมั่นคงและบูรณาภาพแห่งดินแดน หลังจากก่อนหน้านั้น รัสเซียได้ส่งยานยนต์หุ้มเกราะ 30 คัน และทหาร 6,000 นายเข้าสู่ไครเมียเพื่อช่วยกลุ่มนักรบที่สนับสนุนเครมลินแข็งข้อต่อรัฐบาลใน เคียฟ
       
        นอกจากนี้ อันดรีย์ เดสชีสยา รัฐมนตรีต่างประเทศของยูเครนยังเรียกร้องให้องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) พิจารณาทางเลือกทั้งหมด เพื่อปกป้องบูรณาภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของยูเครน

      ปรากฏว่านาโตตอบสนองข้อเรียกร้องดังกล่าว ด้วยการเรียกประชุมฉุกเฉินเอกอัครราชทูต 28 ชาติสมาชิกในวันอาทิตย์ โดยอเมริกาเสนอส่งคณะผู้ตรวจสอบไปยังยูเครนภายใต้การนำของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) หรือองค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป ซึ่งล้วนเป็นองค์กรที่มอสโกมีอำนาจวีโตยับยั้งมติต่างๆ
       
       ขณะที่วิลเลียม เฮก รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ มีกำหนดเยือนเคียฟในวันเดียวกัน เพื่อหารือกับประธานาธิบดีรักษาการ โอเลคซานเดอร์ เทอร์ชินอฟ
       



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

        การตัดสินใจของมอสโกในส่งทหารเข้าสู่ยูเครน ดูเหมือนมีขึ้นหลังจากพันธมิตรสำคัญของตนคือ วิกเตอร์ ยานูโควิช กลายเป็นผู้พ่ายแพ้ในวิกฤตการเมืองที่ยืดเยื้อนาน 3 เดือนและถูกปลดจากตำแหน่งประธานาธิบดียูเครน แถมคณะผู้นำใหม่ในเคียฟยังประกาศเจตนารมณ์ขอเป็นสมาชิกอียู ดับฝันของปูตินในการฟื้นตำแหน่งมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการทหารของรัสเซีย
       
        ทว่า การตัดสินใจดังกล่าว กำลังทำให้รัสเซียเหินห่างแปลกแยกกับฝ่ายตะวันตกมากที่สุด นับตั้งแต่ที่ปูตินครองอำนาจในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตะวันตกคนหนึ่งระบุว่า นี่อาจเป็นสถานการณ์อันตรายที่สุดในยุโรปนับจากที่โซเวียตบุกเชคโกสโลวาเกีย ในปี 1968 และว่า ความท้าทายเฉพาะหน้าคือ การหยุดยั้งไม่ให้รัสเซียเข้าครอบครองดินแดนทางตะวันออกของยูเครน
       
        ระหว่างการพูดคุยทางโทรศัพท์กับปูตินนาน 90 นาทีเมื่อวันเสาร์ (1) ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ วิจารณ์ตรงไปตรงมาว่า การส่งทหารเข้าสู่ยูเครนของเครมลินถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและ ละเมิดอธิปไตยของยูเครน และทำให้ภาพของรัสเซียติดลบในสายตานานาชาติ
       
        โอบามายังแนะนำให้ปูตินแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจาโดยตรงกับรัฐบาลรักษาการของ ยูเครน รวมทั้งส่งคณะผู้สังเกตการณ์นานาชาติเข้าไปตรวจสอบสถานการณ์ความเป็นอยู่ของ ชาวรัสเซียในยูเครน
       
        ทว่า ผู้นำเครมลินโต้กลับโดยย้ำภัยคุกคามจากกลุ่มชาตินิยมหัวรุนแรงในยูเครนที่มี ต่อชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของชาวรัสเซียในประเทศดังกล่าว
       
        ขณะเดียวกัน จอห์น เคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้จัดประชุมทางโทรศัพท์กับรัฐมนตรีต่างประเทศ 6 ชาติจากยุโรป แคนาดา และญี่ปุ่น เพื่อหารือมาตรการต่อไปสำหรับวิกฤตยูเครน
       
        ทางด้านชัค เฮเกล รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เตือนรัสเซียว่า กำลังคุกคามสันติภาพและความมั่นคงของยุโรปและนานาชาติ
       
       นอกจากนั้น ในระหว่างการประชุมฉุกเฉินคณะมนตรีความมั่นคงแห่งยูเอ็นตามที่ยูเครนร้องขอ วอชิงตันยังเรียกร้องให้มอสโกถอนกำลังออกจากไครเมีย ทว่าที่ประชุมไม่สามารถออกมติใดๆ ได้ โดยที่รัสเซียยืนกรานจะใช้อำนาจยับยั้ง หากมีการเสนอญัตติที่ขัดกับผลประโยชน์ของฝ่ายตน
       
        ระดับความบาดหมางระหว่างรัสเซียกับตะวันตกได้รับการตอกย้ำเมื่อเจ้าหน้าที่ อาวุโสของอเมริกาเปิดเผยว่า โอบามาและผู้นำยุโรปอีกหลายคนอาจงดร่วมประชุมสุดยอดจี8 ที่รัสเซียเป็นเจ้าภาพในเดือนมิถุนายนนี้ และนายกรัฐมนตรีสตีเฟน ฮาร์เปอร์แห่งแคนาดา ออกมาขานรับว่า อาจคว่ำบาตรซัมมิตดังกล่าวเช่นเดียวกัน และล่าสุดได้เรียกเอกอัครราชทูตประจำมอสโกกลับประเทศแล้ว
       
        อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนตะวันตก กระทั่งวอชิงตันมีทางเลือกจำกัดในการกดดันปูติน โดยนอกเหนือจากการงดเข้าร่วมซัมมิตจี8 แล้ว อเมริกาอาจตัดความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าที่มอสโกต้องการ หรือใช้มาตรการลงโทษกับสถาบันการเงินหรือเจ้าหน้าที่สำคัญของรัสเซีย ทว่า ลึกๆ นั้น โอบามาต้องการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าแบบยุคสงครามเย็น อีกทั้งยังต้องการการสนับสนุนจากเครมลินในประเด็นนโยบายต่างประเทศ อาทิ การเจรจายุติโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน และการทำลายอาวุธเคมีของซีเรีย เป็นต้น



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

557000002503401.JPEG

ที่ปรึกษาปธน.เตือน “ปูติน” อย่าทำเกินเหตุ-ชี้ไม่มีเหตุอันควรส่งทหารบุก “ไครเมีย”

  ถ้อยแถลงจากคณะที่ปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชน 27 คน สะท้อนให้เห็นความกังวลในหมู่ชาวรัสเซียหัวเสรีที่หวั่นเกรงผลกระทบจากความ ก้าวร้าวที่มอสโกกำลังแสดงต่อเพื่อนบ้าน
       
       เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา(1) รัฐสภารัสเซียได้ลงมติรับรองคำสั่งของประธานาธิบดี ปูติน ที่ให้ส่งทหารเข้าไปยังเขตปกครองตนเองไครเมีย โดยอ้างว่าจำเป็นต้องปกป้องสวัสดิภาพของพลเมืองรัสเซียที่เสี่ยงต่อการถูก โจมตีโดยกลุ่มติดอาวุธที่สนับสนุนรัฐบาลใหม่ในกรุงเคียฟ หลังจากที่สภายูเครนลงมติถอดถอนประธานาธิบดี วิกเตอร์ ยานูโควิช ผู้มีจุดยืนเอียงข้างรัสเซีย
       
       สภาที่ปรึกษาประธานาธิบดีด้านการพัฒนาสังคมพลเรือนและสิทธิมนุษยชนชี้ว่า ความกังวลของรัฐบาลนั้น “เกินกว่าเหตุ”
       
       “จริงอยู่ว่าสถานการณ์ในไครเมียเวลานี้เข้าข่ายไร้ขื่อแป มีการใช้ความรุนแรงโดยพวกที่เป็นตัวแทนกลุ่มการเมืองต่างๆ... แต่การส่งทหารจากภายนอกเข้าไปแทรกแซง ซึ่งถือว่าละเมิดอธิปไตยของเพื่อนบ้านและขัดต่อพันธกรณีที่รัสเซียมีต่อนานา ชาติ ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของสถานการณ์ในขณะนี้”
       
       สภาที่ปรึกษาระบุด้วยว่า แม้ ส.ส.รัสเซีย จะอ้างถึงยอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุรุนแรงบนคาบสมุทรไครเมียว่าเป็น เหตุอันควรให้รัฐบาลส่งทหารเข้าแทรกแซง แต่การเจ็บตายทั้งหมดไม่ได้เกิดขึ้นในช่วง 2 วันมานี้ และสิ่งที่รัฐบาลทำอาจผลักดันให้รัสเซียและยูเครนต้อง “เข้าสู่ภาวะสงคราม”
       
       “การใช้กำลังทหารจะนำมาซึ่งความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงยิ่งกว่าเดิม”
       
       ที่ผ่านมา ปูติน มักไม่ค่อยใส่ใจคำเตือนของสภาที่ปรึกษาชุดนี้ ซึ่งนักวิจารณ์หลายคนมองว่า เป็นเพียงคณะทำงานที่ตั้งขึ้นเป็น “ฉากบังหน้า” ว่ามอสโกก็ให้ความสำคัญต่อหลักประชาธิปไตยและยอมรับการวิจารณ์ถกเถียงเรื่อง สิทธิมนุษยชน
       
