จจุ บัน สปป.ลาวกำลังเดินหน้ายุทธศาสตร์ "แบตเตอรี่แห่งเอเชีย" เพื่อผลิตไฟฟ้าส่งขายประเทศเพื่อนบ้าน มีเขื่อนที่สามารถผลิตไฟฟ้าให้ผู้ซื้อรายใหญ่อย่างไทย และจีน ได้แล้วนับสิบเขื่อน ไม่ ว่าจะเป็น เขื่อนน้ำงึม เขื่อนน้ำงึม 2 เขื่อนน้ำซอง เขื่อนเทินหินบูน เขื่อนน้ำหลีก ขณะที่อีกหลายสิบโครงการทั่วประเทศกำลังก่อสร้าง และอยู่ระหว่างการศึกษาเมื่อ ช่วงปลายปี 2556 รัฐบาลลาวส่งเอกสารในระดับ "แจ้งให้ทราบ" ให้ประเทศสมาชิกในลุ่มน้ำแม่น้ำโขง ประกอบด้วย กัมพูชา เวียดนาม และไทย ผ่านสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission : MRC) เพื่อแสดงการตัดสินใจดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง ในแขวงจำปาสัก ภาคใต้ของลาวจึง เป็นอีกโครงการที่ได้รับแรงต้านจากภาคประชาสังคมในเวียดนาม กัมพูชา และไทย เพราะเขื่อนนี้จะสร้างขึ้นที่ "ฮูสะโฮง" ช่องทางน้ำที่สำคัญต่อการอพยพของปลาในแม่น้ำโขงตอนล่าง และเป็นหนึ่งในหลายช่องทางน้ำที่ถักทอคู่ขนานกันภายใน "สี่พันดอน" ถือเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศซับซ้อน และอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียล่า สุด ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับโครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง (TERRA) มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ องค์กรแม่น้ำนานาชาติ เครือข่ายจุฬานานาชาติ และโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย จัดการประชุมสาธารณะระดับภูมิภาค ในหัวข้อ "เขื่อนดอนสะโฮง : ความเห็นของกัมพูชา ไทย และเวียดนาม" เพื่อ รับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาสังคมในประเทศลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะกัมพูชา และเวียดนาม ที่อยู่ปลายน้ำ และอาจได้รับผลกระทบข้ามพรมแดนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้มี ผู้ร่วมเสวนา อาทิ นายชัยยุทธ สุขศรี ที่ปรึกษาคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย นายเชง เพ็ญ รักษาการ ผอ.กองการประมงน้ำจืด กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงกัมพูชา น.ส.ลัมที ทู ซู เครือข่ายแม่น้ำเวียดนาม นายเหงียน ฮอง ลอง ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและการพัฒนา เวียดนาม
น.ส.อ้อม บุญ ทิพย์สุนา สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มแม่น้ำโขง 7 จังหวัด นายยุก เซงลอง องค์กรทำงานเพื่อชาวประมงกัมพูชา นายอิทธิพล คำสุข เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัด นางสมปอง เวียงจันทร์ เครือข่ายชาวบ้านปากมูน จ.อุบลราชธานี และ นายเมียด เมียน เครือข่ายแม่น้ำเซซาน เซกอง สเรปอก กัมพูชา เป็นต้น
เริ่ม ต้นที่ชัยยุทธระบุว่า เอกสารของลาวมองว่าดอนสะโฮงอยู่บนแม่น้ำสายหลัก แต่แม่น้ำโขงบนสี่พันดอนมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากแตกออกเป็นหลายสาย เพราะมีการยุบและยกตัวของเปลือกโลก ฮูสะโฮงจึงอยู่บนแม่น้ำสาขา ลาวจึงสามารถดำเนินการในระดับแจ้งให้ทราบต่อประเทศสมาชิก ไม่ ใช่การปรึกษาหารือกับประเทศสมาชิก ตามข้อปฏิบัติภายใต้ข้อตกลงแม่น้ำโขง ปี 2538 (Mekong Agreement 1995) เมื่อโครงการใดๆ สร้างขึ้นบนแม่น้ำโขงสายหลัก และจะส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้าน ชัย ยุทธมองว่า การตีความเรื่องฮูสะโฮงในเชิงเทคนิคยังมีข้อถกเถียงอยู่ เพราะหลายฝ่ายมองว่าการสร้างเขื่อนขึ้นที่ฮูสะโฮง อาจส่งผลกระทบต่อการอพยพของปลา โดย เฉพาะความคลุม เครือของข้อเสนอจากทางลาว ที่จะสร้างทางปลาอพยพขึ้นที่ฮูซ้างเผือก และฮูสะดำ แทนฮูสะโฮงที่จะถูกเขื่อนปิดไป เพราะหากปลาไม่ขึ้นตามช่องทางน้ำที่ลาวทำขึ้น แล้วอพยพไปทางอื่น ก็จะไปติดที่คอนพะเพ็ง และหลี่ผีที่ชันมากขณะ ที่ นางสมปอง ชาวบ้านปากมูน ให้ข้อมูลว่าธรรมชาติของปลาจะอพยพตามโพรงหิน ซึ่งบริเวณฮูสะโฮงมีลักษณะคล้ายสระ มีแก่งหิน มีน้ำไหลผ่าน เป็นที่หลบของปลา ดัง นั้น หากสร้างเขื่อนขึ้นที่ ฮูสะโฮง ซึ่งเป็นทางปลาเดียว ก็จะส่งผลกระทบต่อคนหาปลาทั้งหมด และเชื่อว่าปลาจะไม่สามารถว่ายอพยพเข้าทางฮูซ้างเผือกได้ เพราะเป็นทางน้ำชัน หรือหากมีการระเบิดแก่งทำทางปลา น้ำที่จะไหลแรงเชี่ยวผิดจากปกติ ก็จะทำให้ปลาไม่เข้าฮูเช่นกันเช่น เดียวกับ นายอิทธิพล ที่สะท้อนปัญหาของชาวประมงริมแม่น้ำโขง ภายหลังการเกิดขึ้นของเขื่อนสัญชาติต่างๆ บนแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในจีนที่อยู่ต้นน้ำ ว่าพื้นที่เกษตรริมโขงได้รับผลกระทบจากความผันผวนของน้ำที่ขึ้นลงผิดปกติ ไม่เป็นไปตามฤดูกาลถือเป็น การละเมิดสิทธิข้ามพรมแดนในการมีชีวิตตามปกติ โดยที่ผู้ได้รับ ผลกระทบไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น
ส่วน น.ส.อ้อมบุญ อีกตัวแทนองค์กรของไทย สะท้อนว่าเมื่อเขื่อนในจีนระบายน้ำออกมาอย่างกะทันหัน ทำให้เครื่องมือหาปลาของชาวบ้านหายไปกับสายน้ำ และบางครั้งก็พาน้ำเสียมาโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ปลากระชังซีพีที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ตายทั้งหมด"หาก เขื่อนไซยะบูลีในลาวสร้างเสร็จ คนที่มีแพอยู่ที่ อ.เชียงคาน จ.เลย จะรับมือกับน้ำที่ผันผวน 3-5 เมตรต่อวันอย่างไร เพราะแค่เขื่อนจีนซึ่งห่างจากไทย 1,500 ก.ม. ยังทำให้เกิดผลกระทบขนาดนี้ เรา ต้องยอมรับว่าผลกระทบข้ามแดนมันมี" อ้อมบุญกล่าวด้าน เชง เพ็ญ จากกัมพูชา ร่วมให้ข้อมูลว่าขณะนี้การจับปลาในกัมพูชาเข้มข้นมากกว่า 3-4 ประเทศอื่นๆ ในแม่น้ำโขง จากการศึกษาเรื่องความมั่นคงทางอาหารบนแม่น้ำโขงในกัมพูชา ซึ่งใช้เวลากว่า 2 ปี พบว่าปลาและข้าวเป็นอาหารหลักของชาวกัมพูชา โดยคนกัมพูชาบริโภคปลาถึง 173 กรัมต่อคนต่อวัน คิดเป็น 40.3 กิโลกรัม ต่อคนต่อปี ด้วยเหตุที่กินปลามากขนาดนี้ ทำให้คนกัมพูชาได้รับโปรตีนจากปลาถึง 76 เปอร์เซ็นต์ เชง เพ็ญ เชื่อว่าเขื่อนดอนสะโฮง จะดึงน้ำไปมาก จนทำให้ทางปลาอพยพทั้งสองฮู ไม่เวิร์ก ขณะที่การศึกษาผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ไม่เสนอมาตรการใดที่จะแก้ปัญหานี้หากเขื่อนดอนสะโฮงสร้างแล้วเสร็จ คาดว่าอาจมีปลาอพยพกว่า 600,000 ตัน อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงของการอพยพยุ ก เซงลอง จากกัมพูชาอีกเช่นกัน เล่าด้วยว่า โตนเลสาบในกัมพูชา พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ปลา ขนาด ของโตนเลสาบในช่วงฤดูฝนจะมากกว่า 2,500 ตารางกิโลเมตร และมีความสำคัญโดยตรงกับชาวกัมพูชาในโตนเลสาบกว่า 1.5 ล้านคน และได้รับการประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ตั้งแต่ปี 2548ยุ ก เซงลอง กล่าวต่อว่าพื้นที่สร้างเขื่อนดอนสะโฮงยังอยู่ใกล้พรมแดนกัมพูชา ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของโลมาอิรวดี จดหมายที่ทางกัมพูชาทำถึงลาว จึงให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบต่อชุมชน และเศรษฐกิจต่อพื้นที่แม่น้ำโขงตอนล่าง ควบคุมกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ โดยเฉพาะเพื่อนบ้านผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียด้าน เมียด เมียน ร่วมยืนยันว่าข้อมูลทางวิทยา ศาสตร์ที่บ่งชี้ชัดเจนว่าเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลัก จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม ประชาชนจำนวนมากในที่ต้องพึ่งพาแม่น้ำโขง โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่ในโตนเลสาบ ที่พึ่งพาการจับปลาอย่างเข้มข้น เพื่อยังชีพ โดยที่คนเหล่านี้จะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ จากเรื่องไฟฟ้าที่เขื่อนดอนสะโฮงจะผลิตเลย"เรา กล้าพูดว่าเราไม่ต้องการไฟฟ้า ไฟฟ้าไม่ก่อประโยชน์ใดๆ ต่อชุมชน ชาวประมง เครือข่ายแม่น้ำกัมพูชาไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อน เพราะเราไม่ได้รับ ประโยชน์ใดๆ จากการสร้างเขื่อนเหล่านี้" ตัวแทนองค์กรจากกัมพูชากล่าวขณะ ที่ ลัมที ทู ซู กล่าวว่าเวียดนามมีประชาชนอาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงกว่า 24 ล้านคน ปัจจุบันการเกษตรของเวียดนามกำลังมีบทบาทในการผลิตอาหารโลก กังวลว่าการสร้างเขื่อนดอนสะโฮงกั้นแม่น้ำโขง จะส่งผลกระทบต่อปากแม่น้ำเวียดนาม และเศรษฐกิจเวียดนาม"เรา ไม่ต้องการเขื่อน ขอให้รัฐบาลเวียดนาม และรัฐบาลประเทศแม่น้ำโขงพูดกับรัฐบาลลาวและเอ็มอาร์ซีให้ดังขึ้น เพื่อให้ปฏิบัติตามข้อตกลงแม่น้ำโขงปี 2538 และเรียกร้องเพื่อประชาชนในท้องถิ่น ให้คนในพื้นที่มีส่วนในการตัดสินใจในโครงการระดับชาติ และให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมมากขึ้นด้วย" ข้อเรียกร้ององค์กรเวียดนาม แม้ ว่าเสียงเหล่านี้อาจไม่ดังพอจะสื่อสารไปยังประเทศเจ้าของโครงการ แต่สิ่งที่รัฐบาลลาวควรตระหนักอย่างยิ่ง คือ ผลกระทบข้ามพรมแดนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้คนในกัมพูชาและเวียดนาม ที่พึ่งพาชีวิตอยู่กับสายน้ำแห่งนี้ และควรจะมีสิทธิ์ในการจัดการแม่น้ำโขงอย่างเท่าเทียมเช่นกัน