ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ປີ 2016 ບາດກາ້ວ ສຳຄັນຂອງ ລາວແດງ
Anonymous

Date:
ປີ 2016 ບາດກາ້ວ ສຳຄັນຂອງ ລາວແດງ
Permalink   
 


ปี2559ก้าวสำคัญของประเทศลาว

1041.jpg

 

ปี 2559 นี้ ถือเป็นปีสำคัญของประเทศลาว เนื่องจากวาระตำแหน่งประธานประชาคมอาเซียนเวียนมาถึงสาธารณรัฐประชาธิปไตย ลาว จะส่งผลให้บทบาทลาวโดดเด่นขึ้นโดยปริยาย ไม่ว่าจะในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือในสายตาชาวโลก แต่จะมากหรือน้อย ก็คงขึ้นกับการที่ประเทศลาวจะสามารถผลักดันให้เกิดการเร่งกระชับความเป็น หนึ่งเดียวกันของประชาคมอาเซียนให้รุดหน้าไปได้แค่ไหน โดยเฉพาะเรื่องร่วมเป็นตลาดเดียวของ 10 ประเทศสมาชิก ที่เรียกว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเรื่องการสามัคคี ร่วมกันในการออกมติที่น่าเชื่อถือและน่ารับฟังบนเวทีโลกต่างๆ เท่ากับพลเมืองในประเทศสมาชิกอาเซียน 600 ล้านกว่าชีวิต กำลังฝากความหวัง ฝากผีฝากไข้ในมือผู้นำและประชาชนลาว

เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ลาวก็มีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มผู้นำพรรค(คอมมิวนิสต์) ประชาชน สาธารณรัฐฯลาว รวมทั้งกลุ่มผู้นำรัฐบาลลาว อันสืบเนื่องจากการประชุมสภาคองเกรสของพรรคที่จัดขึ้นทุก 5 ปี เพื่อกำหนดผู้นำชุดใหม่และกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ ก็แน่นอนว่า ประชาชนพลเมืองลาวต่างฝากความหวังกับผู้นำชุดใหม่ทั้งของพรรคและของรัฐบาล ว่า จะนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ประเทศและชีวิตความเป็นอยู่พวกเขา ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าดีขึ้นมาเป็นลำดับ ดังเห็นได้จากตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจมวลรวม ก็เติบโตประมาณถึงร้อยละ 6-7% ตลอดระยะ 5 ปีที่ผ่านมา คนลาวอยู่ดีกินดีขึ้น สามารถสัมผัสได้จากการเพิ่มขึ้นของการจับจ่ายใช้สอย การขยายตัวของตึกรามบ้านช่อง โครงสร้างพื้นฐานและการสาธารณูปโภค ตลอดจนจำนวนชนชั้นกลางที่มากขึ้นเป็นลำดับ

แต่อย่างไรก็ดี ลาวก็ยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศยากจนที่สุด แถมเป็นประเทศที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล (ยกเว้นโดยทางอ้อมผ่านลำแม่น้ำโขง) ฉะนั้น เป้าหมายต้นๆ ของลาวก็คือการหลุดพ้นจากกลุ่มประเทศยากจนที่สุด รวมทั้งมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบก ทางอากาศ และทางทะเล ผ่านลำน้ำโขง เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศร่วมสมาชิกประชาคมอาเซียนและโลกกว้าง ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ และความมุ่งมั่นของผู้นำลาวชุดใหม่ จะเร่งดำเนินการอย่างไรให้เห็นผลโดยเร็ว ในเมื่อประชาคมอาเซียนก็มีแผนแม่บทอยู่แล้ว ว่าด้วยการเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน และการเชื่อมโยงกับประเทศนอกกรอบอาเซียนโดยเฉพาะจีน ทั้งในกรอบทวิภาคี และในกรอบความร่วมมือ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง(พม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม และจีน)

แม้การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นเรื่องทางกายภาพ จะเป็นที่ต้องรีบเร่งดำเนินการ แต่เรื่องสำคัญที่เป็นเสมือนคู่แฝดของด้านกายภาพ และต้องรีบเร่งอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องสิทธิมนุษยชนและเรื่องอำนาจอธิปไตย ซึ่งที่ผ่านมาถูกจำกัดด้วยการผูกขาดสิทธิและอำนาจรัฐโดยพรรคคอมมิวนิสต์ลาว ภายใต้ระบบพรรคเดียว ซึ่งเป็นระบอบเผด็จการ

ประชาชนพลเมืองลาวถูกลิดรอน ถูกจำกัดสิทธิของการมีส่วนร่วม สิทธิการชุมนุม สิทธิในการแสดงออก สิทธิในการนับถือศาสนาและความเชื่อถือ โดยมีเพียงหน้าที่ต้องเชื่อฟังและรับฟังพรรคและรัฐบาล กล่าวได้ว่า มีแต่หน้าที่แต่ไร้สิทธิ ทั้งๆ ที่ลาวเองก็เป็นหนึ่งในสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งมีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิต่างๆ และกฎบัตรอาเซียนก็ระบุเรื่องการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่างๆ บังคับอยู่