       ขณะที่เจ้าหน้าที่และ ส.ส.รัสเซียย้ำถึงความจำเป็นในการส่งกองกำลังเข้าควบคุมไครเมีย โดยอ้างถึงพวกชาตินิยมหัวรุนแรงในยูเครนที่มีตะวันตกหนุนหลังอยู่ แต่ก็มีสัญญาณบอกว่าพลเมืองหมีขาวบางส่วนเริ่มหวั่นเกรงผลกระทบจากการทำ สงครามกับยูเครน ซึ่ง ปูติน เคยเรียกว่าเป็น “บ้านพี่เมืองน้อง” ของรัสเซีย
       
       “ผมมั่นใจว่าไม่มีชาวรัสเซียคนใดต้องการให้เกิดสงครามขึ้น” กริกอรี คาราซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับรายการทอล์กโชว์ชื่อดัง
       
       “เราไม่เห็นด้วยกับการใช้คำๆนี้ หารือความสัมพันธ์กับยูเครน ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดกับเรา”
       
       อย่างไรก็ดี คาราซิน ย้ำคำเตือนของ ปูติน ว่ามอสโกพร้อมที่จะปกป้องพลเมืองของตน รวมถึงผู้ที่ใช้ภาษารัสเซียในยูเครน



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ผู้นำ 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำจวก “รัสเซีย” ละเมิดอธิปไตยยูเครน-ไม่คู่ควรอยู่ในกลุ่ม G8

557000002507601.JPEG

       เอเอฟพี – ผู้นำ 7 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกออกถ้อยแถลงร่วมประณามรัสเซียซึ่งเป็นภาคีใน กลุ่ม G8 เมื่อวานนี้(2) หลังประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศส่งทหารรุกรานคาบสมุทรไครเมีย ซึ่งถือว่าละเมิดอธิปไตยของยูเครนอย่าง “ชัดแจ้ง”
       
       ถ้อยแถลงร่วมจากผู้นำอังกฤษ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ซึ่งเรียกกลุ่มของตนว่า G7 ระบุว่า การกระทำของรัสเซียครั้งนี้ไม่คู่ควรต่อการเป็นสมาชิกกลุ่มชาติอุตสาหกรรม ชั้นนำของโลก ซึ่งได้กลายเป็นกลุ่ม G8 หลังจากที่รัสเซียเข้าร่วมในปี 1997
       
       ทั้ง 7 ชาติยังประกาศจะไม่ร่วมเจรจาขั้นเตรียมการ (preparatory talks) ซึ่งจะปูทางไปสู่การเปิดประชุมซัมมิต G8 ที่เมืองโซชิของรัสเซียในเดือนมิถุนายนนี้
       
       ถ้อยแถลงจากผู้นำ 7 ประเทศ รวมถึงประธานสภายุโรปและประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ถูกเผยแพร่ผ่านทำเนียบขาววานนี้(2) โดยมีเนื้อหา “ประณามการกระทำของสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งเป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครนโดยชัดแจ้ง และยังฝ่าฝืนพันธกรณีของรัสเซียภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติ และข้อตกลงพื้นฐานที่รัสเซียทำร่วมกับยูเครนในปี 1997”
       
       “เราขอเรียกร้องให้รัสเซียแก้ไขปัญหาความมั่นคงและสิทธิมนุษยชนที่มี กับยูเครนผ่านการเจรจาโดยตรง และ/หรือผ่านทางผู้สังเกตการณ์นานาชาติ หรือคนกลางที่ได้รับการแต่งตั้งโดยองค์การสหประชาชาติหรือองค์การว่าด้วย ความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE)”
       
       ผู้นำทั้ง 7 ชาติยังขอให้ทุกฝ่าย “ใช้ความอดทนอดกลั้นและความรับผิดชอบอย่างสูงสุด เพื่อบรรเทาความตึงเครียดของสถานการณ์” พร้อมชี้ว่าการที่รัสเซียส่งทหารเข้าไปในคาบสมุทรไครเมียซึ่งเป็นเขตปกครอง ตนเองของยูเครน ถือว่าขัดต่อหลักการพื้นฐานที่กลุ่ม G7 และ G8 ยึดถือ
       
       “ด้วยเหตุนี้ เราจึงตัดสินใจที่จะไม่เข้าร่วมทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมประชุม G8 ที่เมืองโซชิของรัสเซียในเดือนมิถุนายนนี้ จนกว่าสถานการณ์จะผ่อนคลาย และการเจรจาระหว่างชาติ G8 สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีนัยยะสำคัญ”
       
       ผู้นำ 7 ชาติยังพร้อมที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจและการเมืองยูเครนให้กลับมามีเสถียรภาพ อีกครั้ง โดยระบุว่า “เราทั้ง 7 ชาติมีจุดยืนเป็นหนึ่งเดียวที่จะสนับสนุนอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนยูเครน ตลอดจนสิทธิของยูเครนในการกำหนดอนาคตของตนเอง”
       
       ผู้นำกลุ่ม G7 ยังสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลชั่วคราวยูเครนที่จะเจรจากับกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อขอรับแพ็กเกจช่วยเหลือมาพยุงเศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่

557000002507602.JPEG557000002507603.JPEG



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard