เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยฯ ยื่นหนังสือถึงยิ่งลักษณ์ กังวลใจ กรณีส่ง Ka Yang ผู้ลี้ภัยชาวลาวม้งกลับลาว
เมื่อไม่นานมานี้ สมาชิกของเครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคได้ร่วมกันลงนามในจด หมายถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีใจความว่า เรามีความกังวลเป็นอย่างยิ่งกับกรณีการส่ง Ka Yang ผู้ลี้ภัยชาวลาวม้งซึ่งได้รับการรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัยจากสำนักงานข้าหลวง ใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติกลับประเทศลาว โดย Ka Yang นั้นได้ถูกส่งตัวจากสถานกักกันคนต่างด้าวกรุงเทพ ไปยังชายแดนประเทศลาว เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔
ทั้งนี้ การดำเนินการส่งตัวกลับของประเทศไทยครั้งนี้ของ Ka Yang เป็นการส่งตัวกลับครั้งที่สอง การส่งกลับครั้งแรกคือเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๒ เมื่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้รับคำร้องขอตั้งถิ่นฐานในประเทศสหรัฐอเมริกาของ Ka Yang เรียบร้อยแล้ว ในวันเดียวนั้นเอง เจ้าหน้าที่ไทยก็ได้บังคับส่งตัวกลับKa Yang และผู้ลี้ภัยชาวลาวม้ง อีกจานวน ๑๕๗ คน เดินทางกลับประเทศลาวหลังจากที่ Ka Yang ถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศลาว เขาก็ได้หลบหนีออกจากประเทศลาวและกลับมายังประเทศไทยอีกครั้งและถูกเจ้า หน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองกักตัวไว้ที่สถานกักกันคนต่างด้าวกรุงเทพในช่วงต้นปี ที่ผ่านมานี้ โดยทั้งสำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติและสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศ ไทยได้ร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ไทยมิให้ส่งตัว Ka Yang กลับไปยังประเทศลาว แต่ก็คำร้องขอดังกล่าวก็มิได้รับการใส่ใจใดๆทางเครือข่ายของเราไม่สามารถที่จะระบุที่อยู่ในประเทศลาวของ Ka Yang กับครอบครัว ซึ่งเรามีความเป็นห่วงในสวัสดิภาพและความปลอดภัยของ Ka Yang เป็นอย่างยิ่ง เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยนั้นเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และให้ที่พักพิงแก่ผู้ที่เข้ามาลี้ภัยในชายแดนของประเทศอีกทั้งยังมีความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจคนที่ต้องได้รับการปกป้องจากการประหัตประการเหล่านี้เป็นอย่างดี ซึ่งในเรื่องดังกล่าวรัฐบาลไทยก็ได้รับการยกย่องใน การรายงาน Universal Periodic Review ของประเทศไทยที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และในลำดับต่อมาประเทศไทยก็ได้ให้คำมั่นว่าจะเคารพต่อสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ ภัยที่การฉลองครบรอบหกสิบปีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย 1951แม้ว่าประเทศไทยจะมิได้เป็นสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และ พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ.1967 ประเทศไทยก็มีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่าง ประเทศว่าด้วย หลักการ non refoulement ( ปรากฏในมาตรา 33(1) ของอนุสัญญา) ซึ่งกล่าวว่า ไม่มีรัฐใดที่จะขับไล่หรือส่งกลับผู้ขอลี้ภัย หรือผู้ลี้ภัยไปยังประเทศที่ชีวิตหรืออิสรภาพของผู้ลี้ภัยจะเป็นอันตรายอัน เนื่องมาจากสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกของกลุ่มทางสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือความเห็นทางการเมือง โดยหลักการนี้มิต้องคำนึงถึงสถานะเข้าเมืองของบุคคลดังกล่าวไม่ว่าจะในเวลา ที่เข้าเมืองหรือเวลาใดๆหลังจากนั้นด้วยเหตุนี้ เจ้าหน้าที่ของประเทศไทยจึงมีหน้าที่ที่จะไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปยังลาว เนื่อง จากพวกเขาได้รับสถานภาพผู้ลี้ภัยจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติและ ยังคงต้องได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศเราขอให้รัฐบาลไทยได้พิจารณาการกระทำที่ยังไม่รอบคอบนี้อีกครั้ง และทบทวนนโยบาย กระบวนการเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ทั้งนี้ประเทศไทยควรใช้มาตรการทุกอย่างในการป้องกันมิให้มีการละเมิดหลัก non refoulement และเราเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยให้รับรองว่า Ka Yang นั้นจะไม่ถูกประหัตประหารโดยรัฐบาลของประเทศลาวไม่ว่าโดยวิธีการใดๆก็ตาม และจะได้รับการปล่อยตัวพร้อมทั้งได้รับอนุญาตให้มีเสรีภาพในการเคลื่อนที่ และหากเป็นการสมควรที่ Ka Yang จะเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย เราร้องขอให้รัฐบาลสั่งการให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติอนุญาตให้เขาเข้ามา ในประเทศเพื่อรับข้อเสนอของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ให้เขาเข้าไปตั้งรกรากใหม่ ในประเทศสหรัฐอเมริกาดังกล่าวเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลไทยจะได้ใช้มาตรการที่มีความเห็นอกเห็นใจ และยึดในมาตรฐานสิทธิมนุษ ยชนในลาดับต่อไป ขอบพระคุณที่ได้พิจารณาข้อเรียกร้องของเรา และเรารอคอยคำตอบจากรัฐบาลไทยด้วยความเคารพAdvocates for Public Interest Law, South KoreaAsian Forum for Human Rights and Development
Asylum Access, Thailand ESCR Asia Fahamu Refugee Programme, Fahamu Trust, United Kingdom Inhured International, Nepal International Detention Coalition, Australia, Korean Public Interest Lawyers Group GONGGAM, South Korea Naiker Associates, Iran NANCEN, South Korea Pakistan International Human Rights Organization,
__________________
Anonymous
Date:
RE: เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยฯ ยื่นหนังสือถึงยิ่งลักษณ์ กังวลใจ กรณีส่ง Ka Yang ผู้ลี้ภัยชาวลาวม้