รัฐบาลวอชิงตันเพิ่มความเข้มงวดในการพิจารณาออกวีซ่าให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐบาลเมียนมาและลาว "บางกลุ่ม" จากการที่ทั้งสองประเทศปฏิเสธรับกลับพลเมืองของตัวเองซึ่งอาศัยอยู่ในอเมริกาอย่างผิดกฎหมาย
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ว่ากระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐ ( ดีเอชเอส ) ออกแถลงการณ์เมื่อวันอังคาร ว่ารัฐบาลวอชิงตันเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการพิจารณาออกวีซ่าให้กับ "พลเมืองบางกลุ่ม" จากเมียนมาและลาว เนื่องจากทั้งสองประเทศปฏิเสธรับกลับพลเมืองของตัวเองซึ่งอาศัยอยู่ในสหรัฐอย่างผิดกฎหมาย และรัฐบาลวอชิงตันจำเป็นต้องผลักดันบุคคลกลุ่มนี้ออกนอกประเทศ
แถลงการณ์ของดีเอชเอสระบุด้วยว่า ตราบใดที่รัฐบาลของทั้งสองประเทศยังคงสงวนท่าทีในการให้ความร่วมมือ "อย่างเหมาะสม" มาตรการจำกัดการออกวีซ่าอาจมีการ "ขยายวงกว้างออกไปอีก" ซึ่งหมายถึงประชาชนทั่วไปอาจได้รับผลกระทบตามไปด้วย และการยกเลิกข้อจำกัดจะมีขึ้นเมื่อเมียนมาและลาวมอบความร่วมมือกับสหรัฐ "ในระดับที่ยอมรับได้"
ทั้งนี้ ข้อมูลของดีเอชเอสไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับพลเมืองเมียนมาและลาวซึ่งจะได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเผยคำสั่งให้สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของของสหรัฐในเมียนมาและลาว เพิ่มความเข้มงวดในการออกวีซ่าประเภท "บี1" สำหรับการทำงาน และ "บี2" สำหรับการเดินทางท่องเที่ยว สำหรับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน กระทรวงคนเข้าเมือง และกรทรวงมหาดไทยของทั้งสองประเทศในระดับปลัดขึ้นไป และคำสั่งดังกล่าวครอบคลุมสมาชิกในครอบครัวด้วย.
ເສຍໃຈນຳ. ຫວັງວ່າທັງສອງຣັຖບານຈະມີຄວາມປະນີປະນອມຕໍ່ກັນ.
ຖ້າວ່າ ອາເມຣິກາຈ່າຍຄ່າບຳເນັດທີ່ຖືກໃຈ ຣັຖບານ ສປປ ລາວ ອາດຈະຮັບໄປພິຈາຣະນາ. ຖ້າໃຫ້ຄ່າບຳເນັດສູງແກ່ຫວຽດນາມ ແລະ ຂະເມນ
ກໍ່ຄວນໃຫ້ຣັຖບານ ສປປ ລາວ ສູງເຊັ່ນກັນ.
สหรัฐฯ ได้กล่าวอ้างว่าลาวไม่ได้ให้ความร่วมมือมากพอในการรับชาวลาวที่สหรัฐฯ พยายามผลักดันกลับประเทศมาตรการเข้มงวดในการออกวีซ่านี้บังคับใช้กับเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการขึ้นไปในกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ รวมถึงครอบครัวของเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ตามการระบุของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐฯ กระทรวงการต่างประเทศของลาวออกคำแถลงเมื่อวันที่ 10 ก.ค. ระบุว่า การกระทำของสหรัฐฯ ไม่สามารถยอมรับได้ รัฐบาลลาวรู้สึกผิดหวังและเสียใจต่อมาตรการลงโทษด้านวีซ่าที่กำหนดขึ้นเพียงฝ่ายเดียวโดยรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อลาว จากสิ่งที่ถูกเรียกว่า ‘ขาดความร่วมมืออย่างเพียงพอจากฝ่ายลาวในการดำเนินเอกสารและอำนวยความสะดวกการเดินทางกลับบ้านของผู้ที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นชาวลาว’“การกระทำที่ไม่เป็นธรรมและไม่ตั้งอยู่บนหลักความเป็นจริงของรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่เพียงแค่ไม่สามารถยอมรับได้และไม่สร้างสรรค์เท่านั้น แต่อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ของลาวและสหรัฐฯ ที่กำลังเติบโตด้วย” คำแถลง ระบุรัฐบาลลาวได้ตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นโดยมีรัฐมนตรีช่วยกระทรวงความมั่นคงสาธารณะเป็นประธานคณะเพื่อรับผิดชอบโดยตรงในความร่วมมือกับฝ่ายสหรัฐฯ ในการจัดการปัญหาการส่งคนกลับประเทศ ลาวตอบรับการส่งคนกลับประเทศแล้ว 3 ราย โดยมี 2 ราย ถูกส่งกลับประเทศแล้ว และยังมีอีก 9 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณาและสัมภาษณ์ “ด้วยเหตุนี้ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ พิจารณาทบทวนยกเลิกมาตรการดังกล่าวกับลาวโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นได้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศและประชาชน”
เตือนหนี้ท่วมอาเซียน "ลาว"กู้สูงสุดเหตุโครงการสร้างรถไฟจีน
6 ชาติอาเซียนเสี่ยงเจอปัญหาหนี้ท่วม สงครามการค้าเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจร่วง
ไฟแนนเชียลไทมส์ รายงานว่า 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงลาว มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย มียอดหนี้สูงมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมียอดหนี้เฉลี่ย 26% ของรายได้มวลรวมประเทศ โดยเฉพาะลาวมียอดหนี้สูงกว่ารายได้มวลรวมถึง 93.1% สูงสุดในภูมิภาค ตามมาด้วยมาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม
รายงานระบุว่า หนี้ของลาวเพิ่มขึ้นเพราะโครงการโครงสร้างพื้นฐานภายใต้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของรัฐบาลจีน เช่น โครงการรถไฟเชื่อมเมืองคุนหมิง ทางตอนใต้ของจีน กับกรุงเวียงจันทน์ ซึ่งคาดว่ามีค่าใช้จ่ายราว 5,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.93 ล้านล้านบาท) หรือเกือบ 40% ของจีดีพี
ขณะที่มาเลเซียมียอดหนี้สูงกว่ารายได้มวลรวม 69.6% ทำให้นายกรัฐมนตรี มหาเธร์ โมฮัมหมัด ต้องทบทวนโครงการรถไฟหลายโครงการที่ได้รับการอนุมัติในรัฐบาลของ นาจิบ ราซัค
นอกจากนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) รายงานว่า 6 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนมียอดกู้จากต่างชาติเพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกัมพูชากู้เงินต่างชาติเพิ่มถึง 142% ส่งผลให้ยอดหนี้สูงกว่ารายได้มวลรวม 54.4%
อย่างไรก็ดี รายงานระบุว่า สถานการณ์หนี้ของไทยและเวียดนามยังไม่น่าวิตกเท่ากับชาติอื่น เนื่องจากมีเงินทุนสำรองต่างชาติสูงกว่าหนี้ระยะสั้นจากต่างชาติ 6.1 เท่า
ด้าน ทามารา เฮนเดอร์สัน นักเศรษฐศาสตร์ของบลูมเบิร์ก อีโคโนมิกส์ คาดการณ์ว่าหากสงครามการค้ารุนแรงขึ้น เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมนอกเหนือจากปัญหาหนี้สิน โดยล่าสุดนั้นความเสี่ยงจากสงครามการค้าคาดว่าจะกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของประเทศอาเซียน
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า จีดีพีของจีนในไตรมาส 2 ปีนี้ เติบโต 6.7% นับว่าเป็นการเติบโตช้าที่สุดตั้งแต่ปี 2016 ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสงครามการค้ากำลังฉุดเศรษฐกิจภูมิภาคนี้
ล่าสุด โดนัลด์ ทุสค์ ประธานคณะกรรมาธิการสภายุโรป (อีซี) เตือนว่า สหรัฐ จีน และรัสเซีย ควรเลี่ยงสงครามการค้า พร้อมเรียกร้องให้ร่วมกันปฏิรูปองค์การการค้าโลก (ดับเบิ้ลยูทีโอ) แทนการทำสงครามการค้าใส่กัน
Anonymous wrote:สหรัฐเพิ่มความเข้มงวดวีซ่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลเมียนมา-ลาวรัฐบาลวอชิงตันเพิ่มความเข้มงวดในการพิจารณาออกวีซ่าให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐบาลเมียนมาและลาว "บางกลุ่ม" จากการที่ทั้งสองประเทศปฏิเสธรับกลับพลเมืองของตัวเองซึ่งอาศัยอยู่ในอเมริกาอย่างผิดกฎหมาย สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ว่ากระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐ ( ดีเอชเอส ) ออกแถลงการณ์เมื่อวันอังคาร ว่ารัฐบาลวอชิงตันเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการพิจารณาออกวีซ่าให้กับ "พลเมืองบางกลุ่ม" จากเมียนมาและลาว เนื่องจากทั้งสองประเทศปฏิเสธรับกลับพลเมืองของตัวเองซึ่งอาศัยอยู่ในสหรัฐอย่างผิดกฎหมาย และรัฐบาลวอชิงตันจำเป็นต้องผลักดันบุคคลกลุ่มนี้ออกนอกประเทศแถลงการณ์ของดีเอชเอสระบุด้วยว่า ตราบใดที่รัฐบาลของทั้งสองประเทศยังคงสงวนท่าทีในการให้ความร่วมมือ "อย่างเหมาะสม" มาตรการจำกัดการออกวีซ่าอาจมีการ "ขยายวงกว้างออกไปอีก" ซึ่งหมายถึงประชาชนทั่วไปอาจได้รับผลกระทบตามไปด้วย และการยกเลิกข้อจำกัดจะมีขึ้นเมื่อเมียนมาและลาวมอบความร่วมมือกับสหรัฐ "ในระดับที่ยอมรับได้"ทั้งนี้ ข้อมูลของดีเอชเอสไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับพลเมืองเมียนมาและลาวซึ่งจะได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเผยคำสั่งให้สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของของสหรัฐในเมียนมาและลาว เพิ่มความเข้มงวดในการออกวีซ่าประเภท "บี1" สำหรับการทำงาน และ "บี2" สำหรับการเดินทางท่องเที่ยว สำหรับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน กระทรวงคนเข้าเมือง และกรทรวงมหาดไทยของทั้งสองประเทศในระดับปลัดขึ้นไป และคำสั่งดังกล่าวครอบคลุมสมาชิกในครอบครัวด้วย.
ຖ້າທາງການລາວຍັງຫລີ້ນໄມ້ " ເສີຍ " ແບບທີ່ເຄີຍປະຕິບັດມາກັບກໍລະນີອື່ນໆ ເຊັ່ນການເມີນເສີຍກ່ຽວກັບການຫາຍສາບສູນຂອງ ທ່ານ ສົມບັດ ສົມພອນ.
ທາງການລາວຈະຕ້ອງໄດ້ຊິ່ມຣົສຊາດຂອງຄວາມໂອຫັງຂອງໂຕເອັງຢ່າງຫລີກລ້ຽງບໍ່ໄດ້.
ເພາະຄຳວ່າ "ມາດຕະການຈຳກັດການອອກວິຊ່າອາດຈະມີການຂະຍາຍຕົວອອກໄປອີກ"
ຂໍ້ຄວາມນີ້ມັນຊ່າງມີຄວາມຫມາຍອັນກວ້າງຂວາງເຫລືອເກີນ ...ແລະຈະມີແຕ່ເພີ້ມຄວາມຮຸນແຮງຂື້ນໄປເລື້ອຍໆ.
ທາງການລາວຈະຕ້ອງຮັບຜິດຊອບຫາທາງອອກໃຫ້ໄດ້ ຈະເສີຍຄືຫມາປະຫຳ ແບບທີ່ເຄີຍເຮັດມານັ້ນ ຄົງເຮັດບໍ່ໄດ້ອີກແລ້ວ !
ເພາະນີ້ຄືລະເບີດເວລາ.
ມາສົມມຸດກັນວ່າ ຂັ້ນຕໍ່ໄປ ຈະມີຫຍັງເກັີດຂື້ນ ວົງການຂະຍາຍຕົວຂອງນະໂຍບາຍນີ້ ຈະຫ້າມກັນໄປໃນຮູບໃດ :
1- ເຈົ້າຫນ້າທີ ປກສ ແລະເຈົົ້າຫນ້າທີ່ທັງພະນັກງານຂອງບາງກະຊວງພ້ອມທັງ ຍາດຕິຂອງເຂົາເຈົ້າທັງຫມົດ
2-ເຈົ້າຫນ້າທີທຸກໆ ກະຊວງ ພ້ອມທັງພີ່ໆນ້ອງໆ ຂອງພວກເຂົາເຈົ້າທັງຫມົດ
3-ເລີກຕໍ່ວິຊ່າຕື່ມເວລາ ແລະບໍ່ອອກວິຊ່າໃຫ້ແກ່ຄົນລາວທີ່ມາແລ້ວຫລືຈະມາຫລີ້ນທ່ຽວຫລືທຳທຸຣະກິດທີ່ອະເມຣິກາ
4-ເພີກຖອນສິດທິການເປັນພົລະເມືອງຊາວອະເມຣິກັນ ໃຫ້ຄົນເຊື້ອຊາດລາວຄົນໃດທີ່ເຫັນດີເຫັນພ້ອມກັບກຸ່ມກຳອຳນາດຂອງລາວ
5-ຫ້າມຊາວລາວອະເມຣິກັນ ເດີນທາງໄປປະເທດ ສປປລາວ
6-ແລະ ອື່ນໆອີກ....ທີ່ບໍ່ມີອັນດີຈັກຢ່າງ.