ປະຊາຄົມຜູ້ໃຫ້ການຊ່ອຍເຫຼືອ ສປປລາວ ທີ່ຈະຈັດກອງປະຊຸມໂຕະມົນຂຶ້ນ ທີ່ເມືອງປາກເຊ ແຂວງຈໍາປາສັກ ໃນມື້ວັນທີ 22 ແລະ 23 ພຶສຈິກາ ນີ້ນັ້ນ ຄວນຍົກບັນຫາ ສິດທິມະນຸດ ຂຶ້ນປຶກຫາລືກັນ ແລະ ເອົາເປັນເງື່ອນໄຂຈໍາເປັນ ສໍາລັບການປະຕິບັດ ໂຄງການພັທນາ ທີ່ຍືນຍົງ ຕ່າງໆ, ຕາມຄໍາເວົ້າຂອງທ່ານ Andrea Giorgetta ເຈົ້າໜ້າທີ່ ອົງການສິດທິມະນຸດສາກົລ FIDH ຕໍ່ RFA ໃນມື້ວັນທີ 21 ພືສຈິກາ 2017:
"yes, the international donors gathering in Pakse… ປະຊາຄົມສາກົລ ທີ່ໃຫ້ການຊ່ອຍເຫລືອ ທີ່ມາປະຊຸມ ຢູ່ ເມືອງປາກເຊຄັ້ງນີ້ ແນ່ນອນ ຄວນຍົກບັນຫາສິດທິມະນຸດຂຶ້ນເວົ້າ ເພາະມັນເປັນ ເງື່ອນໄຂ ການປະຕິບັດ ແມ່ນແຕ່ ໂຄງການພັທນາຕ່າງໆ ໃຫ້ຍືນຍົງ ແລະ ກໍມີຂຶ້ນ ພາຍຫລັງ ການຮັບຜ່ານດໍາຣັຖໃໝ່ ກ່ຽວກັບ ການຈັດຕັ້ງສະມາຄົມ ແລະ ອົງການຕ່າງໆ ຊຶ່ງປາກົດວ່າ ຈະເຂັ້ມງວດຫລາຍ ຕໍ່ອົງການພັທນາ ຫລື ທີ່ຮູ້ກັນວ່າ ອົງການບໍ່ຫາຜົລກໍາໄຣນັ້ນ."
ໃນການນໍາສເນີ ບັນຫາສິດທິມະນຸດ ຕໍ່ກອງປະຊຸມໂຕະມົນ ຊຶ່ງມີຄວາມເປັນໄປໄດ້ນັ້ນ ຄົງຈະຍົກກໍຣະນີ ການຫາຍສາບສູນໄປ ຂອງທ່ານ ສົມບັດ ສົມພອນ ຊຶ່ງເປັນກໍຣະນີສໍາຄັນ ທີ່ຈະຕ້ອງຖືກແກ້ໄຂ ຮວມເຖິງກໍຣະນີ ທ່ານ ສົມພອນ ຂັນຕິສຸກ ຜູ້ທີ່ໄດ້ປະຕິບັດ ໂຄງການພັທນາ ແບບຍືນຍົງ, ສນັບສນູນຊົນເຜົ່າ ແລະ ຊຸມຊົນທ້ອງຖິ່ນ ທີ່ຖືກຫາຍສາບສູນໄປໄດ້ 10 ປີ ປາຍແລ້ວນັ້ນ ຮວມຢູ່ດ້ວຍ ດັ່ງທີ່ທ່ານກ່າວວ່າ:
"and disappeared never to be seen and the Lao govt failed to determine… ແລະແລ້ວ ທ່ານ ສົມພອນ ຂັນຕິສຸກ ກໍບໍ່ເຫັນອີກເລີຍ ແລະຣັຖບານ ກໍບໍ່ສາມາດ ຣະບຸວ່າ ທ່ານຢູ່ໃສ ຄືກັນກັບທ່ານ ສົມບັດ ສົມພອນ ນັ້ນ."
ອີກກໍຣະນຶ່ງ ທີ່ຕ້ອງຖືກຍົກຂຶ້ນ ຄືຄົນງານລາວ 3 ຄົນ ທີ່ກັບມາຈາກ ປະເທດໄທ ແລະ ຖືກຕັດສິນລົງໂທດຈໍາຄຸກ ເປັນເວລາດົນນານ ຍ້ອນໄດ້ ຕໍານິທາງການລາວ ຜ່ານທາງອິນເທີແນັຕ ຕອນທີ່ຢູ່ໄທນັ້ນ. ນີ້ກໍເປັນກໍຣະນີ ທີ່ເນັ້ນເຖິງຄວາມຈິງ ທີ່ວ່າຣັຖບານ ສປປລາວ ຈໍາກັດເສຣີພາບ ໃນການສະແດງຄວາມຄິດຄວາມເຫັນ ແລະ ການຊຸມນຸມແບບສັນຕິ.
ທ່ານກ່າວໃນຕອນທ້າຍວ່າ ທ່ານຫວັງວ່າ ປະຊາຄົມ ທີ່ໃຫ້ການຊ່ອຍເຫລືອນັ້ນ ຈະມີປາກມີສຽງເວົ້າວ່າ ຫຼາຍຂຶ້ນຕື່ມ ໃນການຕ້ານການຈໍາກັດຮັດແຄບ ທີ່ໜັກຂຶ້ນ ອັນສົ່ງຜົລກະທົບໃສ່ ອົງການຈັດຕັ້ງທາງສັງຄົມ ທີ່ປະຕິບັດງານ ຢູ່ໃນສະພາບແວດລ້ອມ ໜີບຮັດຫລາຍ ຢູ່ແລ້ວນັ້ນ.
ຜູ້ທີ່ຈະເຂົ້າຮ່ວມກອງປະຊຸມໂຕະມົນ ທີ່ເມືອງປາກເຊຄັ້ງນີ້ ມີຣາຍງານວ່າ ຈະມີເຈົ້າໜ້າທີ່ຂັ້ນສູງ ຈາກກະຊວງທີ່ກ່ຽວຂ້ອງຂອງ ສປປລາວ ຄູ່ຮ່ວມພັທນາ ແລະຜູ້ໃຫ້ການຊ່ວຍເຫລືອ ຮວມເຖິງນັກການທູດ ຕ່າງປະເທດ ແລະຜູ້ຕາງໜ້າອົງການຈັດຕັ້ງ ທີ່ບໍ່ຂຶ້ນກັບຣັຖບານ.
4 หน่วยหลัก, ศปก.พป.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รุกหนักกลุ่มพะยูงข้ามชาติเวียดนาม ซ้อนแผนติดตาม 470 กม. ข้ามคืนจากเขตป่าวังน้ำเขียวถึงชายแดน จ.มุกดาหาร ล้อมจับ ขณะส่งมอบให้นายทุน รวบนายทุนชาวลาวได้ในที่เกิดเหตุขยายผลยอมรับนายทุนใหญ่มาจากเวียตนาม ขยายผลพบในเครือข่ายมีอีก 40 คนที่เกี่ยวข้องเร่งขยายผลทุกมิติที่เกี่ยวข้องให้ถึงที่สุด
21 พ.ย.60 ศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่า (ศปก.พป.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าแห่งชาติ (คปป.)โดยการอำนวยการของ นายอรรถพล เจริญชันษา รองอธิบดีกรมป่าไม้ ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่า (ศปก.พป.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายชีวะภาพ ชีวะธรรม หัวหน้าชุดพยัคฆ์ไพร ร่วมกับ พล.ท.ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข.ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4กอ.รมน. ,พ.ต.อ. ปัญญา ปิ่นสุข รักษาการแทนผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยการนำของ นายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ, นายกษิดิษ จั่นประดับ, ชุดพยัคฆ์ไพร กรมป่าไม้ ,เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ชุด ศปป.4 กอ.รมน. เเละ บก.ปทส. ได้ติดตามระบบเฝ้าระวัง เเละเเจ้งเตือนด้วยระบบ " NCAPS " ว่ามีกลุ่มบุคคลกำลังลักลอบขนย้ายไม้พะยูงแปรรูป บริเวณป่าทิศเหนือบ้านบุไทร ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา พิกัด UTM 47 P 816657 E,1592105 N ออกจากป่าสงวนแห่งชาติแก่งดินสอ ซ้อนทับกับ อช.ทับลาน
เจ้าหน้าที่จึงได้วางแผนการติดตามอย่างกระชั้นชิด โดยไม่ให้กลุ่มขบวนการรู้ตัวพบรถยนต์ต้องสงสัยจำนวน 3 คัน วิ่งออกจาก ต.ไทยสามัคคี มุ่งหน้าไปตามทางหลวงแผ่นดิน ผ่านพื้นที่หลายจังหวัด และไปสิ้นสุดที่บ้านเป้าหมายในเขต จ.มุกดาหาร ระยะทางกว่า 470 กม. ซึ่งคณะเจ้าหน้าที่ชุดติดตามได้ใช้ยานพาหนะจำนวนหลายคันสลับสับเปลี่ยน ผลัดกันสะกดรอยตามไปเพื่อต้องการขยายผลให้ถึงแหล่งพักไม้ และจับกุมตัวการใหญ่ชาวต่างชาติให้ได้
ต่อมา เมื่อเวลา 09.30 น. ติดตามมาจนถึงบริเวณบ้านคำบง เลขที่ 67 ม.4 ต.โชคชัย อ. นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร พิกัด UTM 48 P 447409 E, 1808981 N (wgs 84) พบเห็นรถยนต์ต้องสงสัยจำนวน 3 คันดังกล่าว วิ่งเข้าไปยังบริเวณคอกวัวหลังบ้าน ต่อมา พบรถยนต์ Ford Rangers สีเทา ทะเบียน กว 8789 สะหวันนะเขต วิ่งออกมาจากบ้านหลังดังกล่าว จึงเเสดงตัวเข้าจับกุม รถยนต์คันดังกล่าวจึงได้เร่งเครื่องถอยหลังเพื่อหลบหนี เเต่ขับรถตกข้างทางเสียก่อน คนที่โดยสารมาในรถจึงวิ่งหลบหนีเข้าป่าข้างทาง เจ้าหน้าที่สามารถติดตามจับกุมได้ 2 คน คือ นายวิไลพร (กี่) เจริญโชค อายุ 48 ปี นายทุนชาวลาว นายเพ็ญเพชร (เพ็ญ) กล้าหาญ อายุ 44 ปี ชาว จ.มุกดาหาร ส่วนผู้ต้องหาอีกคนที่วิ่งหลบหนีไปได้คือ นายเจมวิทย์ (โอ) บรรเทา เจ้าของบ้านหลังดังกล่าว เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการติดตามตัว
จากนั้น คณะเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ จึงได้ทำการปิดล้อม ตรวจค้นบ้านหลังดังกล่าว พบรถยนต์กระบะ Toyota vigo สีขาว ตอนเดียวมีคอก ทะเบียน 1 ฒร 6838 กทม.(รถขนไม้)รถยนต์กระบะ ISUZU D-max สีดำสี่ประตู ทะเบียน 1 ฒก 87 กทม.(รถนำทาง) รถยนต์ Fords Ranger ทะเบียนรถยนต์ ประเทศลาว ของนายทุนชาวลาว เมื่อตรวจสอบบ้านที่เกิดเหตุ พบไม้พะยูงแปรรูป จำนวน 15 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 0.50 ลบ.ม. บริเวณคอกวัวหลังบ้าน โดยมีฟางปิดทับอำพรางอยู่
นายวิไลพอน นายทุนชาวลาวได้ให้การรับสารภาพว่า เป็นเพียงคนควบคุม และสั่งการจัดซื้อไม้พะยูงทั่วประเทศไทย โดยมีนายทุนใหญ่ชาวเวียดนาม ชื่อนายลาน เป็นนายทุนใหญ่ และไม้ดังกล่าวได้ติดต่อซื้อมาจากนายแดง ซึ่งเป็นชุดทำไม้ในพื้นที่ป่าวังน้ำเขียว มีทีมงานจำนวนมากและทีมงานบางคนเพิ่งพ้นโทษออกมาจากคดีที่พัวพันกับคดีที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลานถูกยิงเสียชีวิตเมื่อหลายปีก่อน
โดยมี นายโอ เเละนายเอ (ไม่ทราบชื่อ สกุลจริง) ได้พาตนเเละพวกไปรับซื้อไม้พะยูงแปรรูปจากบ้านไทยสามัคคี เขตอำเภอวังน้ำเขียว เเละขนย้ายมาซุกซ่อนบริเวณบ้านหลังดังกล่าวเพื่อเตรียมขนย้ายข้ามแดน แต่มาถูกจับได้เสียก่อน
เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ จึงได้ควบคุมตัวผู้กระทำความผิดเพื่อทำการสอบสวนขยายผล ติดตามผู้กระทำผิด และจะได้นำตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมขยายผลการตรวจสอบการใช้โทรศัพท์มือถือของ นายวิไลพร นายทุนชาวลาว พบว่า มีกลุ่มขบวนการที่เกี่ยวข้องที่มีการเสนอซื้อขายไม้พะยูงกันจำนวนไม่ต่ำกว่า 40 คน ทั้งชาวไทยและชาวเวียดนาม คณะเจ้าหน้าที่จะดำเนินการขยายผลให้ถึงที่สุดในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง ฯ ต่อไป