ໄທຍ-ພະມ້າ ຕ້ານຜະເດັດການ
ສປປລາວເຮົາເດີ..? ທ່ານຫຳໂຕ່ງ ປະຊາຊົນບໍ່ອອກມາຕ້ານຜະເດັດການນຳເຂົາບໍ...?
ทหารพร้อมยิงประชาชน ออกกฎหมายหมิ่นนายพลติดคุกหมด
ການນຳ ສປປ ລາວ ປະຕິບັດແຜນນະໂຍບາຍຂອງຂັ້ນເທິງໄດ້ດີແລ້ວ
ປະຊາຊົນຈຶ່ງໄດ້ແຕ່ໂຮມຊຸມເບຍລາວ ແລະ ຕັ້ງໜ້າຜະລິດເດັກ ຮາໆໆ.
ຣັຖະບານທະຫານມຽນມາເຄີຍຖືກໂດດດ່ຽວມາແລ້ວຫລາຍທົສະວັຕ
ແຕ່ເຂົາກໍ່ສາມາດຢູ່ລອດ ແລະ ຢູ່ຢ່າງເຂັ້ມແຂງອີກດ້ວຍ ຍ້ອນມີຈີນ
ແລະ ລູກສະໝຸນຂອງຈີນ ຂອງຣັສເຊຍໃຫ້ຄວາມຊ່ອຍເຫຼືອ.
ແມ່ນບໍ່ທ່ານ ບັກຫຳນ້ອຍ ?
ປະຊາຊົນມຽນມາ. ເຂົາຢູ່ກັບລັດຖະບານທະຫານມາເປັນເວລາດົນນານແລ້ວ. ນານຈົນພວກເຂົາຮູ້ວ່າບໍ່ມີສິ່ງໃດດີ. ຈະໃຫ້ພວກເຂົາກັບໄປຢູ່ກັບລັດຖະບານທະຫານອີກ.. ປະຊາຊົນຈະບໍ່ເຫັນດີ ນຳ.
Protesters use cars to block roads, step up rallies amid military build-up in Yangon
ความวุ่นวายทางการเมืองในเมียนมายังไม่มีแววว่าจะจบลงง่ายๆ ขณะที่ผู้ชุมนุมยังคงเดินหน้าประท้วงกองทัพเมียนมาพร้อมเรียกร้องให้ปล่อยตัวออง ซาน ซูจี รวมทั้งแกนนำคนอื่นๆของพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย(เอ็นแอลดี) ฝ่ายกองทัพยังคงยืนยันว่าปฏิบัติการรวบตัวผู้นำรัฐบาลพลเรือนและเหล่าแกนนำเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ไม่ใช่การรัฐประหารยึดอำนาจ แต่เป็นปฏิบัติการที่ชอบธรรม พร้อมทั้งสัญญาว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชนเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่
“โยชิโนริ อิโซซากิ” ประธานและซีอีโอบริษัทเบียร์คิริน ซึ่งเป็นแบรนด์เบียร์ชั้นนำสัญชาติญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เว็บไซต์นิกเคอิ ยืนยันว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนของการยุติการเป็นพันธมิตรกับบริษัทในเมียนมาที่มีสายสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมาและตั้งเป้าว่าจะถอนการลงทุนในเมียนมาภายใน1ปี ขณะที่สถานการณ์การเมืองในเมียนมาสั่นคลอนความเชื่อมั่นของบรรดานักลงทุนต่างชาติในดินแดนนี้
"ผมต้องการยุติความสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมา ต้องการยุติการทำธุรกิจในดินแดนนี้ภายในช่วงฤดูใบไม้ผลิ คือประมาณเดือนมี.ค.-พ.ค.และต้องการถอนธุรกิจทั้งหมดจากเมียนมาใน1ปี" ซีอีโอเบียร์คิริน กล่าว
ซีอีโอคริน ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 5ก.พ.ที่ผ่านมาว่า จะยุติการเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทเมียนมา อีโคโนมิค โฮลดิงส์ (เอ็มอีเอชแอล)ซึ่งร่วมทุนกับผู้ผลิตเบียร์สองแห่งในเมียนมาคือ เมียนมา บริวเวอรี และมัณฑะเลย์ บริวเวอรี ระบุว่า ปฏิบัติการของกองทัพเมียนมาขัดต่อมาตรฐานและนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท
“เรื่องนี้สร้างความเสี่ยงที่จะทำให้ชื่อเสียงของคิรินเสียหายและนี่คือตัวแปรหลักที่ทำให้บริษัทตัดสินใจยุติการเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทเบียร์ในเมียนมา ความนิยมเป็นเรื่องสำคัญในการทำธุรกิจเบียร์ ยิ่งปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในเมียนยืดเยื้อมากเท่าใด ธุรกิจเบียร์ของคิรินยิ่งเสียหายมากเท่านั้น”อิโซซากิ กล่าว
ปัจจุบัน คิรินถือหุ้นในบริษัทเบียร์ร่วมทุนในเมียนมา 51% ส่วนหุ้นอีก 49% ที่เหลือบริษัทเอ็มอีเอชแอลเป็นผู้ถือ
อิโซซากิ กล่าวว่า “คิรินพยายามมองหาหุ้นส่วนรายอื่นที่ไม่มีสายสัมพันธ์กับกองทัพมาแทนที่บริษัทเอ็มอีเอชแอล และเบื้องต้นการตอบสนองของบริษัทเอ็มอีเอชแอลต่อกรณีที่คิรินประกาศเลิกเป็นหุ้นส่วนด้วยเป็นไปอย่างเป็นมิตรมาก แต่ก็ยอมรับว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าเอ็มอีเอชแอลยังคงเห็นพ้องที่จะขายหุ้นในบริษัทร่วมทุนหรือไม่ และทราบมาว่า การตัดสินใจในเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของผู้บัญชาการทหาร”
ประธานและซีอีโอบริษัทเบียร์คิริน ยังกล่าวด้วยว่า คิรินตั้งใจทำธุรกิจในเมียนมาต่อไปแต่อาจจะต้องถูกบังคับให้ถอนธุรกิจทั้งหมดออกจากประเทศนี้ หากว่าบริษัทเอ็มอีเอชแอลไม่ยอมขายหุ้น "สิ่งสำคัญอันดับต้นๆของเราคือการซื้อหุ้นคืนจากพวกเขา ถ้าเราไม่สามารถทำได้ เราก็ไม่มีทางเลือกนอกจากถอนธุรกิจทั้งหมดออกจากเมียนมา
ข้อมูลของบริษัทคิริน ระบุว่า บริษัทร่วมทุนในเมียนมาที่คิรินร่วมทำธุรกิจด้วยคือเมียนมา บริวเวอรี มียอดขายเมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว 300 ล้านดอลลาร์ มีกำไรจากการดำเนินงานโดยรวมทั้งกลุ่มบริษัท 8.5% เพิ่มขึ้นจาก 6.8% ของปีก่อนหน้านี้
เมียนมา บริวเวอรี เป็นจ้าวตลาดเบียร์ในเมียนมา โดยมีแบรนด์ที่เป็นเรือธงคือ เมียนมา เบียร์ คิรินได้เข้าซื้อหุ้นในสัดส่วน 55% ในบริษัทนี้ในมูลค่า 560 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2558 และต่อมาคิรินได้โอนหุ้น 4% ที่ถืออยู่ในเมียนมา บริวเวอรี ให้แก่บริษัทเอ็มอีเอชแอล
อิโซซากิ กล่าวปกป้องการตัดสินใจลงทุนในเมียนมาเมื่อปี 2558ของคิรินว่าในปีนั้น พรรคเอ็นแอลดีของนางซูจีชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนถล่มทลายและได้เป็นรัฐบาลพลเรือนบริหารประเทศและการร่วมทุนของคิรินกับบริษัทเบียร์ท้องถิ่นของเมียนมาก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าบริษัทเอ็มอีเอชแอลไม่ได้มีสายสัมพันธ์กับกองทัพ
ในขณะที่ผู้สังเกตุการณ์ วิตกกังวลว่ากองทัพอาจใช้กำลังเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง เพราะสิ่งนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ที่แน่ๆคือหลังเกิดการรัฐประหาร ธุรกิจและเศรษฐกิจในเมียนมาก็ไม่เหมือนเดิมคือเต็มไปด้วยความไม่มั่นใจ รวมทั้งตลาดเงินในประเทศ โดยค่าเงินจั๊ต ดิ่งลง 7% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์เมียนมา ปรับตัวลง 4% นับตั้งแต่กองทัพเข้ายึดอำนาจ
ราคาทองคำในเมียนมาปรับตัวขึ้นประมาณ 5% เมื่อชาวเมียนมาพากันซื้อทองคำเพื่อปกป้องการลงทุนในช่วงที่ประเทศกำลังอยู่ในสถานการณ์การเมืองวุ่นวาย
นักธุรกิจต่างชาติรายหนึ่ง ที่ปฏิเสธเปิดเผยชื่อ ระบุว่า รู้สึกกังวลอย่างมากว่าสถานการณ์การเมืองในเมียนมาจะนำไปสู่การคว่ำบาตรจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจากสหภาพยุโรป(อียู) เพราะปัจจุบัน เมียนมาได้ประโยชน์จากจีเอสพีของอียู ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร ช่วยให้เมียนมาแข่งขันกับคู่แข่งที่ใหญ่กว่าได้ หากอียูตัดสินใจตัดสิทธิ์จีเอสพีจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคธุรกิจ
ในช่วงแรกของการรัฐประหาร เกิดกระแสความหวาดกลัวในหมู่แรงงานที่ทำงานในบริษัทของนักธุรกิจต่างชาติรายนี้อย่างมาก จนส่งผลให้แรงงานบางส่วนขอลาออกและอีกอย่างน้อย 20 คนบอกว่าอยากกลับไปที่หมู่บ้านเพราะรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย ส่วนคนงานก่อสร้างที่มาสร้างโรงงานแห่งใหม่ให้เขา ก็ไม่ยอมกลับมาทำงาน เพราะไม่มั่นใจเกี่ยวกับชีวิตของตัวเอง
“พวกเขาหวาดกลัวมาก พ่อแม่ของพวกเขาซึ่งเคยมีประสบการณ์การปราบปรามของกองทัพในช่วงปี 2523 ขอร้องให้พวกเขากลับบ้าน เพื่อความปลอดภัย” นักธุรกิจต่างชาติ ที่ปฏิเสธเปิดเผยชื่อ กล่าว
ຖ້າມີປະເທດມະຫາອຳນາດໜູນຫລັງ ອາດຈະເກີດມີການປະທ້ວງການເມືອງເກີດຂຶ້ນໃນ ສປປ ລາວ