ภาพแฟ้มเอเอฟพี ปี 2555 คนงานชาวพม่าปรับปรุงอาคารที่ตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมืองนครย่างกุ้ง นับตั้งแต่พม่าเปิดประเทศในปี 2531
มีต่างชาติให้ความสนใจเข้าลงทุนในพม่า ซึ่งเมื่อนับจนถึงปัจจุบัน จีนรั้งอันดับ 1 ของประเทศที่เข้าลงทุนในพม่ามากที่สุดด้วย
มูลค่ารวมทั้งสิ้น 14,250 ล้านดอลลาร์ และภาคส่วนพลังงานไฟฟ้า เป็นส่วนที่มีเม็ดเงินลงทุนมากที่สุดของประเทศ
พม่าดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติในเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา รวมมูลค่าทั้งสิ้น 176 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้สัญญาการลงทุนจากต่างชาติของประเทศมีมูลค่ารวมทั้งหมดเป็น 46,710 ล้านดอลลาร์ เมื่อนับตั้งแต่ปี 2531 ที่พม่าเปิดประเทศสู่โลกภายนอก จนถึงเดือนมิ.ย. 2557 สื่อท้องถิ่นของพม่ารายงานวันนี้ (13) ในเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา การลงทุนจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกง ส่วนใหญ่มุ่งไปที่ภาคการผลิต การคมนาคมและสื่อสาร ปศุสัตว์และเพาะพันธุ์ รวมทั้งภาคการเกษตร สำหรับช่วงครึ่งแรกของปี 2557 การลงทุนจากต่างชาติส่วนใหญ่อัดฉีดเม็ดเงินไปที่ภาคการคมนาคมและสื่อสาร รวมมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,100 ล้านดอลลาร์ จากทั้งหมด 36 ประเทศและเขตแดนที่ได้เข้าลงทุนในพม่าตั้งแต่ปี 2531 จนถึงเดือนมิ.ย. 2557 จีนรั้งอันดับ 1 จากการลงทุนไปจำนวนทั้งสิ้นกว่า 14,250 ล้านดอลลาร์ รองลงมาคือ ไทย ด้วยมูลค่าการลงทุนทั้งหมด 10,110 ล้านดอลลาร์ และฮ่องกงที่ 6,540 ล้านดอลลาร์ หากมองในแง่ของภาคส่วน ภาคพลังงานไฟฟ้ามีการลงทุนจากต่างชาติเป็นจำนวนมากที่สุดที่ 19,280 ล้านดอลลาร์ ตามมาด้วย ภาคน้ำมันและก๊าซ ที่ 14,370 ล้านดอลลาร์ และภาคการผลิตที่ 4,120 ล้านดอลลาร์ พม่าประกาศใช้กฎหมายการลงทุนจากต่างชาติฉบับใหม่ในเดือนพ.ย. 2555 และปฏิรูปคณะกรรมการการลงทุนในเดือนมิ.ย. ปีนี้ อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะดึงการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาในประเทศ ให้มากยิ่งขึ้นตามแนวทางยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศ.
ສປປລາວ ຕ່າງຊາດເຂົາບໍ່ຢາກ ເຂົ້າໄປລົງທືນແລ້ວ
ເພາະວ່າ ເຈົ້າໜ້າທີ່ພັກລັດ ພາກັນໂກງກິນຫລາຍໂພດ
ລວມທັງ ເສດຕະກິດ ການເງີນ ບໍ່ເອື້ອອຳນວຍ. ການເມືອງ
ບໍ່ຖຸນທຽ່ງ,ຂາດສິດແລະເສຣີພາບ,ປົກຄອງແບບ ຜະເດັດການ ພັກດຽວ
ນັກລົງທຶນຕ່າງປະເທດຈາກປະເທດເສຣີບໍ່ມີເງິນໃສ່ຊອງໃຫ້ການນຳລາວ
ສ່ວນນັກລົງທຶນຫວຽດນາມ ແລະນັກລົງທຶນຈີນບໍ່ຕ້ອງໃສ່ຊອງກໍ່ໄດ້ສຳປະ
ທານໃນສິ່ງທີ່ຕົນຕ້ອງການເພາະສອງປະເທດນີ້ມີອຳນາດຖ້ວມລົນໃນລາວ.
ການນຳໃນລາວ ເຕັມຕາຍແຕ່ຄົນຊົ່ວ
ມັນຈຶ່ງມີປະກົດການແບບນີ້ ...