ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: พม่า-กะเหรี่ยง บรรลุข้อตกลง สัญญาหยุดยิง
Anonymous

Date:
พม่า-กะเหรี่ยง บรรลุข้อตกลง สัญญาหยุดยิง
Permalink   
 


พม่า-กะเหรี่ยง บรรลุข้อตกลง สัญญาหยุดยิง

พม่า-กะเหรี่ยง บรรลุข้อตกลง สัญญาหยุดยิง

ตาก 12 มค. - พม่า-กะเหรี่ยง บรรลุข้อตกลง สัญญาหยุดยิง กับนายกรัฐมนตรีรัฐกะเหรี่ยง ที่เมืองผาอ่าสง เมืองหลวง รัฐกะเหรี่ยง

ผู้สื่อข่าวรายงานจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ว่า หลังจากที่พล.อ.มูตู เส ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู.) และคณะฝ่ายการเมือง นายทหารที่คุมกำลัง ทั้งหมด 19 คน ได้เดินทางไปเจรจาทำสัญญาหยุดยิงกับฝ่ายรัฐบาลพม่า ที่เมืองผาอ่าสง เมืองหลวง รัฐกะเหรี่ยงเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2555 และจะประชุมเจรจากันในวันที่ 12 มกราคม 2555 นั้น ล่าสุดทั้งสองฝ่ายได้ลนามในข้อตกลงหยุดยิงแล้ว โดยทางฝ่ายพม่ามีนายอูอ่องมิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงรถไฟ และผู้ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลกลาง ให้ดูแลมลรัฐต่างๆ ในพม่า เป็นประธานในการสัญญาหยุดยิง , มีนายซอมิน นายกรัฐมนตรีรัฐกะเหรี่ยง นายขิ่นยี รัฐมนตรียุติธรรม ฝ่ายพม่า ขณะที่ฝ่ายกะเหรี่ยง มีพลเอกมูตู เส่ , พลตรีจ่อหนี ผู้บัญชาการกองพลน้อยที่ 7 และรัฐมนตรี นายทหารทั้งหมด

เจ้าหน้าที่ประสานงานฝ่ายเคเอ็นยู.กล่าวว่า ฝ่ายพม่าได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และบรรยากาศการเจรจาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งในสัญญาที่ทำกันในครั้งนี้คือ การหยุดปฏิบัติการทางทหารทั้งสองฝ่าย , ฝ่ายเคเอ็นยู.ขอเปิดสำนักงานประสานงานในเมืองใหญ่ๆ อาทิที่เมืองผาอ่าง และจังหวัดเมียวดี และขอให้ฝ่ายพม่ากับฝ่ายเคเอ็นยู.ตกลงกันก่อนในการเคลื่อนย้ายทางทหาร รวมทั้งการเดินทางไปมาในประเทศพม่า ของฝ่ายเคเอ็นยู. สามารถไปได้ทุกแห่ง



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

ນີ້ຄືນັກສູ້ ອັນແທ້ຈິງ ລາວຄວນເອົາແບບຢ່າງ



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

พม่า-KNU หยุดยิงแล้ว ส่งผู้แทนเข้าเจรจาในเมืองหลวง

555000000533202.JPEG

นาย ซอว์ จอว์นี (ซ้าย) ผู้แทนจาก KNU และเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่า (ขวา) แลกเปลี่ยนเอกสารหลังเจรจาหยุดยิงในเมืองปะอัน เมืองเอกของรัฐกะเหรี่ยง วันนี้ (12 ม.ค.). -- AFP PHOTO/Soe Than Win.
blank.gif

       
เอเอฟพี - รัฐบาลพม่า และสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) หนึ่งในกบฏชนกลุ่มน้อยที่ขัดแย้งกับกองกำลังทหารพม่ามาอย่างยาวนานหลาย ทศวรรษ ได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงแล้ววันนี้ (12 ม.ค.)
       