ที่ผ่านมา รัฐบาลลาวอาจจะสามารถเพิกเฉย ทำเป็นทองไม่รู้ร้อนกับกฎบัตรสหประชาชาติและกฎบัตรอาเซียน เพราะกฎบัตรนั้นไม่มีบทลงโทษ รวมทั้งประเพณีปฏิบัติของประชาคมอาเซียนต่างยึดหลักการไม่เข้าไปแทรกแซงใน กิจการภายใน หรือวิพากษ์วิจารณ์โครงสร้างการเรียน การปกครองของประเทศสมาชิกหนึ่งใด

แต่ในวันนี้ วันที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยลาวก้าวขึ้นเป็นประธานประชาคมอาเซียนแล้ว หากยังทำนิ่งเฉยเช่นเดิม ประชาคมอาเซียนก็คงจะขาดความสง่างาม ไม่ได้รับความเชื่อถือจากชาวโลกเป็นแน่ และจากการนี้ คงทำให้อาเซียนไม่น่าดึงดูดใจนักลงทุนที่จะทำให้อาเซียนกลายเป็นศูนย์กลาง ธุรกิจ และการท่องเที่ยวของโลก ซึ่งถือเป็นการสูญเสียโอกาสของประชาคมอาเซียน หากไม่มีความเป็นสากลในการดูแลประชาชนพลเมืองของตนอย่างเสรี

และแม้ที่ผ่านมา เศรษฐกิจลาวโดยรวมจะดีขึ้น โดยเฉพาะจากการลงทุนของต่างชาติ เพื่อให้ลาวเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังน้ำหลักของภูมิภาค แต่รายได้ส่วนใหญ่กลับกระจุกตัวที่ชนชั้นนำ และผู้คนในตัวเมืองที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ เพียงกลุ่มเดียว ส่งผลให้ปัญหาช่องว่างรายได้ระหว่างชนชั้นขยายตัวขึ้นมาก เกิดการขยายตัวของช่องว่างระหว่างผู้มีอำนาจมีอันจะกิน กับผู้ไร้อำนาจและผู้มีคุณภาพชีวิตต่ำต้อยกว่า ถือเป็นระเบิดเวลาในมือผู้บริหารประเทศ

เนื่องจากในอดีต ลาวปฏิวัติสังคม ล้มเจ้า กำจัดอำมาตย์ออกไปจากสังคม เพราะต้องการความเท่าเทียมกันตามแนวคิดคอมมิวนิสต์ แต่หลังจากนั้น วิถีทางพัฒนาลาวภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์กลับสร้างกลุ่มอำมาตย์ขึ้นมาใหม่ใน คราบนักอุดมการณ์คอมมิวนิสต์แห่งภราดรภาพ กลายเป็นสังคมชนชั้นปกครองกับชนชั้นผู้อยู่ใต้การปกครอง ไม่แตกต่างจากสังคมในอดีตที่แนวคิดคอมมิวนิสต์ไม่พึงพอใจ

และในยุคเทคโนโลยีสื่อสารไร้พรมแดนซึ่งข้อมูลข่าวสารสิทธิเสรีภาพและการ ต่อสู้ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียม สามารถแพร่ขยายไปรวดเร็ว การควบคุมข่าวสาร ปิดหูปิดตาประชาชนเป็นไปได้ยาก บวกกับการที่ชนชั้นปกครองใหม่กลับรวยเอาๆ ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของลาวยังแร้นแค้น
ย่อมทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำที่จะเรียกร้องความยุติธรรมและความเท่าเทียมอย่างเลี่ยงไม่ได้

ในวาระที่ประเทศลาวขึ้นเป็นประธานประชาคมอาเซียน จึงเป็นเรื่องน่าติดตามต่อไปว่า ผู้นำลาวชุดใหม่จะเลือกดำเนินการอย่างไร จะตอบสนองความต้องการของพลเมือง หรือตอบสนองตนเองเป็นหลัก และพวกเขาจะสามารถนำพาประชาคมอาเซียนให้ยืนในประชาคมโลกได้อย่างสง่างามและ มั่นคงได้แค่ไหนจะคิดถึงความเจริญก้าวหน้าของอาเซียนเป็นหลัก หรือคิดแต่ผลประโยชน์ลาวเป็นที่ตั้ง (เช่น พึ่งพาจีนเพื่อการพัฒนาและอยู่รอด แลกกับการเฉยเมยต่อพฤติกรรม “ข้าเป็นใหญ่” ของจีน ในการใช้ประโยชน์จากลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน และการขยายพลังอำนาจในทะเลจีนตอนใต้)

ทิศทางของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยลาวในปี 2559 นั้น จึงสำคัญต่อประชาชนลาว และประชาชนชาวอาเซียนเช่นนี้แล

 



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard