ชาว ฮ่องกงเกือบล้านคน ออกไปใช้สิทธิ์แสดงพลังในการลงประชามติอย่างไม่เป็นทางการ ที่จัดขึ้นทั่วทั้งเกาะเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (22 มิ.ย.) เพื่อปฏิรูปประชาธิปไตย ด้านปักกิ่งเดือด ประกาศเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่ “ผิดกฎหมาย”
ผู้ ลงคะแนนเสียงยืนอยู่นอกสถานีลงคะแนนเสียงในฮ่องกงเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. หลังฮ่องกงเปิด
ประชามติอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันศุกร์(20 มิ.ย.) ว่าด้วยการปฏิรูปประชาธิปไตย ผู้จัดคือ กลุ่มรณรงค์ Occupy Central with Love and Peace ขณะที่ทางการปักกิ่งเตือนการลงคะแนนเสียงฯดังกล่าวผิดกฎหมาย (ภาพ เอเอฟพี)
กลุ่มศิลปินกัดสมุดปกขาวว่าด้วยหลัก “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ฉบับถ่ายเอกสาร ที่ทางการปักกิ่งเผยแพร่ออกมาก่อนหน้านี้ เพื่อสื่อสัญญะให้เห็นว่า ปักกิ่งไม่รับฟังเสียงประชาชน รวมทั้งเรียกร้องให้ประชาชนออกมาลงคะแนนทำประชามติแบบไม่เป็นทางการในวันที่ 21 มิ.ย. ทั้งนี้ มีประชาชนร่วมลงคะแนนในระบบออนไลน์มากกว่า 200,000 คน หลังเปิดการลงคะแนนไปไม่กี่ชั่วโมง เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ที่ผ่านมา ทำให้ทางการปักกิ่งเดือดดาลเป็นอย่างมาก (ภาพ: รอยเตอร์ส)
แรงกดดันทางการเมืองระหว่างฮ่องกงกับ รัฐบาลกลางแผ่นดินใหญ่ ขยายตัวขึ้น หลังอดีตอาณานิคมอังกฤษวิตกกังวลกับระบบการเลือกตั้งของตนเองในอนาคต ชาวฮ่องกงต้องการสิทธิในการเลือกหัวหน้าเขตบริหารพิเศษฯเอง เพราะที่ผ่านมาพ่อเมืองฮ่องกงมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมโดยมีคณะกรรมการเลือก ตั้งฯ 1,200 คนเป็นผู้ตัดสินฯ ทั้งนี้สมาชิกในคณะกรรมฯนี้ ส่วนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลปักกิิ่ง ในขณะที่ผู้นำในปักกิ่งให้สัญญาว่าจะยอมให้มีการเลือกตั้งโดยตรงใน การเลือกตั้งหัวหน้าคณะผู้บริหารเขตปกครองพิเศษฮ่องกงครั้งหน้า ซึ่งจะจัดขึ้นในปี 2560 แต่ไม่ยอมให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เลือกผู้สมัครรับการเลือกตั้ง
ด้วยเหตุนี้ โครงการรณรงค์ทางสังคม “อ็อกคิวพาย เซ็นทรัล” (Occupy Central with Love and Peace /OCLP) ที่ ฝักใฝ่ระบอบประชาธิปไตย และจัดตั้งขึ้นโดยนักกิจกรรมท้องถิ่น จึงร่วมกันจัดการทำประชามติขึ้น เสนอทางเลือกสามทางสำหรับการเลือกตั้งหัวหน้าคณะผู้บริหารเขตปกครองพิเศษ ฮ่องกงในปี 2560 โดยแต่ละทางเลือก ไฟเขียวให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เลือกผู้สมัครรับการเลือกตั้งเอง การทำประชามติเกิดขึ้นตั้งแต่วันศุกร์(20 มิ.ย.) ผ่านทางระบบออนไลน์ จากนั้นก็มีการจัดการลงคะแนนตามคูหาเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (22 มิ.ย.) โดยกำหนดจุดลงคะแนนไว้ทั่วเมือง 15 จุด โดยฝ่ายผู้ดำเนินการจัดทำประชามติก็ไม่หวั่นเกรงต่อกระแสต้านจากรัฐบาล ปักกิ่ง โดยประกาศเดินหน้าจัดการทำประชามติ ไปจนถึงวันที่ 29 มิ.ย. ที่จะถึงนี้ “ฉันแค่ทำตามสำนึก และเรื่องนี้ก็เพื่อคนรุ่นหลังของเราเช่นกัน เพราะฉันใช้คอมพิวเตอร์ไม่ค่อยเป็น ฉันก็เลยมาที่หน่วยลงคะแนนเสียงที่คูหา” ครูเกษียณ วัย 68 ปี กล่าวกับเอเอฟพี ณ หน่วยลงคะแนนในสหภาพครู ในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (22 มิ.ย.) ชาวฮ่องกงหลายพันคน ต่างหลั่งไหลไปลงคะแนนเสียงทำประชามติ ตามหน่วยลงคะแนนเสียง ทั้ง 15 จุด ที่จัดตั้งไว้ทั่วเมือง ท่ามกลางสายฝนโปรยปราย “ฉันดีใจที่ได้ออกเสียงกำหนดระบบการเลือกตั้งในอนาคต ฉันคิดว่ามันทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้” ผู้ลงคะแนนวัย 18 ปี นามว่า เล่า อี้-หลุง กล่าว “ผู้คนต่อแถวเพื่อลงคะแนนเสียง มันทำให้เห็นว่าคนฮ่องกงมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในประชาธิปไตยที่แท้จริง” เบนนี ไต้ หนึ่งในผู้ก่อตั้งขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม “อ็อกคิวพาย เซ็นทรัล” (Occupy Central) ผู้จัดการทำประชามติ กล่าว
สื่อรายงานข่าวในวานนี้(23 มิ.ย.) ชาวฮ่่องกงราว 647,000 คน ได้ลงคะแนนเสียงสนับสนุนผ่านระบบออนไลน์และที่คูหาลงคะแนนเสียงตามเขตต่างๆ ถือเป็นตัวแทนของประชาชน 3.47 ล้านคน ที่ลงทะเบียนออกเสียงเลือกตั้งในปี 2555 และแม้การทำประชามติแบบไม่เป็นทางการนี้ จะไม่มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด แต่นักเคลื่อนไหวก็คาดหวังว่า ผลที่ได้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการปฏิรูปประชาธิปไตยในฮ่องกง “หาก รัฐบาลละเลยเสียงเรียกร้องของ ประชาชน ก็อาจต้องการปฏิบัติการที่แรงกว่านี้ ผมหวังว่า รัฐบาลจะไม่ผลักให้คนฮ่องกงไปถึงจุดนั้น” ไต้ กล่าวกับผู้สื่อข่าว อย่างไรก็ตาม ไต้ระบุว่า เว็ปไซต์ ป็อบโหวต (https://www.popvote.hk/) ซึ่งสร้างขึ้นโดยมหาวิทยาลัยฮ่องกงและมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคฮ่องกง ถูกโจมตีอย่างหนักเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะเป็นฝีมือของรัฐบาลปักกิ่งเท่านั้นที่ทำได้ ในขณะที่ปักกิ่งและเจ้าหน้าที่ฮ่องกงระบุ การทำประชามติดังกล่าว “ผิดกฎหมาย” คณะมุขมนตรีของจีน แถลงเมื่อวันศุกร์ (20 มิ.ย.) ระบุ การทำประชามติใดๆ ในเรื่องวิธีการเลือกตั้งของหัวหน้าคณะบริหารฮ่องกง มิได้วางอยู่บนพื้นฐานรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึง “ผิดกฎหมายและใช้การไม่ได้” ซินหวา สื่อทางการจีน รายงาน ด้าน ริมสกี้ หยวน (Rimsky Yeun) รัฐมนตรียุติธรรมของเกาะฮ่องกง ระบุ การลงคะแนนเสียง “ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่เป็นได้แค่เพียง ‘การทำประชามติ’” หยุน กล่าว “ ด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นแค่เพียง การแสดงออกทางความคิดเห็นของสาธารณชน” หยวน กล่าว ส่วนปฏิกิริยาต่อต้านการทำประชามตินั้น ระหว่างการลงคะแนนเสียง มีผู้ต่อต้านนับสิบคนที่เข้าข้างปักกิ่ง ออกมารวมตัวตะโกนผ่านเครื่องเสียง บริเวณหน่วยลงคะแนนเสียงแห่งหนึ่ง ประกาศว่า “การทำประชามติเป็นเรื่องหลอกลวง” อนึ่ง ชนวนจุดติดให้คนฮ่องกงออกมาแสดงพลังอย่างล้นหลามในครั้งนี้ คือ ‘สมุดปกขาวจีน’ ที่รัฐบาลกลางออกมายืนยันชัดเจนว่า แผ่นดินใหญ่มีอำนาจเด็ดขาดเหนือเกาะแห่งนี้ แต่ชาวฮ่องกงไม่อาจยอมรับได้ ด้วยถือเป็นการละเมิดการปกครองแบบ 'หนึ่งประเทศ-สองระบบ’ ซึ่งเป็นข้อตกลงการส่งมอบอำนาจปกครองฮ่่องกงของอังกฤษให่แก่จีนเมื่อปี 2540 ระบบฯดังกล่าวให้สิทธิชาวฮ่่องกง ปกครองตัวเองอย่างอิสระ มีกฎหมาย การเมืองแยกต่้างหากจากจีน สามารถกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ การเงิน ฯลฯ เองได้.
ຢູ່ປະເທດລາວເຮົາ ພວກບ້ານີ້ ມັນແຕ່ງຕັ້ງ ກັນຂື້ນມາເອງ
ປະຊາຊົນບໍ່ມີສິດລົງຄະແນນສຽງ ຜູ້ທີ່ ປະຊາຊົນມັກ, ແຕ່ພວກມັນກໍ ປະກາດອອກມາວ່າ ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ
ປະຊາຊົນລາວ