การ ไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) อย่างเป็นทางการของ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 26-27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการหยิบยกโปรเจ็กต์ก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 "บึงกาฬ-ปากซัน" ขึ้นมาหารืออีกครั้ง เพื่อร่วมกันผลักดันโครงการ โดยไทยจะสนับสนุนแหล่งทุนและเงินกู้
เนื่องจากโครงการนี้เป็นหนึ่งในการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชา-สปป.ลาว-เมียนมาร์-ไทย-เวียดนาม ปรเจ็กต์นี้มี "ทล.-กรมทางหลวง" เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ สถานะล่าสุดของโครงการได้ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดเสร็จแล้วเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
แหล่งข่าวจากกรมทางหลวงเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวเส้นทางจะสร้างอยู่บนพื้นที่ ต.วิศิษฐ์ ต.ไคสี และ ต.บึงกาฬ จ.บึงกาฬ อยู่ตรงข้ามกับเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว ขณะที่รูปแบบการก่อสร้างจะมีสะพานข้ามแม่น้ำโขง 1 แห่ง ความยาว 1.35 กม. ขนาด 2 ช่องจราจร เชื่อมโยงฝั่งไทยกับลาว พร้อมถนนตัดใหม่เป็นลักษณะถนนเลี่ยงเมือง ขนาด 4 ช่องจราจร ในฝั่งไทย เพื่อเชื่อมต่อกับทางหลวงสาย 222 (บึงกาฬ-พังโคน) จาก จ.หนองคาย ไปยัง จ.นครพนม และจ.สกลนคร ส่วนฝั่งลาวจะเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ระยะทาง 2.86 กม. ทั้งโครงการมีระยะทางรวม 16.18 กม. แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นที่ฝั่งไทย อยู่ที่จุดตัดทางหลวงสาย 222 กม.ที่ 123+430 ใกล้กับที่ดินกรมทางหลวง จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม เลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับทางหลวงชนบทสาย 3217 ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านหนองนาแซง แล้วมุ่งหน้าไปยังทิศทางเดิม ตัดทางหลวงชนบทสาย 3013 ที่บ้านห้วยดอกไม้ ใกล้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยดอกไม้ แล้วมุ่งหน้าไปยังทิศทางเดิม ผ่านพื้นที่เกษตรกรรมและเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านด่านพรมแดนฝั่งไทย บริเวณทิศตะวันออกของหนองกุดจับ ก่อนยกระดับข้ามทางหลวงสาย 212 กม.ที่ 125+925 ที่บ้านดอนยม อยู่ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำโขง ประมาณ 200 เมตร จุดที่ข้ามแม่น้ำโขงจะผ่าน ต.บึงกาฬ ต.วิศิษฐ์ และ ต.ไคสี อ.เมืองบึงกาฬ รวมระยะทางฝั่งไทย 12.13 กม. จะมีเวนคืนที่ดิน 620 ไร่ บริเวณฝั่งไทย เพื่อตัดถนนใหม่ จากนั้นแนวเส้นทางจะผ่านจุดสลับทิศทางจราจร ข้ามด่านพรมแดนฝั่งลาว ทางฝั่งตะวันตกของหนองง้า และสิ้นสุดที่ทางหลวงสาย 13 กม.ที่ 136+677 รวมระยะทางในฝั่งลาว ประมาณ 3.18 กม.ค่าเวนคืน+ก่อสร้าง 3.6 พันล้าน แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับเงินลงทุนอยู่ที่ 3,640 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้างถนน 890 ล้านบาท (ฝั่งไทย 750 ล้านบาท และฝั่งลาว 140 ล้านบาท) งานสะพาน 1,510 ล้านบาท (ฝั่งไทย 860 ล้านบาท และฝั่งลาว 650 ล้านบาท) อาคารสำนักงานด่าน 1,000 ล้านบาท (ฝั่งละ 500 ล้านบาท)และค่าเวนคืน 240 ล้านบาท การก่อสร้างฝั่งไทยจะใช้เงินงบประมาณ ส่วนฝั่งลาวยังไม่สรุปจะใช้เงินกู้จากจีนหรือเนด้า เมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะช่วยกระตุ้นการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และท่องเที่ยวระหว่างไทยกับลาว รวมถึงทำให้การขนส่งสินค้าจากไทยไปสู่ตลาดจีนตอนใต้คล่องตัวขึ้น โดยเฉพาะ "ยางพารา" ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของบึงกาฬ ที่สำคัญจะเปิดเส้นทางท่องเที่ยว 3 ประเทศใน 1 วัน "ไทย-ลาว-เวียดนาม" หลังการคมนาคมเชื่อมโยงถึงกัน
การก่อสร้างฝั่งไทยจะใช้เงินงบประมาณ ส่วนฝั่งลาวยังไม่สรุปจะใช้เงินกู้จากจีนหรือเนด้า
ສ້າງແຕ່ລະຂົວຕ້ອງໄປຫາກູ້ຫາຢືມຕ່າງປະເທດເຂົາ ພວກໂກງຊາດ