ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: Fears over growing Chinese industry in Laos
Anonymous

Date:
Fears over growing Chinese industry in Laos
Permalink   
 


Fears over growing Chinese industry in Laos


Boten, Laos
Local tribes woman walking past Chinese shops, Boten, Laos
Lao people live surrounded by Chinese stores and Chinese road signs in Boten

 

Chinese investment in neighbouring Laos has locals worried that the rubber plantations and casinos it is setting up are damaging their way of life.

Place your bets!

The croupier pings the bell to bring to an end the flurry of Chinese banknotes being flung onto the baccarat table.

Chinese shops in Boten, Laos
The Lao government has been leasing land to China for 60 years

Everyone is backing one man in particular who has been on a winning streak.

The croupier deals two cards and then reveals what the man has to beat - the nine of clubs.

All attention turns back to the man, who turns over the other card and then slams it down onto the felt with a flourish.

Jack of hearts.

Everybody cheers - he has won and so they have, too.

This casino is one of several in the town of Boten, where guests are greeted with a deferential "ni hao", "hello" in Mandarin Chinese.

What is remarkable is that this casino is not in China, where gambling is strictly forbidden, but across the border in neighbouring Laos.

Investors have leased the whole town and its surroundings from the Lao government for 60 years.

Rapid expansion

In Boten, the road signs are all in Chinese, staff in the hotels speak Mandarin, and the town's main strip is a line of food stalls selling dumplings and fried duck, outside which young Chinese prostitutes parade up and down until all hours of the night.

I meet Robert, a security guard who works in the casino, having a crafty cigarette break outside.

"This used to be just a rubbish Lao village," Robert tells me.

We should spend money on rice but instead we spend it on phonecards and alcohol
Borsai - Lao villager

"They gave each of the villagers around $800 (£488) and told them to get out of here.

"Since then it's basically a Chinese town."

And Chinese investments in Northern Laos go a lot further than Boten's casinos.

Several Chinese rubber companies have begun to build offices in nearby Luang Namtha.

Just over the border, China's Yunnan province is a booming centre of the global rubber processing industry, producing rubber for everything from car tyres to condoms.

But with no room left to plant more trees there, Chinese companies are having to look further afield.

The Lao government believes it has spotted an opportunity.

Gambling that Chinese rubber money could open a fast track to development in the region, it has offered generous incentives in the form of tax breaks and land concessions.

Ban Chagnee is a Lao village in one of those concessions.

Lao villagers who work on a rubber plantation
Lao villagers are concerned by the influx of Chinese companies

I arrive in the village in the middle of a particularly torrential downpour, and a thin young man with a long, drawn face called Borsai invites me in to shelter from the rain.

While his chickens cluck loudly in the backyard, Borsai squats on the floor and pours us both a glass of whisky.

"Four years ago," he says, sliding the glass towards me, "the military came and told us the government had sold our land. Anyone who tried to grow rice there again would be arrested."

The army offered poor compensation.

"They paid me 15 pence for every day's work I had done," he says.

"Nothing for the rice, let alone for the land."

The Lao government argues that the strategy of trading villagers' land in exchange for jobs is necessary to benefit the country as a whole.

But Borsai says only the politicians and the generals profit through backhanders and corruption.

"We prefer the old way of life," says Borsai.

"Yes, we can make money if we work for the Chinese, but our expenses are higher.

"We should spend money on rice but instead we spend it on phonecards and alcohol."

Heaven help him when the casinos and prostitutes arrive.

'Worrying' trend

It is not only Chinese companies that can grow rubber in Laos.

Map of Laos

Fifty miles (80.4km) down the road, Han Yuang boldly tells me that he was in fact the first man in Laos to plant rubber 14 years ago.

Han is now in his 60s. He learned the skills needed to grow rubber during the time he was exiled in China after the Vietnam war.

Now back in Laos, he and his sons farm 50 acres of rubber that will produce a very good income this year.

He shared his knowledge freely so that now every family in the village is benefiting from rubber.

"We're not rich here," says Han as he smiles with his two remaining teeth.

"Let's just say we have enough."

But Han is not happy with everything that he sees.

"I worry about all the Chinese companies coming into Laos," he says.

"How will they find enough people to work all those trees?"

A rubber plantation requires three or four people per acre to maintain it once in full production.

Add up all the land ceded to Chinese companies already, and that means over a million people are going to be needed.

"Are they planning to bring a million Chinese here to Laos?" asks Han.

"What will that do to our culture?"



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

เสียดินแดน"ปราสาทพระวิหาร" ประวัติศาสตร์หลอกไพร่ไปตายแทน สังคมวัฒนธรรม สุวรรณภูมิ

วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 11:00:24 น.

Share217

13106156301310615680.jpg


โดย ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

<!-- P { margin: 0px; } -->



pra01140754p1.jpg
"ผืนดินแลกเปลี่ยน" ในแผนที่ Covention du 7 Octobre 1902 (ขนาด 400x296 มม.) โดยกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส จากหนังสือ Documents diplomatiques affairs de Siam 1893-1902 (พ.ศ.2436-2445) พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงปารีส พ.ศ.2445 (ค.ศ.1902) ตรงกับปลายรัชกาลพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5

แสดงเขตแดนสยามตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2445 (ค.ศ.1902) พื้นที่แรเงา คือดินแดนที่สยามเสนอให้ฝรั่งเศส ได้แก่ หลวงพระบางฝั่งขวาบางส่วน จำปาศักดิ์ และมโนไพร แลกกับการให้ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากจันทบุรี แต่อนุสัญญานี้ไม่มีผลใช้บังคับเพราะทางรัฐบาลฝรั่งเศสไม่ยอมให้สัตยาบัน นำไปสู่การเจรจาเพิ่มเติมจนได้อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446 (เท่ากับแบบสากลคือ ค.ศ.1904) โดยสยามยินยอมสละดินแดน 6 ผืน คือ หลวงพระบางฝั่งขวาทั้งหมด จำปาศักดิ์ มโนไพร ตราด ด่านซ้าย และฝั่งซ้ายแม่น้ำคอบ แลกกับการให้ฝรั่งเศสถอนออกจากจันทบุรี

(ภาพจาก ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจและแผนที่ ระหว่างสยามประเทศไทยกับประเทศอาเซียนเพื่อนบ้าน โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ)

บทความชื่อ "เสียดินแดน" เป็นประวัติศาสตร์หลอกไพร่ไปตายแทน (เพราะ "ไทย" ไม่เคยเสียดินแดน) ของ ศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เขียนอธิบายถึงความรู้ประวัติศาสตร์เรื่อง "การเสียดินแดน" ว่าวางอยู่บนความเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างผิดๆ โดยได้อ้างถึงระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในอุษาคเนย์สมัยก่อนศตวรรษที่ 20 ไว้ จะสรุปมาย่อๆ ดังนี้

′รัฐเจ้าพ่อ′ในอุษาคเนย์


รัฐสมัยเก่าไม่ถือการครอบครองดินแดนเป็นเรื่องสำคัญ แต่เป็นเรื่องของเจ้าที่มีอำนาจมากถืออำนาจบาตรใหญ่เหนือเจ้าที่มีอำนาจน้อยกว่า ลดหลั่นเป็นลำดับชั้นกันลงไปคือ เป็นความสัมพันธ์แบบ "เจ้าพ่อ"

เจ้าพ่อรายใหญ่ย่อมเรียก "ค่าคุ้มครอง" จากเจ้าพ่อรายเล็กกว่าในรูปของส่วยสาอากรผลประโยชน์ต่างๆ และไพร่พล จากนั้นเจ้าพ่อทั้งรายใหญ่รายเล็กก็ไปขูดรีดเอากับไพร่ฟ้าข้าไทในเขตอิทธิพลของตนอีกทอดหนึ่ง

อำนาจของเจ้าพ่อรายเล็กจึงอยู่ที่อำนาจเหนือไพร่ฟ้าข้าไทในเขตอิทธิพลของตน อำนาจของเจ้าพ่อรายใหญ่จึงอยู่ที่อำนาจเหนือเจ้าพ่อรายเล็กและไพร่ฟ้าข้าไทในเขตอิทธิพลของตน

ดังนั้น เจ้าพ่อรายเล็กที่ยอมเป็นเมืองขึ้นหรือประเทศราชของรัฐเจ้าพ่อใหญ่ยังคงมีอำนาจเหนือเมือง วัง ไพร่ฟ้าข้าไทและเขตอิทธิพลของตน เพียงแต่ไม่ถือว่าเป็น "อิสระ" (คำว่า "อิสระ" แต่เดิมหมายถึงเป็นใหญ่สูงสุด ความหมายเพิ่งเปลี่ยนเป็น independence พร้อมๆกับรัฐสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 20 นี่เอง) เพราะยอมสวามิภักดิ์ต่อรัฐเจ้าพ่อใหญ่

แต่การสวามิภักดิ์มิได้หมายถึงตกเป็นสมบัติของรัฐเจ้าพ่อใหญ่แต่อย่างใด เพียงหมายถึงยอมอยู่ใต้อำนาจบาตรใหญ่ "ความคุ้มครอง" ของเจ้าพ่อรายใหญ่กว่าและยอมจ่าย "ค่าคุ้มครอง" ตามที่เจ้าพ่อรายใหญ่เรียกมาเท่านั้นเอง

อธิปไตยเหนือดินแดนแบบสมัยนี้จึงยังไม่มี เพราะอำนาจขององค์อธิปัตย์หมายถึงอำนาจเหนือคนคือ เหนือเจ้าพ่อรายเล็กและไพร่ฟ้าข้าไท ไม่จำเป็นต้องมีขอบเขตชัดเจน บางทีก็มีบางทีก็ไม่มีไพร่ฟ้าจะเดินทางไกลไปไหนต่อไหนก็ยังถือว่ายังอยู่ใต้อำนาจของเจ้าองค์เดิม หรือที่เรียกว่า "ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร"

พื้นที่บารมีทับซ้อน

ประเทศราชของอยุธยาและกรุงเทพฯแทบทั้งหมดในประวัติศาสตร์เป็นเมืองขึ้นของเจ้าพ่อใหญ่รายอื่นด้วยในเวลาเดียวกัน เช่น พม่า (อังวะ หงสาวดี) และเวียดนาม (เว้ ตังเกี๋ย)

เพราะในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมัยเก่าแบบเจ้าพ่อนั้น รัฐเล็กๆ ถือว่ายอมอ่อนน้อมต่อเจ้าพ่อใหญ่ดีกว่าต้องโดนเจ้าพ่อลงโทษ ครั้นเจ้าพ่อใหญ่หลายรายมาเรียก "ค่าคุ้มครอง" ก็ยอมซะเท่าที่ยังพอทนไหว (หากทนไม่ไหวค่อยฟ้องเจ้าพ่อ ก. ให้มาจัดการกับเจ้าพ่อ ข.)

ประเทศราชของอยุธยาและกรุงเทพฯ จึงเป็นประเทศราชของ 2-3 เจ้าพ่อใหญ่ในเวลาเดียวกัน เจ้ากรุงเทพฯมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 รู้ข้อนี้ดีว่าประเทศราชไม่เคยขึ้นต่อสยามแต่ผู้เดียว

แต่ครั้นทุกรัฐรับธรรมเนียมสมัยใหม่จากฝรั่งในปลายศตวรรษที่ 19 ที่ไม่ยอมรับอำนาจเหนือดินแดนแบบซ้อนทับอีกต่อไป และถือการครอบครองดินแดนเป็นเรื่องใหญ่ จึงต้องแย่งชิงกันว่าดินแดนของประเทศราชเป็นของใครกันแน่แต่ผู้เดียว

ความขัดแย้งระหว่างสยามกับอังกฤษ ฝรั่งเศสสมัยรัชกาลที่ 5 คือ การพยายามแข่งขันกันช่วงชิงดินแดนประเทศราชมาเป็นของตนแต่ผู้เดียว กรณี "เสียดินแดน" คือผลของการแย่งชิงกันแล้วสยามแพ้ สยาม "ไม่ได้ดินแดนมาเป็นของสยามแต่ผู้เดียว" ฝรั่งชนะจึงได้ไป

ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมของรัฐไทยสมัยใหม่จึงแย่ยิ่งกว่าเจ้ากรุงเทพฯ แบบก่อนศตวรรษที่ 20 เสียอีก

คือหลงคิดว่าประเทศราชเป็นของตนแต่ผู้เดียวมาแต่โบราณ ครั้นแย่งดินแดนประเทศราชกันแล้วแพ้เขา จึงเรียกว่า "ไทยเสียดินแดน"

"เสียดินแดน"ประวัติศาสตร์หลอกไพร่ให้เข้าใจผิด

ในเมื่อไม่เคยเป็นเจ้าของดินแดนประเทศราช ไม่เคยเป็นเจ้าพ่อใหญ่แต่ผู้เดียวด้วยซ้ำไป แถมอำนาจเหนือดินแดนไม่มีขอบเขตชัดเจน การ "เสียดินแดน" แท้ที่จริงแล้วจึงเป็นการเสียอำนาจแบบเจ้าพ่อแบบโบราณ คือ ไม่สามารถอวดอ้างความเป็นอธิราชได้อีกต่อไป เรียกให้เขาอ่อนน้อมไม่ได้แล้ว เรียกเก็บผลประโยชน์ก็ไม่ได้เช่นกัน

