นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค แห่งมาเลเซีย สร้างความฮือฮาครั้งใหญ่ในวันพฤหัสบดี (10) หลังออกมาประกาศโจ่งแจ้งว่า "อาเซียน" เต็มไปด้วยความแตกต่างและไม่เท่าเทียม พร้อมเรียกร้องให้บรรดาชาติสมาชิกที่ร่ำรวยต้องจ่ายเงินรายปีให้กับสำนักเลขาธิการอาเซียน ในสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่จนกว่า
โดย นาจิบ ราซัค ระบุว่า แม้ที่ผ่านมาสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) จะมีความพยายามหลายต่อหลายครั้ง เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพนับตั้งแต่การถือกำเนิดของ “ปฏิญญากรุงเทพฯ” ที่นำไปสู่การก่อตั้งอาเซียนเมื่อเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 1967 แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้ว อาเซียนคือที่รวมของสมาชิกซึ่งเต็มไปด้วยความแตกต่างและความไม่เท่าเทียม
“เราต้องยอมรับว่าอาเซียนนั้น เต็มไปด้วยความแตกต่างและไม่เท่าเทียมมาตั้งแต่ต้น แล้วเพราะเหตุใดเล่าสมาชิกทุกประเทศจึงยังคงต้องจ่ายเงินค่าบำรุงองค์กรราย ปีในอัตราที่เท่าเทียมกัน ประเทศสมาชิกรายใดที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าก็ควรต้องแสดงออกด้วยความ สมัครใจในการเป็นผู้รับภาระทางการเงินในอัตราที่สูงกว่าสมาชิกประเทศอื่นๆ” นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวในระหว่างเข้าร่วมการประชุมนักวิชาการและข้าราชการมาเลเซีย ผู้มีส่วนกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับอาเซียน
อย่างไรก็ตาม ผู้นำมาเลเซียซึ่งจะก้าวขึ้นรับตำแหน่ง “ประธานอาเซียน” ในปีหน้า ปฏิเสธที่จะเปิดเผยว่า “สมาชิกที่รวยกว่า” ในกลุ่มอาเซียนนั้นหมายถึงประเทศใด แม้จะมีการคาดการณ์จากสื่อในแดนเสือเหลืองว่าผู้นำมาเลเซียต้องการสื่อถึงประเทศสิงคโปร์ ไทย และบรูไน
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน สมาชิกทั้ง 10 ประเทศของอาเซียนจะ ต้องจ่ายเงินค่าบำรุงรายปีให้กับสำนักเลขาธิการใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่กรุง จาการ์ตาของอินโดนีเซีย ประเทศละ 1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 54.8 ล้านบาท) ต่อปี โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกในกลุ่ม นั่นหมายความว่าสิงคโปร์ซึ่งได้ชื่อว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจดีที่สุดในอาเซียนต้องจ่ายค่าบำรุงรายปีในสัดส่วนที่เท่ากับพม่า ลาวและกัมพูชา ที่มาฐานะทางเศรษฐกิจอยู่รั้งท้าย
ล่าสุดมีรายงานว่า นายกรัฐมนตรีมาเลเซียหวังจะใช้โอกาสที่ประเทศของตนขึ้นเป็นประธานอาเซียนใน ปีหน้า ผลักดันให้มีการแก้ไขกฎระเบียบทีเกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินค่าบำรุงรายปีของ สมาชิกเสียใหม่ เพื่อให้ประเทศสมาชิกที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีต้องจ่ายเงินในอัตราที่สูงกว่า สมาชิกอื่นๆ
ຄຳເຫັນນີ້ດີສຳລັບປະເທດທີ່ທຸກຍາກ ແຕ່ປະເທດທີ່ຮັ່ງມີຈະເຫັນດີນຳຫຼືບໍ່?
ການເສັຍຄ່າທຳນຽມຄວນອີງໃສ່ຊັບສິນລາຍໄດ້ຂອງພວກຜູ້ນຳພັກບໍ່ຄວນລາຍໄດ້ເອົາຫມົດປະເທດມາອ້າງອິງ...ເພາະເຂົ້າປະຊຸມຍາມໃດກໍມີແຕ່ພວກຜູ້ນຳພັກແຕ່ລະປະເທດເທົ່ານັ້ນປຊຊ ບໍ່ໄດ້ມີຫຍັງກ່ຽວຂ້ອງ.ປະເທດລາວອາດມີລາຍໄດ້ນ້ອຍແຕ່ພວກຜູ້ນຳ ມີຊັບສິນຫລາຍ ຈະຕ້ອງຈ່າຍຄ່າບຳລຸງໃຫ້ຫລາຍຕາມສັດສ່ວນ....ແມ່ນບໍ່ ? ສະນັ້ນ ຄະນະຜູ້ນຳຂອງແຕ່ລະປະເທດໃນກຸ່ມອາຊຽນຕ້ອງໄດ້ລາຍງານຊັບສິນສ່ວນຕົວ ຖ້າຢາກຈະເປັນສະມາຊິກຢູ່ຕໍ່ໄປ.