อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายคาดว่า การประชุม 2 ชั่วโมงในวันนี้ ไม่น่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรได้มากนัก แต่การที่พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ตอบรับคำเชิญ และมาร่วมการประชุมต่อหน้าผู้นำประเทศคนอื่นๆ ก็เป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่ง
และยังนับว่าครั้งนี้เป็นการประชุมที่มีการเดินทางมาร่วมประชุมกันแบบเจอหน้าเจอตากันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีเพียงการประชุมผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์มาโดยตลอด
การประชุมผู้นำอาเซียนในครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางการประท้วงในอินโดนีเซีย บริเวณใกล้สถานที่จัดการประชุม เพื่อประท้วงการใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ชุมนุมในเมียนมา โดยมีตำรวจเข้ามารักษาความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย นายโรดริโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ และ นายพันคำ วิภาวัน นายกรัฐมนตรีลาว ไม่ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ โดยให้รัฐมนตรีต่างประเทศเข้าร่วมประชุมแทน.
ที่ประชุมผู้นำอาเซียมีมติ เรียกร้องให้ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา ยุติการใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ชุมนุมต้านรัฐประหาร และให้เปิดเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่าย
สำนักข่าว บีบีซี รายงานว่า เมื่อวันเสาร์ที่ 24 เม.ย. 2564 ผู้นำอาเซียนจัดการประชุมวาระพิเศษที่กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย โดยมีพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำกองทัพเมียนมาซึ่งก่อรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ เดินทางมาร่วมประชุมด้วย
ในแถลงการณ์ซึ่งออกมาหลังจากจบการประชุมดังกล่าว ระบุว่า ผู้นำและรัฐมนตรีต่างประเทศจาก 10 ขาติสมาชิกสมาคมประชาชาติแแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน มีมติร่วมกันใน 5 ข้อ ซึ่งรวมถึงการขอให้กองทัพเมียนมาหยุดใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมในทันที
นอกจากนี้ อาเซียนยังขอให้เมียนมาเปิดการเจรจาระหว่างกองทัพและผู้นำพลเรือน โดยมีผู้แทนพิเศษจากชาติอาเซียร่วมสังเกตการณ์ อาเซียนยังเสนอจะมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมาด้วย
มติดังกล่าวได้รับการยอมรับจากรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ซึ่งเป็นรัฐบาลเงาก็ตั้งโดยกลุ่มสมาชิกรัฐสภาเมียนมาที่ถูกกองทัพโค่นอำนาจ, กลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตย, ผู้แทนจากกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อย และกลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหาร
ด้านนาย ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ กล่าวหลังการประชุมว่า นายพลมิน อ่อง หล่าย ไม่ได้ต่อต้านการให้คณะผู้แทนอาเซียนไปเยือน หรือรับการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม “เขาว่าเขาได้ยินเสียงพวกเราแล้ว และเขาจะรับในสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นประโยชน์”
ส่วนนาย มูห์ยิดดิน ยัสซิน นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เรียกร้องให้เมียนมาปล่อยนักโทษการเมืองโดยไม่มีเงื่อนไข โดยตอนนี้นางออง ซาน ซูจี อดีตผู้นำเมียนมา กับแกนนำการต้านรัฐประหารคนอื่นๆ ยังคงอยู่ในการควบคุมของกองทัพ
ทั้งนี้ การประชุมที่อินโดนีเซียถือเป็นความพยายามครั้งใหญ่ครั้งแรกในการแก้วิกฤติในเมียนมา โดยประชาชนจำนวนมากมารวมตัวกันที่หน้าสถานที่จัดการประชุม ตีหม้อ, กระทะ และถือป้ายข้อความว่า “ฟื้นฟูประชาธิไตย” กับ “เราต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพ” การประท้วงยังเกิดขึ้นตามเมืองหลักๆ ในเมียนมา แต่ยังไม่มีรายงานว่าเกิดเหตุรุนแรงใดๆ
ນາຍຍົກລາວກັບໄທຍ ພວກເຂົາຢານຄຳວ່າ.
ເພາະສອງປະເທດນີ້ຢຶດຖື ຜະເດັກການເປັນຫລັກ ແມ່ນເບາະ ທ່ານຫຳໂຕ່ງ?
การประชุมครั้งนี้มีสุลต่าน ฮัสซานนาล โบเกียห์แห่งบรูไนเป็นประธาน ออกเเถลงการณ์ว่า ประเทศสมาชิกอาซียนเห็นพ้องต้องกันในห้า5ประเด็น
เกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา
1. อาเซียนเรียกร้องให้ยุติการใช้ความรุนเเรงและวิงวอนให้ทุกฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจ
2. ผู้นำประเทศต่างๆเห็นพ้องต้องกันว่าควรมีการเริ่มเจรจาหาทางออกอย่างสันติ เพื่อผลประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศ
3.ประธานอาเซียนจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พิเศษทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในกระบวนการเจรจาเพื่อให้เกิดทางออกอย่างสันติ
4. อาเซียนจะให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยธรรม
5. ตัวเเทนพิเศษของประธานอาเซียนจะเดินทางไปเมียนมาเพื่อพบกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ข้อตกลงทั้ง5ข้อนี้ เป็นผลจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่เริ่มต้นขึ้นในวันเสาร์(24เม.ย.) ระบุถึงการเห็นพ้องต้องกันของผู้นำทุกประเทศที่ร่วมประชุม ซึ่งรวมถึงพลเอกมิน อ่อง หล่ายที่ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนางออง ซาน ซูจีเมื่อเดือนก.พ.
อย่างไรก็ตาม ประชาชนเมียนมาที่ประท้วงการโค่นอำนาจครั้งนี้ถูกกองทัพเมียนมาใช้ความรุนเเรงปราบปรามจนทำให้เสียชีวิตไปแล้วจำนวนกว่า 700 รายด้วยกัน
ในส่วนของไทย โดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความทางทวิตเตอร์โดยแนะนำหลักการที่เรียกว่า D4D เพื่อสร้างประชาธิปไตยและการพัฒนาในเมียนมาคือ 1. ลดระดับความรุนแรง 2. ส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการแพทย์3. ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง และ 4. เปิดให้คู่ขัดแย้งได้เข้าร่วมการเจรจา
ຣັຖະບານ ສປປ ລາວ ຖືເຄັ່ງຄັດກົດບັດອາຊຽນທີ່ວ່າດ້ວຍການບໍ່ແຊກແຊງກິຈະການພາຍໃນປະເທດສະມາຊິກ
ຫລືເວົ້າງ່າຍໆວ່າ ຢ້ານຈີນເຕະກົ້ນທີ່ໄປຕ້ອງຕິການກະທຳຂອງເດັກຈີນ, ປະມານນັ້ນລະ.