ในจารีตแบบรัฐราชาธิราชหรือรัฐเจ้าพ่อแบบสมัยเก่านั้น นี่เป็นการเสียพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินอย่างที่สุดประเภทหนึ่ง

ความเจ็บปวดของเจ้ากรุงเทพฯ จึงเป็นเรื่องของการที่พระองค์เสียพระเกียรติยศอย่างสาหัส ไม่ใช่การ "เสียดินแดน" ในแบบที่เราวัดกันออกมาได้เป็นตารางกิโลเมตร

กล่าวโดยสรุป ประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมเรื่องการ "เสียดินแดน" มีองค์ประกอบทางปัญญาสำคัญ 2 ประการ คือ

1.ต้องอ้างว่าเป็นเจ้าของดินแดนประเทศราชมาแต่โบราณซึ่งเป็นทรรศนะประวัติศาสตร์ของเจ้ากรุงเทพฯ และต้องถือเอาความเจ็บปวดของเจ้ากรุงเทพฯ มาเป็นของตนด้วย

2.ต้องอ้างว่าเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวแบบชาตินิยมของรัฐชาติสมัยใหม่

องค์ประกอบทั้งสองประการเริ่มประมวลเข้าด้วยกันวาทการวาทกรรมการ "เสียดินแดน" โดยฝีมือของนักชาตินิยมอย่างหลวงวิจิตรวาทการและอีกหลายคนร่วมสมัยกับเขา โดยเริ่มผลิตมาตั้งแต่ประมาณต้นทศวรรษ 2470 (ก่อนการเปลี่ยนแปลง 2475 เล็กน้อย) และกลายเป็นส่วนสำคัญของลัทธิชาตินิยมของรัฐไทยช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อันนำไปสู่การ "เรียกร้องดินแดนคืน" ในปี 2483

และกรณีดังกล่าวมีผลให้วาทกรรมและความเข้าใจประวัติศาสตร์ (ผิดๆ) เรื่องการ "เสียดินแดน" ฝังแน่นในสังคมไทย

วาทกรรมและประวัติศาสตร์การ "เสียดินแดน" เป็นประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมตัวพ่อ คือ ทั้งทรงพลัง เป็นฐานอย่างหนึ่งที่มีส่วนก่อรูปก่อร่างความคิดชาตินิยมของไทยตั้งแต่เริ่มและยังคงเป็นฐานรากค้ำจุนชาตินิยมของไทยมาจนทุกวันนี้

แถมยังเป็นฐานภูมิปัญญาไทยอย่างหนึ่งที่ให้กำเนิดอุดมการณ์ ความเชื่อ วาทกรรมชาตินิยมอีกมากมาย

คนที่ยังหลงงมงายกับประวัติศาสตร์การ "เสียดินแดน" ก็เท่ากับยังหลงเชื่อประวัติศาสตร์แบบที่เจ้ากรุงเทพฯและพวกอำมาตย์ชาตินิยมต้องการ

มีแต่คนที่รับใช้เจ้าจนตัวตายรับใช้เจ้านายห้วปักหัวปำเท่านั้นแหละที่เที่ยวป่าวร้องอยู่ในกรุงเทพฯให้ไพร่ราบทหารเกณฑ์ไปตายแทน

ปราสาทพระวิหาร ประเทศไทย "เสีย" หรือ "ได้" ดินแดน?

อำนาจดินแดนของรัฐสมัยเก่ามีทั้งซ้อนทับกันและโดยมากไม่กำหนดขอบเขตดินแดนชัดเจน

ดินแดนของรัฐสยามสมัยใหม่ที่ชัดเจนมีเส้นเขตแบ่งปันเพิ่งเกิดขึ้นมาก็ต่อเมื่อแย่งชิงกันจบด้วยกำลังทหาร (ซึ่งสยามสู้ฝรั่งไม่ไหว) สยามจึงไม่เคยเสียดินแดนที่ไม่เคยเป็นของตน รวมถึงพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารด้วย

ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ให้เหตุผลไว้ในบทความเรื่อง "อดีตและอนาคตของปราสาทพระวิหาร" (มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2554) ว่า

การทำสนธิสัญญาในเรื่องเขตแดนกับฝรั่งเศสใน พ.ศ.2447 ซึ่งมีพันธะให้ต้องยอมรับแผนที่แนบท้ายด้วยนี้ รัฐบาลในสมัย ร.5 น่าจะเห็นว่าเป็น "ความสำเร็จ" ที่ยิ่งใหญ่อันหนึ่ง ขณะนั้นยังไม่แน่ชัดว่ามหาอำนาจโดยเฉพาะฝรั่งเศสยอมรับการมีอยู่ของประเทศสยามแค่ไหน เช่น ที่ราบสูงโคราชทั้งหมดเป็นของสยามหรือเป็นดินแดนที่ยังต้องเจรจาต่อรองกันก่อน อย่าลืมว่าใน พ.ศ.2447 ฝรั่งเศสยังยึดจันทบุรี, ตราด และเกาะในอ่าวไทยด้านตะวันออกไว้ทั้งหมด ด้วยข้ออ้างว่าเป็นหลักประกันว่าสยามจะยอมทำตามสัญญายุติความเป็นปรปักษ์กันใน พ.ศ.2436

ฉะนั้น เมื่อฝรั่งเศสยอมลงนามในสนธิสัญญา พ.ศ.2447 จึงเป็นครั้งแรกที่สยามได้อธิปไตยที่แน่ชัด (หรือที่มหาอำนาจรับรอง) บนดินแดนทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือเป็นครั้งแรก เป็นอันหมดกังวลเสียทีกับความเปราะบางของอธิปไตยสยามทางด้านนี้

แผนที่แนบท้ายซึ่งสยามให้คำรับรองไว้ จะบิดเบี้ยวไปจากสันปันน้ำอย่างไร จึงไม่มีความสำคัญนัก เส้นเขตแดนที่เลาะเลียบแม่น้ำโขงและเทือกเขาพนมดงเร็กมีความชัดเจนแน่นอน และประกันความปลอดภัยของสยามสำคัญกว่ากันอย่างเทียบไม่ได้กับปราสาทขอมซึ่งแทบจะไม่มีใครรู้จักเลย

ชาตินิยมที่กำลังบ้าคลั่งอยู่ในขณะนี้จึงเป็นผลผลิตของประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมเรื่อง "เสียดินแดน" ปัญหาเขตแดนระหว่างประเทศเป็นมรดกตกทอดจากยุคอาณานิคมอย่างไม่ต้องสงสัย

แถมยังมีอีกหลายแห่งรอบชายแดนประเทศไทย ไม่ใช่แค่ชายแดนกัมพูชา ที่ไม่มีทางแก้ตกง่ายๆ หรืออาจคาราคาซังแก้ไม่มีทางหมดสิ้นก็เป็นได้

เพราะรากเหง้าของปัญหามาจากระบบความสัมพันธ์ของรัฐแบบสมัยก่อนไม่ถือดินแดนที่ชัดเจนตายตัว กับความสัมพันธ์แบบรัฐชาติสมัยใหม่ที่ถืออธิปไตยเหนือดินแดนที่ชัดเจนตายตัวเป็นเรื่องใหญ่ เข้ากันไม่ได้ อ.ธงชัยกล่าวไว้ในช่วงท้ายของบทความ

...........

ธงชัย วินิจจะกูล อธิบายถึงความรู้ประวัติศาสตร์เรื่อง "การเสียดินแดน" ว่าวางอยู่บนความเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างผิดๆ 4 ประการ ได้แก่

1.เข้าใจผิดว่า รัฐสมัยเก่า (ก่อนศตวรรษที่ 20) ถือการครอบครองดินแดนเป็นเรื่องใหญ่

2.เข้าใจผิดว่า เมืองขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของอธิปไตยของรัฐเจ้าพ่อใหญ่

3.เข้าใจผิดว่า เมืองขึ้นหรือประเทศราชหนึ่งย่อมขึ้นต่อเจ้าพ่อรายใหญ่เพียงรายเดียวเมืองขึ้นของสยามย่อมขึ้นต่อสยามเท่านั้น ดังนั้น ดินแดนประเทศราชย่อมเป็นของประเทศสยามแต่ผู้เดียว

4.เข้าใจผิดว่า ดินแดนของรัฐสมัยเก่ากำหนดชัดเจนแน่นอนว่าตรงไหนของใคร จึงสามารถพูดได้ว่า ไทยเสียดินแดนไปกี่ครั้งกี่ตารางกิโลเมตร

