'หงสาลิกไนต์' แสนล้านลงตัวลาว-ไทย เซ็นราคาใหม่ฉลุย
ภาพจาก geocities.comโรงไฟฟ้าแม่เมาะพลังไอน้ำที่ใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงมี ทั้งหมด เครื่องปั่น 13 หน่วย ปัจจุบันเหลือ 11 กำลังปั่นไฟรวม 2,400 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้า หงสาลิกไนต์ในลาวของกลุ่มบ้านปู-โรงไฟฟ้าราชบุรีในแขวงไซยะบูลีของลาว จะมีกำลังปั่นไฟ 1,600 เมกะวัตต์ แต่มูลค่าเฉียดแสนสามหมื่นล้านบาทไฟฟ้า ที่ผลิตได้เกือบทั้งหมด จะจำหน่ายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยและฝ่ายลาวได้ร่วมกันลงนามในเอกสารความร่วมมือหลายฉบับใน วันพุธที่13 พ.ค. 52 ที่ผ่านมา รวมทั้งบันทึกช่วยความจำเพื่อความเข้าใจฉบับหนึ่งว่าด้วยการรับซื้อไฟฟ้าจาก โครงการหงสาลิกไนต์มูลค่าเกือบ 1 แสน 3 หมื่นล้านบาท โดยฝ่ายไทยได้ให้ความเห็นชอบต่อข้อเสนอราคาซื้อขายไฟฟ้าจากโครงการดังกล่าว ซึ่งมีกำหนดจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปี 2558
ปัจจุบันโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่าน หินหงสาลิกไนต์เป็นโครงการลงทุนใหญ่ที่สุดของไทยในสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวโดยมีมูลค่าถึง 3,700 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 129,500 ล้านบาท) โดยบริษัทบ้านปูจำกัด (มหาชน) หรือ BANPU กับบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ถือหุ้นฝ่ายละ 40 อีก 20 เป็นของรัฐวิสาหกิจถือหุ้นลาวซึ่งเป็นของรัฐบาล ด้วยกำลังปั่นไฟขนาด 1,648 เมกะวัตต์ หงสาลิกไนต์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองหงสา แขวงไซยะบูลี เป็นโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดที่ลงมือก่อสร้างใน สปป.ลาวปัจจุบัน การลงทุนแบ่งเป็นสองส่วน คือ 2,900 ล้านดอลลาร์ ในส่วนของโรงไฟฟ้ากับอีก 800 ล้านดอลลาร์ เป็นการลงทุนในเหมืองถ่านหิน โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ในปี 2553 และจะเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ (กฟผ.) ได้ทันที่ในปี 2558 ในราคาราคาเสนอซื้อขาย 2.275 บาทต่อหน่วย นายนพพล มิลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ เปิดเผยตัวเลขดังกล่าว และแสดงความหวังว่าโครงการหงสาลิกไนต์จะให้ผลตอบแทนการลงทุนหรือ IRR แก่ผู้ถือหุ้นเป็นเลข 2 หลัก กฟผ. ได้ตกลงซื้อไฟฟ้าจำนวน 1,473 เมกะวัตต์ อีก 175 เมกะวัตต์จะจำหน่ายให้แก่รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (Electricite du Laos) ทั้งนี้เป็นรายงานของบริษัทราชบุรีฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เช่นเดียวกับบริษัทบ้านปูฯ กว่า 10 ปีมานี้ โครงการหงสาลิกไนต์ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดอันเนื่องมาจากปัญหาการเงิน จนกระทั่งกลุ่มผู้ลงทุนปัจจุบันเข้าดำเนินการต่อ มีการเซ็นความตกลงการลงทุนกับทางการลาวเมื่อปีที่แล้ว ผู้บริหารโครงการเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า อาจจะมีการเจรจาหาพันธมิตรเข้าร่วมถือหุ้นอีกอย่างน้อย 1 รายในอนาคต ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าจากจีน วันเดียวกันนั้นเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องไทย และลาวยังร่วมกันลงนามในบันทึกฯ และสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายไฟฟ้าอีก 4 ฉบับ ได้แก่บันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินความต้องการของ EDL จากโครงการน้ำเทิน 2 โดย กฟผ.จะรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการดังกล่าว เพิ่มเติมอีก 75 เมกะวัตต์จากจากเดิมที่กำหนดไว้ 920 เมกะวัตต์ และ บันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการเชื่อมต่อระบบส่งไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ จุดใหม่ ระหว่างสถานีไฟฟ้าท่าลี่ จ.เลย กับสถานีไฟฟ้าเมืองปากลาย แขวงไชยะบุลี ภายใต้บันทึกดังกล่าว กฟผ. "จะให้ความร่วมมือในการเชื่อมต่อระบบส่งไฟฟ้าจุดใหม่ เพื่อที่จะสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล สปป.ลาวที่จะให้ประชาชนลาวมีไฟฟ้าใช้ตามหมู่บ้านต่างๆ 90% ภายในปี 2563 และเพื่อเพิ่มความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว"