ทางการลาวได้เปิดเผยตัวเลขล่าสุดในสัปดาห์นี้ เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อน ซึ่งในปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ และผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบทั้งหมด
24 เขื่อน กำลังก่อสร้างอีก 38 นอกจากนั้น ยังมีอีกกว่า 100 โครงการเขื่อนที่อยู่ระหว่างทำการศึกษา สำรวจออกแบบ
หรือแสวงหาทุนรอนเพื่อการก่อสร้าง สำนักข่าวของทางการรายงานจากที่ประชุมสภาแห่งชาติในวันพฤหัสบดี 24 ก.ค.นี้
ตัวเลขดังกล่าวเปิดเผยโดย นายดาวง พอนแก้ว อธิบดีกรมนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ระหว่างอภิปรายในสภาแห่งชาติซึ่งประชุมสมัยสามัญเป็นวันที่ 13 เป็นการตอบคำถามไขข้อข้องใจของประชาชนที่สอบถามเรื่องนี้ผ่านโทรศัพท์สาย ด่วน ซึ่งเป็นตัวเลขใหม่ที่แตกต่างไปจาก ข้อมูลที่ทราบกันมาก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับจำนวนโครงการเขื่อนในลาว ที่คาดว่าจะมีขีดความสามารถปั่นไฟรวมกันประมาณ 20,000 เมกะวัตต์ นายดาวง ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขทั้งหมดเกี่ยวกับจำนวนเขื่อนที่กำลังอยู่ระหว่างการ ศึกษาความเป็นไปได้ หรือศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ อันเป็นขั้นตอนแรกในการดำเนินแผน แต่ถ้าหากสามารถดำเนินการได้อีก “กว่า 100 แห่ง” ในอนาคตอันไม่ไกล ประเทศคอมมิวนิสนิสต์เล็กๆ ที่มีประชากรเพียง 6 ล้านคนเศษ ก็อาจจะมีเขื่อนผลิตไฟฟ้ารวมกันถึง 162 แห่ง การเปิดเผยตัวเลขดังกล่าวเป็นการตอบคำถามของประชาชนที่ว่า เหตุใดลาวจึงต้องสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าจำนวนมากมาย สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน “ลาวมีเงื่อนไขทางธรรมชาติที่เหมาะสม มีห้วยน้ำลำเซ ภูผาป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์จากเหนือจดใต้ เอื้ออำนวยแก่การสร้างเขื่อนไฟฟ้า..” ขปล.อ้างคำพูดอธิบดีกรมนโยบายและแผนพลังงานฯ นายดาวง ยังกล่าวอีกว่า ลาวไม่มีทรัพยากรณ์พลังงานทางเลือกอื่นมากพอ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน หรือถ่านหิน ที่จะผลิตไฟฟ้าสนองความต้องการของสังคมได้ทั้งหมด มีเพียงไฟฟ้าจากพลังน้ำที่สามารถรับใช้การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแบบหมุนเวียน ได้ สนองความต้องการของประชาชน และอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง และยังเหลือจำหน่ายให้แก่ประเทศข้างเคียงที่มีความต้องการสูงอีกด้วย นอกจากจะให้พลังงานที่สะอาดไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว เขื่อนผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ช่วยลดผ่อนอุทกภัย มีน้ำใช้ในฤดูแล้ง น้ำดื่มน้ำใช้สำหรับชุมชน เป็นแหล่งเลี้ยงปลา แหล่งอาหาร รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยว โครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างในปัจจุบันยัง รวมทั้งเขื่อนไซยะบูลีขนาด 1,285 เมกะวัตต์ มูลค่า 3,800 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัท ช.การช่าง จากประเทศไทย ซึ่งถ้าหากแล้วเสร็จตามแผนการในอีก 5 ปีข้างหน้า ก็จะเป็นเขื่อนใหญ่ที่สุดในประเทศนี้ ในแขวงไซยะบูลี ยังมีโครงการผลิตไฟฟ้าจากลิกไนต์ขนาด 1,878 เมกะวัตต์ มูลค่าราว 3,700 ล้านดอลลาร์ ที่เมืองหงสา โดยนักลงทุนไทย-จีน กับรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าของลาว มีกำหนดเริ่มปั่นไฟปีหน้า.
ນະໂຍບາຍໝໍ້ໄຟແຫ່ງອາຊີແມ່ນນະໂຍບາຍສ້າງຮັ່ງຄູນມີແກ່ພັກພວກຂອງເຂົາ
NGO ຄົງບໍ່ມີຄວາມສາມາດຢຸດຢັ້ງເຂົາໄດ້.