สหภาพยุโรป (อียู) แสดงความวิตก เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา พร้อมกับขีดเส้นตาย 1 เดือน ให้แก้ข้อกล่าวหาในรายงานการสอบสวน ก่อนที่อียูจะตัดสินใจระงับสิทธิพิเศษทางการค้าแก่กัมพูชาหรือไม่ อังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2562 เวลา 22.55 น.สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 12 พ.ย. ว่า ก่อนหน้านี้สหภาพยุโรปขู่จะระงับสิทธิพิเศษทางการค้าแก่กัมพูชา เนื่องจากการกวาดล้างฝ่ายค้าน เอ็นจีโอและสื่อ โดยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ผู้นำเผด็จการอำนาจนิยม ที่ครองอำนาจเหนือกัมพูชามานานกว่า 34 ปีคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) เสร็จสิ้นการจัดทำรายงานเบื้องต้น ว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในกัมพูชา และได้ส่งรายงานไปให้เจ้าหน้าที่ทางการกัมพูชาแล้ว นางเซซิเลีย มาล์มสตรอม กรรมาธิการการค้าสหภาพยุโรป ทวีตข้อความเมื่อวันอังคาร ว่า อียูมีความวิตก "อย่างยิ่ง" ต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา ตอนนี้กัมพูชามีเวลา 1 เดือน ในการตอบสนองต่อรายงาน และอีซีจะทำการตัดสินใจขั้นสุดท้าย ในเดือน ก.พ.ปีหน้า"
12 พ.ย.62 นายสม รังสี อดีตผู้นำพรรคฝ่ายค้านของกัมพูชา ยังคงสร้าวกระแสกดดันรัฐบาลของฮุนเซนอย่างต่อเนื่อง หลังจากเขาเดินทางมาจากประเทศฝรั่งเศสมาพำนักอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา
โดยนายสม ให้สัมภาษณ์ว่า อย่างไรก็แล้วแต่ เขายังคงพร้อมที่จะกลับกัมพูชาทุกเวลา และขณะนี้กำลังวางแผนเดินทางไปอินโดนีเซียในวันพุธและจะอยู่ที่อินโดนีเซียหลายวันโดยจะยังไม่กลับไปยุโรป ขณะนี้สิ่งต่างๆ กำลังจะเปลี่ยนแปลง เพราะสหภาพยุโรปก็กำลังเพิ่มความกดดันมากขึ้นเรื่อยๆต่อรัฐบาลฮุนเซน โดยมีแรงกดดันทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งจะมีอิทธิพลให้ฮุนเซน อาจจะต้องตัดสินใจเปลี่ยนท่าทีทั้งนี้ นายสม รังสี ได้พบกับกลุ่ม สส.มาเลเซียที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ก่อนแถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า สส.ทั้งจากพรรครัฐบาลและฝ่ายค้านมาเลเซียสนับสนุนประชาธิปไตยในกัมพูชา เชื่อว่าพวกเขาจะส่งเสริมค่านิยมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนทั่วทั้งอาเซียน พร้อมกับยืนยันว่าจะหาทางกลับประเทศให้ได้ แต่ไม่ได้เปิดเผยว่าจะทำอย่างไรหรือเมื่อใด้านสหภาพยุโรปหรืออียูเรียกร้องให้กัมพูชาปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง สร้างบรรยากาศให้มีฝ่ายค้านที่เชื่อถือได้ และมีกระบวนการปรองดองแห่งชาติผ่านการเจรจาอย่างแท้จริงและครอบคลุมทุกฝ่าย คณะกรรมาธิการยุโรปซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารของอียูจะออกรายงานเบื้องต้นในวันนี้ว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าที่ให้แก่กัมพูชาเนื่องจากกวาดล้างฝ่ายค้าน ก่อนจะตัดสินใจในขั้นสุดท้ายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าอียูให้สิทธิพิเศษแก่กัมพูชาในโครงการส่งออกทุกอย่างยกเว้นอาวุธหรืออีบีเอ เข้าอียูโดยไม่เสียภาษี และเป็นตลาดนำเข้าสินค้ากัมพูชากว่าหนึ่งในสาม รอยเตอร์รายงานว่า ทางการกัมพูชาจับกุมคนไปไม่ต่ำกว่า 50 คนแล้วนับตั้งแต่นายสม รังสี ประกาศว่าจะกลับประเทศในวันที่ 9 พฤศจิกายนขณะเดียวกันนายเข็ม โสกา หนึ่งในแกนนำฝ่ายค้านกัมพูชา ร่วมหารือกับนายคริสเตียน เบอร์เกอร์ ทูตเยอรมนีประจำกรุงพนมเปญ และนางแองเจลา คอคอร์แรน ทูตออสเตรเลียประจำกรุงพนมเปญ ซึ่งเดินทางมาพบเขาที่บ้านพักในกรุงพนมเปญ
โดยโฆษกส่วนตัวเผยว่า นายเข็ม โสกาได้พูดคุยกับทูตเยอรมนีและทูตออสเตรเลียเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของนายเข็ม รวมทั้งการเสริมสร้างประชาธิปไตยในกัมพูชา การพบหารือครั้งนี้มีขึ้นหลังศาลกัมพูชายกเลิกคำสั่งกักบริเวณนายเข็ม โสกา อย่างไรก็ตาม เขายังถูกตั้งข้อหากบฏ ห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง รวมทั้งห้ามเดินทางออกนอกประเทศ
นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงานกล่าวเตือนว่า แรงงานเครื่องนุ่งห่มนับหมื่นนับแสนคนในกัมพูชาอาจเผชิญต่อการเอารัดเอาเปรียบ หากมาตรการคว่ำบาตรทางการค้าของสหภาพยุโรปที่ถูกเสนอขึ้นมานั้นทำให้แบรนด์แฟชั่นรายใหญ่ลดขนาดการดำเนินการในกัมพูชาลง อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเป็นแหล่งจ้างงานที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา และทำรายได้ราว 7,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี แต่อุตสาหกรรมนี้กำลังเผชิญต่อความไม่แน่นอน หลังสหภาพยุโรปเริ่มกระบวนการที่อาจทำให้อัตราภาษีถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในเดือน ส.ค.2563สภาหอการค้ายุโรป ประเมินว่า ตำแหน่งงานกว่า 90,000 ตำแหน่ง จะตกอยู่ในความเสี่ยง หากสหภาพยุโรประงับสิทธิพิเศษทางการค้าเนื่องจากประวัติด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยของกัมพูชาผู้จัดการแผนกจัดหาของบริษัท Primark ของอังกฤษ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า บริษัทของยุโรปจะถอนการผลิตในกัมพูชา หากสิทธิพิเศษทางการค้ายุติลง ขณะที่หัวหน้าฝ่ายการผลิตของบริษัท H&M ของสวีเดนได้กล่าวเตือนถึงการสะท้อนกลับอย่างรุนแรงแรงงานที่ตกงานซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง น่าจะจบลงที่อุตสาหกรรมบันเทิงและการบริการ ตามบาร์ ร้านนวด และอาจเผชิญต่อการเอาเปรียบจากการหาประโยชน์ทางเพศ ขุม ถาโร จากศูนย์พันธมิตรแรงงานและสิทธิมนุษยชน ระบุ “ไม่มีความปลอดภัยในภาคส่วนเหล่านี้” ผู้ประสานงานโครงการขององค์กรการกุศล กล่าวทางเลือกอีกทางหนึ่งคือการอพยพมาที่ไทย ที่คาดว่ามีชาวกัมพูชาราว 2 ล้านคนทำงานอยู่ ซึ่งหลายคนไม่มีเอกสารและเสี่ยงที่จะตกเป็นแรงงานทาสยุคใหม่“ไม่ว่าทางใด ความเสี่ยงร้ายแรงก็จะเกิดขึ้น” ขุม ถาโร กล่าวกัมพูชาได้ประโยชน์จากโครงการการค้า “Everything But Arms” (EBA) ของสหภาพยุโรป ที่อนุญาตให้ประเทศด้อยพัฒนาของโลกส่งออกสินค้าส่วนใหญ่ไปยังสหภาพยุโรปได้โดยไม่มีอัตราภาษีสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา มีสัดส่วน 45% ของการส่งออกของประเทศในปี 2561 โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศจ้างแรงงานราว 700,000 คน และเครื่องนุ่งห่มเหล่านั้นครองสัดส่วนขนาดใหญ่ของการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ในมูลค่าราว 5,500 ล้านดอลลาร์แต่มูลค่าของการส่งออกไปยุโรปลดลงราว 600 ล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ตามการระบุของเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มกัมพูชา (GMAC)“คุณสามารถมองเห็นผลกระทบได้แล้วเพียงแค่การขู่ว่าจะถอนสิทธิ” เคน ลู กล่าว และคาดการณ์ว่า ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 เป็นต้นไป จะมีคนตกงานจำนวนมากหากสิทธิพิเศษทางการค้าถูกเพิกถอนเดวิด เซฟแมน หัวหน้าฝ่ายการผลิตของ H&M กล่าวว่า บริษัทจะทำธุรกิจในกัมพูชาน้อยลงหากสิทธิประโยชน์ทางการค้ายุติลง โดยจีนและอินโดนีเซียจะเป็นประเทศทางเลือกด้านผู้จัดการฝ่ายจัดหาสำหรับจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของบริษัท Primark ที่มีโรงงานราว 20 แห่งในกัมพูชา กล่าวว่า การอยู่ในประเทศโดยไร้ซึ่งข้อตกลงการค้าจะเป็นความท้าทายครั้งใหญ่การเข้าร่วมการประชุมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในกรุงพนมเปญ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทกล่าวว่า พวกเขากำลังทำงานกับซัปพลายเออร์ในกัมพูชาเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตเพื่อให้การตกงานเกิดขึ้นน้อยที่สุดแรงงานในโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาส่วนใหญ่เป็นหญิงสาวที่ต้องดูแลครอบครัวขยาย“หญิงสาวเหล่านี้..ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม พวกเขาไม่ได้ทำงานเพื่อตัวเองเพียงเท่านั้น มันส่งผลกระทบต่อผู้คนเกือบ 1 ล้านครัวเรือน” ผู้ประสานงานจากองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ กล่าว.
ຂີດແຕ່ລະເທື່ອ ຂະເມນກໍ່ຫຍັງເຂົ້າໃກ້ຈີນຈົນຊິແນບເນື້ອ.