หน้า 20,มติชนรายวันฉบับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2554



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

http://www.youtube.com/watch?v=oVhIeBa_E-I

__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

http://www.youtube.com/watch?v=oVhIeBa_E-I

__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

http://www.youtube.com/watch?v=5Z12YEoyTbg

__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 


http://www.rfa.org/lao/news-about-laos/bokeo-casino-expansion-07132011115651.html

ທ່ານ Edward Loxton ນັກຂ່າວ ອັງກິດ ຂຽນ ບົດຣາຍງານ ລົງ ໜັງສືພິມ The Independent ຂອງ ອັງກິດ ວ່າ ປັດຈຸບັນ ເຂດ ບໍ່ແກ້ວ ມີ ກາຊີໂນ ແລ້ວນຶ່ງແຫ່ງ ຮ້ານຄ້າ ປອດພາສີ ຮ້ານອາຫານ ແລະ ອາຄານ ບ່ອນຢູ່ ອາໄສ ຄົນງານ ຊຶ່ງແມ່ນຈີນ ເປັນສ່ວນຫລາຍ.

ໃນວເລານີ້ ບໍຣິສັດ KingsRoman ຂອງຈີນ ທີ່ເປັນ ເຈົ້າຂອງ ກາຊີໂນ ກຳລັງສ້າງ ຕຶກອາຄານ ອີກຫລາຍຫລັງ. ທ່ານ Loxton ບໍ່ສາມາດ ບອກໄດ້ວ່າ ຕຶກ ທີ່ກຳລັງ ສ້າງນັ້ນ ແມ່ນຕຶກ ສຳຣັບຫຍັງ ແຕ່ຕາມ ໂຄງການ ທີ່ ວາງອອກ ບໍຣິສັດ ຂອງຈີນ ໄດ້ເຊັນ ສັນຍາ ເຊົ່າທີ່ດິນ ຈາກ ຣັຖບານລາວ ເຖິງ 25,000 ເຮັກຕາຣ໌ ເປັນ ເວລາ 99 ປີ ແລະ ຈະສ້າງ ເຂດນີ້ ໃຫ້ເປັນ ເຂດ ເສຖກິດ ພິເສດ ສາມຫລ່ຽມຄຳ. ຊື່ງຈະ ມີຄົນມາຢູ່ ເຖິງ 200,000 ຄົນ ຈະເປັນ ເມືອງນຶ່ງ ທີ່ຈະໃຫຍ່ກວ່າ ນະຄອນຫລວງ ພຣະບາງ.

ຫລັງຈາກ ສຳເຣັດ ເມືອງດັ່ງກ່າວ ຈະມີ ກາຊີໂນ ສອງແຫ່ງ ໂຮງແຮມ 12 ຫລັງ ສນາມບິນ ຣະຫວ່າງຊາດ ສນາມກອຟ 6 ແຫ່ງ ຮ້ານ ຊັພສິນຄ້າ ຂນາດໃຫຍ່ ຕຶກບ່ອນຢູ່ ອາໄສ ຂອງ ຄົນງານ ຮ້ານອາຫານ ແລະ ສະຖານທີ່ ບັນເທີງ ຫລາຍສິບຮ້ານ.

ທ່ານ Loxton ນັກຂ່າວ ອັງກິດ ຂຽນອີກວ່າ ເຂດ ເສຖກິດ ພິເສດ ດັ່ງກ່າວ ເປັນເຂດ ທີ່ພິເສດ ຢ່າງແທ້ຈິງ ເປັນເຂດ ປົກຄອງ ຕົນເອງ ບໍ່ຂື້ນກັບ ທາງການລາວ ມີກຳລັງ ຮັກສາ ຄວາມປອດໄພ ຂອງ ເຂົາເອງ ແລະ ທຸງຕິດ ປິວສະບັດ ຢູ່ກໍແມ່ນ ທຸງຈີນ. ພາສາ ກໍໃຊ້ ພາສາຈີນ ເງິນສ່ວນຫລາຍ ກໍໃຊ້ ເງິນຢວນ ຂອງຈີນ; ຢູ່ໃນ ໂຮງແຮມ ຄຳແນະນຳ ແລະ ໂທຣະທັດ ກໍຂຽນ ແລະ ເວົ້າເປັນ ພາສາຈີນ ທັງນັ້ນ.

__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard