เหล่ารัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนเริ่มการ ประชุมกันเองที่กรุงเวียงจันทน์วันนี้ (24) จากนั้นจึงจะตามมาด้วยการประชุมระหว่างอาเซียนกับชาติคู่เจรจาต่างๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum หรือ ARF) ในวันอังคาร (26) ซึ่งมีชาติต่างๆ เข้าร่วมกว่า 20 ประเทศ การชุมนุมรวมตัวกันในเวียงจันทน์คราวนี้จึงเป็นครั้งแรกที่บรรดาชาติ ผู้มีบทบาทในภูมิภาคแถบนี้ รวมทั้งจีนและสหรัฐฯด้วย ได้พบปะหารือกันเป็นกลุ่มใหญ่ ภายหลังที่ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรในกรุงเฮก ประกาศคำตัดสินซึ่งลบล้างข้อกล่าวอ้างสำคัญที่ปักกิ่งใช้อยู่ในการเข้าครอบ ครองพื้นที่จำนวนมากในทะเลจีนใต้ ภายใน 10 ชาติสมาชิกอาเซียนเอง ก็มี 4 รายซึ่งกำลังอ้างกรรมสิทธิ์แข่งกับปักกิ่ง เหนือพื้นที่หลายส่วนของทะเลที่ทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์และอุดมด้วย ทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้ และอาเซียนก็อยู่ในอาการแตกแยกอย่างหนักจากประเด็นปัญหานีชาติที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนเหลื่อมล้ำกับจีน ตลอดจนชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯ ต่างกล่าวหาว่าปักกิ่งว่ากำลังเร่งผูกพันธมิตรกับสมาชิกอาเซียนรายเล็กๆ อย่างเช่นลาว ซึ่งเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ ตลอดจนกัมพูชา ด้วยการให้ความช่วยเหลือและเงินกู้ต่างๆ เพื่อแบ่งแยกอาเซียนที่ครั้งหนึ่งเคยมีความมุ่งมั่นสร้างฉันทามติภายในสมาคม แรงกดดันจากจีนนี้เองถูกประณามกล่าวโทษในเดือนที่แล้วว่าเป็นตัวการ ทำให้ความไม่ลงรอยกันของอาเซียนปรากฏออกมาให้เห็นอย่างน่าตกใจ เมื่อสมาคมต้องประกาศถอนคำแถลงร่วมของเหล่ารัฐมนตรีต่างประเทศของพวกตนซึ่ง นำออกเผยแพร่โดยมาเลเซียตามที่ได้รับมอบหมาย ภายหลังการประชุมร่วมอาเซียน-จีนในกรุงปักกิ่ง คำแถลงดังกล่าวได้แสดงอาการระวังเตือนภัยต่อกิจกรรมต่างๆ ของปักกิ่งในทะเลจีนใต้ ในเวลาต่อมากัมพูชากับลาวถูกชี้นิ้วระบุว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความ เคลื่อนไหวทำให้ต้องมีการถอนคำแถลงร่วมฉบับนี้ ความแตกแยกเหล่านี้ยังคงปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนอีกครั้งในนครหลวง เวียงจันทน์คราวนี้ โดยที่บุคคลวงในหลายรายกล่าวหากัมพูชาว่า กำลังสกัดกั้นความพยายามของหลายชาติสมาชิกที่จะบรรจุถ้อยคำแสดงการตอบสนอง ต่อคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร เอาไว้ในแถลงการณ์ร่วม ซึ่งคาดว่าจะออกมาในช่วงสิ้นสุดการประชุมของเหล่ารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ในวันนี้ (24) “พวกเราจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เสียที” นักการทูตผู้หนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการหารือด้วยบอกกับเอเอฟพีในวันอาทิตย์ (24) “ทว่าพวกเรายังไม่สามารถตกลงอะไรกันได้สักอย่าง” ขณะที่นักการทูตอาเซียนอีกผู้หนึ่งเสริมว่า “พวกเรายังคงอยู่ในอาการอับจนชะงักงัน พวกเรายังต้องกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจาหารือกันอีก”ร่างที่ใช้ในการถกเถียงกันของแถลงการณ์ร่วมร่าง ปัจจุบัน ซึ่งเอเอฟพีได้เห็นเมื่อวันเสาร์ (23) ปรากฏว่าในหัวข้อย่อยว่าด้วย “ทะเลจีนใต้” มีแต่ที่ว่างๆ ภาวะทางตันในเวียงจันทน์คราวนี้ ทำให้เกิดความหวั่นเกรงกันว่าจะซ้ำรอยการประชุมซัมมิตอาเซียนในกัมพูชาปี 2012 เมื่อเหล่าชาติสมาชิกถึงขนาดไม่สามารถออกคำแถลงร่วมได้ อันถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสมาคม สืบเนื่องจากความไม่เห็นพ้องกันเกี่ยวกับทะเลจีนใต้นี้เอง สหรัฐฯ และจีนต่างแข่งกันแผ่อิทธิพล คำตัดสินเมื่อต้นเดือนนี้ของคณะอนุญาโตตุลาการถาวร ณ กรุงเฮก ซึ่งไม่ได้เป็นหน่วยงานของสหประชาชาติ แต่ได้รับการหนุนหลังจากยูเอ็น และเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ตัดสินข้อพิพาทเกี่ยวกับอนุสัญญาสห ประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ได้สร้างความโกรธเกี้ยวให้แก่จีนที่ประกาศตั้งแต่ต้นว่าศาลแห่งนี้ไม่มี อำนาจในการพิจารณาและไม่ยอมรับคำตัดสิน แต่ถือเป็นชัยชนะสำหรับฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นผู้ยื่นฟ้องคราวนี้ ตลอดจนสำหรับอีก 3 ชาติอาเซียน คือ เวียดนาม, บรูไน และมาเลเซีย ซึ่งก็อ้างกรรมสิทธิ์บางส่วนของทะเลจีนใต้เช่นกัน ภาวะอับจนตกลงกันไม่ได้ของอาเซียน เรื่องวิธีที่จะตอบสนองต่อคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกเช่นนี้ บังเกิดขึ้นในขณะที่จีนเพิ่มการแสดงออกทางคำพูด ตลอดจนการจัดซ้อมรบในทะเลจีนใต้ พร้อมๆ กับที่ประณามสหรัฐฯซึ่งหนุนหลังชาติที่อ้างกรรมสิทธิ์แข่งกันจีน ด้วยการให้ความช่วยเหลือปรับปรุงสมรรถนะของกองทัพและหน่วยงานตรวจการณ์ทาง เรือ รวมทั้งเพิ่มการส่งเรือรบเข้ามาในทะเลจีน และเข้าเฉียดใกล้พื้นที่ซึ่งปักกิ่งอ้างกรรมสิทธิ์ โดยระบุว่าเพื่อเป็นการสำแดงเสรีภาพในการเดินเรือ รัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น เคร์รี ของสหรัฐฯ มีกำหนดเดินทางถึงลาวในตอนเช้าวันจันทร์ (25) แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเขาจะพบปะหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศ หวัง อี้ ของจีน ซึ่งก็เข้าร่วมการประชุมที่เวียงจันทน์เช่นกัน หรือไม่ เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ผู้หนึ่งกล่าวในช่วงสุดสัปดาห์นี้ว่า สหรัฐฯ จะผลักดันอาเซียนให้ผ่อนคลายความตึงเครียดในทะเลจีนใต้และหาจุดที่สามารถ เห็นพ้องร่วมกัน ขณะที่ หลิว เจิ้นหมิน รองรัฐมนตรีต่างประเทศจีนกล่าวเตือนอาเซียนว่า อย่าได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของพวกมหาอำนาจภายนอก ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเขากำลังกล่าววิจารณ์วอชิงตัน “พวกเขา (อาเซียน) ควรที่จะต้องคอยระวังป้องกันเป็นพิเศษทีเดียว ต่อการเข้ามาแทรกแซงในความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยฝีมือของพวกมหาอำนาจใหญ่ที่อยู่ภายนอกภูมิภาคนี้” สำนักข่าวซินหวาของทางการจีนรายงานโดยอ้างคำพูดของหลิว ระหว่างกล่าวเปิดการประชุมที่เวียงจันทน์ตอนเช้าวันนี้ (24) รัฐมนตรีต่างประเทศลาว สะเหลิมไซ กมมะสิด ระบุถึงอุปสรรคเครื่องกีดขวางต่างๆ ที่กำลังเผชิญหน้าอาเซียนอยู่ ว่าประกอบด้วย “ข้อพิพาททางดินแดน, ลัทธิสุดโต่งและลัทธิก่อการร้าย, ความวิบัติหายนะทางธรรมชาติ, การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ... ประเด็นปัญหาผู้ลี้ภัย”