ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ
Members Login
Username
Password
Login
Remember Me
New Member
Lost Account Info?
ກັບໄປຫນ້າທຳອິດ
ລາຍຊື່ສະມາຊິກ
ຄົ້ນຫາ
Search
Advanced Search
ຂໍຄວາມຂອງສະມາຊິກ
ປະຕິທິນ
ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ
->
ທ່ານມີຄວາມເຫັນແນວໃດກຽ່ວກັບການເມືອງຢູ່ໃນລາວ ?
->
ทย-ลาว-เขมร ขายยางจีน 5 แสนตัน เกษตรพันธะสัญญางอกงาม
Start A New Topic
Reply
Printer Friendly
Post Info
TOPIC: ทย-ลาว-เขมร ขายยางจีน 5 แสนตัน เกษตรพันธะสัญญางอกงาม
Anonymous
Date:
Apr 6, 2012
ทย-ลาว-เขมร ขายยางจีน 5 แสนตัน เกษตรพันธะสัญญางอกงาม
Permalink
Reply
Quote
Printer Friendly
ทย-ลาว-เขมร ขายยางจีน 5 แสนตัน เกษตรพันธะสัญญางอกงาม
ประธาน บริษัทพันปีกรู๊ปฯ (3 จากซ้าย) กับตัวแทนจากจีน ลาวและกัมพูชาร่วมกันเซ็นความตกลงซื้อขายยางพาราลอตใหญ่ในกรุงเทพฯ วันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา และกำลังเตรียมจัดส่งลอตแรก 30,000 ตัน ผ่านไทยไปยังผู้ซื้อในประเทศจีนปลายเดือน เม.ย.นี้ จากทั้งหมด 500,000 ตันมูลค่ากว่า 88 ล้านดอลลาร์ ทั้งหมดเป็นไปภายใต้ความร่วมมือการเกษตรแบบมีสัญญา หุ้นส่วนจากมณฑลหยุนหนันกล่าวว่าเป็นการเซ็นซื้อขายยางลอตใหญ่ที่สุดระหว่าง ไทยกับจีน. -- ภาพ: CK Connection.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- บริษัทเอกชนไทยกับผู้ปลูกยางใน ลาวและกัมพูชา กำลังเตรียมการจัดส่งยางพารา 30,000 ตันให้ผู้ซื้อในจีนปลายเดือน เม.ย.นี้ เป็นการส่งจำหน่ายลอตแรกของทั้งหมด 500,000 ตัน ซึ่งอาจจะเป็นการซื้อขายผลผลิตลอตใหญ่เป็นครั้งแรกภายใต้ระบบเกษตรแบบมี สัญญา และภายใต้ความร่วมระหว่างภาคเอกชน-ภาครัฐในระดับอนุภูมิภาค
ทั้งหมดเป็นยางพาราที่ผลิตโดยเกษตรกรในกัมพูชาจำนวน 10,000 ตัน ในลาว 10,000 ตัน และของเกษตรกรไทยอีก 10,000 การส่งมอบจะดำเนินไปทุกๆ เดือน จนครบจำนวน 500,000 แสนตันตามข้อตกลง รวมมูลค่ากว่า 88 ล้านดอลลาร์ ผู้ที่เกี่ยวข้องกล่าวกับ "ASTVผู้จัดการออนไลน์"
การซื้อขายเป็นไปภายใต้กรอบกลุ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือ ACMECS (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy) ที่ไทย พม่า กัมพูชา ลาวและเวียดนาม เป็นสมาชิก และกรอบกลุ่มความร่วมมืออนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-Region) หรือ GMS ซึ่งมีจีน (มณฑลหยุนหนัน) ร่วมเป็นสมาชิกรายที่ 6
"จีนมีความต้องการยางพาราปีละ 3.7 ล้านตัน แต่ขณะนี้เราผลิตส่งให้ได้เพียง 5 แสนตันต่อปีเท่านั้น" นายพิชย์พิพรรธ ศรีตระกูลรักษ์ ประธานกรรมการบริษัท พันปี กรุ๊ป (ไทย ลาว กัมพูชา) จำกัด กล่าว
ยางพาราจากประเทศเพื่อนบ้านจะขนส่งเข้าไทย เพื่อส่งออกผ่านท่าเรือแหลมฉบับไปยังท่าเรือนครเซี่ยงไฮ้ ทั้งหมดจะดำเนินการโดยบริษัทแฮนเดิลอินเตอร์กรุ๊ป (Handle Inter Group) ซึ่งเป็นบริษัทไทยที่ให้บริการด้านบริการการส่งออกและโลจิสติกส์มาเป็นเวลา นานกว่า 10 ปี นายพิชย์พิพรรธกล่าว
นายหลี่หยงเชง ประธานกรรมการบริษัทเหมืองหยุนหนันมังกานีส (Yunnan Manganese Mining and Resources Group) ซึ่งทำธุรกิจการค้าหลากสาขา ทั้งเหมืองแร่ เขื่อนผลิตไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ ยางพาราและสินค้าเกษตรอื่นๆ และ เป็นคู่สัญญาฝ่ายจีนกล่าวว่า การซื้อขายยาง 500,000 ตันครั้งนี้ เป็นการซื้อขายครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับจีน
นายหยงเชงระบุดังกล่าวในรายงานชิ้นหนึ่งที่พันปีกรู๊ปฯ เผยแพร่หลังการเซ็นความตกลงในวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา
.
รถ บรรทุกแล่นผ่านแผ่นป้ายที่บอกให้ทราบว่าเป็นถนนไปเชื่อมไทยที่อยู่ในเขต เมืองทวายในพม่ กลุ่มบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์จำกัด (มหาชน) กำลังสร้างถนนความยาว 150 กม.ไปยังชายแดนด้าน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เมื่อแล้วเสร็จก็จะเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญสำหรับการขนส่งสินค้า ยางพาราที่ปลูกมากในเขตตะนาวศรี รวมทั้งเมืองทวาย ก็จะได้รับอานิงสงส์จากถนนสายนี้เช่นกัน เพื่อส่งออกสู่ตลาดจีนผ่านท่าเรือแหลมฉบังของไทย. -- AFP PHOTO/Soe Than Win.
.
นายหลี่จี้เหิง ผู้ว่าการมณฑลหยุนหนัน ได้ร่วมกับรัฐมนตรีของไทยจำนวนหนึ่งเป็นสักขีพยานการลงนามในความตกลงครั้ง นี้ โดยมีผู้แทนฝ่ายลาวคือ นายจำปา วงพะจัน กับนายหนูคำ วอละสาน จากสำนักนายกรัฐมนตรีลาว และผู้แทนของฝ่ายกัมพูชาคือ นายซอมคี (Sam Key) รายงานชิ้นเดียวกันระบุ
นายพิชย์พิพรรธบอกกับ "ASTVผู้จัดการออนไลน์" ว่า โครงการเกษตรแบบมีสัญญาที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้เกี่ยวข้องกับเกษตรกรราว 2 ล้านคนใน 4 ประเทศ รวมพื้นที่สวนยางราว 5,600,000 ไร่ ในนั้น 3,988,004 ไร่ ต้นยางมีอายุ 7 ปีขึ้นไปพร้อมจะให้น้ำยาง
เกษตรกรไทยที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมสวนยาง1,745,000 ไร่ ปัจจุบัน 1,434,804 ไร่ พร้อมให้ผลผลิต ส่วนในลาวมี 1,688,000 ไร่ และ 1,250,000 ไร่พร้อมให้น้ำยาง เกษตรกรกัมพูชามีสวนยาง 1,287,000 ไร่ กรีดยางได้จำนวน 772,200 ไร่ กับในพม่าอีก 880,000 ไร่ พร้อมให้น้ำยาง 528,000 ไร่
"ยางพาราเป็นเพียงการเริ่มต้น เรายังจะขยายไปสู่ความร่วมมือซื้อขายผลผลิตการเกษตรอื่นๆ รวมทั้งข้าวกับมันสำปะหลังด้วย" นายพิชย์พิพรรธกล่าว
จดทะเบียนก่อตั้งเป็น "วิสาหกิจชุมชนคนพันปี" ใน อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อปี 2548 กลายมาเป็นพันปีกรู๊ปฯ กลุ่มนี้ได้เข้าบุกเบิกลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านหลากหลายแขนง ทั้งในภาคเหนือกับภาคตะวันตกเฉียงใต้กัมพูชา ในหลายแขวงของลาวและพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนยางพาราในเขตตะนาวศรี รวมทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกเข้าสิบสองปันนาของจีนด้วย นายพิชย์พิพรรธ
การเกษตรแบบมีสัญญา หรือ "เกษตรพันธะสัญญา" เป็นแขนงหนึ่งในความตกลงของผู้นำ ACMECs ซึ่งเปิดการประชุมหารือกันที่เมืองพุกามของพม่าในเดือน พ.ย.2546 นอกเหนือจากการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความร่วมมือด้านสาธารณสุข ในช่วงปีที่โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome) หรือ SARS กำลังแพร่ระบาดในอนุภูมิภาค
.
บริษัท จากจีนแห่งหนึ่งทำพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโรงงานผลิตยางแผ่นในแขวงอุดมไซ ในเดือน ก.ค.2554 นักลงทุนจากจีนจำนวนมากเข้าลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจในแขวงภาคเหนือของลาว ทั้งในพื้นที่สัมปทานและโครงการเกษตรพันธะสัญญากับราษฎรในท้องถิ่น ระบบนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ยางพาราเท่านั้น หากยังรวมถึงพืชเศรษฐกิจอื่นๆ อีกหลายชนิด บริษัทกระดาษยักษ์ใหญ่ของจีนอีกแห่งหนึ่งกำลังปลูกยูคาลิปตัสในสะหวันนะเขต เพื่อป้อนโรงงานเยื่อกระดาษ. -- ภาพ: หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่.
ผู้ บริหารของหว่างแอง-ซยาลาย (Hoang Anh-Gia Lai) จากเวียดนามกำลังตรวจต้นยางอายุ 9 เดือนในที่สัมปทานแขวงเซกองทางตอนใต้ของลาวในภาพเดือน ก.พ.2552 นักลงทุนไทยเข้าลงทุนปลูกยางในแขวงภาคใต้ของลาวเช่นกัน รวมทั้งพันปีกรู๊ปฯ ด้วย ระบบเกษตรแบบมีสัญญากำลังงอกงาม เอกชนไทย ลาวและกัมพูชา เพิ่งเซ็นขายยางลอตใหญ่ 500,000 ตันให้กับจีน และกำลังเตรียมการส่งมอบลอตแรก 30,000 ตันในปลายเดือนนี้. -- ภาพ: เว็บไซต์ HAGL.
__________________
Page 1 of 1
sorted by
Oldest First
Newest First
Quick Reply
Please log in to post quick replies.
ລາວໂຮມລາວ ເພື່ອປະຊາທິປະໄຕ
->
ທ່ານມີຄວາມເຫັນແນວໃດກຽ່ວກັບການເມືອງຢູ່ໃນລາວ ?
->
ทย-ลาว-เขมร ขายยางจีน 5 แสนตัน เกษตรพันธะสัญญางอกงาม
Subscribe
Create your own FREE Forum
Report Abuse