ศาลสั่งจำคุก 12 ปี เจ้าของโรงงานกุนเชียง บังคับ 2 สาวลาวทำงานหามรุ่งหามค่ำ โดยไม่ให้ค่าจ้าง จนเด็กทนไม่ไหวแอบหนีออกมา ก่อนพลเมืองดีช่วยเหลือและพาเข้าแจ้งความตำรวจ ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก วันนี้ (4 ก.ค.) ศาลนัดอ่านคำพิพากษา คดีค้ามนุษย์ หมายเลขดำ อ.3545/2556 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ฟ้อง นางสมถวิล หรือ เจ๊ติ๋ม จารุสวัสดิ์ อายุ 60 ปี ชาว จ.นครราชสีมา เป็นจำเลยในความผิดฐาน ค้ามนุษย์โดยแสวงหาผลประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงาน โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2556 สรุปว่า เมื่อปี 2553 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดจนถึง วันที่ 1 ก.ย. 2555 จำเลยได้กระทำผิดกฎหมายด้วยการสัญญาว่าจะให้เงิน แก่ น.ส.เอ และ น.ส.บี อายุ 14 - 15 ปี สัญชาติลาว ซึ่งเป็นคนต่างด้าวลักลอบเข้าราชอาณาจักร คนละ 3,000 บาท โดยต้องทำงานบ้าน ตั้งแต่เวลา 04.00 - 08.00 น. หลังจากนั้น ต้องทำงานในโรงงานกุนเชียงของจำเลยที่อยู่บริเวณเดียวกันเลขที่ 19 ซ.คุรุสามัคคี 11 ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จนถึงเวลา 16.00 น. โดยไม่มีวันหยุด ทั้งที่ความจริงแล้ว จำเลยไม่เคยให้เงินเดือนตามสัญญาแก่ผู้เสียหาย และได้บังคับข่มขู่ประทุษร้ายให้ทำงาน ห้ามออกนอกบ้าน หากผู้เสียหายทำงานไม่เป็นที่พอใจ ก็จะถูกทำร้ายทุบตีอยู่นาน 2 ปี จนผู้เสียหายทนไม่ไหวต้องหลบหนีออกจากบ้านไปซ่อนตัวในป่านาน 3 วัน 2 คืน จนชาวบ้านมาพบและเข้าช่วยเหลือพาเข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกองบังคับการ ปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ หรือ ปคม. จำเลยให้การปฏิเสธ อ้างว่าจ่ายเงินค่าจ้างตามที่ได้ตกลงไว้ และไม่เคยหน่วงเหนี่ยวกักขัง ทำร้ายทุบตีผู้เสียหาย ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า โจทก์มีผู้เสียหายเบิกความสอดคล้องกัน ไม่มีเหตุที่จะปรักปรำจำเลยให้ต้องรับโทษ คำเบิกความมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ส่วนข้ออ้างจำเลยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี จำคุก 10 ปี, ความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวเพื่อให้พ้นการจับกุม จำคุก 1 ปี และความผิดฐานจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง จำคุก 1 ปี รวมจำคุกจำเลยทั้งสิ้น 12 ปี
ຫວັງວ່າສອງນາງນ້ອຍຄົງຈະໄດ້ຄືນເງິນຄ່າແຮງງານຂອງຕົນ.
Anonymous wrote:ຫວັງວ່າສອງນາງນ້ອຍຄົງຈະໄດ້ຄືນເງິນຄ່າແຮງງານຂອງຕົນ.
ເມື່ອສານຕັດສິນນາຍຈ້າງເຖິງຂັ້ນຕິດຄຸກ 12 ປີ ທາງສານຕ້ອງພິພາກສາ
ໃຫ້ຈ່າຍຄ່າເສຍຫາຍກັກຂັງໜ່ວງໜ່ຽວ ຄ່າແຮງງານຕ່ຳສຸດວັນລະ 300ບ
ຄືນໃຫ້ນ້ອງນ້ອຍທັງສອງພ້ອມກັບດອກເບ້ຍ. ຄິດວ່າຄົງບໍ່ຕ່ຳກວ່າຜູ້ລະໜຶ່ງ
ແສນບາດທີ່ຈະໄດ້ຮັບຈາກອະດີດນາຍຈ້າງ. ນີ້ເປັນກົດໝາຍແຮງງານຂອງໄທ.