       คณะรัฐมนตรีผู้แทนจากกรุงเนปีดอ และสมาชิกระดับสูงของ KNU ได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิง ที่เมืองปะอัน เมืองเอกของรัฐกะเหรี่ยง ทางตะวันออกของพม่า
       
       “ประธานาธิบดี กล่าวว่า เราเป็นพี่น้องที่ขัดแย้งต่อกันมานานกว่า 63 ปี และประธานาธิบดีได้ร้องขอให้พวกเราให้ในสิ่งที่ KNU ต้องการ นั่นเป็นเหตุผลที่เราเดินทางมาที่นี่” นายขิ่น ยี รัฐมนตรีกระทรวงตรวจคนเข้าเมือง กล่าวขึ้นก่อนที่ข้อตกลงจะถูกลงนามต่อหน้าผู้สื่อข่าว
       
       นายเดวิด ตอว์ โฆษกของ KNU กล่าวว่า KNU จะเลือกผู้แทนเพื่อเข้าร่วมหารือครั้งหน้ากับรัฐบาลกลางภายใน 45 วัน นับจากข้อตกลงเบื้องต้นที่มีขึ้นจากความไว้วางใจ
       
       “หน้าที่ของเราเพิ่งเริ่มขึ้น เรายังมีอีกหลายสิ่งที่จะต้องทำ” นายเดวิด ตอว์ กล่าวกับผู้สื่อข่าว พร้อมระบุว่า รัฐบาลได้แสดงถึงความเมตตากรุณาอย่างแท้จริง
       
       รัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ของพม่าที่ขึ้นปกครองประเทศในเดือน มี.ค.2554 ได้พยายามที่จะเข้าถึงชนกลุ่มน้อยต่างๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปที่มีเป้าหมายเพื่อยุติการถูกโดดเดี่ยวจาก ประชาคมโลก
       
       นายอองมิน รัฐมนตรีกระทรวงการรถไฟ ที่เป็นหนึ่งในผู้ลงนามข้อตกลงหยุดยิง ประกาศว่าเป็นวันแห่งชัยชนะของประชาชน 60 ล้านคน ซึ่งอ้างถึงประชากรทั้งหมดของประเทศพม่า
       
       สงครามกลางเมืองที่ปะทุขึ้นในพื้นที่ต่างๆ นับตั้งแต่พม่าได้รับอิสรภาพในปี 2491 รวมทั้งการกล่าวหาว่ากองกำลังทหารพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นข้อเรียกร้องหลักของประชาคมระหว่างประเทศที่ต้องการให้พม่าแก้ไขปัญหา เหล่านี้
       
       ชาวบ้านจำนวนมากในรัฐกะเหรี่ยง ถูกบังคับให้ต้องหลบหนีและผู้คนนับหมื่นคนที่เป็นผู้ลี้ภัยต้องอาศัยอยู่ใน ค่ายตามแนวพรมแดนของไทย และบรรดากลุ่มคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า การปราบปรามกบฏของรัฐบาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านต้องทิ้งบ้านเรือนของตนเอง หมู่บ้านถูกทำลายและยังถูกบังคับให้ทำงานให้กับกองทัพ
       
       ข่าวเกี่ยวกับการลงนามข้อตกลงหยุดยิงครั้งนี้ สร้างความยินดีอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาคมชาวกะเหรี่ยงทั่วโลกที่เป็นตัว แทนของผู้ที่หลบหนีออกจากพื้นที่ทางภาคตะวันออกของพม่า
       
       “การหยุดยิงเป็นเพียงการแก้ไขอาการของโรค ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ ยังจำเป็นจะต้องมีการเจรจาทางการเมืองเพื่อแก้ปัญหาทางการเมืองอย่างถาวร” แถลงการณ์ระบุ ซึ่งกล่าวหารัฐบาลยังคงโจมตีและสังหารผู้คนในหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง
       
       ผู้เชี่ยวชาญด้านพม่าจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง เตือนว่า ความพยายามที่จะรักษาสันติภาพอย่างยั่งยืนก่อนหน้านั้นล้มเหลว และเรียกร้องให้ชาวกะเหรี่ยงกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยทั้งหมดรวมอยู่ในการเจรจาที่ จะมีในครั้งต่อไปด้วย
       
       แม้ว่าข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัฐบาล และ KNU จะเกิดขึ้น แต่ความตึงเครียดยังคงมีอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่นๆ ที่พยายามหาทางแยกเป็นอิสระและเรียกร้องสิทธิ
       
       การต่อสู้ในรัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือของประเทศ ระหว่างกองทัพ และกลุ่มกบฏ นับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2554 ทำให้ผู้คนหลายหมื่นคนต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัย ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไปแม้ว่าประธานาธิบดี เต็ง เส่ง มีคำสั่งให้กองกำลังทหารยุติการต่อสู้
       
       ในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลท้องถิ่นและกองทัพรัฐชานใต้ ที่เป็นหนึ่งในกองกำลังกลุ่มกบฏสำคัญที่มีฐานกำลังอยู่ในรัฐชาน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ได้บรรลุข้อตกลงหยุดยิงแล้ว
       
       สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ต่างเรียกร้องให้พม่าดำเนินการปฏิรูปประชาธิปไตยในประเทศอย่างต่อเนื่องและ มากยิ่งขึ้น ก่อนที่จะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ โดยข้อเรียกร้องสำคัญคือการปล่อยตัวนักโทษการเมืองและการยุติความขัดแย้งกับ ชนกลุ่มน้อย



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

Myanmar’s Signs a Historic Cease-Fire Agreement

Members of Myanmar's peace committee (left) and representatives of the Karen National Union shake hands after signing a peace agreement Thursday in Pa-an

Myanmar’s (Burma) government signed a cease-fire agreement Thursday with ethnic Karen rebels in a major step toward ending one of the world’s longest-running insurgencies and meeting a key condition for better ties with the West.

The talks between officials and Karen National Union leaders were part of efforts by Myanmar’s new, nominally civilian government to seek international legitimacy through democratic reforms after years of military repression.

The Karen group has been fighting for greater autonomy for more than 60 years in a guerrilla campaign in eastern jungles that dates back to before Myanmar’s independence from Britain. It has been the only one of Myanmar’s major ethnic groups never to have reached a peace agreement with the government.

Bringing a lasting halt to all of the country’s long-running ethnic conflicts has been a crucial demand of Western governments as well as the Myanmar’s pro-democracy icon and opposition leader Aung San Suu Kyi.

Aung Min, head of the government’s peace committee, announced the truce to reporters after talks in the Karen capital, Pa-an, but he did not immediately give any further details.

“A cease-fire agreement has been signed,” Aung Min said.

For decades, Myanmar has been at odds with the ethnic groups who seek greater autonomy, but a military junta that took power in 1988 signed cease-fire agreements with many of them. Some of those pacts were strained as the central government sought to consolidate power, and combat resumed.

However, the new government that took office after November 2010 elections has embarked on reforms to try to end its international isolation and lift the political and economic sanctions imposed by Western governments because of repression under the junta.

U.S. Secretary of State Hillary Rodham Clinton emphasized during her recent visit to Myanmar that bringing an end to the country’s ethnic fighting was a key to improved relations with the West.

Suu Kyi underlined the demand in an interview with The Associated Press last week.

“Unless there is ethnic harmony it will be very difficult for us to build up a strong democracy,” Suu Kyi said.

In recent months, the government has held talks with rebel groups to strike new peace deals or rebuild shattered cease-fires. The other groups reportedly involved in talks include the Shan, Karenni, Chin and Kachin.

The Karen have been the most enduring adversaries. Karen guerrillas were able to advance close to what was then the capital, Rangoon, in 1949. After the military seized power in 1962, the Karen struggle expanded and they eventually controlled large swaths of territory along the border with Thailand.

The group has benefited from an unusual source of strength many of its leadership were Christians and have been able to draw support from foreign donors, including in the United States.

After the government started negotiating cease-fire pacts with smaller minority groups, it was able to concentrate its force on the Karen in the early 1990s. The rebel group then went into decline, accelerated by a split in the group, as Buddhist rank-and-file members, defying the leadership, formed a breakaway group that allied itself with the government.



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   
 

555000000562701.JPEG

แฟ้ม ภาพเอเอฟพี วันที่ 19 ก.ค. 2550 นายมินโกนาย (ขวา) นักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย โบกมือขณะเดินทางเข้าร่วมรำลึกวันวีรชนแห่งชาติที่สำนักงานใหญ่พรรค NLD ในนครย่างกุ้ง พม่าปล่อยตัวนายมินโกนายวันนี้ (13 ม.ค.) ภายใต้การนิรโทษกรรมครั้งล่าสุดของทางการพม่า. --AFP PHOTO/Khin Maung Win.
blank.gif

       
เอเอฟพี - พม่าอภัยโทษผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐจำนวนหนึ่ง รวมทั้งอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศในวันนี้ (13 ม.ค.) ภายใต้การนิรโทษกรรมนักโทษครั้งใหม่ อันเป็นหนึ่งในการปฏิรูปประชาธิปไตยของประเทศที่เกิดขึ้นหลายระลอกภายใต้การ บริหารของรัฐบาลพลเรือน
       
       การปล่อยตัวนักโทษการเมืองในประเทศเป็นข้อเรียกร้องหลักของบรรดาชาติตะวันตกที่ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรต่อรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า
       
       พรรคฝ่ายค้านของนางอองซาน ซูจี กล่าวแสดงความยินดีที่รัฐบาลนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นสัญญาณอันดีต่อการปฏิรูปประเทศ

http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000005404



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard